Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2530








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2530
สุเทพ วงศ์วรเศรษฐ เสาหลักอันแข็งแกร่งของ CMIC             
 

   
related stories

ผู้จัดการรุ่นใหม่ในสายตา "ผู้จัดการ"

   
search resources

ซีมิค กรุ๊ป
สุเทพ วงศ์วรเศรษฐ
Financing




สุเทพ เป็นคนเก่าจากเชสแมนฮัตตันที่ตัดสินใจอยู่กับซีมิคต่อ ภายหลังธนาคารสัญชาติอเมริกันแห่งนี้ขายซีมิคออกไปจากเครือซีมิคในยุคเชสฯ เป็นไฟแนนซ์คัมปะนีที่จับธุรกิจเฉพาะการเช่าซื้อรถยนต์ ซึ่งถ้าต้องยืนอยู่บนขาของตัวเองก็คงจะเป็นการยืนอยู่บนขาเพียงขาเดียว สุเทพตัดสินใจทำเช่นไรกับวีมิคถึงทำให้ซีมิคผ่านมรสุมหลายระลอกมาได้อย่างแข็งแกร่งจนทุกวันนี้

บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ศรีมิตรหรือที่คุ้นเคยกันดีในชื่อ CMIC นับเป็นสถาบันการเงินที่แข็งแกร่งแห่งหนึ่งในจำนวนไฟแนนซ์คัมปะนีที่มีอยู่ในประเทศไทย

ซีมิคมีจุดแข็งที่หลายคนวิเคราะห์ไว้หลายด้าน เริ่มตั้งแต่ "คน" ที่มีคุณภาพเกณฑ์อายุถัวเฉลี่ยของพนักงานกว่า 180 ชีวิตยังอยู่ในวัยหนุ่มสาว, ระบบที่ถูกวางไว้โดยผู้เชี่ยวชาญ, ฐายธุรกิจที่มั่นคงมีอนาคตและผู้ถือหุ้นที่พร้อมให้การค้ำจุนสนับสนุนอย่างรับผิดชอบ

และเผอิญที่นี่มีผู้นำที่เก่งกาจสามารถอย่าง สุเทพ วงศ์วรเศรษฐ รวมอยู่ด้วย

ซีมิคนั้นถูกก่อตั้งขึ้นโดยธนาคารต่างประเทศ-เชสแมนฮันตันธนาคารสัญชาติอเมริกันแห่งแรก ๆ ที่เข้ามาตั้งสาขาในประเทศไทย

เป้าหมายการก่อตั้งค่อนข้างชัดเจนคือมุ่งทำธุรกิจเฉพาะที่สาขาของเชสฯ ในประเทศไทยทำไม่ได้เพราะขัดต่อกฎระเบียบของธนาคารแห่งประเทศไทย

ซีมิคในยุคที่เชสฯเป็นเจ้าของและบริหารก็เลยทำธุรกิจอยู่แขนงเดียว กิจการเช่าซื้อรถยนต์หรือ HIRE PURCHASE โดยไม่เหลียวแลธุรกิจด้านอื่นเลยแม้สักน้อยนิด

ซีมิคในยุคนั้นประสบความสำเร็จไม่น้อย

แต่เชสฯก็ตัดสินใจขายซีมิคออกไปจากเครือในปี 2523 ช่วงปลายปี

"สาเหตุมาจากพระราชบัญญัติที่ออกมาเมื่อปี 2523 ที่ให้บริษัทแม่บอกไว้ชัดเจนว่า จะไม่ยอมเป็นผู้ถือหุ้นเสียงข้างน้อยในกิจการการเงินทางออกจึงมีอยู่ทางเดียวคือ ขายกิจการออกไปทำนองเดียวกับคอนติเนนตัล อิลลินอยส์และชาร์เตอร์ดแบงก์ทุกประการ" นักการธนาคารอาวุโสท่านหนึ่งบอกถึงเบื้องหลังการตัดสินใจของเชสฯให้ฟัง

