เมื่อครั้งที่จิ๋นซีฮ่องเต้ขึ้นครองราชบัลลังก์ และยึดกุมอำนาจทั้งแผ่นดินไว้ในครอบครองแล้วสิ่งหนึ่งที่จิ๋นซีฮ่องเต้กระทำ
เพื่อปกป้องเอาไว้ซึ่งอาณาจักรและรวบรวมแผ่นดินจีนทั้งมวลเอาไว้ในอาณาจักรนั่นก็คือ
การรวบรวมเอาบุคคลชั้นยอดทุกแขนงและทุกสาขาเอาไว้กับตนเอง
จะเห็นได้ว่าในช่วงนี้ ไม่ว่าจะเป็นงานอะไรของสมาคมธนาคารไทยก็จะเห็นชื่อของ
ดร. วีระชัย เตชะวิจิตร์ อยู่ด้วยทุกครั้งโดยเฉพาะ "พระราชบัญญัติล้มละลาย"
ซึ่งสมาคมธนาคารไทยได้ทำและกำลังเสนอให้รัฐบาลพิจารณาอยู่ในขณะนี้ ก็เชื่อกันว่ามาจากดอกเตอร์หนุ่มผู้นี้
"ความคิดริเริ่มในเรื่องนี้ไม่ได้มาจากผม ผมเป็นเพียงคนที่นำความคิดของผู้ใหญ่มาทำให้มันปรากฏขึ้นมาเป็นจริงเท่านั้น
เนื่องจากที่ผ่านมาวงการธนาคารไทยประสบปัญหาอย่างมาก กับการที่จะเข้าไปฟื้นฟูฐานะของลูกหนี้ที่ประสบปัญหาความคล่องชั่วคราว
ทั้งนี้เนื่องจากดำเนินการผิดพลาดหรือจากเหตุสุดวิสัยเพราะพรบ. ฉบับปัจจุบันไม่เอื้ออำนวยให้เจ้าหน้าที่ที่อยากจะช่วยสามารถเข้าไปช่วยได้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
มาตรา 94๖2๗ ที่ระบุว่าหากรู้ว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้น ตัวเงินที่ใส่เข้าไปช่วยก็จะไม่มีสิทธิได้คืนหากมีการอายัดทรัพย์ความจริงผู้ที่คิดเรื่องนี้ขึ้นมาก็คือ
คุณธารินทร์ นิมมานเหมินท์ ต่างหากท่านได้ทำหนังสือเสนอมายังสมาคมให้ช่วยพิจารณาปัญหานี้
คุณชาตรีท่านรับลูกได้เร็วและสั่งการให้ผมช่วยประสานเสนอตามขั้นตอนเข้าสู่คณะกรรมการร่วมภาครัฐบาและเอกชน
(กรอ.)" ดร.วีระชัย เตชะวิจิตร์ กล่าวกับ "ผู้จัดการ"
ความไว้วางในที่ าตรี โสภณพนิช มอบให้กับดอกเตอร์หนุ่มผู้นี้ ยิ่งทำให้หลายคนยิ่งร่ำลือกันหนักขึ้นว่า
ดร.วีระชัย เตชะวิจิตร์ จะเป็นมือกระบี่ในอาณาจักรของชาตรี โสภณพนิช อีกคนหนึ่งในอนาคตอันใกล้นี้
ดร.วีระชัย เตชะวิจตร์ ในขณะนี้มีธุรกิจหลักของตัวเองอยู่ 2 ธุรกิจ และมีธุรกิจย่อยอีก
4-5 ธุรกิจ ธุรกิจหลักอันแรกเป็นธุรกิจซึ่งดร.วีระชัย ได้ทำสัญญากับรัฐฐบาลแคนาดาในการเป้นพี่เลี้ยงให้กับนักธุรกิจชาวแคนาดาที่จะมาลงทุนในประเทศไทย
โดยทำตั้งแต่การศึกษาเบื้องต้นว่าเมืองไทยต้องการอะไร หรือที่เขาเสนอมาเมืองไทย
ต้องการหรือไม่ตลอดจนช่วยในการหาบุคคลที่มีคุณสมบัติที่จะมาร่วมกับนักธุรกิจแคนาดาเหล่านี้
ทำตั้งแต่การศึกษาเบื้องต้นว่าเมืองไทยต้องการอะไร หรือที่เขาเสนอมาเมืองไทยต้องการหรือไม่ตลอดจนช่วยในการหาบุคคลที่มีคุณสมบัติที่จะมาร่วมกับนักธุรกิจแคนาดาเหล่านี้
ธุรกิจหลักอันที่สองเป็น COUNTERTRADE หรือที่เรียกกันตามภาษาไทยว่าธุรกิจการค้าต่างตอบแทน
