Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายวัน18 มิถุนายน 2552
โบรกฯเชื่อหุ้นไทยQ3ดิ่ง             
 


   
search resources

Stock Exchange
กวี ชูกิจเกษม




กูรูประเมินหุ้นไทยในไตรมาส 3 ไปไม่รอด ชี้ยังเป็นไปในลักษณะพักฐาน จากแรงเทขายทำกำไร หลังดีดขึ้นมาแรงจัดในช่วงก่อนหน้า อีกทั้งไร้ปัจจัยกระตุ้นตลาด ล่าสุดพบพอร์ตลงทุนโบรกเกอร์ฟันกำไรจากดัชนีพุ่งไปกว่า 6-7 พันล้านบาทแล้ว แม้เม็ดเงินรวมน้อยกว่ากองทุน ชูหุ้นกลุ่มแบงก์น่าลงทุนมากสุด เพราะได้รับอานิสงส์จากพ.ร.ก.เงินกู้ ส่วนสิ้นปีนี้ให้ดัชนีอยู่ที่ 580 จุด แม้กระแสเงินยังไหลเข้าต่อเนื่อง ขณะที่วานนี้ตลาดหุ้นดิ่งอีก 10 จุด ลดลงต่อเนื่องเป็นวันที่ 3

นายกวี ชูกิจเกษม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กสิกรไทย จำกัด เปิดเผยว่า แนวโน้มตลาดหุ้นไทยช่วงไตรมาส 3/52 จะยังเคลื่อนไหวในลักษณะพักฐานประกอบกับไม่มีปัจจัยอะไรที่เข้ามากระตุ้นการลงทุน จึงทำให้อาจเห็นแรงเทขายทำกำไรจากนักลงทุนสถาบันจนฉุดดัชนีร่วงลงอย่างรุนแรง

ทั้งนี้ จากการสำรวจพอร์ตการลงทุนในหลักทรัพย์ไทยของธุรกิจหลักทรัพย์ (โบรกเกอร์) ทั้งหมดในสิ้นไตรมาส 1/52 พบว่ามูลค่าพอร์ตฯประมาณ 2 หมื่นล้านบาท แต่เนื่องจากมีการซื้อขายของเม็ดเงินในส่วนดังกล่าวเป็นประจำส่งผลให้วอลุ่มปรับเพิ่มขึ้นเป็น 1-1.5 แสนล้านบาทในช่วงที่ดัชนีหุ้นไทยปรับเพิ่มขึ้น 40% ซึ่งหากคิดเป็นกำไรของพอร์ตแล้วจะอยู่ที่ประมาณ 6-7 พันล้านบาท

ปัจจุบันสัดส่วนของพอร์ตการลงทุนของโบรกเกอร์ในนักลงทุนสถาบันขยับเพิ่มขึ้นมาเป็น 60% และ 40% จากกองทุนต่างๆ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบระหว่างสัดส่วนทั้งสองปรากฏว่าพอร์ตโบรกเกอร์มูลค่าที่น้อยกว่ามูลค่าพอร์ตกองทุนฯ แต่ถ้าวัดกันในเรื่องของวอลุ่มแล้วพอร์ตของธุรกิจหลักทรัพย์ถือว่ามีวอลุ่มที่สูงกว่าพอร์ตกองทุนฯ ค่อนข้างมาก

แนะแยกหุ้นออกจากสภาพศก.

อย่างไรก็ตาม ทิศทางตลาดหุ้นในครึ่งหลังปี 52 แนะนำให้นักลงทุนควรแบ่งแยกตลาดหุ้นกับสภาพเศรษฐกิจออกจากกัน โดยมองว่าบรรยาการเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวในรูปแบบ W Shape แต่อย่างไรก็ตามยังคงมีปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เศรษฐกิจไม่สามารถฟื้นตัวได้ดีนักไม่ว่าจะเป็นการที่รัฐบาลอัดฉีดเม็ดเงินเข้าไปในระบบจำนวนมาก เช่นเดียวกันกับประเทศจีนดันเม็ดเงินเข้าสู่ระบบตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา

โดยสังเกตุจากตัวเลขสินเชื่อที่ขยายตัวค่อนข้างมาก ซึ่งเป็นผลจากรัฐบาลจีนสั่งให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อมากที่สุดเป็นประวัติศาสตร์จนทำให้ปริมาณเงินในระบบสูงมาก แต่กลับมีอัตราดอกเบี้ยต่ำสุดในรอ บ 10 ปี ซึ่งเหตุการณ์ลักษณะนี้เคยเกิดขึ้นกับประเทศสหรัฐฯ มาก่อนจนกลายเป็นภาวะฟองสบู่แตก แต่อย่างไรก็ดีคาดการณ์ว่าจีนได้รับทราบถึงผลกระทบเหล่านี้แล้วเพียงแต่มีความจำเป็นต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อทำให้ตัวเลขภาคการผลิตขยับสูงขึ้นและสวนทางกับภาคบริโภคที่ตัวเลขยังทรงตัว

