Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2530








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2530
อนันตชัย คุณานันทกุล คนอย่างเขายังมีอีกไหม ?             
 

   
related stories

ผู้จัดการรุ่นใหม่ในสายตา "ผู้จัดการ"

   
www resources

โฮมเพจ สยามสตีล กรุ๊ป

   
search resources

สยามสตีล กรุ๊ป (Siam Steel Group)
อนันตชัย คุณณนันทกุล
Real Estate
Metal and Steel




เขาเติบโตจากครอบครัวชาวสวนเชื้อสายจีนแคะฐานะยากจนชีวิตวัยเด็กต้องดิ้นรนหนักหน่วงเมื่อ 30 กว่าปีที่แล้วเขากับพี่ชาย 2 คนร่วมกันสร้างธุรกิจผลิตเฟอร์นิเจอร์ขาย ถึงวันนี้เขายืดอกได้อย่างสง่างามในฐานะ "ซาเสี่ย" ของอาณาจักรเหล็กกล้ามูลค่าพันล้านบาท

ถ้าไม่ตัดสินใจปลูกบ้านแล้ว บานปลายกลายเป็นต้องลงทุนร่วมกับเพื่อน ๆ ทำหมู่บ้านจัดสรรระดับหรูเลิศควบคู่ไปด้วย ป่านนี้ก็คงไม่มีใครในวงกว้างรู้จักนายแบบกิตติมศักดิ์โฆษณาหมู่บ้าน "ศรีเจริญวิลล่า" ที่ชื่อ อนันตชัย คุณานันทกุลเป็นแน่แท้

เขาโผล่ออกมาตอนท้ายของสปอตโฆษณา พูดกับผู้ชมเพียงสั้น ๆ ว่า "ครับ ผมอยู่กับคุณที่นี้" บ่งบอกความเป็นเจ้าของโครงการ ในฐานะผู้ถือหุ้นและมีตำแหน่งบริหารเป็นกรรมการผู้จัดการหมู่บ้านศรีเจริญวิลล่าที่ก็มีบ้านปลูกอยู่ในหมู่บ้านนี้ด้วยหลังหนึ่ง

แต่คงจะยังมีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่ไม่ทราบว่า อนันตชัย เป็นใครมาจากไหนนอกเหนือจากรรมการผู้จัดการหมู่บ้านจัดสรร

เขาเป็นคนท่วงทำนองเยือกเย็น พูดช้า ๆ แววตาบอกถึงความเป็นคนผ่านร้อนผ่านหนาวมาไม่น้อย แต่น้ำเสียงดูเหมือนจะแฝงความภูมิอกภูมิใจอยู่ในระดับดีกรีที่สูงพอสมควรเมื่อบอกว่ากลุ่มธุรกิจของเขาคือ "สยามสตีลกรุ๊ป"

กลุ่มธุรกิจที่ประกอบด้วย 8 บริษัท กับอีก 1 ห้างหุ้นส่วนจำกัด

- บริษัทศรีเจริญอุตสาหกรรม (1979) เป็นบริษัทที่รับผิดชองงานด้านการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์เหล็กยี่ห้อ LUCKY และ KINGDOM ควบคุมตลาด ทั้งในประเทศต่างประเทศ ปัจจุบันมีโชว์รูม 5 แห่ง ที่พระโขนง สุขุมวิท คลองเตย มาบุญครองเซ็นเตอร์และศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า

- ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช.สยามโลหะภัณฑ์ ทำหน้าที่ผลิตเฟอร์นิเจอร์เหล็ก LUCKY และ KINGDOM ส่งให้กับบริษัทแรกจัดจำหน่าย มีโรงงานตั้งอยู่ปู่เจ้าสมิงพรายสมุทรปราการ ห้างหุ้นส่วนจำกัดนี้ มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า SIAM STEEL ซึ่งถูกนำมาใช้เป็นชื่อของกลุ่ม

- บริษัทไทยดีคอรา ผลิต MELAMINE DECORATIVE LAMINATED SHEET ที่นิยมเรียกกันว่าแผ่น FORMICA หรือ DECORA SHEET ภายใต้เครื่องหมายการค้า TD-BOARD ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการตกแต่งตู้โทรทัศน์ ตู้เครื่องเสียง ตู้เย็นและเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ รวมทั้งใช้ในงานตกแต่งภายในอาคารสำนักงานและบ้านเรือนทั่วไป ไทยดีคอราได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ และปัจจุบันผลิตภัณฑ์ที่ออกจากโรงงานมีทั้งที่จำหน่ายในประเทศและส่งออกไปขายต่างประเทศ