ซึ่งเป็นธุรกิจที่ยังทำกันน้อยมากหรือยังไม่ได้ทำกันจริงจังในเมืองไทย เนื่องจากผู้ทำธุรกิจประเภทนี้จำเป็นต้องมีความรู้ทางด้านการค้าระหว่างประเทศทะลุปรุโปร่งจริง
ๆมีข่ายงานอยู่ทั่วโลก สามารถซื้อและขายสินค้า 2 ตัวในเวลาเดียวกันได้ มีหน้าที่ลึกซึ้งกว่าภาระเป็นคนกลาง
เพราะต้องออกตัวซื้อและขายเอง
"อย่างเช่นในกรณีที่นักธุรกิจของเราอยากจะขายข้าวขายมันสำปะหลังหรือขายข้าวโพดอะไรอย่างนี้
แต่ผู้ซื้ออาจจะไม่มีเงินสดแต่เขามีน้ำมันหรือกากถั่วเหลือง เราก็อาจจะเข้าไปรองรับในส่วนนั้นได้
ถ้าเอามาขายในเมืองไทยได้เราก็เอามาขาย แต่ถ้าเมืองไทยขายไม่ได้ เราก็เอาไปขายประเทศที่สาม"
ดร.วีระชัย เตชะวิจิตร์ อธิบายถึงธุรกิจของบริษัท เวนเจอร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล
ที่ตัวเองเป็นเจ้าของอยู่ ซึ่งมีบริษัท ฟิลิป บราเดอร์ส แห่งนิวยอร์คร่วมดำเนินธุรกิจในเรื่องนี้อยู่ด้วย
เบื้องหลังชีวิตของดร.วีระชัย เตชะวิจิตร์ ก็มีอะไรที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อยเช่นเดียวกัน
ดร.วีระชัย เตชะวิจิตร์ มาจากครอบครัวที่มีความเป็นอยู่ค่อนข้างดี แต่เจ้าตัวเองบอกว่าไม่ถึงกับรวย
เขาเกิดในกรุงเทพแต่ญาติพี่น้องได้อะพยพขึ้นไปสร้างหลักปักฐานอยู่ที่ลำปางโดยเปิดโรงงานเซรามิคอยู่ที่นั่น
ดร.วีระชัย เตชะวิจิตร์เริ่มเรียนหนังสือที่อัสสัมชัญบางรักรุ่นเดียวกับพรเทพ
พระประภา วิวัฒน์ วินิจฉัยกุล ดร.ชวนชัย อัชนันท กนก อภิระดี แต่ไปจนจบมัธยมต้นที่ดาราสมุทร
ศรีราชาชลบุรี แล้วสอบเทียบมัธยมศึกษาตอนปลายได้จากกระทรวงในเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน
จากนั้นอีก 6 เดือนสอบเทียบได้วุฒิครูป.กศ. และ พ.ม.ก็ใช้เวลาอีก 4 ปีสอนหนังสืออยู่แถว
ๆ สวนสามพรานโดยเริ่มเป็นครูประจำชั้นประถม 6 เมื่ออายุ 17 ปี ต่อมาอีก 2
ปีครึ่งได้เลื่อนเป็นครูใหญ่โรงเรียนนั้น อายุไม่ถึง 20 ปี ก็เริ่มยืนยันอบรมนักเรียนกว่าพันคนหน้าเสาธงทุกเช้า
เตือนสติให้ประพฤติตัวเป็นคนดี นอกนั้นเขายังดูแลน้อยอีกกว่า 30 คน ซึ่งส่วนใหญ่อายุมากกว่าเขาเป็นครูใหญ่อยู่ได้
2 ปี พออายุได้ 21 ปีกว่าก็เกิดปลงว่าจะต้องเป็นครูใหญ่อยู่อีกกี่ปี ถึงจะได้เป็นเจ้าของโรงเรียน
พอดีเพื่อน ๆ ชวนไปขุดทองที่อเมริกาก็เลยตัดสินใจไปนิวยอร์ค โต๋เต๋อยู่นิวยอร์ค
7 เดือน ไปโรงเรียนภาคค่ำอาทิตย์ละหน เพื่อไม่ให้วีซ่าขาด นอกนั้นใช้เวลาที่เหลือทำงานแบกถาดตามห้องอาหาร
ปรากฏว่า ภาษาก็ไม่ดีขึ้นเพราะนิวยอร์คมีแต่ชาวอเมริกาใต้และปอโตริโก้ พูดแต่ภาษาสเปน
จึงเกิดความเซ็ง พอดีเพื่อนรุ่นพี่ชวยให้ไปเรียนหนังสือที่ตอนบนสุดของรัฐเคนตั๊กกี้
