Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTVผู้จัดการรายวัน29 มิถุนายน 2552
เปิดสัญญาทาสช่อง 3             
 

   
related stories

เปิดผลสอบสัญญาทาสช่อง 3 - “สิทธิประโยชน์ อสมท ลดลง”
เปิดผลสอบสัญญาทาสช่อง 3 (ตอนที่ 4) รายได้ก้าวกระโดดแต่จ่ายคงที่
เปิดผลสอบสัญญาทาสช่อง 3 (ตอนที่ 5) แฉลูกเล่นบีอีซีใช้อุปกรณ์-เช่าที่ดิน
เปิดผลสอบสัญญาทาสช่อง 3 (ตอนที่ 6) อสมท สูญเบื้องต้น 2 พันล้าน
เปิดผลสอบสัญญาทาสช่อง 3 (ตอนที่ 7)อัตราผลตอบแทนที่ควรเป็น
บีอีซีผ่องถ่ายผลประโยชน์ (ตอนที่ 8)

   
www resources

โฮมเพจ อสมท.
โฮมเพจ บีอีซี เวิลด์

   
search resources

บีอีซี เวิลด์, บมจ.
TV
อสมท, บมจ.




เปิดผลสรุปการศึกษาพิจารณา “สัญญาทาส ช่อง 3” ที่มี “จรัญ ภักดีธนากุล” เป็นประธานชุดใหญ่ฯ ชี้ชัด อสมท เป็นเบี้ยล่าง เผยรูปแบบการจ่ายค่าสัมปทานเป็นแค่รายปีตายตัว ตั้งแต่ปี 2533-2548 เผยแค่ 15 ปี อสมท เสียหายเกณฑ์สูงสุดอยู่ที่ 12,129 ล้านบาท พร้อมเสนอแนะ 10 ประเด็นเพื่อความเป็นธรรมต่อ อสมท

จากปัญหาที่ บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) ได้ทำหนังสือถึง บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เมื่อปลายปีที่แล้ว เพื่อให้พิจารณาการต่ออายุสัมปทานการบริหารสถานีโทรทัศน์ ช่อง 3 ออกไปอีก 10 ปี จากเดิมหมดอายุปี 2553 ต่อไปจนถึงปี 2563 ที่กลายเป็นประเด็นร้อนและถูกจับตามองจากคนวงกว้างอย่างมาก ถึงความไม่ชอบมาพากลของสัญญาที่ทำขึ้น

โดยเฉพาะกรณีของ ค่าตอบแทนที่ บีอีซีฯจะต้องจ่ายให้กับ อสมท ต่ำมากรวมแล้วแค่ 2,002 ล้านบาท ในช่วง 10 ปี หรือรายละเอียดในสัญญาที่ อสมท ค่อนข้างเสียเปรียบบีอีซีเวิลด์อย่างมาก เป็นต้น

ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ ในยุคที่นายพงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร ดำรงตำแหน่ง รักษาการในตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ อสมท เมื่อช่วงต้นปี 2550 นั้น ได้แต่งตั้ง “คณะกรรมการพิจารณาด้านสัญญาและกฎหมาย” โดยมีนายจรัญ ภักดีธนากุล เป็นประธานฯ ซึ่งมีหน้าที่หลักๆคือ ศึกษาสัญญา และการดำเนินการด้านกฎหมายของ บมจ.อสมท ว่า 1.ได้ดำเนินการอย่างถูกต้อง โปร่งใส เป็นธรรมชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

2.เสนอแนะการปรับปรุงสัญญา รูปแบบและการดำเนินการด้านสัญญาและกฎหมายของ บมจ.อสมท เพื่อให้เกิดประโยชน์กับ อสมท กับประเทศอย่างมาก ซึ่งต่อมาก็มีคณะทำงานขึ้นมาหลายชุดเพื่อช่วยในการดำเนินงานด้วยสัญญาระหว่าง อสมท กับ บีอีซีเวิลด์ ก็เป็นหนึ่งในหลายสัญญาที่มีการพิจารณาด้วยว่าเป็นธรรมกับ อสมท หรือไม่