และผู้ที่ซื้อซีมิคไปจากเชสฯก็คือกลุ่มกสิกรไทย ซึ่งมีผลให้ซีมิคกลายเป็นสถาบันการเงินอีกแห่งหนึ่งภายใต้ร่มธงของธนาคารไทยยักษ์ใหญ่เบอร์สองแห่งนี้โดยปริยาย

ซีมิคเมื่อครั้ง ต้องเปลี่ยนเจ้าของใหม่ ๆ นั้น ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียอยู่ในตัว

ข้อดีก็คือ "คน" ส่วนใหญ่ที่ขณะนั้นมีราว ๆ 160 กว่าคนซึ่งผ่านการอัดฉีดมาแล้วอย่างดีเยี่ยมจากเชสฯยังคงอยู่ทำงานกันต่อไป

"ระบบ" ซึ่งในปี 2522 เชสฯยอมลงทุนอย่างมหาศาลนำผู้เชี่ยวชาญทางด้านบัญชีจากนิวยอร์คเข้ามาเป็นผู้วางให้ ทางด้านโอเปอเรชั่นก็มีคนจากสิงคโปร์เข้ามาช่วยวางรวมทั้งคอมพิวเตอร์ไรซ์ระบบงานไว้เกือบครบ ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ทำงานให้กับซีมิคเต็มเวลาแต่รับเงินเดือนจากเชสฯ "ระบบ" ของซีมิคในขณะนั้นถือว่าเป็นระบบที่ดีที่สุดในบรรดาบริษัทการเงินด้วยกัน โดยเฉพาะบริษัทการเงินที่ทำกิจการทางด้านเช่าซื้อ และ "ระบบ" ที่ดีนี้เป็นพื้นฐานที่แกร่งให้กับซีมิคในยุคหลัง

ส่วนข้อเสียก็ในแง่ที่ซีมิคมีฐานธุรกิจอยู่ที่เช่าซื้อเพียงอย่างเดียว

"ถ้ามองกันในแง่ที่เป็นกิจการหนึ่งในเครือของเชสฯแล้วก็อาจจะไม่มีปัญหา กลับจะดีในแง่ที่ช่วยถมช่องว่างให้กับสาขาของเชสฯในประเทศไทย ขณะเดียวกันก็ไม่มีงานที่ไปซ้ำซ้อนกับสาขา แต่ถ้าซีมิคออกจากเชสฯแล้วมายืนบนลำแข้งของตัวเองตามลำพัง โดยมีเสาหลักอยู่เสาเดียวคือการเช่าซื้อรถยนต์แล้ว ก็ออกจะเสียว ๆ อยู่ไม่น้อย ถ้าตลาดเช่าซื้อเกิดวิกฤติขึ้นมาวันใด ซีมิคก็อาจจะล้มทั้งยืนได้ง่าย ๆ " แหล่งข่าวในวงการเงินอธิบายกับ "ผู้จัดการ"

ดูเหมือนปัญหาสำหรับคนที่เป็นผู้นำของซีมิคนั้นก็น่าจะอยู่ที่การแก้ไข "จุดอับ" โดยอาศัย "จุดเด่น" ที่มีอยู่เป็นฐาน เป็นภาระหน้าที่ ที่มีทั้งการรักษาของเก่าแล้วพัฒนาต่อไปและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เข้ามาเพิ่มเติม

เป้าหมายย่อมชัดเจนแน่นอน การสร้างซีมิคให้เป็นบริษัทที่สามารถยืนอยู่บนขาของตัวเองได้อย่างแข็งแกร่ง และยืนยงเป็นสถาบันการเงินที่ประสบความสำเร็จแห่งหนึ่ง

ซึ่งผู้นำผู้มีหน้าที่แบกรับภาระที่ว่านี้ก็คือ สุเทพ วงศ์วรเศรษฐ กรรมการผู้จัดการของซีมิค

สุเทพนั้นเดิมทำงานอยู่กับเชสฯมาก่อน

เขาเป็นคนวัย 39 ที่คล่องแคล่วแบบที่แฝงความสุขุมเยือกเย็นและค่อนข้างจะเก็บตัวไม่ชอบเป็นข่าวเอามาก ๆ

