Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2530








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2530
นพพร พงษ์เวช เก่งแต่โชคร้าย             
 

   
related stories

ผู้จัดการรุ่นใหม่ในสายตา "ผู้จัดการ"

   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารซิตี้แบงก์

   
search resources

ธนาคารซิตี้แบงก์
นพพร พงษ์เวช
Banking




คนอย่างนพพร พงษ์เวช จริง ๆ แล้วน่าจะไปไกลสุดกู่แล้วถ้ายังอยู่กับธนาคารยักษ์ใหญ่ อย่างซิตี้แบงก์ เขาเป็นคนเก่งและชอบถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์ให้กับลูกน้อง มีฝีมือในด้านการวางระบบและการบุกตลาดที่อาศัยความเพลิกแพลง แต่เขาโชคร้ายที่ตัดสินใจลงเรือผิดลำ!!!

ย้อนหลังไปเมื่อ 5-6 ปีก่อน นพพร พงษ์เวช คือ VICE PRESIDENT แบงก์ใหญ่โตที่มีทรัพย์สินมากที่สุดในโลก เขาเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับตำแหน่งสูงสุดสำหรับสาขาในประเทศไทย ด้วยวัยเพียง 30 เศษ ๆ เท่านั้น

ว่ากันว่า นพพรเติบโตใน CITI BANK อย่างรวดเร็วมาก ผู้บังคับบัญชาที่เป็นฝรั่งยอมรับฝีมือความเฉลียวฉลาดของเขา ส่วนผู้ร่วมงานของเขาประจักษ์ดีในความเป็นคนลุยงานอย่างชนิดถึงไหนถึงกัน

นพพร พงษ์เวช เป็นลูกชายคนโตของวารี พงษ์เวช ซึ่งเป็นผู้บริหารระดับสูง ในวงการเงินการธนาคาร มีอดีตเป็นผู้บริการระดับสูงในวงการเงินการธนาคาร มีอดีตเป็นผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย, กรรมการและผู้จัดการบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรม, ประธานตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นเพื่อนสนิทกับสมหมาย ฮุนตระกูล เพราะเรียนหนังสือรุ่นเดียวกันที่ประเทศญี่ปุ่น วารีเป็นคนกว้างขวางมีทั้งเพื่อนและลูกน้องมากมาก นพพรจึงเติบโตขึ้นมาท่ามกลางกลิ่นอายของเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ คุ้นเคยกับวงการนี้มาตั้งแต่เด็ก ๆ

เมื่อจบชั้นประถมต้นที่โรงเรียนอัสสัมชัญบางรัก เขาถูกส่งไปเรียนที่รัฐควีนสแลนด์ โรงเรียนสก็อต คอลเลจ ด้วยพ่อต้องการให้เก่งภาษาอังกฤษ แต่ไปเรียนที่ออสเตรเลีย เพราะค่าใช้จ่ายถูก เพราะตลอดชีวิตของวารีนั้นได้ชื่อว่าเป็นตงฉิน มีความซื่อสัตย์สุจริตยึดถือหลักการเป็นที่สุด และไม่ได้ทำธุรกิจส่วนตัว จึงไม่ได้ร่ำรวยเหมือนเพื่อนรุ่นเดียวกับบางคน

นพพร ซึ่งขณะนั้นอายุเพียง 13 ขวบ ต้องรับผิดชอบตัวเองในฐานะนักเรียนประจำคนไทยคนเดียวที่นั่น ซึ่งก็นับว่าหนักเอาการอยู่

ต่อมานพพรเลือกเรียนปริญญาตรีสาขาเศรษฐศาสตร์ UNIVERSITY OF OREGON EUGENE และต่อโทสาขาเดียวกันที่ OREGON STATE UNIVERSITY นพพรบอกว่าเลือกเรียนที่นี่เพราะเป็นมหาวิทยาลัยไม่กี่แห่งในอเมริกาที่เก็บค่าเล่าเรียนเท่ากับคอนอเมริกัน ค่าใช้จ่ายจึงถูกในขณะที่มาตรบานอยู่ในระดับใช้ได้

