เขาอายุ 42 ช่วงแรกของชีวิตเกือบจะต้องกลายเป็นเถ้าแก่โรงงานกล่องกระดาษ
แต่เพราะจังหวะชีวิตพลิกผัน ก็เลยมาอยู่แบงก์กรุงเทพ และเพิ่งจะออกเดินไปได้เพียง
1 ใน 3 ของระยะทางที่ขึ้นสู่ตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่แล้ว
บุญชู โรจนเสถียร กลับเข้าธนาคารกรุงเทพอีกครั้งในช่วงปี 2520 ภายหลังบรรยากาศการเมืองผันผวนพรรคการเมืองสลายตัวไปพร้อม
ๆ กับการยึดอำนาจโดยคณะปฏิรูปและจัดตั้งรัฐบาล ธานินทร์ กรัยวิเชียร ขึ้นบริหารประเทศ
การกลับรังเก่าคราวนี้บุญชู โรจนเสถียรเข้านั่งเก้าอี้กรรมการผู้จัดการใหญ่แทนชิน
โสภณพนิช ที่ขยับขึ้นไปนั่งเก่าอี้ประธานบอร์ด
และต้นปี 2520 นี่เองที่ด็อกเตอร์หนุ่มวัยสามสิบเศษถูกทาบทามให้เข้าช่วยงานบุญชู
โรจนเสถียรในสำนักผู้จัดการใหญ่
อีกหลายปีต่อมาชื่อเสียงของด็อกเตอร์หนุ่มดังกล่าวเริ่มขจรขจายในฐานะ "ขุนศึก"
คนสำคัญคนหนึ่งของสำนักบัวหลวง ตำแหน่งและบทบาทก็ดูเหมือนว่าจะมาแรงเป็นพิเศษ
จากเจ้าหน้าที่บริหารขั้นผู้ช่วยผู้จัดการประจำสำนักผู้จัดการใหญ่ในปี
2520 ปี 2523 เขาก้าวขึ้นเป็นเจ้าหน้าที่บริหารขั้นรองผู้จัดการ ตำแหน่งผู้จัดการสำนักงานจัดสรรเงิน
ปี 2525 เป็นเจ้าหน้าที่บริหารขั้นรองผู้จัดการอาวุโส
ปี 2526 เป็นผู้จัดการฝ่ายอาวุโส รับผิดชอบกลุ่มงานบริหารการเงินและผู้จัดการสำนักจัดสรรเงิน
พร้อมกับควบตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายร่วม ฝ่ายอำนวยการสาขาต่างประเทศรับผิดชอบสาขาต่างประเทศในย่านเอเชียของธนาคารกรุงเทพ
ปี 2528 ขึ้นสู่ตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่และได้รับแต่งตั้งให้ดูแลกิจการด้านวานิชธนกิจด้วยอีกด้านหนึ่ง
และปี 2530 ก็ควบตำแหน่งผู้อำนวยการด้านสาขาต่างประเทศเข้าไปอีกเต็มตัว
ชื่อของเขา ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย
คนที่มักจะบอกกับใคร ๆ อย่างถ่อมตัวว่าเขาเข้าร่วมงานกับธนาคารกรุงเทพอย่างคนผู้ไม่ประสีประสากับกิจการธนาคารพาณิชย์
"ผมคิดว่ามันเป็นความโชคดีที่ผมได้มีโอกาสจับงานสำคัญของธนาคารเข้าอย่างเหมาะเจาะเสียมากกว่า"
เขามักจะว่าอย่างนั้น
วิชิต สุรพงษ์ชัย อายุเพิ่งจะครบ 42 เมื่อวันที่ 12 มกราคมที่ผ่านมา เขาเป็นคนกรุงเทพฯ
เกิดในครอบครัวเจ้าของโรงงานผลิตกล่องกระดาษโรงแรกในประเทศไทย ที่ก่อตั้งขึ้นโดยพ่อของเขา