อดีตนักเรียนเก่าโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน และมหาวิทยาลัยวิสคอนซินทางด้านบริหารธุรกิจ ทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโท (เอ็มบีเอ) คนนี้เริ่มงานกับธนาคารเชสแมนฮัตตันสาขาประเทศไทยเมื่อปี 2515

"จริง ๆ แล้วเมื่อจบเอ็มบีเอ ผมได้รับทุนให้เรียนต่อในระดับปริญญาเอก แต่เผอิญน้องชายคนเล็กเสีย คุณพ่อไม่สบาย ก็เลยกลับ พอกลับคุณพ่อขอร้องให้อยู่ต่อไม่ให้ไปผมก็สมัครเข้าทำงานกับเชสฯ" สุเทพเล่ากับ "ผู้จัดการ"

สุเทพเริ่มต้นที่ตำแหน่ง STATEMENT ANALYSIS อีกหนึ่งปีต่อมาถูกส่งไปเทรนที่ฮ่องกงซึ่งเป็น REGIONAL OFFICE ปี 2518 กลับเข้าทำงานที่สาขาประเทศไทยอีกครั้งในตำแหน่ง SECOND VICE PRESIDENT และรักษาการผู้ช่วยผู้จัดการธนาคารเชสฯ สาขาประเทศไทย

"ช่วงปี 2518-2520 เชสฯประเทศไทยไม่มีผู้ช่วยผู้จัดการ คือปกติสำนักงานใหญ่เขาจะส่งผู้จัดการ, ผู้ช่วยผู้จัดการและผู้จัดการฝ่ายสินเชื่อเข้ามาครบทั้ง 3 ตำแหน่งแต่ช่วงนั้นไม่ส่งผู้ช่วยผู้จัดการเข้ามา ผมก็เลยต้องทำหน้าที่แทนไปพลาง ๆ ก็ได้เรียนรู้มากทีเดียว" สุเทพพูดให้ฟัง

ในช่วงปี 2520 ถึงปี 2522 ถูกส่งไปประจำที่สำนักงานใหญ่ที่นิวยอร์คและที่มนิลาประเทศฟิลิปปินส์

และกลับมาอีกครั้งในช่วงปี 2520 ได้รับตำแหน่งเป็น VICE PRESIDENT ของเชสฯ พร้อมกับถูกส่งให้เข้าไปทำหน้าที่เป็นกรรมการผู้จัดการซีมิคไฟแนนซ์ และเมื่อเชสฯขายซีมิคออกไปให้กับกลุ่มกสิกรไทย เขาตัดสินใจเลือกทางเดินด้วยการลาออกจากเชสฯเพื่อทำหน้าที่กรรมการผู้จัดการให้กับซีมิคต่อไป

ระยะเวลาที่ทำงานกับเชสฯ 8 ปีนั้นสำหรับสุเทพแล้วก็ค่อนข้างจะเป็นระยะเวลาที่มีคุณค่ามากและเขายอมรับว่าเขามีโชคอย่างมาก ๆ ด้วย

โดยสายงานจริง ๆ แล้วสุเทพควรจะโตอยู่ในสายสินเชื่อของเชสฯ เป็นกองหน้าที่บุกตะลุยหาธุรกิจดี ๆ เข้ามาเป็นลูกค้าให้มาก ๆ ซึ่งเขาก็ได้ผ่านมาแล้วอย่างโชกโชนสั่งสมประสบการณ์ด้านนี้ไว้ไม่น้อยสมัยที่ยังอยู่กับเชสฯ

แต่เขาก็โชคดีจริง ๆ ที่ช่วงหนึ่งต้องไปทำหน้าที่รักษาการตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่จะต้องดูแลงานทางด้านบริหารการเงิน และเงินตราต่างประเทศหรือถ้าจะกล่าวโดยรวมก็คืองานทรีทชูรี่ทั้งหมด