นพพรมีความตั้งใจที่จะทำงานกับซิตี้แบงก์ตั้งแต่ยังเรียนอยู่แล้ว เพราะเห็นว่าเป็นแบงก์ที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพที่สุดแห่งหนึ่งของโลก แล้วเขาก็เข้าไปทำทันทีที่เรียนจบ คนที่ชักนำก็คือ น้องชายของ นิพัทธ พุกกะณะสุต ที่สนิทสนมกันตั้งแต่รุ่นพ่อกับพ่อแล้ว

"เริ่มจากการเป็น TRAINEE ก็ทำทุกอย่างที่เขาให้ทำ ปีที่ 2 มาอยู่ด้าน CREDIT AND MARKETING ก็เป็น ACCOUNT OFFICER และ LOAN OFFICER เป็นระดับจูเนียร์ในซิตี้แบงก์แบ่งธุรกิจสินเชื่อออกเป็น 4 ฝ่าย คือสินเชื่อภาครัฐบาล, สินเชื่อภาคธนาคาร, สินเชื่อเอกชนรายใหญ่, สินเชื่อรายย่อย ผมทำหมดทุกฝ่ายยกเว้นรายย่อย ทำ CINDICATED LOAN, FOREIGN EXCHANGE ฯลฯ CITICORP ลงทุนในพนักงานมาก ๆ เขาเปิดโอกาสผมไปฝึกงานที่ฟิลิปปินส์ และไปสัมมนาทั่วโลก" นพพรเล่ากับ "ผู้จัดการ"

เขาเติบโตตามขั้นตอนอย่างรวดเร็วจนได้เป็น VICE PRESIDENT ซึ่งบอร์ดที่ต่างประเทศเป็นผู้ตั้ง โดยใช้เวลาเพียง 7 ปี

เขาอยู่ในจุดที่ดูแลในด้าน TREASURY, สินเชื่อ, การปริวรรตเงินตรา สรุปว่าเขาผ่านงานด้าน FUNDING และ MARKETING ของแบงก์มาอย่างโชกโชน และยังได้ชื่อว่าเป็นนักค้าเงินมือฉกาจคนหนึ่งด้วย

นพพรเป็นคนหนุ่มที่ไม่หยุดนิ่ง ชอบหาความรู้ใส่ตัวเสมอ เขาอ่านหนังสือทุกชนิด โดยเฉพาะอ่านทุกเล่มของ LUDLU, CLAVELL, MICHENER เป็นหนังสือเกี่ยวกับการต่อสู้ผจญภัย การห้ำหั่นกันทางธุรกิจ เช่น ไทปัน - โนเบิลเฮ้าส์ ของ CLAVELL และเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของอเมริกาที่เขียนโดย MICHENER เขากล่าวว่า เขาชอบอ่านประวัติศาสตร์เพราะมันทำให้เกิดความเข้าใจถึงปัจจัยของการเปลี่ยนแปลงในช่วงต่าง ๆ ได้ดี

ชีวิตนพพรเริ่มหักเหครั้งสำคัญก็ตอนที่จอห์นนี่ มา เพื่อนสนิทที่รักกันมากกกับพ่อเขามาชวยให้ไปช่วยบริหารแบงก์เอเชียทรัสต์ ซึ่งกำลังประสบปัญหามาก แบงก์ชาติกำลังจับตาดูอย่างใกล้ชิด

