Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTVผู้จัดการรายสัปดาห์15 มิถุนายน 2552
ซี.พี.รุกตลาดอาหารนอกประเทศ'เกี๊ยวกุ้ง-มังคุด'ยอดฮิตญี่ปุ่น-มะกัน             
 


   
www resources

โฮมเพจ เจริญโภคภัณฑ์อาหาร

   
search resources

เจริญโภคภัณฑ์อาหาร, บมจ.
Food and Beverage




กลุ่มซี.พี.รุกหนักตลาดนอกประเทศดัน 'มังคุด' เจาะตลาดญี่ปุ่น-ออสเตรเลีย ชี้ยอดขายพุ่งเกือบเท่าตัวทุกปี ส่วนตลาดใหม่อย่าง 'ยุโรป-นิวซีแลนด์' ก็ยังมีความต้องการที่สูง ขณะที่การส่งออกอาหาร 'เกี๊ยวกุ้ง' ขึ้นอับดับหนึ่งขยายตัวกว่า 100% คาด 2-3 ปีเชื่อยอดขายทะลัก 2,000 ล้านโดยเฉพาะ 'มะกัน' นำเข้ามากสุด ด้านลงทุนปักธง 'รัสเซีย' เปิดโรงงานใหม่ อาหารสัตว์-หมูครบวงจร เชื่อยังมีช่องว่างกว่า 7.5 แสนตัน/ปีไว้รองรับ

เมื่อย่างเข้าสู่ฤดูฝนหลายประเทศคงอิจฉาคนในประเทศไทยเพราะรู้ดีว่าในช่วงนี้ผลไม้หลากหลายในบ้านเราตามฤดูกาลต่างทยอยออกมาให้เราได้ลิ้มชิมรสกันไม่ขาดสายพร้อมกับราคาที่ซื้อหากันได้ ไล้ตั้งแต่ มะม่วง ลิ้นจี่ เงาะ ทุเรียน และมังคุด ฯลฯ ซึ่งพื้นในการปลูกและจำนวนผลผลิตในแต่ละปีถือว่าเกินกว่าความต้องการของตลาด หรือล้นตลาดนั่นเอง ซึ่งการหาช่องทางระบายสินค้าเหล่านี้ไปต่างประเทศคือหนทางที่ดีที่สุด เพราะได้ราคาสูง และคนต่างชาติยังนิยมผลไม้จากเมืองไทยอีกด้วย

ขณะที่ธุรกิจอาหารก็ยังโตสวนกระแสเศรษฐกิจโลกเช่นกันเพราะยอดส่งส่งออกอาหารของไทยยังไปได้ดี จนต้องมีการตั้งโรงงานแปรรูปอุตสาหกรรมอาหารในประเทศนั้น

'มังคุด'แชมเปี้ยนผลไม้ส่งออก

'มนตรี คงตระกูลเทียน' ประธานคณะผู้บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ร่วม กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร เครือเจริญโภคภัณฑ์กล่าวถึงการส่งออกผลไม้ไทยในนามของกลุ่มซี.พี.ว่า ผลไม้ไทยยังมีศักยภาพในการส่งออกได้อีกมาก เพราะที่ผ่านมาชาวต่างชาติจะรู้จักผลไม้ไทยแค่ไม่กี่ชนิดที่เสิร์ฟตามร้านอาหารไทย อาทิ แตงโม สับปะรด มะละกอ ทั้งที่ยังมีผลไม้ไทยที่มีรสชาติดีและมีศักยภาพที่จะแข่งขันได้อีก หากภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น ธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม ได้จัดการประชาสัมพันธ์ผลไม้ไทยมากขึ้นซึ่งส่งผลต่อการส่งออกผลไม้ไทยได้มีอัตราการขยายตัวมากขึ้น

โดยในส่วนของกลุ่มซี.พี.ถือว่ามังคุดยังมีความต้องการของตลาดต่างประเทศอีกมากโดยเฉพาะ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ที่มีกำลังซื้อสูงโดยที่ผ่านมาไทยสามารถส่งออกมังคุดไปยังญี่ปุ่นและออสเตรเลีย เพียงแค่ปี 100 ตันและ 200 ตัน(ตามลำดับ) จากยอดการส่งออกมังคุดทั้งหมดถึงปีละ 40,000 ตัน