"เพราะฉะนั้นนอกจากเรื่องสินเชื่อแล้ว งานทรีทชูรี่ผมก็เลยได้ทำด้วย ต้องทำ FUNDING POSITION, FOREIGN EXCHANGE POSITION เป็นประสบการร์ที่ดีที่ได้เรียนรู้โดยบังเอิญ โดยสายงานจริง ๆ แล้วมีโอกาสเรียนรู้ยาก แต่เผอิญจังหวะมันให้" สุเทพเล่า

ซีมิคนั้นต้องอยู่ในสภาพที่ระส่ำระสายพอสมควรในระยะ 2 ปีแรกที่หลุดออกมาจากเชสฯ

สุเทพพยายามประคับประคองกระทั่งปี 2527 ทุกอย่างเริ่มเข้ารูปเข้าร่าง

ซีมิคพร้อมที่จะเนออกไปข้างหน้าแต่เผอิญเกิดวิกฤติการณ์สถาบันการเงินพอดี

การได้มีโอกาสผ่านงานทั้งด้านสินเชื่อและทรีทชูรี่ของสุเทพ ถ้าจะสรุปว่าเขาได้มีโอกาสเรียนรู้ธุรกิจการเงินทั้งระบบ ตั้งแต่เงินที่เข้ามาจนถึงเม็ดเงินที่ปล่อยออกไปอย่างทะลุปรุโปร่ง นั่นก็คงจะไม่ใช่เรื่องที่เกินจริงแต่ประการใด

และถ้ามองว่าเป็นความโชคดีของสุเทพแล้ว ดูเหมือนซีมิคเองก็จะมีโชคดีไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันที่มีคนอย่างสุเทพเป็นกรรมการผู้จัดการ

นับแต่ปี 2515 ที่เชสฯก่อตั้งซีมิคและอีก 8 ปีต่อมาค่อยตัดสินใจขายกิจการออกไปนั้น ชื่อเสียงของซีมิคเป็นชื่อเสียงของบริษัทที่รับจัดไฟแนนซ์รถยนต์รายใหญ่แห่งหนึ่งของไทย เชสฯนั้นไม่มีนโยบายให้ซีมิคสนใจธุรกิจด้านอื่น นอกเหนือจากธุรกิจเช่าซื้อเพราะฉะนั้นคนที่เชสฯส่งเข้าคุมก็เลยเป็นคนที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน การฝึกอบรมคนก็เน้นเฉพาะการเช่าซื้อเป็นหลัก

ในระยะ 2-3 ปีแรกภายหลังซีมิคเปลี่ยนเจ้าของแล้วจึงเป็นระยะที่หนักหน่วงพอสมควร

"มันเป็นช่วงที่เราต้องปรับตัวเอง ล้างหนี้เสียที่มีติดค้างอยู่ออกไปให้หมด ปรับภาพพจน์ของบริษัท เพราะการเปลี่ยนเจ้าของจากเชสฯทำให้ลูกค้ารายใหญ่ ๆ ไม่แน่ใจสถานการณ์ พอเราได้กสิกรไทยเข้ามาถือหุ้นภาพพจน์ก็เริ่มดีขึ้นภายหลัง" สุเทพพูดอย่างเปิดอก

จากนั้นก็ลงมือฝึกอบรมพนักงานพร้อม ๆ กับพัฒนาธุรกิจอื่น ๆเข้ามา

"เพื่อที่ฝนตกเราก็อยู่ได้ แดดออกเราก็อยู่ได้" เขาบอกถึงเป้าหมายที่ไม่ต้องการยืนอยู่บนขา ๆ เดียว-เช่าซื้อ

ส่วนเรื่องเกี่ยวกับ "คน" นั้น "สมัยก่อนเราเป็นกิจการระหว่างประเทศ คนก็เลยถูกเทรนขึ้นมาให้ทำงานเป็นระบบ มีความเป็นคนหัวใหม่ ยอมรับการเปลี่ยนแปลงหลายปีมานี้เราพัฒนาระบบออกไปมาก และคนสามารถพัฒนาตามระบบได้เป็นอย่างดี"