นพพรจะเลือกไปกู้เรือลำใหม่หรือจะโตต่อไปในซิตี้แบงก์

หากเขาอยู่ซิตี้แบงก์ต่อไป ตำแหน่งและเงินเดือนคงจะขึ้นต่อไปเรื่อย ๆ เพียงแต่ต้องใช้วิธีแบบยิปซี (INTERNATIONAL GYPSY) เร่ร่อนไปในหลายประเทศ ตอนนั้นพนักงาน 70% ของ CITICORP เป็น NON-AMERICAN มีนโยบายไม่ให้ผู้บริหารคนไหนอยู่กับที่เกิน 4-5 ปี ซึ่งในข้อนี้นพพรไม่ค่อยชอบนัก เขาค่อนข้างกังวลกับอนาคตของครอบครัวโดยเฉพาะลูก ๆ ที่อาจจะต้องพเนจรร่อนเร่ตามเขาไปด้วย

"ตอนนั้นตัดสินใจลำบากมาก ปรึกษา 10 คน ก็ได้ 10 ความเห็น ในที่สุดก็ไปเพราะเห็นว่าเป็นงานที่ท้าทายมาก การทำสิ่งที่ดีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น ไม่ยากเท่าทำของไม่ดีให้เป็นของดีขึ้นมา ก่อนจะเข้าไปก็รู้แล้วว่าขาดทุน เพราะนอกจากจะดูงบดุลออกว่ามีการแต่งบัญชีแล้ว ก่อนคุณพ่อจะเสียชีวิตก็เคยเข้าไปเป็นกรรมการแบงก์นี้และเล่าให้ฟังว่ามีปัญหามาก แต่ก็ยังหวังว่าน่าจะช่วยให้ดีขึ้นได้ เพราะจอห์นนี่ มา ซึ่งเป็นทั้งประธานและผู้จัดการใหญ่ สัญญาให้เข้ามาบริหารได้เต็มที่" นพพรฟื้นความหลังกับ "ผู้จัดการ"

เขาตัดสินใจไปเอเชียทรัสต์ ว่ากันว่าการตัดสินใจครั้งนั้น สมหมาย ฮุนตระกูล ซึ่งเป็นรัฐมนตรีคลัง รู้เข้าในภายหลัง สมหมายโกรธมากกว่าไม่น่าลงเรือผิดลำ แต่หลายคนก็ยังคาดหวังว่า นพพรจะเข้าไปเป็น "SUPER" ที่ช่วยแก้ปัญหาได้ และแบงก์ชาติเองก็เห็นดีด้วย

นพพรเป็นคนหนุ่มไฟแรงที่หอบเอาความตั้งใจอย่างแรงกล้าที่จะเข้าไปสะสางปัญหา ไปจัดเก็บบ้านให้น่าอยู่ แต่พอเข้าไปจริงกลับไม่เป็นเช่นนั้น "ผมเข้าไปดูงานทุกด้าน เพราะลูก ๆ เขาไม่ค่อยได้มาดูแลเท่าไหร่แม้เขาจะให้อำนาจเต็มที่ก็ทำอะไรไม่ค่อยได้เพราะ RESOURCE มันแทบจะไม่มีเลยก็พยายามทำให้มันไม่เจ๊งเท่านั้น ตอนนั้นวงเงินต่างประเทศก็ไม่มี เงินฝาก็หด เงินกู้ต่างประเทศนอกจากจะไม่มีแล้วก็ยังโดนรุมทวงคืน ผมบริหารแบบ DAY TO DAY อึดอัดมาก ผมแทบจะบอกได้เลยว่า แบงก์จะเจ๊งวันไหน เพราะเงินเกือบจะหมดแบงก์อยู่แล้ว" นพพรเล่าถึงภาวะวิกฤตตอนนั้นกับ "ผู้จัดการ"

สิ่งที่ดูเหมือนนพพรได้ทำอย่างจริงจังคือการพยายามจัดระบบการทำงาน ส่งพนักงานไปฝึกอบรมเพิ่มเติมทั้งในประเทศและต่างประเทศ "อาศัยเจ้านายผม (MR. GIPSON ตอนนี้คุมงานซิตี้คอร์ป ย่านเอเชียทั้งหมด) ช่วยเหลือมาก พวกในซิตี้คอร์ปก็ช่วยเยอะ ผมดึงเพื่อนจากที่นั่นมาหลายคนเช่นคุณผาสุก มาเป็นผู้จัดการฝ่ายสินเชื่อ คุณยงยศมาดูทางด้านสำนักบริหารเงิน ก็เข้ามาช่วยกันเป็นทีม"