ดังนั้นเพื่อขยายการส่งออกและเพิ่มปริมาณการจำหน่วยมังคุดในตลาดที่มีกำลังซื้อสูงบริษัท C.P. starlanes จึงได้เริ่มวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการขนส่งมังคุดทางเรือเมื่อประมาณ 2-3 ปีที่ผ่านมา และได้ควบคุมคุณภาพการขนส่งมังคุดที่มีคุณภาพและมาตรฐาน ซึ่งสามารถลดต้นทุนจากค่าขนส่งได้ถึง 60% จากที่เคยขนส่งทางอากาศเพียงอย่างเดียว

'ออสเตรเลีย-ญี่ปุ่น'ต้องการอีกมา

'ปีนี้เชื่อว่าการส่งออกมังคุดไปยังออสเตรเลีย และญี่ปุ่นจะเพิ่มขึ้นเท่าเป็น 150 ล้านตันหรือมีมูลค่าการส่งออกกว่า 250 ล้านบาท'

นอกจากตลาดหลักอย่างออสเตรเลีย และญี่ปุ่นแล้วซี.พี.ยังเร่งทำตลาดใหม่อย่าง สหภาพยุโรป รัสเซีย นิวซีแลนด์ เพิ่มขึ้นเพราะกลุ่มประเทศเหล่านี้มีกำลังซื้อสูงและผลจากการแสดงสินค้าหลายครั้งในช่วงที่ผ่านมาพบว่าผู้บริโภคทั้ง 3 ประเทศ ชื่นชอบในรสชาติของมังคุดไทย ซึ่งหากปีหน้า (2553) ยังมีมังคุดที่มีคุณภาพมากพอซี.พี.ก็เตรียมขยายตลาดการส่งออกในกลุ่มประเทศเหล่านี้เพิ่มขึ้นด้วย

อย่างไรก็ดีสำหรับมังคุดที่ส่งออกนั้น ซี.พี.จะรับซื้อจากเกษตรในเครือข่ายกว่า 21 กลุ่มในลักษณะคอนแทรกฟาร์มมิ่งที่ผลิตมังคุดได้ทั้งในและนอกฤดูกาล โดยการผลิตทั้งหมดต้องถูกต้องตามสุขลักษณะของบริษัทที่กำหนดไว้ และต้องผ่านมามาตรฐานการผลิตที่เหมาะสม (GAP) ของกรมวิชาการเกษตร ซึ่งต้องตรวจสอบทั้งเรื่อง ขนาด ผิวของมังคุด ตรวจสอบเนื้อแก้วและยางไหลในเนื้อมังคุดด้วยวิธีแสกนเพื่อตรวจสอบภายในอย่างละเอียด ก่อนเข้าสู่กระบวนการสุดท้ายคือ อบไอน้ำก่อนส่งออกไปยังต่างประเทศ

แนะเกษตรกรผลิตให้มีคุณภาพ

ประธานกลุ่มพืชครบวงจร ย้ำอีกว่า หากเกษตรกรปลูกมังคุดได้มาตรฐานและคุณภาพตามที่กำหนด ซี.พี. ก็จะรับซื้อในกิโลกรัมละ 70-80 บาท ซึ่งแตกต่างจากท้องตลาดที่รับซื้อในราคากิโลกรัมละ 15-20 บาท

'เกษตรกรควรเร่งปรับปรุงเรื่องมาตรฐานของการผลิตมังคุดไห้ได้คุณภาพซึ่งจะทำให้เกษตรกรขายราคามังคุดได้ในราคาที่สูงกว่าท้องตลาดและคุ้มค่าต่อการลงทุนแน่นอน'

ขณะที่กลุ่มอุตสาหกรรมอาหารของเครือซี.พี.ก็เติบโตสวนกระแสเช่นกัน 'อดิเรก ศรีประทักษ์'กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF เผยว่า อนาคตธุรกิจอาหารยังมีโอกาสอีกมากท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจโลกโดยได้มีการปรับประมาณการณ์จากยอดขายในปี 2552 ใหม่ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นกว่า 5-10% ซึ่งในไตรมาส1 ที่ผ่านมามีผลประกอบการ 30,000 ล้านมีกำไรที่ 770 ล้านบาท และในไตรมาส 2-4 ผลประกอบการน่าจะดีกว่านี้อีก

