Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTVผู้จัดการรายวัน24 มิถุนายน 2552
บอนด์ไทยเข้มแข็งทะลัก ยอดพุ่ง5หมื่นล้านดอกเบี้ยบาน4.0%             
 


   
www resources

โฮมเพจ กระทรวงการคลัง

   
search resources

กระทรวงการคลัง
Bond




ครม.เปิดทางคลังออกพันธบัตรไทยเข้มแข็งเพิ่มเป็น 5 หมื่นล้านบาท เคาะดอกเบี้ยขั้นบันได 3.0 – 5.0% เฉลี่ย 5 ปีอยู่ที่ 4% ด้าน สบน.ยอมรับประชาชนให้ความสนใจมากเปิดขายผู้สูงอายุ 14-16 ก.ค.ก่อนขายเป็นการทั่วไป ระบุจะต้องกระจายช่องทางระดมทุนเพื่อสร้างเสถียรภาพตลาดตราสารหนี้ ส่วนหนี้สาธารณะสิ้นเดือนเมษายนอยู่ที่ระดับ 43.02% ของจีดีพี

นายศุภชัย ใจสมุทร รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า กระทรวงการคลัง จะออกพันธบัตรออมทรัพย์ “ไทยเข้มแข็ง” จำนวน 5 หมื่นล้านบาท โดยจัดสรรวงเงิน 3 หมื่นล้านบาทแรก เสนอขายแก่ผู้สูงอายุ ในสัปดาห์ที่ 3 ของ เดือนก.ค. ส่วนที่เหลืออีก 2 หมื่นล้านบาท จะเสนอขายแก่ประชาชนทั่วไป

นายวัชระ กรรณิกา รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พันธบัตรออมทรัพย์ดังกล่าวจะมีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยที่ 3.8% ในช่วงเริ่มต้น และถึง 5% ในปีสุดท้าย อย่างไรก็ตาม พันธบัตรในส่วนที่จะขายให้กับประชาชนทั่วไป ยังไม่มีรายละเอียดที่ชัดเจนว่าจะขายครั้งเดียวหรือทยอยขายเป็นงวดๆ เนื่องจากในเบื้องต้นกระทรวงการคลังเสนอว่า อาจจะทยอยขายเป็นงวดๆ เพื่อจะไม่ต้องรับภาระดอกเบี้ยทั้งหมดในทันที เนื่องจากยังไม่มีโครงการที่ใช้เงินทั้งหมดในทันที

โดย ครม.ได้ให้กระทรวงการคลัง จัดทำรายละเอียดเสนอกลับมาให้ครม.รับทราบอีกครั้งในสัปดาห์หน้า ทั้งนี้ กระทรวงการคลัง คาดว่าจะเริ่มขายพันธบัตรออมทรัพย์วงเงิน 3 หมื่นล้านบาท อายุ 5 ปี ได้ประมาณวันที่ 14-15 ก.ค.นี้ โดยจะมีอัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันได ซึ่งในปีแรกอาจจะสูงกว่า 3% และคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 5% ในปีที่ 5 และพร้อมจะเพิ่มวงเงินขายพันธบัตรอีก 2 หมื่นล้านบาท หากมีความต้องการสูงมากจากประชาชน

***สบน.ระบุต้องกระจายลงทุนสร้างเสถียรภาพตลาดตราสารหนี้

นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวว่า สบน. ทำหนังสือถึงนายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลังเพื่อขอขยายเพดานการออกพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็งเพิ่มอีกเกือบเท่าตัว จากปัจจุบันที่กำหนดไว้ว่าจะออกพันธบัตรดังกล่าวอายุ 5 ปีวงเงิน 30,000 ล้านบาท เนื่องจากมีประชาชนสนใจสอบถามเข้ามาจำนวนมาก อีกทั้งกระทรวงการคลังไม่ได้ออกพันธบัตรออมทรัพย์มานานนับปีแล้วด้วย

ทั้งนี้ สบน.กำลังเตรียมความพร้อมเรื่องการออกพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็ง หลังจากที่ พ.ร.ก.กู้เงิน 4 แสนล้านบาท ผ่านขั้นตอนการพิจารณาของวุฒิสภาแล้ว โดยกำหนดผลตอบแทนดอกเบี้ยเป็นแบบขั้นบันได เฉลี่ย 5 ปี อยู่ที่ 4% เริ่มจำหน่ายวันที่ 14-20 ก.ค.นี้ โดยให้ผู้สูงอายุมีสิทธิจองซื้อก่อนช่วง 3 วันแรก แต่จองซื้อมาก จะทำให้ประชาชนทั่วไปซื้อได้น้อย

ขณะเดียวกันคนที่มีเงินออมส่วนใหญ่ต้องการถือพันธบัตรของรัฐบาล แต่รัฐต้องกระจายการระดมทุนไปยังนักลงทุนสถาบันด้วย เพื่อสร้างเสถียรภาพของตลาดตราสารหนี้ ด้วยการจำหน่ายให้กับกองทุนต่าง ๆ ที่เป็นช่องทางในการระดมทุนของรัฐตามช่องทางปกติ อาทิ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กองทุนประกันสังคม บริษัทประกันชีวิต กองทุนรวมของบริษัทต่าง ๆ