“การปล่อยสินเชื่อส่วนใหญ่ของจีนประมาณ80%เกิดจากรัฐบาล ซึ่งอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำและเม็ดเงินในนระบบที่สูง ส่งผล1ให้ราคาสินค้า เช่น น้ำมัน เหล็ก ปรับตัวเพิ่มขึ้นเร็วจนเกินไปจนอาจจะกลายเป็นปัจจัยที่ฉุดการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในที่สุด” นายกวี กล่าว

ทั้งนี้ วิธีป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤตฟองสบู่แตกในจีนมี 2 ทางคือ 1.วิธีการปรับขึ้นดอกเบี้ย ซึ่งส่วนตัวเชื่อว่าจีนจะไม่ทำเช่นนั้น 2.การลดปริมาณเงินออมซึ่งเป็นการดึงเงินออกจากระบบ โดยพอเริ่มดึงเงินออกจากระบบจะเริ่มเห็นสัญญาณเศรษฐกิจที่มีความนิ่งมากขึ้น

Q3-4ตัวเลขส่งออกเป็นบวก

นายกวี กล่าวว่า ภาพรวมเศรษฐกิจไทยช่วงไตรมาส 3-4 เชื่อว่าตัวเลขการส่งออกจะออกมาเป็นบวก แต่นักลงทุนคงต้องจับตาดูตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ หลายๆ ตัว เช่น อัตราดอกเบี้ยพันธบัตร 10 ปีของสหรัฐฯ รวมทั้งการเคลื่อนไหวของเงินสกุลดอลลาร์ซึ่งจะเป็นสัญญาณแสดงถึงความฟื้นตัวของเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวมองเศรษฐกิจโลกได้ผ่านจุดต่ำสุดเรียบร้อยแล้ว แต่การฟื้นตัวคงต้องใช้เวลา ดังนั้นนักลงทุนจึงควรระวังเพราะยังอาจมีอีกหลายปัจจัยที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต

ส่วนกลยุทธ์การลงทุนหากต้องการลงทุนในระยะยาว ขอแนะนำเป็นหุ้นกลุ่มพลังงาน เช่น PTTEP และธนาคารพาณิชย์เพราะมีสัดส่วนคิดเป็น 1 ใน 3 ของมูลค่าตลาดหุ้นไทย โดยสลับกันเป็นกลุ่มนำที่ดึงดัชนีฯ ขณะที่นักลงทุนระยะสั้นเชื่อว่าตลาดน่าจะมีการปรับฐานในระยะเวลาเป็นเดือน ทั้งนี้ในช่วงประมาณไตรมาส 3/52 หุ้นที่จะสามารถเข้าไปเก็งกำไรได้คือหุ้นในกลุ่มธนาคารมากกว่ากลุ่มพลังงาน แม้ว่าในไตรมาส 3 จะมีความกังวลในเรื่องการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก เนื่องจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์เริ่มชะลอตัวลง แต่กลุ่มดังกล่าวอาจได้รับอานิสงส์ การกู้เงินจากพระราชบัญญัติและพระราชกำหนดกู้เงินจำนวน 8 แสนล้านบาทของภาครัฐไทยเพื่อนำมาใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะหุ้น KTB น่าจะได้รับเม็ดเงินดังกล่าวเข้ามาประมาณ 30% รวมทั้งเชื่อว่ามีความเป็นได้ที่จะเห็นตัวเลขสินเชื่อขยายตัวเป็น 15% ในปี 53

ประเมินเม็ดเงินตปท.ยังไหลเข้า

นายสุกิจ อุดมศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส สถาบันวิจัยนครหลวงไทย กล่าวว่า แม้ว่าขณะนี้ผลตอบแทนในพันธบัตรจะสูง แต่เชื่อว่าจะไม่กระทบต่อภาวะการลงทุนในตลาดหุ้น เพราะมองว่าหากผู้ลงทุนในส่วนนี้จะโยกเงินลงทุนน่าจะไปเข้าการฝากเงินมากกว่า เพราะนักลงทุนในพันธบัตรส่วนใหญ่นั้นมีสามารถรับความเสี่ยงได้ในระดับต่ำ ซึ่งเปรียบเทียบกับการลงทุนในตลาด หุ้นแล้วถือว่ามีความเสี่ยงสูงมาก

แต่หากเรื่องดังกล่าวส่งผลกระทบจริง น่าจะมีผลหุ้นไอพีโอที่เกิดขึ้นใหม่ทั้งในและนอกประเทศ ซึ่งเป็นทางเลือกของนักลงทุนต่างชาติ และจะทำให้ความสนใจในหุ้นที่ซื้อขายอยู่ในกระดานลดลง แต่ก็เชื่อว่าไม่น่าจะเป็นประเด็นที่มีนัยสำคัญมากนัก ทั้งนี้ ประเมินว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ น่าจะปรับตัวลดลงไปถึง 520 จุดได้ แม้ดัชนีฯ ยังมีแนวต้านที่ 580 จุด โดยหากหลุดแนวต้านดังกล่าวก็ยังมีแนวรองรับอยู่ที่ 550 จุด ซึ่งก็น่าจะพยุงตลาดฯ ได้