ลงทุน 3.5 พันล้านลงทุนในรัสเซีย

อย่างไรก็ดี CPF ยังเดินหน้ารุกธุรกิจในต่างประเทศต่อเนื่องล่าสุดได้เปิดโรงงานแห่งใหม่ในประเทศรัสเซียด้วยงบลงทุนกว่า 100 ล้านเหรียญหรือ 3,500 ล้านบาทโดยโรงงานแห่งนี้เป็นโรงงานอาหารสัตว์ และ ธุรกิจสุกรครบวงจร ตั้งอยู่ที่เมืองลุคโควิสซี่ กรุงมอสโก ภายใต้ชื่อ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ฟู้ด (โอเวอร์ซี) จำกัด โดยมีกำลังการผลิตประมาณ 240,000 ตัน/ปีเน้นการผลิตอาหารสุกร ไก่ และวัว

นอกจากนี้ในเรื่องฟาร์มสุกร CPFได้วางแผน 5 ปีสามารถผลิตสุกรขุน 1 ล้านตัว/ปี ปัจจุบันอยู่ระหว่างก่อสร้างฟาร์ม 2 ฟาร์มโดยฟาร์มแรกจะเป็นฟาร์ม GGP (ทวดพันธ์) และ GP (ปู่ย่าพันธ์) ขนาดความจุ 2,400 แม่พันธ์ ส่วนฟาร์มที่สองเป็นฟาร์มสุกรรุ่นขนาดความจุประมาณ 18, 000 ตัว

ผลิตหมูป้อนตลาดรัสเซีย

'ชาวรัสเซียนิยมบริโภคเนื้อสัตว์อย่างมากมีความต้องการถึง 2.75 ล้านตัน/ปีแต่ผลิตได้ในประเทศเพียง 2 ล้านตัน/ปีทำให้ต้องนำเข้าเนื้อสุกรถึงปี750,000ตัน/ปีซึ่งการที่ CPF ตั้งโรงงานอาหารสัตว์และธุรกิจสุกรครบวงจรจะทดแทนการนำเข้าในรัสเซียได้' กรรมการผู้จัดการใหญ่ CPF ระบุ และว่าหากตลาดรัสเซียประสบผลสำเร็จตามคาด เป้าหมายต่อไปคือการเข้าไปลงทุนในยูเครน และยุโรปตะวันออก

ที่ผ่านมา CPF ได้ขยายฐานการผลิตไปยังต่างประเทศโดยเข้าไปลงทุนสร้างโรงงาน ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ และโรงงานแปรรูปใน 8 ประเทศอาทิ ตุรกี มาเลเซีย ลาว ฟิลิปปินส์ อังกฤษ จีน อินเดีย และล่าสุดในประเทศรัสเซีย โดยเฉพาะประเทศอินเดียและรัสเซียที่ CPF หวังเพิ่มศักยภาพในการขยายธุรกิจอีกมาในอนาคต

ไม่เพียงแต่ขยายกิจการในต่างประเทศแล้ว CPF ยังได้ผลิตอาหารเพื่อการส่งออกภายใต้แบรนด์ซี.พี.กว่า 40 ประเทศทั่วโลก ทั้งตลาดปัจจุบันและตลาดใหม่โดยเฉพาะสินค้าผลิตจาก ไก่ กุ้ง และอาหารแปรรูป

'เกี๊ยวกุ้ง'แชมเปี้ยนโปรดักส์

ส่วนสินค้าที่ได้ความนิยมมากกว่าที่สุดคือ 'เกี๊ยวกุ้ง' ซึ่งในช่วงที่ผ่านมามีอัตราการเติบโตกว่า 100% โดยเฉพาะตลาดสหรัฐอเมริกามีความนิยมบริโภคกันมากทำให้คาดว่าภายใน 3 ปีทั่วโลกจะมียอดขาย'เกี๊ยวกุ้ง'เพียงอย่างเดียวสูงถึง 1,000-2,000 ล้านเลยทีเดียว

ขณะเดียวกันมีความพยายามผลักดันให้ 'บะหมี่เกี๊ยว'เป็นอีกสินค้าที่จะก้าวเข้ามาช่วยเสริม 'เกี๊ยวกุ้ง'คาดว่าจะประสบผลสำเร็จเช่นเดียวกันโดยภายในเดือนสิงหาคมนี้น่าจะเดินหน้าผลิตออกมาได้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us