พงษ์ สุรพงษ์ชัยกับแม่-ลาวัณย์ เป็นกิจการครอบครัวที่เริ่มจากเล็ก ๆ และเติบโตขึ้นมาพร้อม
ๆ กับวัยที่เติบโตของเขากับพี่ชายเพียงคนเดียว-วินิจสุรพงษ์ชัย อดีตผู้บริหารคนสำคัญของเอสเอสซีแอนด์บี
ลินตาสที่เพิ่งจะมีข่าวครึกโครมเรื่องลาออกไปตั้งเอเยนซี่ใหม่ไม่กี่เดือนมานี้
วิชิต เริ่มเรียนหนังสือที่อัสสัมชัญบางรัก เขาคิดว่าเขากับวินิจน่าจะต้องแสดงบทบาทความเป็นเถ้าแก่ดูแลกิจการโรงงานผลิตกล่องกระดาษต่อจากรุ่นพ่อแม่
ซึ่งก็เป็นความปรารถนาของครอบครัวด้วย เมื่อจบระดับเตรียมอุดมศึกษาแล้ววิชิตจึงตรงแน่วเข้าเป็นนิสิตใหม่คณะวิศวกรรมศาสตร์
แผนกเครื่องกลของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอย่างมุ่งมั่น เขาตั้งใจว่าจะนำความรู้ทางด้านวิศวะเครื่องกลไปใช้กับโรงงานของเขา
ส่วนวินิจที่ชอบด้านศิลปะก็ถูกส่งไปเรียนวิชาที่ตัวเองชอบที่อังกฤษ
ดูเหมือนครอบครัว "สุรพงษ์ชัย" จะได้วางเส้นทางเดินของทายาทเอาไว้แล้วอย่างรัดกุม
คนโตไปเรียนวิชาที่จะต้องนำมาใช้ในการสร้างสรรค์สินค้าใหม่ ๆ ของโรงงาน
ส่วนคนเล็กเรียนวิชาที่จะใช้ในด้านการผลิต
เพียงแต่บางทีอนาคตข้างหน้านั้นก็ใช่ว่าจะเป็นสิ่งที่กำหนดกันได้เสมอไปเท่านั้น
วินิจ สุรพงษ์ชัย กลับจากอังกฤษก็เข้าทำหน้าที่ในโรงงานผลิตกล่องกระดาษาของครอบครัวทันควัน
ตอนนั้น วิชิตยังเรียนวิศวะปี 3 แม้จะยังไม่จบแต่ด้วยความจำเป็นบางประการของครอบครัวทำให้เขาต้องเรียนไปพร้อม
ๆ กับช่วยงานในโรงงานและเริ่มให้เวลากับงานอย่างจริงจังทันทีที่หลุดจากรั้วจุฬาฯ
"โรงงานของเราเคยเป็นโรงงานที่มีกำลังการผลิตใหญ่ที่สุด ตอนที่ผมทำงานนั้นก็น่าจะพูดได้ว่าทำเกือบทุกอย่าง
ตั้งแต่เถ้าแก่ไปจนถึงจับกังแบกของขนของขึ้นรถลงรถขับรถส่งของหรือแม้แต่ไปญี่ปุ่นเพื่อซื้อเครื่องจักร
ต้องอยู่เทรนที่ญี่ปุ่น 6-7 เดือน ผมคิดว่าผมก็ได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ มากทีเดียว"
วิชิต เล่าให้ฟัง
หนึ่งปีหลังจากจับงานของครอบครัวอย่างเต็มตัว กิจการเริ่มประสบปัญหาจากการแข่งขัน
วิชิตเริ่มคิดในขณะนั้นว่า เขามีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนากิจการให้อยู่ในฐานะที่แข็งแกร่งขึ้น
"ผมคิดว่าความรู้ทาง
หนึ่งปีหลังจากจับงานของครอบครัวอย่างเต็มตัว กิจการเริ่มประสบปัญหาจากการแข่งขัน