- บริษัท ไทยอัมพ์สตีล ผลิตเหล็กรูปรีดร้อน เป็นเหล็กรูปพรรณจำพวก เหล็กแหนบ เหล็กเพลา เหล็กแข็งต่าง ๆ เหล็กรูปตัว L, U, I และ H เป็นอีกบริษัทหนึ่งที่ได้รับการส่งเสริมฯ

- บริษัทสหไทย สตีลไพพ์ ผลิตเหล็กรูปรีดเย็น เช่น ท่อเหล็กดำ ท่อเหล็กชุบสังกะสีและเหล็กรูปต่าง ๆ จำหน่ายทั้งในประเทศและนอกประเทศ

- บริษัทยูเนี่ยน ออโตพาร์ทส แมนแฟคเจอริ่ง กิจการที่ร่วมทุนกับญี่ปุ่นผลิตชิ้นส่วน
ยานยนต์ภายใต้การส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ

- บริษัทสหจักรยานไทย อุตสาหกรรม ผลิตจักรยานและชิ้นส่วนจักรยานภายใต้เครื่อง
หมายการค้า U.C.I จำหน่ายทั้งในประเทศต่างประเทศ

- บริษัทศูนย์บริการเหล็กสยาม เป็นศูนย์บริการเหล็ก เช่นบริการผลิตชิ้นส่วนขั้นต้น
ให้เป็นไปตามความต้องการและตามมาตรฐานของอุตสาหกรรมทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมรถยนต์ จักยานยนต์เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือโครงสร้างพร้อมอุปกรณ์สำหรับงานก่อสร้างทั่วไป

- บริษัทศรีเจริญบ้านและที่ดิน ดำเนินงานหมู่บ้านจัดสรรศรีเจริญวิลล่าบนเนื้อที่ 200
ไร่ ย่ายถนนเทพารักษ์ กม.ที่ 5.5 ที่กลายเป็นกิจการเปิดตัวอนันตชัยออกสู่สาธารณชน

ว่าไปแล้วก็ล้วนเกี่ยวข้องกับ "เหล็ก" แทบทุกบริษัท

"แม้แต่หมู่บ้านจัดสรร ก็ไม่อยากจะพูดว่า อยูนอกสายธุรกิจที่กลุ่มของเราจับเพราะจริงๆ แล้วเหล้กก็เข้าไปเกี่ยวข้องด้วยในแง่โครงสร้างของการก่อสร้างรวมทั้งการตกแต่งภายใน" อนันตชัย คุณานันทกุล พูดถึงศรีเจริญบ้านและที่ดินที่ดูจะเป็นเลือดต่างสี ในกลุ่มธุรกิจของเขามากที่สุดแต่ก็ยอมรับว่าการเข้ามาจับธุรกิจนี้สืบเนื่องจากต้องการสร้างบ้านตัวเองแล้วเผอิญเพื่อน ๆ ชวนให้ร่วมลงทุน ท้ายสุดก็เลยต้องเข้ารับผิดชอบด้านการบริหารด้าน

สิบปีแรกของสยามสตีลกรุ๊ปเป็นการถอยกลับไปหาแหล่งวัตถุดิาบแตกแขนงไปผลิตจักรยานเริ่มมีกิจการที่ร่วมทุนกับคนจีนด้วยกัน ส่วน 20 ปีหลังเป็นการก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมหนักเต็มตัวเริ่มดึงญี่ปุ่นเข้ามาร่วมทุน

"กลุ่มเราถือหุ้นอยู่ประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ในศรีเจริญบ้านและที่ดิน" เขาบอก

สยามสตีลกรุ๊ปแท้ที่จริงมีวันนี้ได้เบื้องหลังคือการดิ้นรนต่อสู่อย่างทรหดตลอดระยะเวลากว่า 30 ปีของผู้ก่อตั้ง

เป็นตำนานของพี่น้อง 3 คน

พี่ใหญ่ชื่อสมชัย พี่รองชื่อวันชัย และอนันตชัย คุณานันทกุล เป็นน้องสาม

ทุกวันนี้พนักงานในกลุ่มตลอดจนผู้คนที่มีโอกาสสัมผัสกับอาณาจักรทุกส่วนหรือเพียงบางส่วนรู้จักพวกเขา 3 พี่น้องในนาม ตั้วเสี่ย (เสี่ยใหญ่) ยี่เสี่ย (เสี่ยรอง) และซาเสี่ย (เสี่ยคนที่สาม)

