Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ไฟแนนเชียลไทมส์/ ASTV ผู้จัดการรายวัน11 มิถุนายน 2552
S&Pส่อหั่นเรตติ้งบอนด์ไทย หุ้นพุ่ง16จุด-รายย่อยฟันกำไร             
 


   
search resources

Standard & Poors (S&P)
Stock Exchange




สแตนดาร์ดแอนด์พัวร์ส (เอสแอนด์พี) ออกมาส่งเสียงเตือนเกี่ยวกับอันดับความน่าเชื่อถือในตราสารหนี้ของหลายชาติแถบเอเชีย ซึ่งรวมทั้งไทยด้วย โดยบอกว่ามีความเสี่ยงที่จะถูกลดอันดับเรตติ้งให้ต่ำลง ถึงแม้เศรษฐกิจโลกกำลังกลับมีเสถียรภาพมากขึ้น แล้วก็ตามที ขณะที่หุ้นไทยดีดไม่หยุด บวกเพิ่มอีก 16 จุด วอลุ่มซื้อขาย 3.3 หมื่นล้าน รายย่อยฟันกำไร หลังขายสุทธิ3พันล้าน โบรกเกอร์ เฝ้าย้ำจับตาสถานการณ์ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ราคาน้ำ มัน

สแตนดาร์ดแอนด์พัวร์ส (เอสแอนด์พี) แถลงเมื่อวันอังคาร(9)ว่า อันดับความน่าเชื่อถือของพวกตราสารหนี้ภาครัฐทั้งหลายกำลังเผชิญแรงกดดันหนัก สืบเนื่องจากการที่รัฐบาลต่างๆ ได้ประกาศมาตรการช่วยเหลือกอบกู้เศรษฐกิจและภาคการเงิน ที่ใช้จ่ายเงินจำนวนมหาศาล จนทำให้เกิดการขาดดุลงบประมาณพุ่งพรวดสูงขึ้นเรื่อยๆ

บริษัทเครดิตเรตติ้งแห่งนี้บอกว่า มาตรการทางการคลังที่ประกาศออกมาใช้กันในระยะหลังๆ นี้ เพื่อมุ่งต่อสู้กับภาวะเศรษฐกิจถดถอย ตลอดจนทำให้ระบบธนาคารกลับมีเสถียรภาพนั้น จะเป็นการเพิ่มภาระให้แก่ภาคการคลังของประเทศและเขตเศรษฐกิจจำนวนมากในเอเชีย ทั้งนี้ ยอดหนี้สินแห่งชาติที่กำลังเพิ่มขึ้นทุกขณะ ก็ย่อมสร้างปัญหาต่ออันดับความน่าเชื่อถือด้านตราสารหนี้ของภาครัฐอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น

"ช่วงเลวร้ายที่สุดของความคลาดเคลื่อนติดขัดทางเศรษฐกิจในแถบเอเชีย-แปซิฟิก ดูเหมือนจะสิ้นสุดลงไปแล้ว ถ้าหากจะเชื่อถือเครื่องบ่งชี้ต่างๆ ในระยะหลังๆ มานี้ แต่ความย่ำแย่ทางการคลังอันเป็นผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการให้ความสนับสนุนแก่ภาคการธนาคาร จะยังคงส่งแรงกดดันต่อเรตติ้งความน่าเชื่อถือของภาครัฐจำนวนหนึ่งในช่วงระยะกลาง" คำแถลงของเอสแอนด์พีระบุ

การแสดงความคิดเห็นเช่นนี้ของเอสแอนด์พี ปรากฏออกมาหลังจากที่บริษัทได้ตัดสินใจเมื่อไม่นานมานี้ ให้ลดเรตติ้ง "เอาต์ลุก" (ทิศทางแนวโน้ม) ของอินเดีย และไต้หวัน จากระดับ "คงที่" เป็น "ลบ" อันเป็นความเคลื่อนไหวที่มุ่งสะท้อน "ฐานะเสื่อมทรุดทางการคลังที่สืบเนื่องจากการให้ความสนับสนุนแก่เศรษฐกิจของแต่ละประเทศของพวกเขา"

นอกจากนั้น เอสแอนด์พีบอกด้วยว่า ความไม่สงบทางการเมืองใน ฟิจิ, ศรีลังกา, และไทย ก็สามารถที่จะ "เป็นเหตุผลอันสำคัญสำหรับการดำเนินการในทางลบต่อเรตติ้งความน่าเชื่อถือในภาครัฐ"

