Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2530








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2530
เปิดตึกใหม่เจ้าแห่งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ชื่อ ไอบีเอ็ม             
 


   
www resources

โฮมเพจ ไอบีเอ็ม (ประเทศไทย)

   
search resources

ไอบีเอ็ม ประเทศไทย, บจก.
สมคิด พิชัยศรีสวัสดิ์
Computer




เมื่อปี 2495 บริษัท ไอบีเอ็มแห่งอเมริกาเข้ามาก่อตั้งบริษัทสาขาในประเทศไทย ภายหลังจากที่เริ่มดำเนินการเปิดขยายสาขาไปเกือบทั่วภูมิภาคของโลกแล้ว

บริษัทไอบีเอ็มประเทศไทย จำกัด เริ่มดำเนินการเช่าสำนักงานของตัวเองเป็นนึกที่ทำการแห่งแรกในปีนั้น เป็นตึก 2 ชั้นบนถนนดินสอใกล้อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ซึ่งคนในรุ่นเก่า ๆ เล่าให้ฟังว่าเริ่มกันด้วยพนักงานเพียง 3 คน

นั่นเป็นสำนักงานแห่งแรกเมื่อ 34 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลา 34 ปีที่บริษัท ไอบีเอ็มประเทศไทย ได้เติบโตอย่างต่อเนื่อง จากพนักงานเพียง 3 คนก็เพิ่มเป็น 300 กว่าคนจากยอดขายเพียงไม่กี่แสนบาทต่อปี ก็เพิ่มยอดขายเป็นพันกว่าล้านบาทต่อปีในปัจจุบัน

การเติบโตอย่างยั้งไม่หยุดทำให้ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำเป็นต้องย้ายที่ทำการของตัวเองอยู่บ่อยครั้ง โดยครั้งล่าสุดนี้ก็เป็นการย้ายครั้งที่ 4 เพื่อไปอยู่ตึกที่ทำการใหม่ซึ่งจะเป็นสำนักงานแห่งที่ 5

ตึก ไอบีเอ็ม แห่งใหม่ตั้งอยู่บนถนนพหลโยธิน เป็นตึก 15 ชั้น อยู่ตรงข้ามกับวอยราชครูติดกับสำนักงานใหญ่ของธนาคารกสิกรไทยในปัจจุบัน

"เราเริ่มทำการสรรหาสถานที่ สำหรับตึกใหม่ ตั้งแต่ปี 2527 เพราะสัญญาการเช่าของเรากับ F.E. ZUELIG จะสิ้นสุดในปีนี้ ในปี 2528 มีบริษัทต่าง ๆ เสนอสถานที่ให้เราคัดเลือกหลายแห่งเช่นที่ถนนรัชดาภิเษก ถนนพญาไท หัวมุมของสี่แยกปทุมวันถนนสาธร และบางกะปิ หลังจากที่ผู้บริหารระดับสูงได้พิจารณาสถานที่ทั้งหมดแล้ว จึงได้เลือกไว้ 3 จุด คือบริเวณหัวมุมของสี่แยกปทุมวัน ถนนพหลโยธินและรัชดาภิเษก แล้วให้บริษัท TISCO ทำการศึกษาถึงข้อดีข้อเสียของสถานที่ทั้ง 3 แห่งนั้นผลก็คือ สถานที่ที่พหลโยธินเหมาะสมที่สุด" ณรงค์ ตันสถิตย์ ผู้รับผิดชอบโครงการนี้โดยตรงของไอบีเอ็ม. กล่าวไว้ในนิตยสารไอบีเอ็มสาส์นสัมพันธ ซึ่งเป็นนิตยสารภายในของพนักงานไอบีเอ็มประเทศไทย

เจ้าของตึกแห่งใหม่ก็คือบริษัท เอส.พี. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ของชุมพล พรประภา ซึ่งบริษัท เอส.พี.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ก็ได้จัดตั้งบริษัท เอส.พ.บิลดิ้ง ขึ้นมารับผิดชอบดูแลควบคุมตึกแห่งนี้ร่วมกับบริษัท ไอบีเอ็ม โดยเฉพาะ

"เราจำเป็นต้องเข้าไปร่วมในการวางแปลนด้วยเนื่องจากเราต้องการให้ได้มาตรฐานเพื่อให้เข้ากับระบบที่ ไอบีเอ้ฒ จำเป็นต้องใช้" สมคิด พิชัยศรีสวัสดิ์ผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์ของไอบีเอ็ม ประเทศไทยกล่าวกับ "ผู้จัดการ"

ซึ่งก็คงจะเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับ บริษัทที่ต้องการโชว์ไฮเทคทางด้านคอมพิวเตอร์อย่างไอบีเอ็มซึ่งได้ชื่อว่าเป็นเจ้าแห่งเครื่องคอมพิวเตอร์ของโลก