จบปริญญาตรีทางบัญชีธุรกิจที่ทอมัส โมร์ คอลเลจนั่นเอง ไปต่อปริญญาโททางด้านบัญชีที่โคลัมเบียในมหาวิทยาลัยมิซซูรี่
จบปริญญาโทแล้วก็ต่อปริญยาเอกด้านการบัญชีโดยมีธุรกิจระหว่างประเทศเป็นวิชารอง
ที่มหาวิทยาลัยมิซซูรี่ ในระหว่างที่ศึกษาปริญญาเอกอยู่ ดร.วีระชัย ได้เริ่มสอนหนังสือโดยในปี
2517 เริ่มเป็นอาจารย์สอนเทอมละหนึ่งวิชา จากนั้นก็ได้งานสอนเต็มเวลาเป็นอาจารย์ที่โคลัมเบียคลอเลจอยู่
2 ปี ต่อมาขยับขึ้นเหนือไปเป็นผู้ช่วยศาตราจารย์มหาวิทยาลัยเนแบรสก้าในโอมาฮาอยู่อีก
2 ปี พ.ศ. 2523 เป็นรองศาสตราจารย์มหาวทิยาลัยเนวาด้าที่ลาสเวกัส รวมเวลาสอนเรียนที่อเมริกานานถึง
6 ปี ชนะรางวัลครูดีเด่นประจำภาควิชาหรือประจำคณะทุกมหาวิทยาลัยมีฝรั่งเป็นลูกศิษย์รวมประมาณ
1,500 คน
ช่างน่าทึ่งเดียวสำหรับคนไทยตัวเล็ก ๆ คนหนึ่ง กับงานสอนฝรั่งที่ค่อนข้างจะดูถูกคนผิวเหลือง
ส่วนทำไมถึงกลับเมืองไทยนั้น ดร.วีระชัย เล่าให้ฟังว่า "ความจริงไม่ได้ตั้งใจกลับเพราะคิดว่าคงหางานเหมาะ
ๆ ทำในเมืองไทยไม่ได้ ตัวเราก็สุขสบายในอเมริกา สอนเรียนอาทิตย์ละ 2 วัน
วันละ 3-4 ช.ม. นอกนั้นก็ประกอบธุรกิจที่ปรึกษา และตรวจสอบบัญชี เรพาะมีประกาศนียบัตรตรวจสอบบัญชีของอเมริกา
บังเอิญมาเที่ยวบ้านตอนปีใหม่ 2524 ตั้งใจจะมาชวนคุณพ่อไปอยู่อเมริกาเพราะเพิ่งได้งานสอนเรียนที่
ยู ซี แอล เอ (UCLA) ในแอลเอแต่กลับถูกคุณพ่อชวนให้มาอยู่เมืองไทยสัก 1 ปี
เพราะท่านเห็นว่าผมจากบ้านไปนานถึง 12 ปี ผมก็ใจอ่อนเพราะท่านอายุ 73 แล้วในตอนนั้น
ตั้งใจจะมาอยู่เพียง 1 ปีจริง ๆ แต่ก็ยังไม่ได้ตัดสินใจเพราะยังไม่มีงานในเมืองไทยกลับมาอยู่เฉย
ๆ ก็คงไม่ดีเสียดายชีวิตและเวลา บังเอิญพี่เขยแนะนำให้รู้จักกับคุณปักคุง
ซึ่งเป็นนายกสมาคมผู้เลี้ยงนกพิราบซึ่งเป็นเพื่อนของคุณธนินท์ เจ้าของ ซีพี
หลังจากที่คุณปักคุงช่วยโฆษณาสรรพคุณ คุณธนินท์ก็เชิญทานข้าวเที่ยงบ่ายนั้น
ผมก็เลยตัดสินใจกลับมาเมืองไทย"
เริ่มงานกับเครือเจริญโภคภัณฑ์ในเดือนมิถุนายน 2524 โดยนั่งอยู่ในตำแหน่งต่าง
ๆ ของเครือเจริญโภคภัณฑ์หรือ ซีพี ตั้งแต่ผู้ช่วยพิเศษของธนินท์ เยรวรนนท์
ด้านการค้าต่างตอบแทนของเครืออยู่พักหนึ่ง จากนั้นเป็น กรรมการรองผู้จัดการ
บริษัท ซีพี อินเตอร์เทรด กรรมการรองผู้จัดการบริษัท ซีพีเอ็นจิเนียริ่ง
และควบกรรมการรองผู้จัดการ บริษัทกรุงเทพอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์
ดร.วีระชัย เตชะวิจิตร์ นั่งอยู่ในเครือ ซีพี ได้เพียง 4 ปีก็ลาออก
"ความจริงแล้วผมไม่ตั้งใจจะลาออกจากซีพี เจ้านายของผมคือคุณธนินท์