แต่ถ้ากว่า 30 ปีที่แล้ว อาจจะไม่มีใครรู้พวกเขาทั้ง 3 คือลูกชาย 3 คนของครอบครัวคนจีนเชื้อสายแคะที่อพยพเข้ามาทำสวนอยู่แถว ๆ ลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี

อนันตชัย ขณะนี้อายุ 45 และช่วงนั้นเขายังเล็กมาก แต่ยังพอจดจำได้ว่าครอบครัวประสบมรสุมอย่างหนักหน่วงเมื่อหัวหน้าครอบครัว-ตั้งจิ้น แซ่คู เสียชีวิต ภาระทุกอย่างตกอยู่กับแม่-คูเจ็ง สี่ แซ่คู และพี่ชาย 2 คนที่อยู่ในวัยเพิ่งแตกเนื้อหนุ่ม

พวกเขาดิ้นรนประกอบธุรกิจทำเฟอร์นิเจอร์ไม้ขาย เริ่มต้นแถว ๆ ย่านคลองเตยแล้วย้ายมาย่านซอยอารีย์ พระราม 4

จากเฟอร์นิเจอร์ไม้ค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนมาเป็นเฟอร์นิเจอร์เหล็ก เพราะวัตถุดิบค่อนข้างจะหาง่ายกว่า บวกกับความสนใจเรื่องเครื่องเหล็กของพี่ชายคนที่สองและความปรารถยาสร้างสรรค์สินค้าคุณภาพ

และจากิจการระดับครัวเรือนที่ใช้แรงงานคนในครอบครัวมีจำนวนลูกจ้างเพียง 2-3 คน ในปี 2500 หรือเมื่อ 30 ปีที่แล้วห้างหุ้นส่วนจำกัดศรีเจริญอุตสาหกรรมก็ถูกจัดตั้งขึ้นเป็นนิติบุคคลอันดับแรกเพื่อผลิตและจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์เหล็ก

สำหรับอนันตชัยเขาผ่านการศึกษาเพียงระดับมัะยมก็ต้องออกมาช่วยงานของครอบครัวเต็มตัว อนันตชัยเรียนชั้นประถมที่โรงเรียนอักษรวิทยา เรียนมัธยมช่วงกลางคืนที่โรงเรียนอมาตยศึกษาเขาออกจากโรงเรียนเมื่อปี 2505 ก่อนหน้านั้นเขาเรียนไปด้วยทำงานไปด้วย

พวกเขาทำงานกันอย่างเหน็ดเหนื่อยทุ่มเท เฟอร์นิเจอร์เหล็กจำพวกโต๊ะและตู้เอกสารถูกสร้างอย่างพิถีพิถันรักษามาตรฐานคุณภาพคงเส้นคงวา จากผลิตเพียงขายปลีกที่ร้านขยับขยายกลายเป็นโรงงานขนาดย่อมผลิตเพื่อส่งร้านค้าอีกทอดหนึ่ง

เพียงช่วง 10 กว่าปีก็ดูเหมือนว่าพวกเขาจะมากันได้ไกลมาก ๆ แล้ว

ผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์เหล็กภายใต้เครื่องหมายการค้า LUCKY และ KINGDOM แม้จะไม่มีการจัดทำโปรโมชั่นครึกโครม แต่ก็เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้กันแพร่หลายเพราะคุณภาพที่บอกกันจากปากสู่ปาก

ที่คิดว่าเป็นของต่างประเทศก็มีจำนวนไม่น้อย

ปี 2510 และปี 2511 ขยายกิจการออกไปด้วยการตั้งบริษัทสหไทยสตีลไพพ์ผลิตท่อเหล็ก สำหรับประกอบเป็นเฟอร์นิเจอร์บริษัทนี้ต่อมาขยายเป็นผลิตท่อเหล็กอื่น ๆ อีกหลายชนิด มีทั้งท่อเหล็กกล้า ท่อประปา ท่อร้อยสายไฟ ฯลฯ และ ตั้งบริษัทสหจักรยานไทย อุตสาหกรรมผลิตจักรยานออกขายเพิ่มตัวสินค้าให้แตกแขนงออกไปบนพื้นฐานการใช้วัตถุดิบเหมือน ๆ กัน - เหล็ก