วิชิตเริ่มคิดในขณะนั้นว่า เขามีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนากิจการให้อยู่ในฐานะที่แข็งแกร่งขึ้น
"ผมคิดว่าความรู้ทางด้านวิศวะที่มีอยู่ของผมจริง ๆ แล้วมันยังไม่แน่นพอที่จะนำมาใช้ในการพัฒนากิจการก็คิดแค่เพียงด้านนี้ด้านเดียวจริง
ๆ ผมก็เลยตัดสินใจไปเรียนต่อระดับปริญญาโทที่ต่างประเทศ"
ปี 2512 วิชิตเข้าเรียนในระดับปริญญาโททางด้านวิศวอุตสหกรรรมที่เบิร์กเล่ย์ประเทศสหรัฐอเมริกา
แต่ดูเหมือนว่าความรู้ระดับปริญญาโทที่ร่ำเรียนมาไม่ได้ช่วยให้กิจการของครอบครัวพัฒนาไปสู่จุดที่มุ่งหวัง
เขาเริ่มมองเห็นสัจธรรมว่าอะไรคือสาเหตุในช่วงนี้เอง
"จริง ๆ แล้วมันเป็นปัญหาเรื่องการจัดการเรื่องเงิน เรื่องระบบธุรกิจแบบครอบครัว
ซึ่งเป็นปัญหาที่เราไม่มีความรู้ที่จะแก้ไขเลย" วิชิตบอก
เขาตัดสินใจขจัดความไม่รู้ด้วยการบินกลับไปเรียนปริญญาโทบริหารธุรกิจ (เอ็มบีเอ)
เพิ่มเติมที่ยูซีแอลเอ สหรัฐอเมริกา เขาหวังอย่างมากที่จะกลับมาฟื้นฟูกิจการของครอบครัวอีกครั้ง
เพียงแต่เขาตัดสินใจออกจะช้าไปสักนิด
บริษัทสิงห์ทอง จำกัด โรงงานผลิตกล่องกระดาษที่ครอบครัว "สุรพงษ์ชัย"
ก่อร่างสร้างขึ้นมาด้วยระยะเวลานับสิบ ๆ ปี ตัดสินใจขายหุ้นส่วนข้างมากให้กับบริษัทออสเตรเลีย
คอนโซลิเดเต็ด อินดัสทรีย์ (ที่เข้ามาเป็นหุ้นใหญ่ในบริษัทไทยกลาสในประเทศไทย)
และบริษัทเบอร์ลี่ ยุคเกอร์เพื่อรับช่วงกิจการไปดำเนินการต่อพร้อม ๆ กับเปลี่ยนชื่อบริษัทจากสิงห์ทองเป็นบริษัทสยามบรรจุภัณฑ์
"ช่วงนั้นเป็นปี 2514 ดร.วิชิตยังอยู่ต่างประเทศ เจ้าของเก่าเขาดูแล้วว่าเขากำลังไม่พอที่จะพากิจการให้รุ่งเรืองได้เหมือนเก่าท่ามกลางการแข่งขัน
บวกกับกลุ่มไทกลาสที่ติดต่อธุรกิจกันมานานก็เสนอเงื่อนไขดีมาก ๆ เขาก็เลยตัดสินใจขายหุ้นส่วนใหญ่ให้
คงเหลือหุ้นไว้เพียงเล็กน้อยบริษัทนี้ต่อมาในปี 2524 หรือ 10 ปีให้หลังก็เข้าไปอยู่ในเครือซิเมนต์ไทย
ก็บริษัทสยามบรรจุภัณฑ์ที่เรารู้จักกันนั่นเอง ไม่ค่อยจะมีคนทราบหรอกว่าคนที่วางรากบริษัทนี้เริ่มจากพวกสุรพงษ์ชัยโดยมี
ดร.วิชิตเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงคนหนึ่งในขณะที่ยังอยู่ในวัยหนุ่ม" คนที่อยู่ในวงการกระดาษคราฟท์บอกกับ
"ผู้จัดการ"
"เราเคยโตที่สุด แต่เมื่อมีโรงงานผลิต
ดร.วิชิตได้รับโอกาสและโชคที่น้อยคนนักจะได้รับ
เขาจับงานทรีทชูรี่ในช่วงที่สถานการณ์กำลังเหมาะสม