เช้าวันที่ 30 กรกฎาคม 2527 หลังเข้ามาทำงานได้ 4-5 เดือน นพพรถือกระเป๋าเข้ามาทำงานตามปกติ โดยที่เจ้าตัวยังไม่รู้ว่าตัวเองถูกไล่ออกแล้ว

ไม่เพียงแต่นพพรเท่านั้นที่ช็อค ที่ธนาคารชาติก็ตกใจ "ผมเองตกใจ ผมอยู่ในวงการธุรกิจมานาน ผมไม่เคยเจอการไล่นักบริหารมืออาชีพออก นอกจากเป็นการคดโกง และถึงให้ออกก็จะทำกันอย่างนิ่มนวล ไม่ใช่มาประกาศไล่แบบนี้" นักบริหารมืออาชีพคนหนึ่งให้ความเห็น

ประเด็นการไล่นพพรออก ได้กลายเป็นชนวนที่เร่งให้จุดสิ้นสุดของแบงก์มาถึงรวดเร็วชนิดนี้เจ้าของเองก็คงนึกไม่ถึง ผู้จัดการเขียนเรื่องนี้อย่างละเอียดใน "เอเชียทรัสต์ : หมดยุคเถ้าแก่แล้ว" (ผู้จัดการปีที่ 1 ฉบับที่ 12)

แต่ถ้าถามนพพรในวันนี้ว่าทำไมจึงถูกไล่ออกทั้งที่เข้าไปพยายามแก้ปัญหา "ที่เขาไล่ออกจริง ๆ แล้วแทบจะไม่มีความขัดแย้งอะไรเลย ที่บอกว่าเอาความลับของแบงก์ไปเปิดเผยนั้นไม่เคย เพราะแบงก์ชาติรู้ฐานะของแบงก์นี้อย่างดี มีจดหมายลับของแบงก์มาตลอดต้นปี 2527 แสดงถึงการตกแต่งบัญชีและฐานะย่ำแย่ของแบงก์ ผมก็เพียงไปชี้แจง ส่วนว่าผมไปเหยียบหัวแม่ตีนใครก็คงมีบ้าง เพราะผมเป็นคนทำอะไรตามหลักการแต่ก็ไม่มีอะไรรุนแรง ก่อนหน้านั้น 2 วันผมกับจอห์นนี่ มา ยังไปหาท่านผู้ว่านุกูลด้วยกัน ผู้ว่ายังบอกว่า น่าจะให้ผมขึ้นเป็น "ผู้จัดการ" แล้วให้จอห์นนี่หาเงินมาเพิ่มทุนเพราะตอนนั้นแบงก์แย่ถึงที่สุดแล้ว ผมคิดว่าการไล่ออกเป็นการเบี่ยงเบนประเด็นมากกว่า"

เมื่อเรื่องลุกลามจนทางการเข้าไปยึดแบงก์ ซึ่งกว่าจะทำสำเร็จก็เหน็ดเหนื่อยไปตาม ๆ กัน เพราะฤทธิ์เดชของผู้ถือหุ้นเก่ามีไม่น้อย ทางการเชิญ เกษม จาติกวณิช ซึ่งได้รับฉายาว่า "ซุปเปอร์เค" มากเป็นประธานกรรมการ และให้ วารี หะวานนท์ ซึ่งตอนนั้นเป็นผู้อำนวยการฝ่ายกำกับและตรวจสอบธนาคารพาณิชย์มาเป็นกรรมการผู้อำนวยการ