การเข้าไปเปิดตึกไอบีเอ้มจึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจของหลายคนเพื่อให้กระจ่างว่า ภายในนั้นจะมีความมหัศจรรย์ขนาดไหน

การก่อสร้างตึกใหม่เริ่มกระทำกันมาตั้งแต่เมื่อเดือนกันยายน ของปี 2528 มาเสร็จเอาเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา เหลือเพียงการตกแต่งภายในที่กระทำกันมาจนถึงเดือนกรกฎาคม

บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย เริ่มย้ายพนักงานเข้าประจำที่ทำงานแห่งใหม่ทีละส่วนตั้งแต่เมื่อว้นที่ 4 กรกฎาคม และเสร็จสิ้นเอาเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม

ภายหลังการย้ายเสร็จสิ้นไปแล้ว 2 สัปดาห์ นิตยสาร "ผู้จัดการ" ได้รับเกียรติเข้าเยี่ยมชมตึก 15 ชั้นที่หลาย ๆคนกำลังสนใจกันอยู่นี้

"ความจริงแล้ว ตามโปรแกรมของเรา เราจะทำการเปิดตึกใหม่อย่างเป็นทางการในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้ ซึ่งนี่ก็เรียกว่าเป็นนิตยสารฉบับแรกทีเดียวที่ได้เยี่ยมชมตึกใหม่ของเรา" สมคิด พิชัยศรีสวัสดิ์ กล่าวกับ "ผู้จัดการ"

กลิ่นความใหม่ของตึกจึงยังไม่จางหายไป ในขณะที่ "ผู้จัดการ" เข้าเยี่ยมชมตึกแห่งนี้อดที่จะทำให้โจรระทึกไม่ได้

ในจำนวน 15 ชั้นของตึกแห่งนี้ จากการเยี่ยมชม ทำให้ทราบว่า จริง ๆ แล้ว ไอบีเอ็มเช่าไว้เพียง 8 ชั้นกับอีก 1 ชั้นลอยเท่านั้นเอง ไอบีเอ็มไม่ได้เช่าไว้ทั้ง 15 ชั้นอย่างที่เข้าใจกัน

"ตึกใหม่แห่งนี้จะทำให้เราสามารถอยู่ร่วมกันได้ทั้งหมดอย่างแผนกช่างของเราเมื่อตอนอยู่ตึกที่สีลม ฝ่ายช่างต้องไปอยู่ตึกที่เราเช่าอีกตึกหนึ่ง ตึกเดิมของเราไม่สามารถรวมทุกฝ่ายไว้ด้วยกันได้" สุธาสินี เกรียงศักดิ์พิชิตประชาสัมพันธ์คนเก่งของ ไอบีเอ็มกล่าวกับ "ผู้จัดการ" ในขณะที่กำลังนำเยี่ยมชม

เราเริ่มกันตั้งแต่ชั้นที่ 1 ซึ่งเป็นชั้นของแผนกต้อนรับ

"พนักงานของเราเกือบทุกคนจำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็น การสื่อสารภายในของเราใช้ระบบคอมพิวเตอร์มาช่วยหมด ระบบที่ใช้ก็ยังเป็นระบบ SERIES ซึ่งเป็นระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่" สุธาสินี เกรียงศักดิ์พิชิต กล่าวอีกตอนหนึ่ง

เดินผ่านโอปะเรเตอร์ 2 คน ซึ่งกำลังนั่งทำงานอยู่ และก็สังเหตเห็นว่า แม้แต่บนโต๊ะของโอปะเรเตอร์ก็ยังมีเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้

"โอปะเรเตอร์ก็ต้องใช้เครื่องให้เป็น เพราะการสื่อสารด้วยคอมพิวเตอร์จะทำให้สะดวกอย่างเช่น เมื่อมีใครโทรศัพท์เข้ามาถึงพนักงานคนใดคนหนึ่งของเรา หากว่าเขาไม่อยู่เขาก็จะฝากโน้ตไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์เมื่อโอปะเรเตอร์รับสายแล้วต่อขึ้นไป หากไม่มีคนรับสายโอปะเรเตอร์ก็จะกดเครื่อง ก็จะทราบว่าเขาไปไหน จะเข้ามาเมื่อไหร่"" สุธาสินี เกรียงศักดิ์พิชิต อธิบายต่อ

สังเกตเห็นว่าก่อนเข้าไปในออฟฟิศแต่ละชั้น ได้ผู้นำชมออฟฟิศต้องเสียบบัตรของตัวเองเข้าไปที่ประตูทุกครั้งที่เข้าไปประตูจึงจะเปิดออกได้ ซึ่งสุธาสินี เกรียงศักดิ์พิชิต ได้อธิบายต่อว่าบัตรนี้ทำไว้เฉพาะพนักงานของไอบีเอ็มเท่านั้น บุคคลภายนอกจะเข้าไปไม่ได้ ถ้าไม่มีบัตรนี้