และได้มีโอกาสเข้าไปศึกษางานทุกฝ่ายของแบงก์กรุงเทพ
กล่องกระดาษลูกฟูกเพิ่มขึ้นหลายเจ้าเราก็โตช้าลงจนกลายเป็นระดับกลาง ๆ
เนื่องจากเราทำกันเองภายในครอบครัว ก็มาคิดว่าถ้าเราทำต่อไปก็คงเกินกำลังต้องเหนื่อยมาก
คนที่ซื้อไปเขาก็ใหญ่มีประวัติยาวนาน ก็เลยตัดสินใจขาย" ดร.วิชิตให้เหตุผลคล้าย
ๆ กัน
ว่าไปแล้วการตัดสินใจขายกิจการออกไป ก็น่าจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่เมื่อจบเอ็มบีเอแล้วทำให้วิชิตเรียนต่อในระดับปริญญาเอกด้านการบริหารที่ยูซีแอลเอ
แล้วทำให้วิชิตเรียนต่อในระดับปริญญาเอกด้านการบริหารที่ยูซีแอลเอ
เขาเดินทางกลับประเทศไทยอีกครั้งในช่วงปี 2519 วุฒิปริญญาเอกด้านการบริหารจากยูซีแอลเอของเขาพอจะมีงานให้เลือกทำได้หลายที่
ในที่สุดเขาเลือกบรรษัทเงินทุนอุตสหากรรมแห่งประเทศไทย (ไอเอฟซีที) "ผมคิดว่าผมมีพื้นฐานและประสบการณ์ทางด้านอุตสาหกรรม
การเงินและการบริหารไอเอฟซีที ก็น่าจะเป็นหน่วยงานที่เหมาะสมที่สุด"
ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย เริ่มต้นที่ไอเอฟซีทีในตำแหน่งนักวิเคราะห์โครงการสายงานที่ขึ้นตรงกับอัศวิน
คงศิริ "เป็นงานคนละด้านกับการพิจารณาให้สินเชื่อ เพราะนั่นลูกค้ามีโครงการเดินเข้ามาหาให้เราศึกษาแล้วตัดสินใจ
แต่งานของผมที่ไอเอฟซีทีเป็นการค้นหาโครงการใหม่ ๆ ที่เหมาะสมแล้วผลักดันให้เกิดอุตสาหกรรมนั้นๆ
ขึ้น" เขาบอกว่าเขามีสวนในการเริ่มต้นของอุตสาหกรรมผลิตตลับลูกปืนและผ้าใบเป็นต้น
ไม่นานหลังจากนั้น ดร.วิชิต ก็ได้รับเชิญให้ใช้เวลาส่วนที่ว่างช่วงเย็นสอนหนังสือที่ธรรมศาสตร์หลักสูตรเอ็มบีเอ
ซึ่งที่นี่ทำให้เขาได้มีโอกาสรู้จักกับ สังเวียน อินทรวิชัยอดีตคณบดีคณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชีของธรรมศาสตร์ซึ่งสนิทสนมกับผู้ใหญ่หลาย
ๆ คนในธนาคารกรุงเทพ
ช่วงที่บุญชู โรจนเสถียร กลับเข้าธนาคารกรุงเทพอีกครั้งนั้น สำหรับดร.วิชิตสุรพงษ์ชัยแล้วก็เป็นช่วงที่เพิ่งจะทำงานกับไอเอฟซีทีและสอนหนังสือที่ธรรมศาสตร์ได้เพียง
7 เดือน และเขาไม่เคยคิดเลยแม้แต่น้อยว่าการกลับมาของบุญชูจะทำให้เส้นทางเดินชีวิตของเขาต้องมีอันเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง
"เรื่องมันก็มีอยู่ว่า คุณบุญชูต้องการคนที่จะมาศึกษาและวางรากฐานงานด้านการบริหารเงินหรืองาน