นพพรมีโอกาสกลับเข้ามาทำงานเป็นครั้งที่สอง ในตำแหน่งกรรมการรองผู้อำนวยการ ซึ่งก็เป็นตำแหน่งเดิม โดยได้รับคำชักชวนจากเกษม ซึ่งเห็นว่านพพรเป็นคนเก่ง ที่สำคัญคือรู้ปัญหาของแบงก์นี้ดี

บทบาทในปีแรกของนพพร คือการพยายาม FIND OUT ข้อมูลที่ซุก ๆ อยู่ตามที่ต่าง ๆ พร้อมทั้งรับรู้ข้อมูลใหม่ตลอดเวลาเงินกู้จำนวนมากจากต่างประเทศของเจ้าของเดิมแต่ไม่ได้ลงบัญชี ซึ่งทราบเพราะถึงเวลาที่เจ้าหนี้ตามทวงชำระหนี้ นอกจากนี้ยังพบการยักย้ายถ่ายเทเงินเป็นจำนวนมากเข้าบริษัท ที่จริง ๆ แล้วไม่มีตัวตนมีแต่ชื่อ โดยลงบัญชีบ้างไม่ลงบ้าง ซึ่งกว่าจะค้นเจอหมดก็กลางปี 2528 เข้าไปแล้ว พบว่ามีทั้งหนี้สูญและหนี้เสียเป็นจำนวนมากกว่าที่แบงก์ชาติและเขาคาดไว้หลายเท่าตัว แบงก์ชาติจึงสั่งลดทุนเหลือหุ้นละ 5 บาท และเพิ่มทุนโดยกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงินเข้าเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่

ท่ามกลางความไม่แน่นอนของนโยบายรัฐบาลว่าจะทำอย่างไรกับแบงก์เอเชียทรัสต์ ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นแบงก์สยาม จะขายหุ้นให้เอกชน หรือปล่อยให้เป็นแบงก์ของรัฐอีกแห่งหนึ่ง หรือจะให้ไปรวมกับธนาคารกรุงไทย นพพรยังคงทำงานของเขาไปอย่างไม่หยุดยั้ง

การวางรากฐานระบบการทำงานที่มีประสิทธิภาพ และทันสมัย ลงทุนทางด้านคอมพิวเตอร์ สร้างระบบข้อมูลเพื่อการบริหาร (MANAGEMENT INFORMATION SYSTEM) ที่รวดเร็ว ระบบข้อมูลที่พัฒนาถึงจุดที่วันหนึ่ง สามารถรู้กำไรขาดทุนต้นทุนเท่าไหร่ เงินสดสำรองมีเท่าไร ควรจะเหลือไว้เท่าไหร่ เอาไปลงทุนในระยะสั้น (TREASURY) เขาควบคุมติดตามอย่างใกล้ชิด บางครั้งถึงขนาดลงไปสอนการใช้คอมพิวเตอร์ สอนระบบวิธีการทำ FILING เลยที่เดียว

พัฒนาทรัพยากรบุคคลของธนาคารให้เป็น PROFESSIONAL แต่ก็ให้มีจิตใจแบบ ENTREPRENEUR คือ แบบเถ้าแก่ซึ่งมีความคิดอยู่ตลอดเวลาว่าจะทำอย่างไรที่จะพัฒนาปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพมีกำไรมากที่สุด นพพรจะพยายามบอกลูกน้องว่าทุกแบงก์มี PRODUCT ใกล้เคียงกันที่สำคัญต้องให้บริการและความเอาใจใส่ในลูกค้าที่เหนือว่าแบงก์อื่น

ส่วนที่ทำกำไรให้แบงก์มากในช่วงแรกที่เขาเข้าไปคือ การปริวรรตเงินตราต่างประเทศนพพรดึงคนจากซิตี้แบงก์ที่เป็นมือโปรทางด้านนี้มาร่วมทีม ปรากฏว่าในปีแรกคือปี 2528 สามารถทำกำไรในส่วนนี้ได้ถึง 80.6 ล้านบาท จากเดิมสมัยที่จอห์นนี่ มาทำนั้นขาดทุนเป็นส่วนใหญ่ แต่แทนที่ทางการจะชื่นชมกลับเรียกเกษมไปถามว่าทำไมไปทำที่เสี่ยงมากอย่างนั้น เกษมชี้แจงว่าอาจมากไปหน่อย แต่ก็เห็นทำได้กำไรดีไม่เห็นเป็นไรแต่ก็รับปากว่าจะทำน้อยลง