โดยสัญญาร่วมดำเนินกิจการส่งโทรทัศน์สีระหว่าง อสมท กับ บีอีซีฯ มีทั้งสิ้น 4 ฉบับ ซึ่งสัญญาฉบับแรกทำเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2521 ต่อมาได้มีการแก้ไขอีก 3 ครั้งในปี 2525 ปี 2530 และปี 2532

ทั้งนี้ การศึกษาพบว่า การแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาครั้งที่ 3 ทำให้สิทธิประโยชน์ที่ อสมท เคยได้รับลดลงเป็นอย่างมาก เนื่องจากสัญญาได้แก้ไขให้

1. ค่าตอบแทนที่ อสมท ได้รับเปลี่ยนจากอัตราร้อยละ 6.5 ของรายได้ ไปเป็นจำนวนตายตัวแบ่งจ่ายรายปี (ที่มีจำนวนเท่ากับค่าตอบแทนขั้นต่ำที่ระบุไว้ในการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาครั้งที่ 2) โดยไม่คำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงของภาวะเงินเฟ้อ และค่าใช้จ่ายที่ อสมท ต้องรับผิดชอบเพิ่มขึ้น 2. การต่ออายุสัญญาที่จะสิ้นสุดในปี 2553 เป็นไปอย่างอัตโนมัติอีก 10 ปี โดย อสมท จะได้รับค่าตอบแทนเป็นจำนวนตายตัวเช่นเดียวกับก่อนต่อสัญญา3. การบอกเลิกสัญญากรณีบีอีซีกระทำผิดมีขั้นตอนยุ่งยากและใช้เวลานาน และกรณีที่บีอีซีไม่ได้กระทำผิด การบอกเลิกสัญญาไม่อยู่ในอำนาจของ อสมท

4. บีอีซีสามารถเปลี่ยนโครงสร้างการถือหุ้น เพิ่มทุน และเปลี่ยนแปลงข้อบังคับสำคัญของบริษัทโดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจาก อสมท การศึกษาพบว่า การแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาครั้งที่ 3 เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ทางธุรกิจของกลุ่มมาลีนนท์ที่ต้องการเพิ่มมูลค่าให้กับการลงทุน โดยกำหนดให้บริษัท บีอีซีเวิลด์ กาต่างหากจากกัน เพื่อการบริหารงาน บริหารรายได้ และบริหารทรัพย์สินให้เป็นไปตามกลยุทธ์ที่วางไว้

การแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาครั้งที่ 3 เป็นผลจากข้อกล่าวอ้างว่า ในอดีตที่ผ่านมา บีอีซีไม่เคยมีรายได้มากพอที่จะต้องจ่ายค่าตอบแทนให้ อสมท เกินกว่าค่าตอบแทนขั้นต่ำที่ต้องจ่าย แต่การศึกษาพบว่า รายได้แสดงอยู่ในงบการเงินที่ลงลายมือชื่อรับรองโดยผู้สอบบัญชีที่ถูกสั่งพักใบอนุญาต ทำให้สันนิษฐานว่า ข้อมูลรายได้เหล่านั้นอาจขาดความน่าเชื่อถือ

การศึกษายังพบอีกว่า บีอีซีไม่ได้โอนทรัพย์สินบางรายการให้ อสมท เนื่องจากบีอีซีไม่ได้ทำการจัดหาทรัพย์สิน โดยวิธีซื้อเสร็จเด็ดขาด (ซึ่งขัดต่อเจตนารมณ์ของสัญญา) ในกรณีหนึ่ง บีอีซี ได้ทำการเช่าเสาส่งโทรทัศน์และระบบสายอากาศโทรทัศน์ร่วมกับสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ณ อาคารใบหยก ทำให้บีอีซีไม่สามารถโอนทรัพย์สินดังกล่าวให้ อสมท