TREASURY เพราะภายหลังวิกฤติการณ์น้ำมันเมื่อปี 2514 เรื่อยมาจนช่วงปี 2520
เศรษฐกิจมันมีแนวโน้มที่จะปั่นป่วนมาก อัตราดอกเบี้ยเคลื่อนไหวขึ้นลงวูบวาบ
อัตราแลกเปลี่ยนที่เมื่อก่อนเคยคงที่มาตลอดก็เริ่มเปลี่ยนแปลงขึ้นลงอย่างรุนแรง
ท่านก็ต้องการคนมาศึกษาและดูงานด้านนี้ก็บอกไปหลาย ๆ ทาง" แหล่งข่าวในธนาคารกรุงเทพเล่าให้ฟัง
พิพัฒน์ ปุษยานนท์ ผู้บริหารคนหนึ่งของธนาคารกรุงเทพ ได้นำความมาปรึกษากับสังเวียน
อินทรวิชัยที่รู้จักสนิทสนมกันมานาน จากสังเวียน คำทาบทามก็ส่งผ่านมาถึง
ดร.วิชิต
แล้ววันหนึ่งของต้นปี 2520 การสนทนาบนโต๊ะอาหารกึ่ง ๆ ทางการระหว่าง ดร.วิชิตกับดำรงค์
กฤษณามระ ก็อุบัติขึ้น
สำหรับดร.วิชิต แม้ว่าเหตุการณ์วันนั้นจะผ่านมาแล้วกว่า 10 ปี แต่ดูเหมือนว่าเขายังสามารถจดจำประเด็นสำคัญได้ไม่ตกหล่น
"ผมก็เรียนคุณดำรงค์ว่าผมไม่มีประสบการณ์ คุณดำรงค์ท่านก็ว่าไม่เป็นไรนี่
มาเรียนรู้ได้ ก็ตกลงผมเข้ามา"
ดูเสมือนง่าย ๆ และรวบรัด ทั้ง ๆ ที่เบื้องหลังก็คือฝ่ายหนึ่งรับทราบคุณค่าของอีกฝ่ายหนึ่งมามากแล้วพอสมควร
ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งก็อยากทำงานที่ท้าทายตามข้อเสนอของอีกฝ่าย โดยเฉพาะงานบริหารเงิน
ที่ขณะนั้นก็ออกจะเป็นงานที่ใหม่มาก ๆ สำหรับธนาคารพาณิชย์ไทย
แต่ทั้ง ดร.วิชิตและผู้ใหญ่ของธนาคารกรุงเทพก็คงไม่ทราบหรอกว่า การตัดสินใจคราวนั้นในที่สุดจะต้องไปลงเอยตรงจุดไหน
จะสำเร็จหรือไม่ก็คงจะต้องขึ้นอยู่กับตัวดร.วิชิตบวกกับเงื่อนไขทางโอกาสที่เปิดให้
และก็อาจจะอีกบางสิ่งที่เรียกกว่า "ดวง" ด้วยก็เป็นได้
ธนาคารกรุงเทพนั้นถูกมองว่าเป็นถ้ำเสือวังมังกรมีลักษณะไม่ต่างไปจากดาบสองคมสำหรับบรรดามืออาชีพทั้งหลายมานานแล้ว
เพราะความใหญ่ของกิจการก็ย่อมเป็นธรรมดาที่จะต้องมีทั้งคุณและโทษอยู่ในตัว
คุณในแง่ที่ถ้าสร้างสรรค์งานขึ้นมาได้ประสบผลสำเร็จ ความใหญ่ของกิจการที่จะส่งพลังออกไปอย่างมหาศาล
เปรียบเทียบผลงานคล้าย ๆ กันกับองค์การที่มีขนาดเล็กกว่าแล้วก็คงจะเห็นข้อแตกต่างได้ชัด
และโทษในแง่ที่ความใหญ่นั้นก็อาจจะทำให้หลายคนมีอาการแคระแกร็นไปได้ง่าย
ๆ โอกาสที่จะเรียนรู้งานอย่างรอบด้านเพื่อเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสร้างสรรค์ไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่ายนัก