เมื่อผู้ใหญ่กลัวมากต้องทำน้อยลง คนที่มาจากซิตี้แบงก์จึงไปอยู่กับแบงก์สิงคโปร์ ซึ่งให้เงินเดือนมากกว่าที่นี่ถึงสองเท่า

ประเด็นที่มีการโจมตีว่านพพรชอบค้าเงิน ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความเสี่ยงสูงมาก "เราต้องดูว่ามีฐานข้อมูลมากเพียงพอหรือไม่ความรวดเร็วของระบบข้อมูล ซึ่งผมบอกได้เลยว่าหลายแบงก์ก็ยังไม่มี ที่นี่เราเทรนหมดแม้แต่ผู้จัดการฝ่ายบัญชีคือคุณสุเทพ ฝ่ายสำนักกรรมการอำนวยการ คุณมารุต ซึ่งดูแล้วสำนักกรรมการอำนวยการ คุณมารุต ซึ่งดูแล้วอาจจะไม่เกี่ยวข้องแต่จริง ๆ แล้วจำเป็นมาก บัญชีเขาจะได้ป้อนข้อมูลที่จำเป็นได้ตลอดเวลา เรามีคอมพิวเตอร์ที่เห็นการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เรามีหลักว่าแค่ไหนเสี่ยงเกินไป ไม่ใช่ซีซั้วเล่นอย่างที่คนชอบว่า" นพพรอธิบาย

แม้จะพยายามบริหารอย่างดีที่สุดแบงก์ก็ยังคงขาดทุนในปี 2528 ถึง 703 ล้านบาท ปี 2529 ขาดทุน 454 ล้านบาท ซึ่งเป็นจุดที่สื่อมวลชนตลอดจนผู้หลักผู้ใหญ่เห็นว่าช่วยเหลือเงินไปมาก ทำไมยังขาดทุนอยู่ ในที่สุดก็ตัดสินใจประกาศให้รวมกับแบงก์กรุงไทย เพื่อจะได้เหลือแบงก์ของรัฐเพียงแห่งเดียวด้วย

มีการวิพากษืวิจารณ์กันอย่างกว้างขวางจนถึงปัจจุบันว่าเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดแล้วละหรือ คำตอบที่ชัดเจนลงไปยังไม่มีแต่ที่เห็นอยู่ก็สหภาพแรงงานทั้งสองแห่งประกาศไม่เห็นด้วย เกษมลาออกหลังจากนั้นไม่นาน แม้แต่เธียรชัยผู้จัดการใหญ่กรุงไทยเองก็ไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะภาระของกรุงไทยหนักอยู่แล้ว นพพร เรืองสกุล ผู้จัดการกองทุนฯ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ลาออกจากเป็นพนักงานแบงก์ชาติทันที เหล่านี้เป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น

เกษมและนพพรเห็นว่าแบงก์มีแนวโน้มดีขึ้นเรื่อย ๆ ไตรมาสที่ 2 ของปี 2530 โน้มดีขึ้นเรื่อย ๆ ไตรมาสที่ 2 ของปี 2530 ก็สามารทำกำไรได้แล้ว ซึ่งก็ไม่ใช่เป็นผลจากซอฟโลนอย่างเดียว การจัดการบริหารภายในอย่างมีประสิทธิภาพมีส่วนสำคัญมากแต่การที่ผลกำไรไม่ออกมาเร็ว เพราะว่าความเสียหายมันมากกว่าที่คิดกันไว้หลายเท่าความช่วยเหลือในรูปของซอฟโลนก็ไม่ได้มาเป็นก้อนทีเดียว แต่ทยอยให้มา จึงไม่ครอบคลุมส่วนที่เสียหาย ที่สำคัญการทำงบดุลเกษมบอกว่า "เราทำอย่าง CLEAN มาก ๆ อันไหนที่สงสัยจะสูญเราตัดหมด ถ้าเราทำแบบบางแบงก์ เราโชว์ตัวเลขกำไรได้นานแล้ว"

