|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
แบงก์ชาติเผยยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเดือน เม.ย.วูบ 3% เมื่อเทียบเดือนก่อน ปัจจัยเศรษฐกิจ-การเมืองป่วน ขณะที่จำนวนบัญชีสินเชื่อส่วนบุคคลหดลง1.64 ล้านบัญชี หรือหดตัว 14.92% เฉพาะนอนแบงก์ลดลง 1.58 ล้านบัญชี ขณะที่ยอดสินเชื่อส่วนบุคคลโดยรวมได้รับอานิสงส์แบงก์พาณิชย์ที่มียอดเพิ่มสวนกระแสภาพรวมถึง 9.94 พันล้านบาท จากจุดแข็งที่มีสาขาเยอะ
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า สายนโยบายสถาบันการเงินได้ประกาศตัวเลขสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้กำกับดูแลของ ธปท.ล่าสุดเดือนเม.ย.ของปีนี้ พบว่า ภาพรวมสินเชื่อส่วนบุคคลยังมีการเติบโตที่ดี โดยยอดสินเชื่อส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น ซึ่งเกิดจากธนาคารพาณิชย์เป็นสำคัญ แต่ด้านจำนวนบัญชีกลับลดลงกว่าล้านบัญชีซึ่งเป็นการหดตัวต่อเนื่องนับตั้งแต่เดือนธ.ค.51ที่ผ่านมา
โดยในปัจจุบันผู้ประกอบการทุกประเภทที่เปิดให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลมีจำนวนบัญชีลดลง1.64 ล้านบัญชี หรือลดลง 14.92% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งเกิดจากบริษัทที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (นอนแบงก์) ลดลงมากที่สุดถึง 1.58 ล้านบัญชี หรือคิดเป็น 18.89% รองลงมาเป็นธนาคารพาณิชย์ 4.80 หมื่นบัญชี คิดเป็น 2.53% และสาขาธนาคารต่างประเทศลดลง 1.70 หมื่นบัญชี ลดลงในสัดส่วน 2.22% จากปัจจุบันทั้งระบบมีจำนวนบัญชีทั้งสิ้น 9.37 ล้านบัญชี แบ่งเป็นนอนแบงก์ 6.77 ล้านบัญชี ธนาคารพาณิชย์ 1.85 ล้านบัญชี และสาขาธนาคารต่างชาติ 7.51 แสนบัญชี
ขณะที่ยอดคงค้างสินเชื่อส่วนบุคคลมีทั้งสิ้น 2.24 แสนล้านบาท แบ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ 1.04 แสนล้านบาท นอนแบงก์ 9.94 หมื่นล้านบาท และสาขาธนาคารต่างชาติ 2.04 หมื่นล้านบาท ซึ่งในระบบมียอดสินเชื่อส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น 7.49 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 3.46% โดยธนาคารพาณิชย์มียอดเพิ่มขึ้น 9.94 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 10.55% ขณะที่สาขาธนาคารต่างชาติและนอนแบงก์หดตัว 1.81 พันล้านบาท หรือลดลง 8.16% และลดลง 640 ล้านบาท หรือลดลง 0.64% ตามลำดับ
นอกจากนี้ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวในเดือน เม.ย.ของปีนี้ ประกอบกับเกิดเหตุการณ์จราจลของกลุ่มคนเสื้อแดงในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ทำให้การจับจ่ายใช้สอยหดตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหรือเดือนมี.ค.ของปีนี้ ทั้งในแง่ปริมาณการใช้จ่ายในประเทศ การเบิกเงินสดล่วงหน้า แต่ในส่วนของการใช้จ่ายในต่างประเทศกลับเพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นช่วงปิดเทอมและหยุดยาว รวมถึงเลี่ยงเหตุการณ์ความไม่สงบในประเทศ จึงมีหลายครอบครัวหันไปท่องเที่ยวและจับจ่ายในต่างประเทศแทน
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการธุรกิจบัตรเครดิตทุกประเภทมีปริมาณบัตรเครดิตทั้งสิ้น13.13 ล้านใบ ลดลงจากเดือนก่อน 6.91 พันใบ คิดเป็น 0.05% โดยสาขานอนแบงก์มีปริมาณบัตรเครดิตทั้งสิ้น 1.35 ล้านใบ ลดลง 1.35 หมื่นใบ ขณะที่สาขาธนาคารต่างชาติและธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น 4.73 พันใบ และ1.82 พันใบ จากปริมาณบัตรเครดิตที่มีอยู่ทั้งสิ้น 6.56 ล้านใบ และ 5.25 ล้านใบ ตามลำดับ จึงนับเป็นเดือนแรกในรอบหลายเดือนที่จำนวนบัตรเครดิตลดลง ซึ่งต่างกับสถานการณ์ที่ผ่านมาที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ต่างจูงใจให้ผู้ถือบัตรเครดิตเพิ่มขึ้น เพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายผ่านบัตร
ขณะที่ยอดคงค้างสินเชื่อรวมทั้งสิ้น 1.81 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนเพียงเล็กน้อย 83 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 0.05% โดยผู้ประกอบการธนาคารพาณิชย์มียอดสินเชื่อบัตรเครดิตเพิ่มขึ้น 71 ล้านบาท สาขาธนาคารต่างชาติ 11 ล้านบาท และนอนแบงก์แค่ 1 ล้านบาท จากปัจจุบันที่มียอดคงค้างอยู่ที่ 6.41 หมื่นล้านบาท 3.38 หมื่นล้านบาท และ8.34 หมื่นล้านบาท ตามลำดับ
สำหรับปริมาณการใช้จ่ายรวมเพียงเดือนเดียวหดตัวถึง 8.73 พันล้านบาท หรือหดตัว 10.90% จากปัจจุบันที่มีปริมาณการใช้จ่ายทั้งสิ้น 7.14 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นการหดตัวของผู้ประกอบการบัตรเครดิตทุกประเภท โดยธนาคารพาณิชย์หดตัวมากที่สุด 4.99 พันล้านบาท นอนแบงก์ 2.78 พันล้านบาท และสาขาธนาคารต่างชาติ 963 ล้านบาท หากแยกตามประเภทการใช้จ่าย พบว่า ปริมาณการใช้จ่ายในประเทศลดลงถึง 8.01 พันล้านบาท หรือลดลง 13.50% โดยในส่วนของธนาคารพาณิชย์มีปริมาณการใช้จ่ายประเภทนี้ลดลง 4.18 พันล้านบาท นอนแบงก์ 2.77 พันล้านบาท และสาขาธนาคารต่างชาติ 1.06 พันล้านบาท เช่นเดียวกับการเบิกเงินสดล่วงหน้าที่ลดลง 1.47 พันล้านบาท หรือลดลง 8.27% โดยผู้ถือบัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์ลดลง1.17 พันล้านบาท ส่วนนอนแบงก์ลดลง 252 ล้านบาท ขณะที่สาขาธนาคารต่างชาติลดลง 53 ล้านบาท
ส่วนการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในต่างประเทศกลับทาง โดยยอดการใช้จ่ายในต่างประเทศที่มีทั้งสิ้น 3.68 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 760 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นในสัดส่วนถึง 26.06% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งธนาคารพาณิชย์มีการใช้จ่ายในต่างประเทศทั้งสิ้น 1.52 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 359 ล้านบาท นอนแบงก์มียอดรวมในการใช้จ่ายต่างประเทศ 1.40 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 251 ล้านบาท และสาขาธนาคารต่างชาติมียอดทั้งสิ้น 756 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 150 ล้านบาท
|
|
 |
|
|