ซีมิคนั้นเริ่มตั้งหลักจริง ๆ ในช่วงปี 2527 ช่วงที่สถานการณ์ไม่เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจการเงิน เนื่องจากเป็นช่วงที่กำลังเกิดวิกฤติการณ์ภายหลังพัฒนาเงินทุนของกลุ่มตึกดำล้มพอดี

แทนที่จะขยายตัวอย่างพรวดพราดซีมิคภายใต้การนำของสุเทพดำเนินนโยบายไม่ขยายตัวมาก แต่ปรับฐานให้แข็ง เขาบอกว่าเขาต้องการให้ซีมิคโตไปอย่างเข้มแข็งก็เลยค่อนข้างจะพิถีพิถันในการปล่อยสินเชื่อระมัดระวังปัญหาหนี้สูญ และจากธุรกิจเช่าซื้อก็เริ่มขยายฐานออกไปสู่การให้สินเชื่อพาณิชย์อุตสาหกรรม รวมทั้งการหารายได้จากค่าธรรมเนียม ไม่ว่าจะเป็นการทำซินดิเคชั่นหรือการอันเดอร์ไรท์หุ้นและพันธบัตร

และสวนทางกับการพังทลายไปของบริษัทเงินทุนหลายแห่ง ซีมิคในช่วงปี 2527 จวบจนปัจจุบันเติบโตอย่างไม่หวือหวา แต่ก็ต่อเนื่องในอัตราประมาณ 15-20% ทุกปี

"ที่จริงเราจะโตกว่านั้น ก็ไม่ใช่เรื่องยากแต่ดูบรรยากาศแล้วยังไม่เหมาะสม ตลาดการเงินกำลังปั่นป่วน เราก็เลยพยายามควบคุมให้โตเพียงเท่านั้น" สุเทพให้เหตุผล

นอกเหนือสิ่งอื่นใดซีมิคเป็นกิจการที่มีกำไรมาโดยตลอด แม้ในช่วง 3-4 ปีมานี้กำไรจะหดตัวไปบ้าง เพราะเพิ่งจะซื้ออาคารสำนักงานที่ถนนอโศก แต่ก็เชื่อ ๆ กันว่าปี 2530 นี้ซีมิคจะแสดงตัวเลขกำไรงดงามเป็นพิเศษสอดคล้องกับบรรยากาศเศรษฐกิจที่เริ่มกระเตื้องขึ้นบ้างแล้ว

ซีมิคในปัจจุบัน ยังคงดำเนินธุรกิจเช่าซื้ออยู่อย่างคงเส้นคงวา เพียงแต่ถ้าพิจารณาในแง่ของ "พอร์ท" โดยรวมแล้วธุรกิจเช่าซื้อจาก 100% ในยุคเชสฯกลับลดอัตราส่วนลงเหลือเพียงราว ๆ 40% เท่านั้นแล้ว

ไม่กี่เดือนมานี้ซีมิคเพิ่งเสนอตัวเองเข้าตลาดหลักทรัพย์และในเวลาอันใกล้ตั้งเป้าที่จะเป็นโบรกเกอร์อีกรายหนึ่งของตลาดฯ

และในส่วนของการทำธุรกิจจะพยายามหันเหเข้าหา INVESTMENT BANKING มากขึ้นเรื่อย ๆ

สุเทพ วงศ์วรเศรษฐ นั้นแมhจะเป็นคนที่เก็บตัวไม่ชอบการเป็นข่าว แต่ห้องทำงานของเขาประตูจะต้องถูกเปิดไว้ ลูกน้องทุกคนสามารถเดินเข้าไปหาเขาได้ทุกเวลาเมื่อมีปัญหา

เขามีบ้านอยู่ใกล้ ๆ กับที่ทำงาน ระบบวันเวย์ในย่านอโศก-สุขุมวิท ทำให้เขาเดินจากบ้านมาทำงานทุกเช้าถือเป็นการออกกำลังไปด้วยในตัว สุเทพมักจะมาถึงที่ทำงานราว ๆ 8 โมงเช้าทุกวัน