แม้ภาพรวมแบงก์สยามจะไม่เป็นผลดีกับผู้บริหาร เพราะดูเหมือนบริหารงานไม่ประสบความสำเร็จ กรรมการที่มาจากภาคเอกชนพากันลาออกหมด นพพรซึ่งก็ไม่เห็นด้วยกับเหตุผลและวิธีการรวมครั้งนี้ แต่เขายังอยู่ต่อเพื่อดูแลให้ลูกน้องได้รับความเป็นธรรมอย่างเต็มที่ เขาสะท้อนความรู้สึกผิดหวังที่ยังทำงานไม่จบตามเป้าหมาย แต่ก็ถือว่าตัวเองทำงานสำเร็จ ในแง่ที่เริ่มทำงานตั้งแต่ไม่มีระบบ จนเป็นระบบที่ทันสมัยในทุกวันนี้ เทรนคนจนมีความเป็นแบงเกอร์เต็มตัว "ผมก็เหมือนครูคนหนึ่งที่เดินผ่านเข้ามา สอนให้เขาทำแบงก์กันเป็น ตรงนี้ผมภูมิใจมาก ที่มีโอกาส CONTRIBUTE แล้วผมก็หมดหน้าที่" นพพรพูดกับ "ผู้จัดการ" ถึงความรู้สึกที่แท้จริงของเขาให้ฟัง

แม้นพพรจะเป็นคาทอลิคแต่เขาก็สนใจพุทธธรรม สำนักที่เขาชอบศึกษาคือสำนักสวนโมกข์อย่างท่านพุทธทาส ที่สอนว่า การทำงานอย่างมีความสุขก็ถือว่าได้ปฏิบัติธรรมและปกตินพพรก็เป็นผู้มีความสุขกับการทำงาน และมีชีวิตครอบครัวที่อบอุ่นกับศรีวิฑูรย์ซึ่งทำงานอยู่ที่ธนาคารโตเกียวและบุตรชายหญิงที่กำลังโตวันโตคืน

เวลาว่างเสาร์อาทิตย์ นพพรชอบไปขับเครื่องบิน จากบางพระบินไปสู่ที่ต่าง ๆ ดังที่ใจปรารถนา ซึ่งเป็นความใฝ่ฝันของเขาตั้งแต่วัยเด็ก เพราะเขาเห็นว่าการเหินเวหาเป็นเรื่องท้าทาย เขามีความสุขมากเมื่อยามได้บินซึ่งก็เหมือนกับความสุขที่ได้รับจากงานที่ท้าทาย

วัย 40 ของนพพร ยังมีงานท้าทายรออยู่อีกมาก มีแบงก์ต่างประเทศหลายแห่งชวนเขาไปร่วมงาน แต่เขายังไม่ตัดสินใจ

วิถีทางของนพพรหลายปีมานี้ค่อนข้างจะชัดเจนในแง่ที่เป็นคนเก่งไฟแรง ผู้มักจะลงเรือลำผิด แต่นับว่ายังดีที่เขาเองก็ได้สร้างผลงานโดยเฉพาะการพัฒนาระบบและคนให้กับธุรกิจธนาคารพาณิชย์ไว้ไม่น้อย

วันนี้นพพรคงมีประสบการณ์บางดานแล้วพอสมควร

และเขาน่าจะใช้ประสบการณ์ในการตัดสินใจลงเรือลำใหม่อย่างรอบคอบขึ้นบ้าง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us