|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ซี.พี.จับมือธนาคารอัล ซาลาม แห่งบาห์เรนเซ็นเอ็มโอยูเป็นพันธมิตรในการลงทุนธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหาร เพื่อป้อนสู่กลุ่มประเทศตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ (MENA) ผลักดันในบาห์เรนเป็นศูนย์กลางอาหารฮาลาล โดยเกษตกรไทยขายพืชผลการเกษตรได้เพิ่มขึ้นและซี.พี.ได้ขยายตลาดสู่ประเทศแถบตะวันออกกลาง เบื้องต้นจะตั้งทีมงานร่วมกันเพื่อหาโครงการที่เหมาะสมก่อนตั้งเป็นบริษัทร่วมทุน โดยซี.พี.จะนำเทคโนโลยี-การบริหารจัดการตีเป็นหุ้น
นายสารสิน วีระผล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซี.พี.) เปิดเผยว่า เครือเจริญโภคภัณฑ์ได้ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU)กับธนาคารอัล ซาลาม แห่งบาห์เรน ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์เอกชนที่มีชื่อเสียงในประเทศบาห์เรน ในการเป็นพันธมิตรในการลงทุนธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหาร เพื่อให้บาห์เรนเป็นศูนย์กลางผลิตอาหารฮาลาลนับว่ามีสำคัญในการร่วมกันสร้างความมั่นคงทางอาหาร (Food Security)ให้กับกลุ่มประเทศตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ (MENA)
" การลงนามMOUครั้งนี้เป็นครั้งแรกของซี.พี.ในการลงทุนกับธนาคารอิสลาม ถือเป็นการก้าวสำคัญของซี.พี.ในการทำธุรกิจอาหารฮาลาล และเพื่อตอบสนองวิสัยทัศน์การเป็นครัวของโลกซึ่งการร่วมมือครั้งนี้จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อบาห์เรน และภาคเกษตรกรชาวไร่ ชาวนาของไทยให้ดีขึ้น โดยมีช่องทางการในการขายสินค้าเกษตรได้เพิ่มมากขึ้นทั้งข้าว ผลไม้โดยซี.พี.มองว่าผลประโยชน์จะตกอยู่กับผู้ผลิตขั้นปฐม คือชาวไร่ ชาวนา และยังเป็นประโยชน์ต่อประเทศโดยรวมด้วย ซึ่งการลงนามครั้งนี้ ถือเป็นคนละเรื่องกับกรณีที่มีข่าวว่ากลุ่มอาหรับจะเข้ามาทำนาในเมืองไทย "
สาระสำคัญในบันทึกข้อตกลงในครั้งนี้ คือ ได้ตกลงร่วมกันในการศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหาร ประกอบด้วยธุรกิจสัตว์บก สัตว์น้ำ และพืชผักผลไม้ ซึ่งการศึกษาความเป็นไปได้นี้จะครอบคลุมทั้งด้านเทคโนโลยี การเงิน การตลาด และการดำเนินงานเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในกลุ่มประเทศMENA ที่มีประชากรรวมกันประมาณ 300 ล้านคน ประกอบด้วย 20 ประเทศ ได้แก่ แอลจีเรีย บาห์เรน จิบูติ อียิปต์ อิหร่าน อิสราเอล จอร์แดน คูเวต เลบานอน ลิเบีย โมร็อกโก โอมาน กลุ่มปาเลสติเนียน กาตาร์ ซาอุดีอาระเบีย ซีเรีย ตูนีเซีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเยเมน
นอกจากนี้ ยังมองลู่ทางการทำธุรกิจเกษตกรอุตสาหกรรมในประเทศที่ 3 ซึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถือเป็นแหล่งการเพาะปลูกเกษตรจำนวนมากถือเป็นแหล่งวัตถุดิบในการผลิตอาหารสำเร็จรูป ซึ่งซี.พี.มีความชำนาญในการแปรรูปสินค้าเกษตร โดยไม่จำเป็นต้องลงทุนหรือจัดหาวัตถุดิบด้านเกษตรจากไทยเพียงอย่างเดียว ก็จะผลิตเพื่อส่งออกไปกลุ่มประเทศMENA
" การลงนามครั้งนี้ ถือเป็นความพยายามครั้งสำคัญ ที่จะร่วมกับพันธมิตรในการทำธุรกิจ จากเดิมที่เครือซี.พี.จะเป็นผู้ลงทุนเอง โดยทางธนาคารอัล ซาลามฯจะอยู่ในฐานะผู้ลงทุน ส่วนซี.พี.รับผิดชอบด้านการบริหารจัดการ และเทคโนโลยี เบื้องต้นจะตั้งทีมงานร่วมกันเพื่อศึกษาหาโครงการนำร่องก่อน หลังจากนั้นจะมีการตั้งบริษัทร่วมทุนขึ้นมา ทางซี.พี.จะใช้จุดเด่นด้านเทคโนโลยี ความรู้ความชำนาญตีเป็นสัดส่วนในการถือหุ้นแทนการใส่เงินลงทุน และเมื่อตั้งบริษัทขึ้นมาแล้ว ก็อาาจะมีการดึงรัฐบาลของกลุ่มประเทศMENAเข้ามาร่วมทุนด้วยก็ได้ อย่างไรก็ตาม ความคืบหน้าในเรื่องนี้คาดว่าจะได้ข้อสรุปในเร็วๆนี้ "
นายสารสิน กล่าวต่อไปว่า บาห์เรนนิยมทานข้าวบาสมาติก ซึ่งเขาก็เสนอให้ซี.พี.ปลูกข้าวชนิดนี้ส่งออก แต่ซี.พี.ไม่มีนโยบายที่จะเป็นผู้ปลูกข้าว แต่จะเป็นผู้พัฒนาพันธุ์พืชหรือต่อยอดธุรกิจโดยการแปรรูปฯ ดังนั้นเราจึงอาจจะเข้าไปปรัปบรุงรสชาดข้าวขาวเพื่อให้ผู้บริโภคในบาห์เรนทานแทนข้าวบาสมาติก
โดยมองว่าน่าจะเป็นช่องทางการจำหน่ายข้าวของไทยในกลุ่มประเทศตะวันออกกลางเพิ่มมากขึ้น โดยมองสินค้าที่มีความพร้อมในการทำตลาดเบื้องต้นน่าจะเป็นข้าว ไก่และกุ้ง ซึ่งเครือซี.พี.ก็มีโรงงานผลิตสินค้าแปรรูปกระจายอยู่หลายประเทศทั่วโลก นอกจากผลิตสินค้าสนองความต้องการในประเทศ เหลือก็จะส่งออก
นายยูซิฟ อับดุลลา ทากิ ประธานคณะผู้บริหาร ธนาคารอัล ซาลามแห่งประเทศบาห์เรน กล่าวว่า การลงนามเอ็มโอยูครั้งนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญของธนาคารในการเข้าสู่ธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม และอาหารตามนโยบายการขยายธุรกิจของธนาคาร โดยได้ร่วมมือกับซี.พี.ที่เป็นบริษัทเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารที่มีชื่อเสียงของโลก ทำให้บาห์เรนเป็นศูนย์การผลิตอาหารโดยมีกลุ่มประเทศMENAเป็นเป้าหมายที่สำคัญทางการตลาด
|
|
|
|
|