Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTVผู้จัดการรายวัน12 มิถุนายน 2552
ดัชนีเชื่อมั่นหัวทิ่มต่ำสุดรอบ8ปีครึ่ง             
 


   
search resources

ธนวรรธน์ พลวิชัย
Economics




ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนพ.ค. ต่ำสุดรอบ 8 ปีครึ่ง เหตุคนไทยกังวลปัญหาน้ำมันเริ่มกลับมาแพง การเมืองไม่มีเสถียรภาพ จีดีพีหด ส่งออกติดลบ แนะรัฐบาลเร่งอัดฉีดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่โดยด่วน

นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจประชาชนทั่วประเทศ 2,238 ตัวอย่าง เกี่ยวกับความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไทยประจำเดือนพ.ค.2552 ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทุกรายการปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 และส่วนใหญ่ลดลงต่ำสุดรอบ 8 ปีครึ่ง โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนพ.ค.เท่ากับ 71.5 ต่ำสุดในรอบ 90 เดือน ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปัจจุบัน 61.1 ต่ำสุดในรอบ 84 เดือน และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคต 73.4 ต่ำสุดรอบ 92 เดือน ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมลดเหลือ 64.3 ต่ำสุดในรอบ 90 เดือน ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสหางานทำลดเหลือ 63.8 ต่ำสุดรอบ 89 เดือน และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตเหลือ 86.2 ต่ำสุดรอบ 123 เดือน

สาเหตุที่ทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นปรับตัวลดลงทุกรายการ มาจากราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศปรับเพิ่มขึ้นลิตรละ 2.40-2.80 บาท ส่งผลให้ผู้บริโภคกังวลเกี่ยวกับค่าครองชีพสูงขึ้น แต่รายได้ไม่เพิ่มสอดคล้องตาม นอกจากนี้ ยังวิตกกับเสถียรภาพทางการเมือง โดยเฉพาะความขัดแย้งในพรรคร่วมรัฐบาล และคนยังกังวลต่อตัวเลขเศรษฐกิจที่ตกลงกว่าคาดการณ์อย่างมาก ทั้งจีดีพีไตรมาสแรกจากคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ลดถึง 7.1% รวมถึงยอดการส่งออกที่หดตัว 25.2% และการแข็งค่าของค่าเงินบาทที่เพิ่มต่อเนื่อง

“ความกังวลต่อสถานภาพการจ้างงานถือเป็นปัญหาหลักที่ทำให้ประชาชนไม่กล้าใช้สอย และเชื่อว่าภาวะขาดแคลนกำลังซื้อในประเทศจะเกิดขึ้นชัดเจนตลอดไตรมาสสองถึงไตรมาสสาม ซึ่งระหว่างนี้ยอดขายสินค้าของภาคธุรกิจน่าจะลดลงตามด้วย จำเป็นต้องหาทางเอาตัวรอดด้วยการจัดกิจกรรมกระตุ้นตลาดออกมากระตุ้นกำลังซื้อ”นายธนวรรธน์กล่าว

นายธนวรรธน์กล่าวว่า แม้ตอนนี้นักวิชาการและภาคธุรกิจจะเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวแล้ว จากการฟื้นตัวเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และจีน รวมถึงดัชนีตลาดหลักทรัพย์ กับคำสั่งซื้อสินค้าที่เพิ่มขึ้น แต่ในภาคประชาชนยังไม่เกิดขึ้นและไม่เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวในเร็วๆ นี้ โดยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลรอบแรก ทั้งเช็กช่วยชาติ 2,000 บาท ต้นกล้าอาชีพ หรือมาตรการลดค่าครองชีพให้ใช้รถเมล์ รถไฟ ประปา ไฟฟ้าฟรี ยังไม่มีประสิทธิภาพแรงพอ ที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจได้ ซึ่งรัฐจำเป็นต้องอัดฉีดมาตรการระลอกใหม่ โดยเฉพาะการรับมือกับปัจจัยลบจากน้ำมันที่จะแพงขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้

“ปัญหาการเมืองเดือนนี้คลายตัวลง แต่คนเริ่มห่วงราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น โดยคาดว่า 3 เดือนข้างหน้า ราคาน้ำมันตลาดโลกอาจทะลุ 80 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งจะกระทบราคาขายปลีกภายในและกำลังซื้อผู้บริโภค และประเมินเบื้องต้นว่า หากน้ำมันเพิ่มลิตรละ 1 บาท จะกระทบต่อการใช้จ่ายประชาชน 2,100 ล้านบาท และทุก 1 เดือน น้ำมันจะเพิ่มลิตรละ 2 บาท จะกระทบต่อการใช้จ่ายไม่ต่ำกว่า 4,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นภาระที่รัฐบาลต้องคำนึง และหาแนวทางการแก้ไขไม่ให้ดัชนีผู้บริโภคตกต่ำไปกว่านี้”นายธนวรรธน์กล่าว

สำหรับสิ่งที่รัฐบาลต้องเร่งกระทำ นอกจากการเร่งสร้างเสถียรภาพทางการเมืองแล้ว จะต้องเร่งเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐ ทั้งพ.ร.ก.กู้เงิน 4 แสนล้านบาท และงบประมาณประจำปีให้ได้ตามแผนช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยเฉพาะโครงการเมกะโปรเจ็กต์จะต้องเริ่มภายในไตรมาส 4 รวมถึงเร่งรัดให้องค์กรส่วนปกครองท้องถิ่น (อปท.) ต้องจ่ายเงินลงทุนลงท้องถิ่นให้เร็วสุด และเร่งกระตุ้นโครงการลงทุนจากหน่วยรัฐวิสาหกิจ ซึ่งหากรัฐทำได้ เชื่อว่าการเติบโตเศรษฐกิจปีนี้น่าจะอยู่ที่ -3.5% ถึง -4.5% ได้ โดยขณะนี้จีดีพีไทยผ่านจุดต่ำสุดไตรมาสแรกที่ลบ 7.1% มาแล้ว ขณะที่ไตรมาสสองน่าจะลบเหลือ –4% ถึง -5% และเริ่มกระเตื้องในไตรมาสสามจนกลับมาบวกได้ 1-2% ในไตรมาสสุดท้าย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us