เรื่องที่ทำได้ง่ายกลับเป็นการทำหน้าที่ในฐานะเฟืองตัวเล็ก ๆ ตัวหนึ่งของระบบที่ใหญ่โตมโหฬาร
"เพราะฉะนั้นจึงมักจะพบว่าคนระดับผู้จัดการฝ่ายหลาย ๆ คนขององค์กรขนาดใหญ่ถ้าจับไปอยู่องค์กรขนาดที่เล็กกว่า
เขาอาจจะไปได้ไกลกว่านี้ สร้างผลงานที่ยิ่งใหญ่กว่านี้ได้ไม่ยาก" แหล่งข่าวคนหนึ่งให้ข้อคิด
มองจากตรงนี้สำหรับดร.วิชิต แล้วก็น่าจะต้องถือว่าโชคดีอยู่ไม่น้อย
ภารกิจเริ่มแรกสำหรับ ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย นั้นค่อนข้างแจ่มชัด เขามีหน้าที่ศึกษาและวางระบบตลอดจนพัฒนาข้อมูล
และบุคลากรสำหรับงานบริหารเงินที่ผู้บริหารธนาคารกรุงเทพมองด้วยความชาญฉลาดและความมีสายตายาวไกลว่า
จะต้องเป็นงานที่สำคัญอย่างเอกอุในอนาคตซึ่งก็เป็นสิ่งที่ไม่ผิดพลาดเลยแม้แต่น้อย
จริง ๆ แล้วมันก็คือการเริ่มต้นของฝ่าย TREASURY ที่ธนาคารกรุงเทพเป็นผู้นำซึ่งปัจจุบันกลายเป็นฝ่ายที่ทุกธนาคารจำเป็นต้องมีอย่างที่จะขาดไปเสียไม่ได้นั่นเอง
"คอนเซ็ปต์ของมันก็คือ สภาพความผันผวนของระบบเศรษฐกิจและตลาดเงินที่เริ่มส่อเค้าตั้งแต่ปี
17-18 เรื่อยมาได้ส่งผลให้เกิดการเคลื่อนไหวอย่างรุนแรง ของอัตราดอกเบี้ยในประเทศต่างประเทศ
และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลต่าง ๆ ปัญหาก็มีอยู่ว่าธนาคารจะบริหารเงินของตัวเองอย่างไร
เพื่อให้เงินทุกบาททุกสตางค์รวมทั้งเงินตราต่างประเทศสามารถออกดอกออกผลไม่อยู่นิ่ง
ๆ ในเซฟ ซึ่งนอกจากจะไม่ออกดอกผลแล้วก็อาจจะต้องชักเนื้อด้วยก็เป็นได้"
แหล่งข่าวในวงการธนาคารอธิบายให้ฟัง"
การได้รับมอบหมายให้เป็นผู้วางระบบบริหารเงินที่ไม่กี่ปีต่อมาถูกจัดตั้งขึ้นเป็นสำนักจัดสรรเงินนั้น
ทำให้ ดร.วิชิต ได้รับโอกาสที่ใครในธนาคารกรุงเทพก็คงจะได้โอกาสเช่นว่านี้ได้ไม่ง่ายนัก
นั่นก็คือการเข้าไปสัมผัสกับทุกส่วนงานที่ประกอบกันขึ้นเป็นธนาคารกรุงเทพอย่างถึงรากเหง้า
"เนื่องจากเป็นงานเกี่ยวกับเงิน เพราะฉะนั้นเงินมันไปตรงไหน ผมต้องตามไปดู
ผมจึงไปทั่วหมดเกือบทุกฝ่ายในแบงก์ เงินฝากสินเชื่อในประเทศต่างประเทศไปมาหมด
ยกเว้นฝ่ายการพนักงานเท่านั้น" ดร.วิชิต เล่าพร้อมกับย้ำ "ผมถือว่าผมโชคดีมากทั้งได้เรียนรู้งานและได้ทำงานที่มันท้าทายจริง
ๆ "
สองปีแรกเป็นสองปีที่หมดไปกับการเรียนรู้ เขาตระเวนไปฝ่ายโน้นฝ่ายนี้อย่างเหน็ดเหนื่อยแต่ก็ได้ประโยชน์มาก
ความสามารถและความเก่งกาจที่มีเป็นคุณสมบัติติดตัวเริ่มฉายแววรุ่งโรจน์ในปีที่สามพร้อม
