|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ธปท.ฟุ้งผู้ประกอบการธุรกิจเอสเอ็มอีขอสินเชื่อโครงการค้ำประกันของบสย.ใกล้เต็มจำนวน 30,000 ล้านบาท อ้างเหตุขอสินเชื่อล่าช้า ลักษณะกู้แบบใหม่ ทำให้จะต้องมีขั้นตอนพิจารณาอย่างละเอียด ระบุวันที่ 19 มิ.ย.นี้จัดเสวนาให้ความรู้และระดมความคิดกลุ่มเอสเอ็มอี หวังเป็นแนวทางพิจารณาโครงการและนโยบายดูแลภาคสถาบันการเงินให้แก่ธปท. ด้านแบงก์ทหารไทยชี้สินเชื่อเอสเอ็มอีครึ่งปีหลังเริ่มสดใส พร้อมคุมเอ็นพีแอลไม่เกิน 3
นางสาลินี วังตาล ผู้อำนวยการฝ่ายตรวจสอบ 1 ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการค้ำประกันสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี)ของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม(บสย.) เพื่อให้ธุรกิจเอสเอ็มอีสามารถเข้าถึงสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์ได้มากขึ้นว่า ขณะนี้หลายธนาคารพาณิชย์ในระบบได้มีการแจ้งรายละเอียดจำนวนลูกหนี้และยอดวงเงินขอสินเชื่อตามโครงการดังกล่าวแล้ว ซึ่งใกล้เต็มวงเงิน 30,000 ล้านบาท และหลังจากนี้จะเป็นการพิจารณาคุณสมบัติ เพื่ออนุมัติสินเชื่อเป็นขั้นตอนต่อไป
"แม้โครงการนี้ต้องการเข้าไปช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจเอสเอ็มอีที่มีปัญหาด้านฐานะหรือลูกหนี้ที่มีศักยภาพ แต่เข้าถึงแหล่งเงินกู้ได้ยาก เพราะแบงก์กังวลความเสี่ยง จึงมีการระมัดระวังปล่อยกู้ยากขึ้น ประกอบกับที่ผ่านมาขั้นตอนต่างๆ ในการขอวงเงินสินเชื่ออาจจะล่าช้างบ้าง เพราะเป็นลักษณะปล่อยกู้แบบใหม่ จึงอาจมีขั้นตอนในการพิจารณาเพิ่มขึ้น อาทิ การรวบรวมข้อมูลที่ต้องแจกแจงรายละเอียด ซึ่งด้านเอสเอ็มอีที่มีฐานะดีอาจไม่อยากเข้าร่วม รวมทั้งเงื่อนไขลูกหนี้ที่เข้าโครงการนี้จะต้องจ่ายค่าค้ำประกันด้วย”
ทั้งนี้ แม้ธนาคารพาณิชย์จะรวบรวมลูกหนี้ที่ต้องการวงเงินสินเชื่อใกล้เต็มวงเงิน 30,000 ล้านบาทแล้ว แต่โครงการนี้ยังไม่ปิดหรือขอกระทรวงการคลังขยายวงเงินสินเชื่อเพิ่มเติม เพราะธปท.จะรอให้ธนาคารพาณิชย์เสนอรายชื่อลูกหนี้ให้เต็ม รวมถึงประเมินว่าสุดท้ายแล้วสินเชื่อที่ลูกหนี้ได้รับจากธนาคารพาณิชย์จะได้รับปริมาณเงินมีแค่ไหน อย่างไรก็ตามธนาคารพาณิชย์ได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี จึงเชื่อว่าในช่วงต่อไปการปล่อยสินเชื่อจะรวดเร็วมากขึ้น
สำหรับเงื่อนไขลูกหนี้ที่มาขอสินเชื่อตามโครงการนี้แบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ คือลูกหนี้ที่ต้องการสินเชื่อใหม่ สินเชื่อที่ขอเพื่อขยายงาน และสินเชื่อที่เป็นทุนหมุนเวียนเพิ่มเติม โดยวงเงินค้ำประกันในแต่ละรายให้สินเชื่อสูงสุดไม่เกิน 20 ล้านบาท ซึ่งบสย.จะใช้เวลาพิจารณาหลักเกณฑ์ค้ำประกันให้แล้วเสร็จภายใน 5 วันทำการ ตามคุณสมบัติของลูกหนี้ที่ธนาคารพาณิชย์ส่งมาให้กับบสย.