อีกกรณีหนึ่ง บีอีซีได้สร้างสถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบ UHF บนที่ดินที่เช่าจากบริษัท บีอีซี แอสเซท จำกัด (บริษัทหนึ่งในกลุ่มบีอีซีเวิลด์) สัญญาเช่าที่ดินถูกกำหนดให้หมดอายุพร้อมกับสัญญาร่วมดำเนินกิจการที่บีอีซีทำกับ อสมท เมื่อสัญญาเช่าหมดอายุลง อสมท ต้องทำการรื้อถอนทรัพย์สินออกจากที่ดินด้วยค่าใช้จ่ายของ อสมทหรือทำการมอบทรัพย์สินบนที่ดินเช่าให้กับบริษัท บีอีซีแอสเซท จำกัด

จากการตรวจสอบงบการเงินของบริษัท บีอีซี แอสเซท จำกัด พบว่า ทรัพย์สินของบริษัทแสดงรายการ “อุปกรณ์ดำเนินงานโทรทัศน์ให้เช่า” จำนวน 222 ล้านบาท (ก่อนหักค่าเสื่อมราคาสะสม) ตามเงื่อนไขในสัญญา บีอีซีต้องส่งมอบทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการดำเนินกิจการโทรทัศน์สีช่อง 3 ให้แก่ อสมท ทันทีที่จัดซื้อหรือจัดหา ทำให้สันนิษฐานว่า บีอีซีอาจหลีกเลี่ยงการโอนกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ดังกล่าวให้ อสมท โดยการเช่าทรัพย์สินจากบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน

การศึกษาพบว่า การแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาครั้งที่ 3 ทำให้ผลตอบแทนที่ อสมท ได้รับในระหว่างปี 2533 ถึงปี 2548 มีจำนวนลดลงระหว่าง 1,035 ล้านบาท ถึง 2,131 ล้านบาท การศึกษาชี้ให้เห็นว่า การแก้ไขสัญญาก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแบ่งปันผลประโยชน์จากการดำเนินงานที่ทำร่วมกัน จนเป็นเหตุไห้ อสมท ได้รับผลตอบแทนร้อยละ 1.44 ถึง 2.41 ของรายได้ (จากที่เคยได้รับร้อยละ 6.5)

ในขณะที่บีอีซีได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 46.77 ต่อปี นอกจากนั้น อสมท ยังได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินสดจำนวน 600 ล้านบาท ในขณะที่คู่สัญญาได้รับเงินสดจากการปันผลทั้งสิ้นจำนวน 5,742 ล้านบาท ถึง 11,492 ล้านบาท จากการศึกษาผลการดำเนินงานของบีอีซีเทียบกับบริษัทชั้นนำที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พบว่า ในระหว่างปี 2534 ถึง 2549 บริษัทจดทะเบียนชั้นนำของประเทศไทย (ที่ถือว่ามีความสามารถเหนือกว่าบริษัทอื่นๆ ในการบริหารจัดการและการทำตลาด) ได้รับผลตอบแทนจากเงินลงทุนในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 15.52 ต่อปี ในขณะที่บีอีซีได้รับในอัตราร้อยละ 46.77 ต่อปี สรุปว่าการดำเนินงานของบีอีซีก่อให้เกิดอัตราผลตอบแทนเกินปรกติจำนวนร้อยละ 31.25 ต่อปี ซึ่งผลตอบแทนเกินปรกตินี้หากไม่เกิดจากความสามารถในการบริหารของบีอีซี ก็น่าจะเกิดจากการดำเนินธุรกิจในตลาดผูกขาดที่ อสมท เป็นผู้มอบสัมปทานให้

การศึกษานี้กำหนดให้อัตราผลตอบแทนเกินปรกติของบีอีซีเกิดจากความสามารถในการบริหาร (ที่เหนือกว่าบริษัทชั้นนำของประเทศ) ในอัตราร้อยละ 0 – 10 นอกนั้นถือว่าเกิดจากการได้รับสัมปทานจาก อสมท ทำให้สรุปได้ว่า บีอีซีควรได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนเฉลี่ยในอัตราร้อยละ 15.52 ถึง 25.52 ต่อปี ( แทนที่จะเป็นร้อยละ 46.77 ต่อปี ตามที่ได้รับจริง) ในขณะที่ อสมทควรได้รับค่าตอบแทนในอัตราที่ร้อยละ 15.20 ถึง 25.73 จากรายได้ (แทนที่จะเป็นร้อยละ 1.44 ถึง 2.41 ตามที่ได้รับจริง)

ผลจากการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ตลอดระยะเวลา 16 ปีนับจากปี 2533 เป็นต้นมา สัญญาร่วมดำเนินกิจการระหว่าง อสมท กับบีอีซี ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างคู่สัญญา และทำให้ผลประโยชน์ที่ อสมท ควรได้รับถูกโอนถ่ายไปให้กับบีอีซีเป็นจำนวนประมาณ 7,290 - 12,129 ล้านบาท

นอกจากค่าตอบแทนที่ อสมท สูญเสียนับจากปี 2533 ถึงปี 2548 แล้ว สัญญาร่วมดำเนินกิจการกับบีอีซียังจะทำให้ อสมท ต้องสูญเสียค่าตอบแทนในอนาคตนับจากปี 2549 ถึงปี 2563 หากสัญญาได้รับการต่ออายุโดยอัติโนมัติ เริ่มต้นจากปี 2553 ถึง 2563

ผลของการศึกษาทำให้ได้ข้อเสนอแนะสำคัญเกี่ยวกับเงื่อนไขทางธุรกิจที่ควรระบุและไม่ควรระบุในสัญญาที่อาจะจะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อความเป็นธรรม ต่อ อสมท ดังนี้

1. อสมท ควรได้รับค่าตอบแทนเป็นจำนวนร้อยละจาก “รายได้ทั้งสิ้น” ก่อนหักค่าใช้จ่ายใดๆ การกำหนดอัตราผลตอบแทนควรทำขึ้นอย่างมีหลักการ และคำนึงถึงค่าใช้จ่ายที่ต้องรับภาระร่วมกับคู่สัญญาในกรณีที่ใช้ทรัพย์สินร่วมกัน

2. “รายได้ทั้งสิ้น” ควรรวมรายได้ที่กระจายอยู่ในบริษัทที่เกี่ยวข้อง ในกรณีที่คู่สัญญาเป็นบริษัทที่ถูกควบคุมโดยบริษัทใหญ่ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ค่าตอบแทนควรคำนวณจากจำนวนรายได้ที่เกี่ยวข้องทุกรายการที่แสดงในงบการเงินรวมของบริษัทใหญ่

3. อสมท ควรมีส่วนร่วมในการกำหนดผู้สอบบัญชีผู้รับอนุญาตที่ทำการรับรองงบการเงินของคู่สัญญาและสงวนสิทธิ์ในการแต่งตั้งผู้ทำการตรวจสอบรายได้ที่ใช้ในการคำนวณค่าตอบแทนทุกปี

4. สัญญาควรกำหนดให้ชัดเจนเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน เวลาที่ต้องส่งมอบทรัพย์สิน ภาระหน้าที่ในการจ่ายค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับทรัพย์สิน เช่น ค่ารื้อถอน รวมถึงการแต่งตั้งผู้ทำการตรวจสอบทรัพย์สินในครอบครองของคู่สัญญา

5. การเปลี่ยนแปลงสำคัญเช่น การเพิ่มทุน การลดทุน การเปลี่ยนโครงสร้างการถือหุ้นหรือคณะผู้บริหาร ฯลฯ ต้องได้รับอนุมัติจาก อสมท ทุกครั้ง

6. การต่ออายุสัญญาต้องไม่เป็นไปโดยอัตโนมัติ

7. ยกเลิกขั้นตอนที่ยุ่งยากในการบอกเลิกสัญญากรณีที่คู่สัญญากระทำผิดหรือมีเจตนาไม่ปฏิบัติตามสัญญาและยกเลิกการนำอนุญาโตตุลาการ

8. กำหนดให้มีการมอบหลักประกันสัญญาและบทลงโทษ

9. กำหนดให้ อสมท มีส่วนร่วมในการอนุมัติรับรองแผนธุรกิจ

10. กำหนดให้มีการป้องกันความเสี่ยงจากการถูกฟ้องร้อง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us