ส่วนบรรรการซื้อขายหุ้นไทย 6 เดือนที่เหลือ น่าจะฟื้นตัวเป็นด้านบวกต่อเนื่อง เพราะเชื่อว่าจะมีกระแสเงินที่ไหลเข้า (Fund Flow) ซึ่งเป็นปัจจัยหนุนให้ดัชนีปรับเพิ่มขึ้น โดยคาดว่าอาจเห็นดัชนีโอกาสแตะ 660 จุด อีกครั้ง ซึ่งเดิมมองว่าน่าจะอยู่ที่ประมาณ 580 จุด แต่จากกระแสเงินที่ไหลเข้าและภาพรวมของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยที่น่าจะเป็นช่วงที่ต่ำสุดแล้ว จะช่วยหนุนให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยมากขึ้น และจะกลายเป็นผลดีต่อธนาคารพาณิชย์

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องจับตามองคือ การที่ธนาคารหลายแห่งได้แสดงความกังวลในการประชุมจี 8 ว่าเม็ดเงินที่อยู่ในระบบมากอาจจะเป็นความเสี่ยง ขณะเดียวกันการมีไอพีโอมากขึ้นและรัฐบาลออกพันธบัตรมากขึ้นก็ถือว่าเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อภาพรวมของตลาดฯ เช่นกัน

ประเมินสิ้นปีหุ้นไทย 580จุด

นางสาววราภรณ์ วิบูลคณารักษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล.เคที ซีมิโก้ กล่าวว่า คาดการณ์ดัชนีฯ ปี 2553 จะแตะที่ระดับ 710 จุด โดยประเมินบนประมาณการค่า P/E 12 เท่า และผลประกอบการโต 8% ส่วนในปี 52 เชื่อว่าในช่วงครึ่งปีหลังแนวโน้มของการฟื้นตัวของดัชนียังเป็นไปในทิศทางบวก โดยน่าจะสะท้อนถึงเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว และผลประกอบการมีโอกาสที่จะเติบโตขึ้น ซึ่งประมาณการดัชนีฯ สิ้นปีนี้ไว้ที่ 580 จุด และมีค่า P/E 12 เท่า ผลประกอบการเติบโต 15% ส่วนสาเหตุที่ผลประกอบการในปีนี้เติบโตกว่า 53 เพราะฐานของการคำนวณแตกต่างกัน

“การปรับฐานของดัชนีหุ้นไทยช่วงนี้ถือเป็นเรื่องปกติของหุ้นที่ขึ้นมาแรงเกินปัจจัยพื้นฐาน ทำให้มีแรงขายออกมา และพันธบัตรก็เริ่มจูงใจนักลงทุนต่างชาติ อย่างไรก็ตามว่าน่าจะเป็นการปรับฐานเพื่อรองการปรับขึ้นรอบต่อไปมากกว่าและก็ไม่น่าจะเห็นดัชนีลงไปถึงจุดต่ำสุดที่ระดับ 380 จุดอีกแล้ว” นางสาววราภรณ์ กล่าว

หุ้นไทยร่วงต่ออีก10จุด

ขณะที่ความเคลื่อไหวตลาดหุ้นไทย วานนี้ (17มิ.ย.) ดัชนีปิดที่ระดับ 586.14 จุด ลดลง 10.40 จุด หรือ -1.74% มูลค่าการซื้อขาย 19,756 ล้านบาท ซึ่งตลอดทั้งวันดัชนีเคลื่อนไหวในแดนบวกและลบสลับกันตลอดทั้งวัน โดยขยับขึ้นแตะจุดสูงสุดที่ 599.61 จุด และต่ำสุดขที่ 585.29 จุด

ด้าน น.ส.ธีรดา ชาญยิ่งยงค์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยวkนนี้ยังปรับฐานอยู่ มี take profit ออกมาต่อเนื่องทั้งธนาคาร พลังงาน แต่ยังอยู่ในกรอบของการปรับฐานตามตลาดภูมิภาคส่วนนี้ยังมองว่าน่าจะอยู่ในกรอบของการปรับฐาน ทำให้ตลาดคงจะมีความผันผวนเหมือนวานนี้เพราะลงแรงติดต่อกันมา จึงแนะนำช่วงนี้ให้เข้าหุ้นกลุ่มขนาดรองลงมา หลีกเลี่ยงหุ้นขนาดใหญ่ไปก่อน เพราะตอนนี้มีแรงขายออกมามาก   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us