คำเตือนของเอสแอนด์พีคราวนี้ มีขึ้นหลังจากที่ ฟิตช์ บริษัทเครดิตเรตติ้งใหญ่อีกแห่งหนึ่ง ได้จัดแจงลดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินตราภายในประเทศของมาเลเซียลงมา 1 ขั้น คือจาก "A+" เป็น "A" เนื่องจากความวิตกต่อการที่มาเลเซียกำลังขาดดุลงบประมาณสูงขึ้นๆ

ทั้งนี้พวกนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า การขาดดุลงบประมาณของมาเลเซียในปีนี้จะขึ้นสู่ระดับใกล้ๆ กับ 5% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(จีดีพี) สืบเนื่องจากรัฐบาลมาเลเซียได้ประกาศมาตรการใช้จ่ายมูลค่า 67,000 ล้านริงกิต (19,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ตั้งแต่เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว

ทางด้านฟิลิปปินส์ก็ปรากฎว่าผลตอบแทน(ยีลด์)ของพันธบัตรประเทศนี้กำลังไต่สูงขึ้น เนื่องจากความหวั่นกลัวว่าจะมีการขาดดุลงบประมาณมากขึ้นเช่นกัน เมื่อพวกเจ้าหน้าที่แสดงท่าทีว่าอาจจะต้องหวนกลับเข้าไปในตลาดหนี้ต่างประเทศ และขอเงินกู้ที่มีเงื่อนไขผูกพันจากพวกสถาบันให้กู้ระหว่างประเทศทั้งหลาย

อย่างไรก็ตาม เอสแอนด์พีบอกว่า มีบางประเทศและเขตเศรษฐกิจ เป็นต้นว่า ออสเตรเลีย, จีน, และฮ่องกง อาจจะกำลังก่อหนี้สินเพิ่มสูงขึ้นแต่ไม่ได้มีผลกระทบในทางลบมากมายอะไรต่ออันดับความน่าเชื่อถือ เนื่องจากประเทศและเขตเศรษฐกิจเหล่านี้มีความสมดุลทางการคลังที่ค่อนข้างแข็งแกร่ง

เอสแอนด์พียังเตือนด้วยว่า จำนวนกรณีการหยุดพักชำระหนี้ในภาคบริษัทของภูมิภาคแถบนี้ในปีนี้ อาจจะสูงกว่าที่เคยบังเกิดขึ้นในช่วงวิกฤตการเงินเอเชียปี 1997-98

"ในระยะประมาณปีหน้า การหยุดพักชำระหนี้ในภาคบริษัทน่าจะเพิ่มสูงขึ้น " เนื่องจาก "แรงกดดันจะโหมกระหน่ำเพิ่มมากขึ้นต่อระบบการธนาคารในภูมิภาคแถบนี้" กิมเอ็ง ตัน นักวิเคราะห์ของเอสแอนด์พีกล่าว

หุ้นไทยแรงไม่หยุดดีดอีก16จุด

ส่วนความเคลื่อนไหวตลาดหุ้นไทย วานนี้ (10มิ.ย.) ปิดที่ระดับ 624.55 จุด เพิ่มขึ้น 16.82 จุด หรือ +2.77% ระหว่างวันปรับตัวสูงสุด 624.55 จุด และต่ำสุดที่ระดับ 611.31 จุด มูลค่าการซื้อขาย 33,339 ล้านบาท โดยการซื้อขายหุ้นตลอดทั้งวัน ดัชนีเคลื่อนไหวในแดนบวกตั้งแต่เปิดตลาดในช่วงเช้า จากแรงซื้อในกลุ่มพลังงาน และธนาคารพาณิชย์ พร้อมกับขานรับข่าวดีในแง่จิตวิทยานักลงทุนในตลาดหุ้นอื่นๆทั่วโลกที่เคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกัน

ส่วนหลักทรัพย์เปลี่ยนแปลงวานนี้ เพิ่มขึ้น 272 หลักทรัพย์ ลดลง 87 หลักทรัพย์ และไม่เปลี่ยนแปลง 104 หลักทรัพย์ และเมื่อแยกเป็นประเภทนักลงทุนพบว่า สถาบันกลับเข้ามาซื้อสุทธิถึง 2,671.84 ล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนต่างประเทศที่ซื้อสุทธิ 389.91 ล้านบาท โดยมีเพียงนักลงทุนทั่วไปซึ่งขายทำกำไร 3ฅ061.75 ล้านบาท

