Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์22 มิถุนายน 2552
เซเว่น-อีเลฟเว่นลุยไลน์ใหม่ เครื่องดื่มผ่อนคลายความเครียด             
 


   
www resources

โฮมเพจ ซี.พี.เซเว่นอีเลฟเว่น

   
search resources

ซี.พี.เซเว่นอีเลฟเว่น, บมจ.
Soft Drink
อินโนเวทีฟ เบเวอเรจ กรุ๊ป




หลายคนอาจเคยเชื่อว่านอกจากน้ำดื่มบริสุทธิ์หรือน้ำแร่แล้ว เครื่องดื่มประเภทให้พลังงานน่าจะมีอนาคตและการเติบโตที่ดีที่สุด

แต่จากการประเมินสถานการณ์ตลาดเครื่องดื่มโลกล่าสุดพบว่า เครื่องดื่มประเภทใหม่ที่จัดอยู่ในกลุ่ม เครื่องดื่มคลายความเครียด (Relaxation beverage) น่าจะมาแรงแซงกลุ่มเครื่องดื่มชูกำลังเสียด้วยซ้ำ

จากตัวเลขที่เปิดเผนจาก อินโนเวทีฟ เบเวอเรจ กรุ๊ป ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มผ่อนคลายความเครียดชื่อ 'Drank' พบว่าตลาดมีความต้องการเครื่องดื่มที่ไม่บีบหัวใจแบบเครื่องดื่มชูกำลังเพิ่มมากขึ้นเรื่อง

โดยยอดการจำหน่ายของ Drank เพิ่มขึ้นถึง 198% ในปี 2008 ที่ผ่านมา เป็น 2.2 ล้านดอลลาร์ แม้ว่ามูลค่าจะยังไม่มากมายนักก็ตาม

ก่อนหน้านี้เคยมีเครื่องดื่มประเภทผ่อนคลายและลดความเครียดออกจำหน่ายเหมือนกันอย่างเช่น บลู คาว (Blue Cow Relaxation Drink) โดยตัวแทนจำหน่ายเครื่องดื่มในแคลิฟอร์เนีย

หากย้อนหลังกันไปจริงๆ เครื่องดื่มผ่อนคลายความเครียดเริ่มเปิดตัวครั้งแรกตั้งแต่ปลายปี 2005 โดยไปรวมอยู่ในกลุ่มเครื่องดื่มประเภทน้ำที่เสริมด้วยวิตามิน สแนบเปิ้ล (Snapple) เกเตอเรด น้ำดื่มของเนสท์เล่

ช่องทางการจำหน่ายของ บลู คาว ก็ผ่านทางร้านสะดวกซื้ออย่างเช่น ราลป์ (Ralphs) อัลเบิร์ตสัน (Albertsons) เซเว่น-อีเลฟเว่น เอเอ็ม/พีเอ็ม และผ่านช่องทางผู้จัดจำหน่ายเครื่องดื่มประเภทอื่นๆ ข้างต้น

ส่วนผสมที่สำคัญในเครื่องดื่มประเภทผ่อนคลายความเครียดเหล่านี้คือ สารธีอะนีน เป็นอะมิโนแอซิดที่พบอยู่ในชาเขียวด้วย ซึ่งส่วนผสมที่ว่านี้มีการใช้ในผู้ประกอบการที่ผลิตน้ำดื่มก่อนนอนที่ช่วยให้ผู้ดื่มสามารถนอนหลับได้ดีขึ้น

ส่วนผสมอื่นๆ ในน้ำดื่มก็เป็นพวกสารช่วยลดความเครียด อย่างเช่น คาโมไมล์ แพชชั่น ฟลาวเวอร์ และมะนาว ซึ่งสามารถดื่มได้ทั้งกลุ่มเด็กและผู้ใหญ่

อย่างไรก็ตาม แวดวงของผู้บริโภคในตลาดโลกที่รู้จักและคุ้นเคยกับเครื่องดื่มประเภทผ่อนคลายความเครียดนี้มีน้อยมาก ดูได้จากมูลค่าการตลาดของธุรกิจ แต่ต่อจากนี้ไป สถานการณ์ของเครื่องดื่มผ่อนคลายความเครียด 'Drank' จะเปลี่ยนไป หลังจากที่เซเว่น-อีเลฟเว่นตัดสินใจโปรโมตเครื่องดื่มประเภทนี้ เป็นไลน์ของเครื่องดื่มใหม่ในร้านค้าของตนเองที่สหรัฐฯ และอาจขยายออกไปทั่วโลกในระยะต่อไป