***หนี้สาธารณะแตะระดับ 43.02% ของจีดีพี

ผอ.สบน.กล่าวว่า ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 เม.ย.2552 มีจำนวน 3.799 ล้านล้านบาท คิดเป็น 43.02% ของ GDP เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 91,123 ล้านบาท เป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง เพิ่มขึ้น 81,001 ล้านบาท อยู่ที่ 2.445 ล้านล้านบาท /หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน เพิ่มขึ้น 7,202 ล้านบาท มาที่1.036 ล้านล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกันเพิ่มขึ้น 4,948 ล้านบาท มาที่ 205,061 ล้านบาท

แต่หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ลดลง 2,028 ล้านบาท เหลือ 108,230 ล้านบาท เนื่องจากการซื้อคืนพันธบัตรของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ที่กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน ส่วนหนี้หน่วยงานอื่นของรัฐนั้นไม่เปลี่ยนแปลง โดยอยู่ที่ 3,683 ล้านบาท

ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของหนี้สาธารณะ เกิดจากการที่รัฐบาลออกตั๋วเงินคลัง 115,688 ล้านบาท เป็นการใช้วงเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณในปีงบประมาณ 2552 จำนวน 61,688 ล้านบาท ขณะที่รัฐบาลออกพันธบัตรรัฐบาล 15,000 ล้านบาท และออกตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณหมื่นล้านบาท

ขณะที่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. ออกพันธบัตร 6,000 ล้านบาท และ บริษัท ปตท. จำกัด มหาชน เบิกจ่ายเงินกู้ระยะยาว 5 พันล้าน-บาท นอกจากนี้ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. เบิกจ่ายเงินกู้ระยะสั้น 4,000 ล้านบาท และธนาคารอาคารสงเคราะห์ หรือ ธอส. ออกพันธบัตร 1,000 ล้านบาท

สำหรับสัดส่วนหนี้สาธารณะคงค้าง แยกเป็น สัดส่วนหนี้ต่างประเทศ 381,828 ล้านบาท คิดเป็น 10.05% และหนี้ในประเทศ 3.417 ล้านล้านบาท คิดเป็น 89.95% เป็นหนี้ระยะยาว 88.83% และหนี้ระยะสั้น 11.17%

***พ.ค.ปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตร 4.17 หมื่นล.

นายพงษ์ภาณุกล่าวต่อว่า สำหรับการดำเนินการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐประจำเดือนพ.ค.52 กระทรวงการคลังได้ปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาล จำนวน 3 หมื่นล้านบาท จากวงเงินที่ครบกำหนด 4.17 หมื่นล้านบาท โดยส่วนที่เหลือได้ชำระคืนจากงบชำระหนี้ ส่วนรัฐวิสาหกิจได้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้โดยทำการ Roll over วงเงินรวม 2 พันล้านบาท โดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.) และธนาคารอาคารสงเคราะห์(ธอส.) ได้ทำการ Roll over หนี้เดิม วงเงินแห่งละ 1 พันล้านบาท

ส่วนช่วง 8 เดือนของปีงบประมาณกระทรวงการคลังได้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศ วงเงินรวม 7.99 หมื่นล้านบาท โดยการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินในส่วนของ FIDF1 จำนวน 4.99 หมื่นล้านบาท และการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่ครบกำหนด 3 หมื่นล้านบาท และรัฐวิสาหกิจได้ทำการ Roll over หนี้เดิมรวม 2.68 หมื่นล้านบาท

***กู้ชดเชยขาดดุล 5.13 หมื่นล้าน

ขณะที่การกู้เงินภาครัฐในเดือนพ.ค.กระทรวงการคลังได้กู้เงินในประเทศเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ วงเงินรวม 5.13 หมื่นล้านบาท โดยเป็นการออกพันธบัตรรัฐบาล วงเงิน 4.7 หมื่นล้านบาท และออกตั๋วเงินคลัง วงเงิน 4.3 พันล้านบาท ด้านรัฐวิสาหกิจได้กู้เงินในประเทศ วงเงินรวม 1.85 พันล้านบาท โดยเป็นการกู้เพื่อลงทุนในโครงการของการประปาส่วนภูมิภาค 850 ล้านบาท และการกู้เงินเพื่อดำเนินกิจการทั่วไปของธนาคารอาคารสงเคราะห์ 1 พันล้านบาท

ในช่วง 8 เดือนของปีงบประมาณ ภาครัฐได้กู้เงินในประเทศรวม 4.99 แสนล้านบาท โดยเป็นการกู้เงินของกระทรวงการคลัง 3.53 แสนล้านบาทและของรัฐวิสาหกิจ 1.46 แสนล้านบาท

ส่วนการชำระหนี้ภาครัฐเดือนพ.ค.กระทรวงการคลังได้ดำเนินการชำระหนี้จากงบประมาณรวม 2.63 หมื่นล้านบาท โดยเป็นการชำระคืนเงินต้น 1.77 หมื่นล้านบาท ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมรวม 8.5 พันล้านบาท และช่วง 8 เดือนของปีงบประมาณ ได้ชำระคืนต้นเงินกู้ ดอกเบี้ย และค่าธรรมเนียมจากงบประมาณรวม 1.09 แสนล้านบาท   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us