Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2530








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2530
กีรติ อัสสกุล คงไม่อ่อนนุ่มไปเสียทุกเรื่อง             
 

   
related stories

ผู้จัดการรุ่นใหม่ในสายตา "ผู้จัดการ"

   
www resources

โฮมเพจ ไทยสมุทรพาณิชย์ประกันภัย

   
search resources

ไทยสมุทรพาณิชย์ประกันภัย
กีรติ อัสสกุล
Insurance




บริษัทไทยสมุทรพาณิชย์ประกันภัย จำกัด มาถึงข้อต่อของยุคที่สาม ประติมากรรมชิ้นสำคัญอย่างกฤษณ์ อัสสกุล กำลังแปรสภาพตนเอง เป็นเพียงแค่ความทรงจำ แล้วมอบหมายงานอันหนักอึ้งให้กับลูกชายคนโต "กีรติ อัสสกุล" คนหนุ่มที่ชอบเล่นเรือใบ แน่นอนเรือใบที่เขาต้องบังคับให้โลดแล่นฝ่าคลื่นพายุต่าง ๆ ในการดำเนินธุรกิจเป็นเรื่องที่ยุ่งยากใจแท้ ๆ

ภาพที่แจ่มกระจ่างของบริษัทไทยสมุทรพาณิชย์ประกันภัย จำกัด ที่คอรงความยิ่งใหญ่ในธุรกิจประกันภัย ประกันชีวิตมาช้านาน รวมถึงความสำเร็จเหลือคณานับของอีกหลายธุรกิจในเครือ หากศึกษาประวัติศาสตร์หรือพัฒนาการของกลุ่มธุรกิจกลุ่มนี้สามารถแบ่งออกได้ 3 ยุคสมัย

ยุคแรก- "ข้างนอกสุกใส ข้างในเป็นโพรง"

บริษัทไทยสมุทรพาณิชย์ประกันภัย จำกัด ตั้งไข่ล้มต้มไข่กินเมื่อปี พ.ศ. 2492 โดย "ชิน แซ่เบ๊" หรือ "ชิน อัสสกุล" คนเดินโพยก๊วนชื่อดังคนหนึ่งในสมัยนั้น และได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันภัยประกันชีวิตเป็นใบสุดท้ายจากรัฐบาลเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2494

มองจากภายนอกกิจการภายใต้การบริหารงาน "ชิน อัสสกุล" ซึ่งอาศัยความสัมพันธ์ของการเดินโพยก๊วนมหาลูกค้าได้มากมายนั้น ค่อนข้างจะรุ่งโรจน์มีการเปิดสาขาทั้งในกรุงเทพต่างจังหวัดอย่างคึกคัก แต่โดยความเป็นจริงกิจการประสบปัญหาขาดทุนมาโดยตลอดเฉพาะช่วง 5 ปีแรกแทบจะรักษาชีวิตไม่รอเลยทีเดียว ความล้มเหลวนั้นเป็นเพราะว่า คนไทยยังไม่เชื่อมั่นว่าการประกันภัย ประกันชีวิตจะให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าและมีความมั่นคง

ไทยสมุทรฯที่มีรากคำมาจากภาษาจีนว่า "อันซุ่น" ที่แปลว่า ราบรื่นและปลอดภัยจึงหาความปลอดภัยไมได้เลยทั้งคนลงทุนและลูกค้าที่ต้องวัดอัตราเสี่ยงในปริมาณที่พอ ๆ กัน

ยุคสอง "เส้นยืนของความมั่งคั่งและมั่งคง

"กฤษณ์ แซ่เบ๊" หรือ "กฤษณ์ อัสสกุล" น้องชายของชิน อดีตหัวหน้าฝ่ายสินเชื่อของบริษัท ยูเอสไลฟ์ อินชัวรันส์ที่นิวยอร์ค ประสบการณ์อันช่ำชองที่เขาได้รับจากบริษัทชื่อดังแห่งนี้ ทำให้สามารถเขียนประวัติศาสตร์บทใหม่ให้กับไทยสมุทรฯได้เมื่อเขาลกับมารับภาระบริหารงานให้กับพี่ชาย