ในปี 2512 ภายหลังขยายกำลังการผลิตมาตามลำดับก็ตัดสินใจแตกตัวครั้งแรกแยกการผลิตการจำหน่ายออกจากกัน ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช.สยามโลหะภัณฑ์ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่ผลิต ส่วนห้างหุ้นส่วนฯ ศรีเจริญอุตสาหกรรมเปลี่ยนฐานะเป็นบริษัทศรีเจริญอุตสาหกรรม (1979) ทำหน้าที่เป็นบริษัทจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในเครือ

ปี 2515 ก่อตั้งบริษัทไทยดีคอรา

ซึ่งเบื้องหลังก็คือการสร้างแหล่งผลิตชิ้นส่วน ที่ใช้ประกอบผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ในเครือแล้วก็จำหน่ายนอกเครือเป็นผลพลอยได้ด้วย

"ทิศทางเห็นได้ชัดเจนว่าสยามสีลกรุ๊ปเริ่มเป็นรูปเป็นร่างภายใต้กลยุทธ์ที่เดินย้อนกลับคือ จากสั่งซื้อชิ้นส่วนมาประกอบเป็นสินค้าเฟอร์นิเจอร์เหล็กพวกเขาเริ่มมองลู่ทางการเข้าไปลงทุนผลิตชิ้นส่วนสำคัญ ๆ เสียเอง"" แหล่งข่าวที่รู้จักกลุ่มธุรกิจนี้มานานนับสิบ ๆ ปีเล่าให้ฟัง

"แล้วจากฐานที่กลับลงไปนั่นเอง ที่ค่อยแตกแขนงไปสู่ธุรกิจอื่น ๆ อย่างเช่นผลิตเหล้กเองก็ขยายไปทำชิ้นส่วนรถยนต์ จักรยานยนต์ เป็นต้น"

บริษัทไทยดีคอราเป็นบริษัทแรกที่เริ่มมีลักษณะร่วมทุนกับกลุ่มอื่น "โดยเราถือหุ้น 90% ขณะที่ ช.สยามโลหะภัณฑ์กับศรีเจริญอุตสาหกรรมเป็นของเรา 100% หุ้นส่วนในไทยดีคอราก็เป็นกลุ่มคนไทยที่รู้จักกับพวกเราเป็นอย่างดี" อนันตชัยเปิดเผยกับ "ผู้จัดการ"

ในปี 2520 ก่อตั้งบริษัทไทรอัมพ์สตีลเพื่อดำเนินการผลิตเหล็กรูปพรรณต่างๆ ส่วนหนึ่งใช้สำหรับกิจการในเครือ และส่วนที่เหลือจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศไทยอัมพ์สตีลเป็นบริษัทที่ร่วมทุนกับสิงคโปร์ฮ่องกง และไต้หวัน ซึ่งคนที่เป็นผู้ประสานงานกระทั่งดึงกลุ่มทุนจากต่างประเทศชุดแรกเข้ามาร่วมด้วยได้นี้ก็คือ วันชัย ยี่เสี่ยหรือพี่ชายคนที่สองของอนันตชัย

และวิชัยก็สามารถดึงเข้ามาได้อีกหลายกลุ่มโดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็กของญี่ปุ่น

ปัจจุบันเขามีบทบาทในกลุ่มสยามสตีลในฐานะคนที่ดูแลงานด้านต่างประเทศทั้งหมดส่วนพี่คนโตดูเรื่องการเงินและบัญชี อนันตชัย ดูด้านการตลาดภายในประเทศและต่างประเทศสำหรับผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์

ทั้ง 3 พี่น้องจะร่วมกันตัดสินใจในเกือบทุกเรื่องราวของอาณาจักรขนาดพัน ๆ ล้านของพวกเขา บางครั้งบนโต๊ะอาหาร บนโต๊ะประชุม หรือในห้องทำงานของแต่ละคน แต่ถ้าถามว่าใครมีพลังในการตัดสินใจสูงสุดโดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอนาคตของกลุ่มหรือการขยายกิจการแล้ว ดูเหมือนคำตอบคือ "วันชัย คุณานันทกุล"

ในปี 2528 ร่วมมือกับบริษัทโอกายาของญี่ปุ่นก่อตั้งบริษัทยูเนียน ออกโตพาร์ทสแมนูแฟคเจอริ่ง ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ บริษัทนี้กลุ่มลูกค้าสำคัญคือโรงงานประกอบจักรยานยนต์ซูซูกิ ยามาฮ่า ฮอนด้า และคาวาซากิ เป็นต้น

และปีเดียวกันนี้เองที่สยามสตีลกรุ๊ปก่อตั้งบริษัทศูนย์บริการเหล็กสยาม ที่เปรียบเสมือนหัวใจของอุตสาหกรรมเหล็กของกลุ่มขึ้นโดยได้รับความช่วยเหลือทางด้านเทคนิคจากนิปปอนสตีลของญี่ปุ่น