การตัดสินใจของเซเว่น-อีเลฟเว่นในการมุ่มเทขยายงานการตลาดของเครื่องดื่มผ่อนคลายความเครียดตัวนี้ เกิดมาจาก ประการแรก ในช่วงที่ทำการทดสอบตลาดระยะแรก เครื่องดื่ม Drank สามารถสร้างยอดจำหน่ายได้ถึง 2 เท่าของประมาณการยอดจำหน่ายของเซเว่น-อีเลฟเว่น จึงทำให้ร้านคอนวีเนียนสโตร์ยักษ์ใหญ่ของโลกรายนี้ตัดสินใจร่นระยะเวลาในการทดสอบตลาดจากที่เคยใช้เวลาเฉลี่ยราว 5-6 เดือน ในกรณีของสินค้าอื่น เหลืองเพียง 90 วันในกรณีของเครื่องดื่ม Drank

ประการที่สอง จุดเด่นของเครื่องดื่มมีความชัดเจน โดยคำว่า 'Drank' มาจากรากศัพท์ของแวดวงฮิป-ฮอป หมายถึงเครื่องดื่มสีม่วง และ Drank ก็บรรจุในกระป๋องบรรจุสีม่วง กำหนดตำแหน่งทางการตลาดของตนเองว่าเป็นเครื่องดื่มผ่อนคลายความเครียดแบบสุดขั้ว (Extreme Relaxation beverage) ด้วยมอตโตทางการตลาดว่า 'Slow your roll'

นอกจากนั้น Drank ยังเป็นทางเลือกใหม่ของเครื่องดื่ม นอกเหนือจากกลุ่มชูกำลังหรือแอลกอฮอล์ ใช้ผ่อนคลายทำให้หลับสบายแทนการดื่มเหล้าเพื่อให้หลับ

ปัญหาทางการตลาดของ Drank อาจจะมีอยู่บ้างจากชื่อที่ตัดสินใจใช้เป็นชื่อของเครื่องดื่ม เนื่องจากมีคนบางกลุ่มออกมาต่อต้านว่าที่มาของชื่อให้ภาพทางลบ และกลายเป็นสนับสนุนพฤติกรรมคนติดสารเสพติด ตลอดจนบิดเบือนให้การใช้สารเสพติดกลายเป็นวัฒนธรรมที่ดี

เรื่องนี้ผู้ประกอบการเจ้าของผลิตภัณฑ์ Drank ออกมาตอบโต้ว่า แม้ว่าจะใช้กระป๋องสีม่วง และชื่อ Drank แต่ไม่ได้หมายความว่า เครื่องดื่มของตนอยู่ในข่ายสารเสพติดหรือเครื่องดื่มสีม่วงอย่างที่เป็นสแลงในหมู่คนติดยา แต่ต้องการให้เป็นเครื่องดื่มทางเลือกของคนที่ต้องการเลิกใช้ยานอนหลับหรืออาศัยการดื่มแอลกอฮอล์เพื่อให้ตนสามารถนอนหลับได้

ปัญหาอีกประการหนึ่งคือ ส่วนประสมต่างๆ ที่ผู้ประกอบการใส่ไว้ในเครื่องดื่ม Drank นั้นมีความปลอดภัยสำหรับผู้ดื่มมากน้อยแค่ไหน และได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาเรียบร้อยแล้วหรือไม่ หากต้องการสินค้าที่ช่วยให้นอนหลับและผ่อนคลายความเครียด เหมาะสมหรือไม่ที่จะซื้อจากร้านสะดวกซื้อแบบเซเว่น-อีเลฟเว่น

ประเด็นนี้ผู้ประกอบการก็ออกมาอ้างว่า สารที่ใช้ในการผลิตเครื่องดื่ม Drank เป็นสารที่อยู่ในรายชื่อการอนุญาตขององค์การอาหารและยาอยู่แล้ว จึงเป็นเครื่องดื่มที่ปลอดภัยและทำให้นอนหลับได้ด้วยความมั่นใจ ตลอดจนอ้างว่ายังไม่เคยมีใครที่ร้องเรียนต่อบริษัทว่ามีผลข้างเคียงเกิดขึ้น

ความเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มจากน้ำเปล่าหรือน้ำอัดลม มาสู่เครื่องดื่มที่มีคุณประโยชน์เฉพาะทางหรือ Functional beverage เพิ่มมากขึ้นเช่นนี้ น่าจะทำให้วงการอุตสาหกรรมเครื่องดื่มมีแนวโน้มจะสั่นสะเทือนได้เหมือนกัน หากความต้องการในตลาดยังคงมีแนวโน้มของการเติบโตอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกับระยะที่ผ่านมา

ความต้องการที่สูงจากผู้ดื่ม จะทำให้ Drank มีโอกาสขยายตลาดออกไปสู่ร้านค้าปลีกและร้านขายยาทั่วประเทศสหรัฐหรือทั่วโลกได้เช่นเดียวกับเครื่องดื่มชูกำลังอย่างกระทิงแดง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us