กฤษณ์ผ่าตัดระบบดั้งเมอย่างไม่มีเยื่อใย เขาสั่งยุบสาขาทั้งหมด และลดจำนวนพนักงานที่สำนักงานใหญ่ (ริมคลองผดุงกรุงเกษม) จาก 64 คนเหลือ 14 คน ทั้งยังไม่ปรับเงินเดือนติดต่อกัน 3 ปี การตัดสินใจครั้งนี้ทำให้สถานภาพของบริษัทฯดีขึ้นเนื่องจากสามารถควบคุมรายรับ-รายจ่ายในช่วงสร้างตัวได้อย่างเข้มงวด

ไทยสมุทรฯประสบกับความโชคดีอย่างบังเอิญเมื่อบริษัทนครหลวงประกันชีวิต จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงมากสมัยนั้นเกิดปัญหาภายในจนต้องเลิกกิจการ ทำให้ไทยสมุทรฯ ซึ่งเป็นบริษัทเดียวที่กล้าเสี่ยงกับการให้ผลตอบแทนที่แตกต่างไปจากคนอื่น สามารถดึงลูกค้าเก่าของนครหลวงฯมาได้อย่างมากมาย

หลังจากที่ฐานะพอลืมตาอ้าปากได้แล้ว กฤษณ์จึงกลับมาโหมตะลุยขยายสาขาวบคู่ไปกับการเล่นทีดิ่นที่ชายฉลาดอย่างจริงจังอีกครั้ง พร้อมกับปันผลกำไรส่วนหนึ่งจากงานประกันไปลงทุนในธุรกิจด้านอื่น จนทำให้เครือไทยสมุทรฯ แทบจะเรียนได้ว่าเป็นกลุ่มเดียวที่มีธุรกิจในมือเกือบครอบทุกสาขา ("ผู้จัดการ" จะเขียนถึงจุดนี้อีกครั้ง)

ยุคสมัสยภายใต้การคอนโทรลงานแบบเฉียบขาดจนบางคราวอาจเลินเล่อไปในทำนอง "ข้ามาคนเดียว" ของ "กฤษณ์ อัสสกุล" สามารถสร้างฐานอันแข็งแกร่งเป็นเส้นยืนของความมั่นคงที่กำลังรอรับการพิสูจน์มาจนถึงปัจจุบัน

ยุคสาม "พิมพ์เขียวที่เลือกลาง"

ไทยสมุทรฯเมื่อผ่านพ้นยุคที่สองเป็นยุคของการขยายตัวอย่างค่อนข้างจะเหิมเกริม และแม้ว่ากฤษณ์จะค่อย ๆ รามือเพลาการสั่งงานลงไปบ้าง แต่เขาคงมีความมั่นใจที่ปะทุตลอดเวลาว่า "ยุคที่สามของไทยสมุทรฯภายใต้การดูแลของลูก ๆ คงจะสืบสานความรุ่งเรืองได้ไม่มีที่สิ้นสุด"

ขณะที่หลาย ๆ คนนึกเสียว"

"คุณนิม" ของพนักงานไทยสมุทรหรือ "กีรติ อัสสกุล" คนหนุ่มวัย 29 ลูกชายคนโตของกฤษณ์ ที่ยินยอมสมัครใจเข้ามาเป็นหัวขบวนสืบทอดภาระประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ของคนรุ่นก่อน จึงต้องกลายเป็นเป้าคำถามของ "ความเสียว" ไปโดยปริยาย