เจียรวรนนท์นั้นเป็นคนที่เรียกว่าอัจฉริยะได้เต็มปากเต็มคำเลยทีเดียว ตามปกติแล้วคนอย่างเรามองปัญหาต่าง
ๆ ได้เพียง 4 มุม คุณธนินท สามารถมองเห็นปัญหาเหล่านั้นได้ถึง 32 มุม ท่านเป็นคนที่มองอะไรได้ลึกซึ้งและกว้างไกลมาก
และสนใจในสิ่งที่ละเอียด มีการคาดคะเนล่วงหน้า เป็นคนที่เก่งมาก และก็ไม่ใช่ว่าเป็นเรื่องง่ายที่เราจะได้มีโอกาสใกล้ชิดกับคนประเภทอย่างนี้"
ดร.วีระชัยกล่าวกับ "ผู้จัดการ" ย้ำถึงคำว่าไม่อยากที่จะออกอยู่หลายคำ
แต่ในที่สุดก็ต้องออกมา ความใกล้ชิดกับคนที่ตัวเองชมว่าเก่งก็จบลงอยู่เพียงแค่นั้น
"แต่อย่างว่าแหละครับตัวแปรมีหลายตัว เรื่องอะไรที่ต้องออกก็ในเมื่อตัวเองอยู่ในทีมของบริษัทที่ค่อนข้างใหญ่อยู่แล้ว
และผมเองก็ทำอยู่กับท่านอยู่หลายปี ได้เรียนรู้โครงการใหญ่ ๆ ได้เห็นอะไรมากมายแต่ก็ต้องถึงจุด
ๆ หนึ่งเข้าจนได้ เมื่อมีโอกาสที่ผ่านเข้ามา นี่พูดกันตรง ๆ นะ และก็ต้องยอมรับกันตรง
ๆ ว่า งานที่ทำอยู่ในซีพี ตอนนั้นใช้กำลังของผมอยู่จริง ๆ ยังไม่ถึงครึ่ง
ก็อย่างว่าตอนนั้นไฟมันแรง แล้วงานก็ยังไม่ตื้นเต้น ทั้ง ๆ ที่ดูแลตั้งหลายกิจการแล้วก็บังเอิญงานของรัฐบาลแคนาดาก็เข้ามา"
คนหนุ่มไฟแรงอย่างดอกเตอร์หนุ่มผู้นี้ จึงกระโดดเข้าสู่ธุรกิจของตัวเองทันที
ธนินท์ เจียรวนนท์ ใช้เวลาพูดกับดอกเตอร์หนุ่มไฟแรงผู้นี้ถึง 2 วันในที่สุดก็ยอมแพ้กับไฟที่กำลังพลุ่งพล่านของดอกเตอร์หนุ่มผู้นี้
ต่อข้อถามถึงเคล็ดลับความาสำเร็จในช่วงสั้น ๆ ที่กลับมาจากเมืองนอก ดร.วีระชัย
เผยให้ฟังว่า "ผมยังไม่สำเร็จอะไรมากนัก แต่ถ้าขอความเห็นส่วนตัวซึ่งอาจจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน
ก็อยากจะขอเรียนว่า การให้เกียรติแก่ผู้ที่สนทนาหรือร่วมประชุมด้วย หรือร่วมทำงานด้วย
จะไม่ทำให้เราจนลง แต่ทำให้ผู้ร่วมสนทนาหรือผู้ร่วมงานมีความสุขยิ่งกว่าได้รับเงิน
และต้องการสนับสนุนเรา ในสังคมเมืองไทยเราต้องหลีกเลี่ยงอย่าให้มีศัตรูหรือคนที่ไม่ชอบหน้าเราเพราะอาจจะถูกตัดขาได้ง่ายนอกนั้น
เราจะต้องเป็นคนที่ขยันและซื่อสัตย์ พูดง่าย ๆ ก็คือ คำพูดของเราต้องเป็นที่เชื่อถือได้
100% เป็นอย่างน้อย"
เกือบ 2 ปีแล้วที่ ดร.วีระชัย เตชะวิจิตร์ กระโดดเข้าสู่ธุรกิจที่ตัวเองสร้างขึ้นมา
"ถ้ามันประสบความสำเร็จเราก็สามารถภาคภูมิใจและยิ้มให้กับมันได้เต็มที่"
"ผมก็คงยังสังกัดค่ายเวนเจอร์ส ของผมต่อไป เพราะทำไปทำมาชักบานปลายเข้าไปหลายโครงการ
อีกอย่างก็คิดว่าคงไม่มีใครกล้ามาลงทุนในตัวผมเพราะไม่เห็นมีอะไรเด่นเก่งเป็นพิเศษเลย"
ดร.วีระชัย เตชะวิจิตร์กล่าวอย่างสุภาพในท้ายที่สุดเมื่อถูกถามว่า ต่อไปจะไปสังกัดค่ายไหน