บนชั้นที่ 1 นอกจากจะเป็นชั้นของแผนกต้อนรับแล้ว ยังมีศูนย์ซ่อมและบริการอะไหล่ แผนกจัดส่งและออกของห้องแสดงสินค้า (ซึ่งอยู่ด้านหน้า) และศูนย์รับสมัครบุคลากร

ส่วนชั้นลอย ซึ่งถูกเรียกว่าชั้น M นั้น เป็นชั้นของแผนกบริการทางด้านการเงิน แผนกแคชเชียร์ แผนกธุรการ และแผนกรักษาความปลอดภัย ขึ้นไปบนชั้น 2 ก่อนเข้าไปก็มีประตูกระจกกั้นอยู่ อย่างเช่นชั้นที่ 1 ที่ผ่านมาพนักงานนำชมเอาบัตรเสียบเข้าไปในประตูแล้วเปิดประตูออกพลางอธิบายว่า ชั้นนี้เป็นของฝ่ายแผนกช่าง ซึ่งเมื่อตอนที่อยู่ที่ตึกที่สีลม ฝ่ายช่างต้องแยกไปอยู่อีกตึกหนึ่ง ไม่ได้อยู่รวมกัน ดังที่กล่าวตอนต้น ชั้นนี้นอกจากจะเป็นแผนกช่างแล้ว ยังมีแผนกค้นคว้าทางด้านภาษาไทย (NLR) อยู่ด้วย

ชั้นที่ 3 ชั้นนี้น่าสนใจมาก เนื่องจากเป็นชั้นที่ถูกจัดให้เป็นชั้นของการศึกษา และห้องประชุมสัมมนา โดยเฉพาะ ห้องทั้งหมดมี 5 ห้อง เป็น EXECUTIVE ROOM 1 ห้อง สำหรับฝ่ายบริหาร ไม่ว่าจะเป็นการประชุมหรือสัมมนาอะไรก็จะใช้ห้องนี้ส่วนอีก 4 ห้องเป็น CLASS ROOM ไว้เป็นที่ประชุมและให้การศึกษาแก่ลูกค้าและพนักงานในบริษัทโดยเฉพาะ ทุกห้องจะมีจอภาพขนาดใหญ่เอาไว้ โดยจอภาพเหล่านี้จะคอยรับสัญญาณภาพจาก จอคอมพิวเตอร์ขนาดธรรมดาที่ถูกยิงเข้ามา เพื่อให้คนที่เข้ามาทำการศึกษาเห็นได้ชัดโดยที่ไม่ต้องเดินเข้ามารุมล้อมดูที่หน้าจอเครื่องเหมือนทั่ว ๆ ไป

"นี่เป็นอีกจุดหนึ่งที่แตกต่างจากตึกที่สีลมของเรา ที่นั่นคับแคบทำให้เราไม่สามารถที่จะทำการสาธิต หรือให้การศึกษาแก่ลูกค้าภายในตึกของเราเองได้ลูกค้าเข้ามาเรียนแต่ละครั้งก็ต้องไปเช่าโรงแรม ซึ่งต้องลากหรือนำคู่สายไป มันยากลำบาก พอมาอยู่ที่ตึกนี้ ลูกค้าเข้ามาในตึกก็เรียนก็ได้เลย ทำให้ทั้งลูกค้าและเราต่างก็สะดวกขึ้น" สมคิด พิชัยศรีสวัสดิ์ ผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์ของไอบีเอ็ม กล่าวบ้าง

ขึ้นไปบนชั้นที่ 4 ชั้นนี้ค่อนข้างที่จะพิเศษหน่อย พนักงานที่ไม่เกี่ยวข้องถูกห้ามเข้าโดยเด็ดขาด พนักงานของไอบีเอ็มบอกกับเราว่า ชั้นนี้เป็นศูนย์คอมพิวเตอร์ พนักงานที่ทำงานในแผนกนี้จะมีบัตรพิเศษอีกแบบหนึ่งในการเปิดประตูเข้าออก

สภาพของศูนย์คอมพิวเตอร์บนตึกไอบีเอ็ม เท่าที่มองเห็นจากภายนอก พื้นถูกยกขึ้นสูงเป็นพิเศษไม่เห็นสายไฟหรือสายเคเบิลเลยในศูนย์คอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าแปลก สำหรับศูนย์ที่ใหญ่เช่นนี้