กีรติเป็นคนหนุ่มอัธยาศัยดีอย่างที่หลายคนทั้งในและนอกเครือไทยสมุทรฯเข้าใจจริง ๆ ความนุ่มนิ่มเรียบร้อย สุภาพอ่อนน้อมแทบจะผิดแผกแตกต่างไปจากความห้าวเฉียบดุดันกร้าวแกร่งของพ่อโดยสิ้นเชิง อิริยาบถ และการวางตัวในทุกโอกาสราวกับ "คุณชายกีรติ" ในนวนิยายประโลมโลกอย่างไรอย่างนั้น

เขานิ่มเสียจนอดคิดไม่ได้ว่า ทำไมจึงกล้าหาญชาญชัยเข้ามารับผิดชอบงานที่มีสินทรัพย์ไม่น้อยกว่า 3,000 ล้านและมีบริษัทที่ต้องควบคุมดูแลดุจใยแมงมุม ไม่ต่ำกว่า 30 บริษัท และบางบริษัทยามภาวะเศรษฐกิจเพิ่งสร่างไข้ก็มีอาการครึ่งผี ครึ่งคนที่น่าสะพรึงกลัวไม่น้อยเลย

เขาอาจจะมีความมั่นใจคล้ายคลึงกับกฤษณ์อยู่บ้าง แต่ก็เป็นความเชื่อมั่นที่ค่อนข้างอยู่ในกรอบกฎและระเบียบแบบแผน ทั้งนี้อาจเป็นพฤติกรรมที่ถานทอดมาจากปรัชญาความเป็น "วิศวกร" ของเขาก็เป็นได้ ลักษณะเช่นนี้เขาเองก็ยอมรับว่า มันมีทั้งข้อดีและข้อด้อยพร้อม ๆ กัน

"ดีตรงที่การรีวิวผลงานหรืออธิบายในจุดต่าง ๆ จำเป็นต้องมีเหตุผลอ้างอิงตลอดไม่ใช่ไปอย่างข้าง ๆ คู ๆ ซึ่งอาจจะดีในระยะสั้นแต่ก็เป็นผลเสียในระยะยาว แต่ข้อด้อยของการทำงานแบบวิศวกรที่ผมรู้ตัดีมันอยู่ที่ว่าบางครั้งเราอาจคิดไปในแนวแคบเกินไป" เขากล่าวสั้น ๆ

ถ้ามองในประเด็นนี้จุดที่น่าพิเคราะห์อาจอยู่ตรงที่ ความเหิมเกริมในการขยายตัวของเครือไทยสมุทรฯที่พยายามเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจทุกประเภท ลักษณะแผ่กระจายของฐานธุรกิจกับความคิดที่ยังยอมรับว่าในบางคราว "อาจตัดสินใจแคบๆ" ของคนที่เป็นประธานบริษัทฯ เช่นกีรตินั้นจะสามารถปรับความสมดุลให้เข้ากันได้ไหม

"ว่ากันจริง ๆ แล้วคุณกฤษณ์ยังคงไม่ล้างมือโดยเด็ดขาด คิดว่าแกเข้าใจสถานการณ์ได้ดีเหตุที่ต้องดันลูกชายที่อายุน้อยสวมตำแหน่งที่สูงสุดในองค์กร คงเป็นการสร้างความยำเกรงกันมากกว่าเพราะถ้าสร้างพลังการควบคุม "คน" ให้อยู่ได้ง่ายแล้วก็ไม่ยากที่จะสร้างงานให้ดี กีรติตอนนี้คงเพิ่งเริ่มต้นเรียนรู้งานมากกว่า" คนในสำนักงานประกันภัยพูดถึงทายาท "อัสสกุล" ผู้นี้