ชั่วโมงแรกของการทำงานเป็นช่วงการจิบกาแฟพร้อม ๆ กับทำงานที่ต้องใช้ความคิดหนักๆ ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่ห้ามรบกวนและไม่รับโทรศัพท์ จากนั้นก็จะเป็นการตะลุยอ่านหนังสือพิมพ์แทบทุกฉบับที่ถูกจัดวางอยู่บนโต๊ะแล้วจึงเริ่มงานประจำวันตามตารางที่วางไว้

เขาเป็นคนที่ติดการอ่านหนังสืออย่างมาก ๆ ทุกคืนก่อนนอนหนังสือจะเป็นยานอนหลับของเขา และผลพวงจากความเป็นหนอนหนังสือก็คือความคิดอ่านที่ฉับไวและนำสมัยอยู่เสมอ

เมื่อ 3-4 ปีที่แล้วจากการติดตามข่าวสารและสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เขาเคยแสดงทัศนะว่า ทิศทางในอนาคตของสถาบันการเงินนั้นจะเพิ่มการให้ความสนใจกับรายได้จากค่าธรรมเนียมหรือ "ฟีอินคัม" มากขึ้นเพราะค่าธรรมเนียมนั้นเป็น NON ASSET RELATED

"คือแต่เดิมนั้นสถาบันการเงินสร้างรายได้จากส่วนต่าง ๆ ของเงินฝากกับเงินกู้ที่ปล่อยออกไป ถ้าต้องการรายได้มาก็ต้องปล่อยมาก สร้างสินทรัพย์เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่ถึงจุดหนึ่งทุกแห่งก็จะพบว่า เมื่อสินทรัพย์ยิ่งโตความสามารถที่จะหาส่วนต่างมาก ๆ ก็จะน้อยลงเรื่อย ๆ แล้วยังมีปัญหาเรื่องเงินกองทุนจะต้องเพิ่มทุนตลอดเวลา ฯลฯ เพราะฉะนั้นทุกคนก็จะต้องหันมามองรายได้ที่มันเป็น NON ASSET RELATED ซึ่งก็ได้แก่พวก FEE INCOME" สุเทพอธิบายคร่าว ๆ

การเริ่มทำซินดิเคชั่นและการอันเดอร์ไรท์นั้น ก็มาจากความคิดเช่นนี้ของสุเทพและไม่กี่ปีมานี้สถาบันการเงินทุกแห่งก็เริ่มเล็งเห็นความสำคัญกันอย่างจริงจังบ้างแล้ว

สุเทพนั้นเล่นกีฬาหลายอย่าง ในอดีตเขามีฝีไม้ลายมือทางด้านฟุตบอลและปิงปองแต่ระยะหลัง ๆ เริ่มให้ความสนใจกับกอล์ฟและเทนนิส

ในสัปดาห์หนึ่งๆ เขาจะจัดเวลาไว้ 4 วันสำหรับการกลับบ้านดึกซึ่งส่วนใหญ่เป็นงานสังคมที่จะต้องไป ส่วนอีก 3 วันโดยเฉพาะวันอาทิตย์กับวันอังคารจะเป็นวันที่เขาจะไม่ยอมไปไหน

วันอาทิตย์เป็นวันที่อยู่กับครอบครัว วันอังคารเป็นวันที่เข้าคอร์ทเทนนิส

นอกจากนี้ภารกิจที่ดูเหมือนได้ทำมาอย่างยาวนาน และก็คงจะต้องทำกันต่อไปไม่มีกำหนดก็คือการเป็นอาจารย์พิเศษโครงการเอ็มบีเอ ของหลาย ๆ สถาบัน ซึ่งวิชาที่เขาสอนคือระบบการจัดการแผนใหม่

สำหรับยุทธจักรค้าเงินแล้ว สุเทพ วงศ์วรเศรษฐ เป็นคนที่น่าจับตามองมาก ๆ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us