|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
บริษัทแม่สั่งพีแอนด์จีทั่วโลก ปรับหลักการทำงาน ชูความง่ายและคล่องตัว รับมือสถานการณ์โลกผกผัน พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลง ตลาดอุปโภคบริโภคแข่งเดือด ชี้มรสุมเศรษฐกิจ 5 เดือน กระทบผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่าย อัดความถี่การวิจัยหวังเข้าถึงพฤติกรรมซับซ้อน เดินเกมไซซ์ซิ่งทะลวงโชวห่วย ปีงบประมาณ 51 โต 5 -8%
นายเมธี จารุมณีโรจน์ ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายการสื่อสารทางการตลาดและองค์กร บริษัท พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล เทรดดิ้ง (ประเทศไทย) ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค เปิดเผยว่า บริษัทแม่วางนโยบายพีแอนด์จีทั่วโลกใหม่ โดยให้ปรับหลักการทำงานเรียกว่า ซิมพลิฟิเคชั่น (Simplification) หรือเป็นการทำงานแบบองค์รวมที่มีความง่าย เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและรวดเร็ว นับว่าเป็นการปรับปรุงหลักการทำงานครั้งใหญ่ ทั้งนี้เพื่อรองรับกับสถานการณ์ของโลก และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
ขณะเดียวกันยังรองรับการแข่งขันตลาดสินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งนับว่ามีผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น อีกทั้งคู่แข่งยังมีการปรับเปลี่ยนการดำเนินงานเท่าทันเหตุการณ์ เมื่อเทียบกับพีแอนด์จี การดำเนินงานยังมีความซับซ้อนทำให้เกิดความล่าช้า อย่างเช่น การเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ 1 ชิ้น ต้องใช้เวลาประมาณกว่า 1 – 2 ปี
พร้อมกันนี้บริษัทวางแผนปรับปรุงและปรับเปลี่ยนรูปแบบผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายในร้านโชวห่วย โดยบริษัทได้ลดขนาดสินค้าลงและขายในราคาที่เป็นที่ยอมรับ เช่น แชมพูขนาด 120 กรัม ราคา 20 บาท หรือการจำหน่ายสินค้าแบบซองที่มีราคาถูก ทำให้ปัจจุบันสัดส่วนยอดขายของบริษัทผ่านร้านโชวห่วยเพิ่มขึ้นเป็น 40% จาก 30% เมื่อ 2 – 3 ปีก่อน อย่างไรก็ตามเนื่องจากสินค้าพีแอนด์จีอยู่ระดับพรีเมียม ทำให้ต้องใช้เวลาในการขยายช่องทางดังกล่าว
**พิษเศรษฐกิจพ่นพฤติกรรมคนไทย**
นายเมธี กล่าวต่อว่า ผลพวงจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย ส่งผลให้พฤติกรรมของผู้บริโภคในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา เปลี่ยนแปลงไป โดยพบว่า ผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ หรือเป็นครอบครัวใหญ่ ซื้อสินค้าในขนาดใหญ่เพราะเมื่อเทียบปริมาณกับเม็ดเงิน มีความคุ้มค่ามากกว่าการซื้อขนาดเล็ก ส่วนผู้บริโภคระดับล่าง หรือผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตปริมณฑลออกไปนิยมซื้อสินค้าขนาดเล็ก และในบางครั้งมีการชะลอการจับจ่ายใช้สอย และยังจัดลำดับความสำคัญในการซื้อสินค้า โดยจะซื้อสินค้าที่จำเป็นก่อน หากมีเงินเหลือก็จะจับจ่ายสินค้าที่มีความสำคัญรองลงมา
ดังนั้นบริษัทจึงปรับกลยุทธ์ทางการวิจัยตลาด ด้วยการเพิ่มความถี่จาก 7-8 เดือนต่อครั้ง มาเป็น 4 เดือนต่อครั้ง ขณะที่การวิจัยเพิ่มความละเอียดมากขึ้น อาทิ การสัมภาษณ์ผู้บริโภคตัวต่อตัว การไปเยี่ยมลูกค้าถึงบ้าน หรือแม้กระทั่งการเดินชอปปิ้งเป็นเพื่อน การสัมภาษณ์เป็นรายกลุ่ม เป็นต้น เพื่อเข้าถึงความต้องการของผู้บริโภคอย่างแท้จริง และนำผลการวิจัยมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ตรงความต้องการมากที่สุด
ภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย ทำให้สถานการณ์ตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคแข่งขันอย่างรุนแรง ผู้ประกอบการใช้กลยุทธ์ราคา เพื่อกระตุ้นยอดขาย บริษัทมองว่าเป็นการเร่งให้ผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เร็วมากขึ้น และไม่ส่งผลดีต่อผู้ประกอบ เพราะผู้บริโภคจะรอซื้อเฉพาะช่วงเวลาที่ลดราคาเท่านั้น สำหรับบริษัทมุ่งเน้นการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ และตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคภายใต้ราคาเหมาะสม
นายเมธี กล่าวถึงพระราชบัญญัติความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย หลังจากบังคับใช้ในเดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา บริษัทคงไม่มีการปรับเปลี่ยนแต่อย่างใด จากปัจจุบันพีแอนด์จีมีแผนกดูแลเรื่องดังกล่าวอยู่แล้ว เช่น ข้อความในการโฆษณาที่กำลังแพร่ภาพอยู่ในขณะนี้ ซึ่งจะชี้แจงอย่างตรงไปตรงมา อาทิ ผลิตภัณฑ์ชิ้นนี้สามารถช่วยให้ผิวดีขึ้นได้ แต่ไม่เทียบเท่ากับการใช้เลเซอร์ หรือผลิตภัณฑ์ชิ้นนี้บำรุงผิวหน้าได้ 8 ชั้น จากผิวหนังทั้งหมด 20 ชั้น เป็นต้น
สำหรับผลประกอบการไตรมาสแรก พบว่า ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มสกินแคร์เติบโต 5 -7% ซึ่งเป็นการเติบโตที่น่าสนใจ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์กลุ่มที่ให้ความชุ่มชื้นกันผิว ส่วนผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมการเติบโตคงที่ โดยผลิตภัณฑ์กลุ่มสกินแคร์ และเส้นผม มีสัดส่วน 75% ส่งผลให้ผลประกอบของบริษัทในปี 2551 (ปีงบประมาณ 2551 ของพีแอนด์จี เริ่มก.ค. 2551 – มิ.ย. 2552) ซึ่งจะปิดในเดือนมิ.ย.นี้ มีอัตราการเติบโต 5 -8% เป็นไปตามเป้าหมาย
|
|
|
|
|