ความเชื่อมั่นของคนหนุ่มที่อุดมไปด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตนผู้นี้อีกประการหนึ่งอาจเป็นอย่างที่เขาบอกว่า "เพราะผมยังโสดไม่มีภาระอื่นใดนอกจากการทำงาน และเรียนรู้งานให้ชำนาญมากขึ้น คงอีกนานนะกว่าที่จะแต่งงาน ยังไม่รู้เลยว่าจะมีใครหลงมาชอบเราบ้าง " เขากล่าวติดตลกที่แทบไม่น่าเชื่อเหมือนกันว่า ความที่มีหน้าตาดี ฐานะมั่งคั่งของเขานั้นจะ "อาภัพ" คนรักเสียจริง ๆ

ความสุภาพอ่อนโยนของกีรติอาจวัดได้จากการที่เขาเป็นคนที่มีความผูกพันกับ "น้ำ" เอามาก ๆ ในวันหยุดพักผ่อนจะไปเล่นเรือใบที่ชายหาดพัทยาเป็นประจำ หรือไม่ก็ดำน้ำ ว่ายน้ำ เว้นไว้แต่เหนื่อยจริง ๆ ก็จะปลีกตัวอ่านหนังสือก็ไม่พ้นหนังสือที่เกี่ยวกับน้ำและกีฬาทางน้ำอยู่นั่นเอง

"น้ำไม่เป็นเพียงแค่สัญลักษณ์ของความอ่อนนุ่มเท่านั้น แต่ปรัชญาลึก ๆ ของมันยังสอนให้เราได้เข้าใจถึงกฎเกณฑ์ธรรมชาติที่สามารถปรับให้สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตได้หลาย ๆ อย่าง" เขาเคยกล่าวถึงน้ำไว้อย่างนี้

กีรติยอมรับอย่างไม่อายว่า ฝีมือของเขายังอ่อนหัดต้องหล่อหลอมอีกมาเพื่อรับงานใหญ่ในอนาคต แต่ก็เป็นโชคดีไม่น้อยว่า การก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดของบริษัทฯ นั้นเขามีทีมงานที่มีประสิทธิภาพซึ่งเป็นคนที่กฤษณ์สร้างขึ้นมาคอยประคับประคองช่วยเหลือระแวดระวังภัยให้ตลอดเวลา

"การประชุมคณะกรรมการบริษัทฯถึงกีรติจะเป็นประธานกรรมการทว่าเขาก็ไม่มีอำนาจตัดิสนใจมากนัก นอกจากฤษณ์แล้วต้องฟังเสียงของกรรมการเสียมากกว่า" แหล่งข่าวภายในบอกกับ "ผู้จัดการ"

"FIRAMS" เป็นอาวุธลับในการทำงานของผู้บริหารเครือไทยสมุทรฯ กีรติถูกกำหนดให้รับผิดชอบ 2 ตัวคือ F-FINANCE กับ I-INVESTOR ซึ่งเข้ากับบุคลิกของเขาที่เป็นคนพิถีพิถันและละเอียดรอบคอบ

"ถ้าเปรียบเทียบกับน้องชายที่เข้าไปดูแลด้านประกันนับว่าผิดกันมาก รายนั้นเร็วแต่ยังติดความเป็นคนหนุ่มที่หุนหัน การที่กฤษณ์มอบตแหน่งประธานให้กับกีรติและให้ดูแลเรื่องการเงินกับการลงทุนคงพิจารณาถึงความรอบคอบเป็นหลัก กอปรกบาองว่าความเป็นคนผ่อนหนักผ่อนเบาของนิมจะสามารถประคองเกม ประสานความรู้สึกร่วมของทุกฝ่ายให้เข้ากันได้ มีข้อขัดแย้งน้อยที่สุดซึ่งมี่ผ่านมานิมก็ทำได้ดี" ผู้บริหารคนหนึ่งกล่าวกับ "ผู้จัดการ"