"คือสายเคเบิลทั้งหมดจะถูกเก็บไว้ใต้พื้นหมด ทั้งตึกเลยนะฮะ ซึ่งอันนี้จะแตกต่างกับตึกที่สีลม ถ้าคุณสังเกตคุณจะไม่เห็นสายเคเบิลเลยแม้แต่เส้นเดียวเพราะมันอยู่ใต้พื้นหมด ยิ่งโดยเฉพาะชั้นนี้ที่เป็นศูนย์คอมพิวเตอร์ สายก็ต้องมีเป็นจำนวนมาก ประกอบกับการออกแบบ็ต้องออกแบบให้พื้นสามารถรับน้ำหนักเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ซึ่งมีอยู่หลาย ๆ เครื่องได้พื้นบนชั้นนี้ก็เลยต้องหนา และคุณจะเห็นมันเหมือนกับถูกยกขึ้นมา" สมคิด พิชัยศรีสวัสดิ์ช่วยไขข้อข้องใจ

จากชั้นที่ 4 ก็ขึ้นไปชั้นที่ 12 เนื่องจากชั้นที่ 5 ถึงชั้นที่ 11 ไอบีเอ็ม ไม่ได้เช่าเอาไว้

ชั้นที่ 12 เป็นแผนกห้องสมุดและฝ่ายระบบธุรกิจ ซึ่งเต็มไปด้วยหนังสือคอมพิวเตอร์มากมายเก็บไว้ให้พนักงานได้ศึกษาและค้นคว้า

ชั้นที่ 13 และ 14 เป็นฝ่ายการตลาดทั้งหมด

"ที่นี่จะแตกต่างจากที่เก่าอีกประการหนึ่งคือ นอกจากเราสามารถออกแบบตึก ทำให้สามารถเก็บสายเคเบิลไว้ใต้พื้นหมดแล้วการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ยังทำให้เราสามารถใช้สายเคเบิลที่เป็นของไอบีเอ็มทั้งหมดได้ แม้แต่สายโทรศัพท์และโทรศัพท์เราก็ใช้ของ ROLM ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ในเครือของไอบีเอ็มเช่นกัน สายโทรศัพท์เหล่านี้จะถูกตอ่เข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์บนโต๊ะทำงานของพนักงานแต่ละคนเก็บข้อมูลจากโทรศัพท์ได้ตามที่ต้องการ" สมคิด พิชัยศรีสวัสดิ์ อธิบายกับ "ผู้จัดการ" ต่อ

ชั้นที่ 15 ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดเป็นฝ่ายการเงิน ฝ่ายบุคคล ฝ่ายประชาสัมพันธ์และผู้จัดการใหญ่

เมื่อเข้าไปจากประตูดิ่งไปจนสุดทาง จะมีซอยแยกเลี้ยวเข้าไปทางด้านซ้าย เมื่อเดินเข้าไป จะเห็นห้องของสมภพอมาตยกุล ผู้จัดการใหญ่ของไอบีเอ็ม อยู่ด้านขวามือ

"ห้องของผู้จัดการระดับบริหารทุกคน จะอยู่ติดกับหน้าต่างกระจกซึ่งจะทำให้สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของกรุงเทพฯได้"

ด้านนอกเป็นโต๊ะของพนักงานถูกวางเป็นล็อก ๆ รวม ๆ กันคล้าย ๆ กับห้อง ๆ หนึ่ง บนโต๊ะทุกโต๊ะมีเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ทุกโต๊ะ ประชาสัมพันธ์ของไอบีเอ็ม อธิบายให้ฟังว่าด้วยระบบออฟฟิศ ออโตเมชั่นเช่นนี้ ทำให้พวกเขาสะดวกมากจะส่งโน๊ตถึงใคร ก็ไม่จำเป็นต้องเดินขึ้นลงตึกไปส่ง เพียงแต่กดเครื่องคอมพิวเตอร์ มันก็จะปรากฏขึ้นบนจอภาพของคนที่เราจะส่งโน้ตไปถึง

มันอาจจะเป็นสิ่งที่ค่อนข้างจะมหัศจรรย์สำหรับคนทั่ว ๆ ไป แต่สำหรับคนของไอบีเอ็มแล้วพวกเขาบอกว่า มันก็เหมือนดั่งตึกเก่าที่สีลม จะมีแตกต่างกันบ้างก็อย่างที่ว่าไปแล้ว

และไม่ว่าจะเก่าหรือใหม่อย่างไร ไม่ว่าบริษัทไอบีเอ็ม ประเทศไทยจะเติบโตเป็นยักษ์ใหญ่แค่ไหนในปัจจุบัน ข้อเท็จจริงอันหนึ่งที่ไม่อาจปฏิเสธได้ก็คือ ไอบีเอ็มไม่เคยมีตึกเป็นของตัวเองเลย

"อาจจะเป็นนโยบายของบริษัทแม่…" สมคิด พิชัยศรีสวัสดิ์ ผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์พยายามอธิบายกับ "ผู้จัดการ"

ก็แปลความหมายกันเอาเองก็แล้วกัน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us