นายชัย จิรเสวีนุประพันธ์ ผู้จัดการ ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) พัฒนสิน จำกัด (มหาชน) หรือ CNS เปิดเผยว่า บรรยากาศการซื้อขายหุ้นไทยวานนี้ (10มิ.ย.) ค่อนข้างคึกคัก ท่ามกลางแรงซื้อของนักลงทุนในหุ้นกลุ่มพลังงานไม่ว่าจะเป็น PTT, PTEP หลังราคาน้ำโลกปรับเพิ่มขึ้นทะลุ 70 ดอลลาร์ต่อบาเรล์ รวมทั้งการประเด็นที่หลายฝ่ายคาดการณ์ว่าปัญหาเศรษฐกิจโลกได้ผ่านจุดต่ำสุดไปเรียบร้อยแล้ว และกำลัง อยู่ในช่วงของการฟื้นตัว

ส่วนเรื่องพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) เงินกู้จำนวน 4 แสนล้านบาท ที่จะใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลภายใต้การนำของนายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ ก็กลายเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้มีเม็ดเงินลงทุนไหลเข้ามาในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ (แบงก์) เนื่องจากมองหากเรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นจริงนั้นจะทำให้เกิดการจ้างงาน และก็ถือเป็นเรื่องดีต่อการปล่อยสินเชื่อของแบงก์

สำหรับแนวโน้มตลาดหุ้นไทยวันนี้ (11มิ.ย.) คาดว่าดัชนียังไปต่อได้อีก แต่อย่างไรก็ตามนักลงทุนควรรอดูราคาน้ำโลก ดัชนีดาวโจนส์ และปัจจัยอื่นๆ ในต่างประเทศ ดังนั้นแนะให้ควรทยอยเทขายทำกำไรระยะสั้นเมื่อดัชนีเข้าใกล้แนวต้าน โดยให้กรอบแนวรับอยู่ที่ 612-620 จุด ส่วนแนวต้านอยู่ที่ 630-635 จุด

ด้านนายเจริญ เอี่ยมพัฒนธรรม รองกรรมการผู้จัดการ บล.เคที ซิมิโก้ จำกัด กล่าวว่า วานนี้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ปรับเพิ่มขึ้นกว่า 16 จุด สอดคล้องกับราคาน้ำมันโลกและตลาดหุ้นต่างประเทศที่เคลื่อนไหวเพิ่ม ขึ้นตลอดวัน ส่วนปัญหาการเมืองในประเทศไม่ได้ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อการซื้อขายหลักทรัพย์เพราะไม่มีประเด็นอะไรสนับสนุนและฉุดการเคลื่อนไหวของดัชนีฯ

“วันนี้บรรยากาศซื้อขายหลักทรัพย์ เชื่อว่ายังคงสดใส แต่อย่างไรก็ดีนักลงทุนคงต้องจับตาประเด็นจากต่างประเทศ เช่น ราคาน้ำมันโลก ตลาดหุ้นสหรัฐ เป็นต้น เพราะฉะนั้นกลยุทธ์การลงทุนจะเป็นลักษณะซื้อขายใ น ระยะสั้นตามทิศทางของเรื่องดังกล่าวเป็นหลัก ทั้งนี้ประเมินแนวรับที่ 600 จุด และแนวต้านอยู่ที่ 630-642 จุด”

นายพงษ์พันธ์ อภิญญากุล ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยช่วงบ่ายมีการพุ่งขึ้นอีกเพราะเรื่องของตลาดทั่วโลกและจิตวิทยาหุ้นทั่วโลกค่อนข้างจะเข้ามาผลักดันหุ้นบ้านเราอย่างต่อเนื่อง ตลาดจึงทยอยปรับขึ้นต่อ

"ปัจจัยหลักเพราะจิตวิทยาการเทรดหุ้นทั่วโลกดีขึ้น และเป็นการขึ้นทั่วทุกตลาด ทั้งยุโรป อเมริกา และเอเชีย"นายพงษ์พันธ์ กล่าว

ขณะที่ทิศทางวันนี้อาจจะมีการขายทำกำไรกันบ้าง แต่ก็ต้องดูตลาดอเมริกาก่อน เพราะตอนนี้ตลาดอเมริกาค่อนข้างจะขับเคลื่อน แต่หุ้นบ้านเราไปได้ดีกว่าเพราะไม่ได้มีวิกฤตอะไร ภายในของเราค่อนข้างจะเข้มแข็ง”   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us