หลายคนตั้งคำถามที่คลางแคลงว่า "เขาสามารถเข้ากับทีมงานของพ่อที่อายุห่างกันหลายสิบปีได้อยางแนบแน่นจริงหรือ" และบางคนคาดการณ์ถึงอนาคตบางแง่มุมไม่ได้ว่า ถ้าต้องเกิด "รอยร้าว" ขึ้นภายในองค์กรอย่างไม่พึงให้เกิดในภาวะที่กีรติยังไม่แกร่งพอ ไทยสมุทรฯที่กำลังก้าวร้าวต่อการขยายตัวจะมีสภาพการณ์อย่างใด

กีรติดูเหมือนเข้าใจลึกซึ้งถึงสัจธรรมข้อนี้ได้ดี รอยร้าวไม่จำเป็นต้องมีแต่การเปลี่ยนแปลงก็ย่อมเกิดขึ้นแน่นอน ดังนั้นเขาจึงต้องวางแผนสร้างทีมงานคนหนุ่มสาววัยเดียวกัน ที่ต้องมีความสามารถไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันขึ้นมาอย่างไม่อึกทึกครึกโครม ขุนพลเหล่านั้นส่วนใหญ่จบปริญญาโทหรือไม่ก็เอ็มบีเอ. แทบทั้งสิ้น

"ไอเดียใหม่ ๆ บางครั้งไม่เคยมีใครทำมาก่อน การที่จะไปเปลี่ยนระบบเก่า ๆ ก็เป็นเรื่องที่ลำบากสำหรับคนที่ทำงานอย่างนั้นอยู่แล้วจนชาชิน" เขาเคยเปรยความรู้สึกลึก ๆ ของจิตใจเช่นนี้ออกมา และที่สุดของความเป็นเยาว์วัยทำให้ต้องยอมรับคำตัดสินของคนรุ่นเก่าที่บอกว่ามีประสบการณ์มามากกวา

ยุคที่สามของเครือไทยสมุทรฯ หากกีรติยังคงความอ่อนน้อมถ่อมตนเช่นนี้อยู่ แม้ว่าตัวธุรกิจจะก้าวกระโดดแต่คงเป็นก้าวกระโดดที่ค่อนข้างอนุรักษ์นิยมแบบแผนเก่า ๆ อยู่มาก เว้นไว้เสียแต่ว่า "วิศวกร" หนุ่มคนนี้จะ "กล้า" ที่จะเปลี่ยนแปลงตามความคิดของตนเฉกเช่นกฤษณ์เคยกระทำมาแล้วในตอนเริ่มต้นยุคที่สอง เมื่อนั้นพัฒนาการของเครือไทยสมุทรฯอาจพลิกรูปแบบ

หากการรู้จักเลือกใช้คนให้เป็นตัวตายตัวแทนที่ดีได้เป็นสุดยอดของการบริหารกีรติอาจกำลังพิสูจน์ความเป็นจริงข้อนี้อยู่กระมัง เพราะถึงแม้จะมีบางเสียงปรามาสเขาว่า "ไม่เห็นเก่งอะไรอาศัยพ่อทำมาดี" แต่ถ้าคนเหล่านั้นจะได้รู้ว่า กีรติกำลังสร้างคน ผูกข้อต่อของคนรุ่นเก่า ใหม่ในบริษัทให้ประสมกันได้อย่างเหมาะเหม็ง และรู้จักวิธีเลือกที่จะใช้คนเหล่านั้นทำงานให้ได้ดีที่สุด

ปรากฏการณ์อย่างนั้นพอไหม ที่จะยอมรับความเป็นทายาทที่ไม่อับด้อยในความสามารถของเขา

กีรติเป็นอีกคนหนึ่งที่ไม่คล่องแคล่วภาษาไทยมากนัก หลังจากจบชั้นประถมที่เซนต์ดอมินิกเมื่ออายุ 13 ขวบ ก็ถูกส่งไปเรียนต่อที่สิงคโปร์จนจบไฮสคูล แล้วไปสำเร็จปริญญาตรีด้านวิศวกรรมเคมีที่ QUEEN UNIVERSITY ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงด้านวิศวกรรมของคานาดา จากนั้นไปเรียบและสำเร็จปริญญาโทด้านวิศวกรรมเคมีอีกเช่นกันที่ UNIVERSITY OF SOUTHERN CALIFORNIA (N.S.C.)