ศูนย์บริการเหล็กสยามไปแล้วก็คือประตูแรกที่จะส่งผ่านผลิตภัณฑ์ของโรงงานไปสู่โรงานอื่น ๆ ของกลุ่ม มีหน้าที่ผลิตชิ้นส่วนขั้นต้นตามความต้องการและมาตรฐานของอุตสาหกรรมประเภท

ทุกวันนี้อนันตชัย คุณานันทกุล มักจะนั่งอยู่ที่ ช.สยามโลหะภัณฑ์ ภาระหน้าที่ของเขาเน้นหนักอยู่ที่ธุรกิจดั้งเดิมของกลุ่มเฟอร์นิเจอร์เหล็ก

พี่ชายคนโตของเขานั้นปัจจุบันอายุ 55 พี่คนรองอายุ 48 ยังอยู่ในวัยกระฉับเฉงด้วยกันทุกคน แต่กระนั้นอาณาจักรใหญ่โตของพวกเขาเริ่มมีคนรุ่นต่อไปเข้ามามีบทบาทบ้างแล้ว

"อย่างลูกชายพี่คนโตอายุ 27 ก็เพิ่งกลับจากต่างประเทศ เราก็ให้นั่งเป็นกรรมการผู้จัดการศูนย์บริการเหล็กสยาม แล้วก็มีอีกที่กำลังจะจบการศึกษา" อนันตชัยเล่าให้ฟัง

พวกเขามีพื้นฐานการศึกษาไม่ได้สูงส่งแม้แต่คนเดียว แต่อาศัยความมานะอดทนเรียนรู้จากประสบการณ์และชีวิตจริง สร้างเนื้อสร้างตัวกันขึ้นมาอย่างเงียบเชียบกระทั่งเรียกได้เต็มปากว่าประสบความสำเร็จอย่างน่าอิจฉา

อนันตชัยและพี่ ๆ ของเขายังมีเวลาอีกพอสมควรสำหรับการขยายอาณาจักรออกไปอีก และพร้อมกันนั้นเขาเตรียมการสำหรับทายาทรุ่นต่อไปกันอย่างรัดกุม

"คิดว่าก็คงจะให้ไปเรียนต่างประเทศทุกคน อย่างลูกพี่ชายคนโตที่กลับมาช่วยงานแล้วคนนั้นจบจากญี่ปุ่น" อนันตชัยบอก

อนันตชัยมีครอบครัวเมื่อปี 2511 ภรรยาของเขาปัจจุบันคุมการด้านการเงินอยู่ในบริษัท 2-3 บริษัทในกลุ่ม เขามีลูก 4 คน คนโตอายุ 17 เรียนอัสสัมชัญ คนที่สองอายุ 14 เรียนเซ็นโยเซฟคอนแวนต์ คนที่สามอายุ 13 เรียนอัสสัมชัญและคนที่สี่อายุ 5 ขวบเรียนโรงเรียนอนุบาลดิษยะศริน

เห็นได้ชัดว่าเขาวางพื้นฐานให้ทายาทได้ไม่มีที่ติ

ปัจจุบันนอกจากจะทำหน้าที่เป็นคีย์คนหนึ่งของสยามสตีลกรุ๊ปที่แอบใหญ่โตมโหฬารมาตลอด 30 กว่าปีแล้ว เขาเริ่มก้าวออกสู่วงสังคมมากขึ้น

อนันตชัยเพิ่งจะได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งกรรมการหอการค้าจังหวัดสมุทรปราการ

เขาชอบอ่านหนังสือโดยเฉฑาะหนังสือแนวธุรกิจและนิตยสารเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ยามว่างชอบเดินชมห้างสรรพสินค้า ถ้าอยู่บ้านก็ดูทีวี

เสื้อผ้าค่อนข้างประณีตสั่งตัดเป็นพิเศษจากร้านดีโอนี่ที่กระเป๋าเสื้อเหน็บปากกาดูปองท์และข้อมือสวมโรเล็กซ์ ส่วนรถยนต์ที่ใช้ประจำคือเบนซ์ 280 เอสอีแอล

บ่งบอกมาดเสี่ยทุกกระเบียดนิ้ว

ซึ่งมองย้อนหลังกลับไป 30-40 ปีที่แล้ว อนันตชัยมาจากที่ไกลจนเกือบจะสุดขอบโลกทีเดียว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us