Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTVผู้จัดการรายวัน17 มิถุนายน 2552
"ใบโพธิ์"คาดเศรษฐกิจติดลบ5%             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารไทยพาณิชย์

   
search resources

ธนาคารไทยพาณิชย์, บมจ.
Economics
เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ




"ไทยพาณิชย์"คาดการณ์เศรษฐกิจไทยปีนี้ติดลบ 5% ผลจากภาคการท่องเที่ยวและการผลิตที่ต่อเนื่องจากการส่งออกทรุด แต่ภาคสถาบันการเงินยังแข็งแกร่ง ชี้ภาคการผลิตเริ่มแตะจุดต่ำสุด ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวยังต้องจับตา มีโอกาสซบต่อ

นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) เปิดเผยว่า ศูนย์วิจัยได้คาดการณ์ GDP ของไทยในปี 2552 จะหดตัวลงประมาณ 5% ซึ่งต่ำกว่าที่ทางการคาดไว้ในปัจจุบันที่ 3-3.5% อย่างไรก็ดี มองว่าภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในปัจจุบันมิได้มีลักษณะเหมือนที่เคยเกิดขึ้นในวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 หรือในช่วงที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ตกต่ำปี 2544 เนื่องจากมีองค์ประกอบแตกต่างกัน โดยสิ่งที่เกิดขึ้นในครั้งนี้เป็นการชะลอตัวใน 2 ภาคธุรกิจหลักคือ การท่องเที่ยว และการผลิตที่พึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก

โดยธุรกิจที่พึ่งพาการส่งออกและได้รับผลกระทบอย่างมาก ได้แก่ ธุรกิจยานยนต์และชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้า และสินค้าอิเล็คโทรนิกส์ ซึ่งมีมูลค่าส่งออกลดลง 43% 20% และ 14% ตามลำดับ นับตั้งแต่เข้าสู่ช่วงเศรษฐกิจขาลงประมาณเดือนกรกฎาคม 2551 อย่างไรก็ดี ขนาดของกิจการในกลุ่มเหล่าค่อนข้างใหญ่เมื่อเทียบกับกิจการในธุรกิจท่องเที่ยวที่มีขนาดเล็กกว่า จึงน่าจะมีฐานที่ดีในการนำพากิจการให้ผ่านพ้นเศรษฐกิจช่วงนี้ไปได้

ด้านการจ้างงาน กิจการในธุรกิจท่องเที่ยวกลับส่งผลต่อภาวะการจ้างงานมากกว่า เนื่องจากประกอบด้วยกิจการขนาดย่อมๆ จำนวนมาก และมีธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องหลายแขนง เช่น โรงแรม ภัตตาคาร ค้าปลีก และสันทนาการต่างๆ ดังนั้น ภาคการท่องเที่ยวโดยรวมจึงมีการจ้างงานในสัดส่วนที่สูงกว่าภาคการผลิตมาก โดยมีการจ้างงานโดย SME คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 80-90% เมื่อเทียบการจ้างงานโดย SME ในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน เครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้รับผลกระทบจากการส่งออกและการผลิตที่ชะลอตัว ที่มีจ้างงานรวมไม่ถึง 30% ของการจ้างงานทั้งหมด

นายเศรษฐพุฒิกล่าวอีกว่า ด้วยผลของการส่งออกและการผลิตที่ลดลง จึงมีแรงงานย้ายจากภาคการผลิตไปสู่ภาคบริการซึ่งมีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่า เมื่อประกอบกับธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวโดยรวมที่ซบเซา สถานการณ์ค่าจ้างแรงงานในกลุ่มนี้ แม้ยังทรงตัวแต่อาจได้รับผลกระทบมากขึ้นหากธุรกิจท่องเที่ยวซบเซาหนักขึ้นกว่าเดิม ซึ่งในช่วงไตรมาสแรกของปี 2552 จำนวนนักท่องเที่ยวขาเข้าหดตัวลงลงไปแล้ว 15% จึงคาดว่ารายได้จากการท่องเที่ยวในปี 2552 น่าจะลดลงในอัตราที่มากกว่าจำนวนนักท่องเที่ยวขาเข้า เพราะภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกทำให้นักท่องเที่ยวลดการใช้จ่ายลงเช่นเดียวกับในช่วงเศรษฐกิจสหรัฐฯ ตกต่ำในปี 2544

ส่วนการก่อหนี้และงบดุลของธนาคารและบริษัทต่างๆนั้น ยังเป็นไปในทางที่ดี และมีพื้นฐานแข็งแกร่ง นอกจากนี้ ความเสียหายที่มีต่อความมั่งคั่งในประเทศไทย (wealth destruction) นั้นค่อนข้างจำกัด ราคาอสังหาริมทรัพย์ยังเป็นไปด้วยดี ไม่มีการถีบตัวสูงเหมือนช่วงฟองสบู่ก่อนหน้านี้ ซึ่งที่จริงแล้วราคาอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย อาทิ บ้านเดี่ยว ได้ปรับสูงขึ้นเล็กน้อยตั้งแต่เศรษฐกิจเป็นช่วงขาลง โดยไทยมีภาพที่ต่างจากประเทศอื่นๆ ที่มูลค่าความมั่งคั่งประสบผลเสียหายมหาศาล จากการล่มสลายของตลาดบ้านและตลาดหุ้น มีการประเมินว่าความมั่งคั่งทางการเงินสุทธิของครัวเรือนสหรัฐฯ และยุโรปจะลดลง 24% และ 11% ตามลำดับ

"ในภาวะที่ธุรกิจบางภาคส่วนได้รับผลกระทบ บางส่วนยังปรับตัวดีขึ้นแม้จะเป็นเศรษฐกิจขาลง เช่น การผลิตอาหาร ซึ่งแม้ว่าผู้บริโภคจะชะลอการใช้จ่ายรายการใหญ่ๆ อย่างระมัดระวัง เช่น รถยนต์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ แต่คนก็ยังคงต้องบริโภคอยู่"นายเศรษฐพุฒิกล่าว

ทั้งนี้ โดยรวมแล้วภาวะเศรษฐกิจขาลงในปัจจุบันส่งผลกระทบที่ชัดเจนต่อกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย และผู้ที่มีรายได้น้อย ขณะที่ราคาของสินทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์จะยังคงรักษาระดับที่ดี และอำนาจซื้อของกลุ่มคนที่มั่งคั่งจะยังคงมีอยู่ต่อไป แต่กลุ่มผู้มีรายได้น้อยและธุรกิจที่อาศัยกำลังซื้อของคนกลุ่มนี้ เช่น มอเตอร์ไซค์ และรถกระบะ อาจประสบภาวะกดดัน เพราะผู้บริโภคจะระมัดระวังการใช้จ่าย อย่างไรก็ดี การชะลอตัวในภาคการผลิตน่าจะใกล้ผ่านจุดต่ำสุดแล้ว เห็นได้จากตัวเลขดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่เริ่มปรับตัวดีขึ้นในเดือนมีนาคมและเมษายน แต่ควรระมัดระวังผลจากการชะลอตัวของธุรกิจท่องเที่ยวที่ยังมีมาอย่างต่อเนื่อง และอาจยังไม่แสดงผลกระทบถึงระดับที่เต็มที่ สถานการณ์ด้านค่าจ้าง และภาวะการจ้างงานในภาคธุรกิจนี้จึงยังคงเป็นความเสี่ยงสำหรับช่วงขาลงอยู่ต่อไป   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us