นอกจากนี้ ในวันที่ 19 มิ.ย.นี้ ธปท.เตรียมจัดเสวนาหัวข้อ “เอสเอ็มอีจะได้อะไรจากโครงการประกันสินเชื่อ” ในช่วงเวลา 8.30 น. ณ ห้องประชุมป๋วย อึ๊งภากรณ์ ธปท. โดยภายในงานเสวนานี้จะมีทั้งแนวทางและเกณฑ์ในการพิจารณาสินเชื่อ การรับฟังอุปสรรคหรือปัญหาการขอสินเชื่อในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงสถานการณ์สินเชื่อในปัจจุบันของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาในโครงการ รวมถึงเป็นแนวทางให้ธปท.กำหนดนโยบายการดูแลสถาบันการเงินในอนาคตได้ จึงจะเชิญตัวแทนสมาคมเอสเอ็มอี พร้อมด้วยผู้ประกอบการที่สนใจเข้าฟังการเสวนาดังกล่าวนี้
ด้านนายสยาม ประสิทธิศิริกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TMB กล่าวว่า สินเชื่อเอสเอ็มอี ทั้งระบบน่าจะเริ่มมีเติบโตได้ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ เนื่องจากอุตสาหกรรมต่างๆ มีการทำธุรกิจมากขึ้น รวมทั้งเมื่อเศรษฐกิจดีขึ้นธนาคารต่างๆ ก็มีความมั่นใจว่าเมื่อปล่อยสินเชื่อไปแล้วจะไม่ทำให้เกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ส่งผลให้ธนาคารต่างๆ มีการเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อน้อยลง โดยในปีนี้ธนาคารตั้งเป้าหมายขยายพอร์ตสินเชื่อเอสเอ็มอีให้อยู่ที่ 122,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเติบโต 3-4% จากสิ้นปี 2551 พอร์ตสินเชื่อเอสเอ็มอีอยู่ที่ 118,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตามยอมรับว่าในเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา สินเชื่อพอร์ตเอสเอ็มอีได้ลดลงมาอยู่ที่ 103,000 ล้านบาท แต่จากแนวโน้มที่เริ่้มดีขึ้นประกอบกับการออกผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองลูกค้าได้อย่างเหมาะสมทำให้เชื่อว่าในปีนี้จะสามารถปล่อยสินเชื่อได้ตามเป้าหมายแน่นอน
“ช่่วง 3-4 เดือนแรกการปล่อยสินเชื่อเอสเอ็มอีค่อนข้างจะนิ่งมาก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเศรษฐกิจไม่ดี อีกทั้งแบงก์ต่าง ๆ ก็ได้เข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อด้วยเพราะความเสี่ยงก็มีสูง แต่ตัวเลขในเดือน พ.ค. เริ่มมีการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ซึ่งเป็นการปล่อยสินเชื่อกระจายทุกอุตสาหกรรม และโดยในส่วนของแบงก์ทหารไทยเองมียอดการอนุมัติสินเชื่อเอสเอ็มอีมากกว่า 60% ซึ่งเป็นระดับเดียวที่ธนาคารอยากเห็นอยู่แล้ว” นายสยาม กล่าว
ส่วนเอ็นพีแอลที่เกิดใหม่ของธนาคารในขณะนี้ยังอยู่ในระดับที่สามารถควบคุมได้ โดยในสิ้นปีนี้ธนาคารตั้งเป้าหมายลดเอ็นพีแอลให้เหลือ 3% จากปัจจุบันอยู่ที่ 4-5% ทั้งนี้เชื่อว่าเอ็นพีแอลจะลดลงได้ เนื่องจากพอร์ตสินเชื่อมีอัตราการเติบโตขึ้น ส่งผลให้เอ็นพแอลลดลงโดยอัตโนมัติ ประกอบกับการเข้าไปช่วยลูกค้าแก้ไขปัญหาซึ่งก็จะทำให้หนี้เสียดังกล่าวกลับมาเป็นหนี้ปกติ
ขณะเดียวกันธนาคารมองว่าตลาดเอสเอ็มอียังมีช่องว่างที่สามารถเข้าไปแข่งขันได้อีกมาก โดยใน 3 ปีข้างหน้า ธนาคารตั้งเป้าหมายมีส่วนแบ่งทางการตลาด (มาร์เก็ตแชร์)อยู่ที่ 14% หรือเป็นอันดับ 3 ของระบบธนาคารพาณิชย์ จากปัจจุบันมีมาร์เก็ตแชร์อยู่ที่ 7% หรือเป็นอันดับ 6 ซึ่งธนาคารทหาไทยเองจะแข่งขันด้วยการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ให้สนองตอบลูกค้าจริงๆ ส่วนเรื่องการแข่งขันด้วยราคานั้นมองว่ายังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องแข่งขันด้านราคา นอกจากนี้ธนาคาได้ตั้งเป้าหมายการเติบโตรายได้ค่าธรรมเนียมจากธุรกิจสินเชื่อเอสเอ็มอี 30-40% และในช่วงเดือน ก.ค.-ส.ค. นี้ ธนาคารจะออกผลิตภัณฑ์สำหรับเอสเอ็มอีอีก 1 ผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ให้วงเงินในการซื้อของเพื่อผลิตแล้วนำไปส่งออกต่างประเทศ โดยจะเป็นการให้วงเงินสูงสุดถึง 5-6 เท่า ของมูลค่าหลักประกัน ซึ่งการออกผลิตภัณฑ์ดักล่าวเป็นระยะเวลาที่เหมาะสม เนื่องจากในช่วงไตรมาสที่ 4 จะเป็นช่วงที่มีคำสั่งซื้อของผู้ส่งออกเข้ามา
|
|
 |
|
|