ๆ กับการก้าวขึ้นรับหน้าที่ผู้จัดการสำนักงานจัดสรรเงินที่ตั้งขึ้นในปีนั้นก็น่าเสียดายที่บุญชู
โรจนเสถียร คนที่มีส่วนอย่างสำคัญในการนำเขาเข้าร่วมงานไม่มีโอกาสได้อยู่ชื่นชม
"เพชร" ได้รับการเจียระไนเม็ดนี้ เนื่อง่จากบุญชูขอหวนกลับเข้าสู่วงการเมืองอีกครั้งและได้รับตำแหน่งรองนายกฝ่ายเศรษฐกิจในคณะรัฐบาลเปรม
1
คนที่ได้ชื่นชมและสนับสนุนดร.วิชิตอย่างชนิดที่ต้องเรียกว่า ดร.วิชิตเป็น
"ขุนศึก" คู่กายกลับเป็นชาตรี โสภณพนิช ที่ขึ้นสู่ตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่แทนบุญชู
โรจนเสถียร
และก็เป็นชาตรีที่ตัดสินใจมอบหมายงานด้านสาขาต่างประเทศตลอดจนงานด้านวานิชธนกิจให้ดร.วิชิต
เป็นผู้รับผิดชอบในเวลาต่อมาภายหลังการแสดงฝีไม้ลายมือเอาไว้อย่างน่าทึ่งในงานด้านบริหารการเงิน
"ก็ลองมองย้อนหลังดูก็ได้ว่าจากปี 23 ถึงปีนี้อัตราดอกเบี้ยเปลี่ยนแปลงขึ้นลงกี่ครั้ง
มันเคยขึ้นไปชนเพดาน 21% เคยลงมาต่ำกว่า 10% การปรับค่าเงินบาทมีติด ๆ กันไม่ต่ำกว่า
10% การปรับค่าเงินบาทมีติด ๆ กันไม่ต่ำกว่า 4 ครั้งในยุคเปรม 1 ถึงเปรม
4 สถานการณ์เหล่านี้ สามารถพิสูจน์ฝีมือ ดร.วิชิต ได้ชัดเจน แบงก์กรุงเทพทำกำไรจากงานด้านนี้มากโดยเฉพาะการค้าเงินตราต่างประเทศเพราะฉะนั้นถ้าชาตรีจะไว้วางใจดร.วิชิต
มอบหมายงานสำคัญๆ ให้ทำก็เป็นเรื่องธรรมดา" แหล่งข่าวคนหนึ่งบอก
ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย ในทุกวันนี้นั่งอยู่ในตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่
งานชิ้นแรกที่จับก็ยังต้องจับต่อไปพร้อม ๆ กับงานด้านสาขาต่างประเทศและงานวานิชธนกิจ
โดยเฉพาะโครงการปิโตรเคมีคัลและการร่วมลงทุนตั้งบริษัทลีสซิ่งกับมิตซุย เมื่อปีที่แล้วเขาถูกส่งเข้าไปนั่งอยู่ในบอร์ดบริหารของสยามกลการและเขาตั้งเป้าว่าภายใน
5 ปีนี้เขาจะเป็นกลไกสำคัญอันหนึ่งของธนาคารในการหันเหทิศทางเข้าสู่ "INVESTMENT
BANKING" ที่จะเป็นงานใหญ่ครอบงาน TREASURY เข้าไปอีกชั้น
หลังจากในช่วงวันพักผ่อนเขาเล่นกอล์ฟ คนที่เล่นด้วยกันประจำก็ไม่แคล้ว
"บอส" ของเขา-ชาตรี โสภณพนิช และเพื่อน ๆ ผู้บริหารในธนาคาร
ดร.วิชิตยังมีอายุงานอยู่อีกอย่างน้อย 20 ปีถ้าเขาคิดจะวางมือเมื่อตอนอายุ
60
จริง ๆ แล้วเขาเพิ่งเดินมาได้เพียง 1 ใน 3 ของระยะทางเท่านั้นเอง