เขาตั้งใจจะเป็นวิศวกรพลังงานมากกว่าจึงเลือกเรียนสาขาวิชานี้ แต่โชคไม่เข้าข้างระหว่างที่กำลังเรียนปริญญาโทเมื่อปี 2525 ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานกรรมการบริษัท ขณะนั้นเขามีอายุเพียง 24 ปีนับเป็นประธานบริษัทที่มีอายุน้อยที่สุดและยังเป็นนักศึกษาอีกด้วย

เมื่อเป็นประธานกรรมการบริษัทก็เป็นปีที่บริษัทอโศกอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด "เทรดดิ้งคัมปะนี่" ภายในเครือที่ได้รับการยกย่องมากได้ไปเปิดสาขาที่ลอสแองเจลลีสเขาเลยต้องทำหน้าที่ดู่แลสินค้าที่ส่งอไปจากเมืองไทยแรก ๆ คิดว่าจะทำเพียง 3 เดือนแต่เอาเข้าจริง ๆ กลับติดลมบนต้องอยู่โยงที่นั่นถึง 2 ปี แล้วจึงกลับมาเริ่มทำงานกับอโศกฯที่เมืองไทย ก่อนจะก้าวมาเป็นประธานกรรมการบริษัทฯในปัจจุบัน

กีรติเป็นพนักงานคนหนึ่งที่ต้องผ่านโรงเรียนฝึกหัดของบริษัทนที่ปากช่อง นครราชสีมา เพียงแต่เขาได้สิทธิพิเศษตรงที่ไม่ต้องเข้าคอร์สอบรมภาษาอังกฤษ โรงเรียนฝึกหัดแห่งนี้เขาตั้งใจว่าจะพัฒนาให้ได้มาตรฐานกว่าเดิมเนื่องจากเป็นบริษัทแรกที่ริเริ่มโครงการอย่างนี้

ในการเขียนถึงเขาครั้งนี้เขาบอกว่า "ไม่อยากให้เขียนถึง อยากเก็บตัวเงียบ ๆ มากกว่า" ซึ่งนี่ก็เป็นเอกลักษณือย่างหนึ่งของกฤษณ์ที่ไม่ค่อยยอมให้นักข่าวสัมภาษณ์หรือซักถามอะไรมากนัก ไม่รู้ว่าเขาโดนกำลังภายในอะไรหรือเปล่าจึงถูกคำสั่งเกมขอร้องอย่างนี้ หรือว่านี่เป็นพิมพ์เขียวที่กฤษณ์พยายามสร้างลูกชายคนนี้ให้เหมือนกับเขาทุกระเบียดนิ้ว

กฤษณ์เคยพูดบ่อย ๆ ว่า "กูชุ่ยเอง" เมื่อรู้ตัวว่าทำผิดพลาดและเพราะ "กูชุยเอง" จึงทำให้เครือไทยสมุทรฯเติบโตเล่าขานความอหังการกันมาได้จนถึงทุกวันนี้

กีรติคงไม่มีสิทธิพูดคำว่า "กูชุ่ยเอง" หรอกนะ เพราะขืน "กูชุ่ยเอง" มากครั้งเท่าใด พิมพ์เขียวของความมั่งคั่งและมั่นคงที่กฤษณ์สร้างขึ้นมาในยุคที่สองของประวัติศาสตร์ไทยสมุทรพาณิชย์ประกันภัย อาจถึงกาลดับสลาย

แล้วคิดว่าคนที่มีจิตใจ่ออนโยนอย่างกีรติจะทนรับสภาพอย่างนั้นได้หรือ

เชื่อใจเถิดว่าเขาคงไม่ให้เกิดวันนั้นแน่ ๆ !!?

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us