|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
แบงก์ชาติค้านนำเงินทุนสำรองระหว่างประเทศมาใช้กระตุ้นเศรษฐกิจหรือลดภาระหนี้สาธารณะ เผยจำเป็นต้องสำรองให้เพียงพอต่อการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจไทยและความไม่แน่นอนในอนาคตหากนำมาใช้จะส่งผลเงินบาทแข็งค่า ส่วนการประชุม กนง.รอบหน้าจะใช้ปัจจัยภายในประเทศเป็นหลักการตัดสินใจดำเนินนโยบายดอกเบี้ย ชี้ผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวสูงขึ้นยังอยู่ในวิสัยที่ตลาดปรับตัวได้
กรณีนายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยต่อสื่อมวลชนว่าธนาคารคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำลังศึกษาแก้กฎหมายทุนสำรองระหว่างประเทศ (1.2 แสนล้านเหรียญสหรัฐ) เพื่อนำออกมาใช้กระตุ้นเศรษฐกิจในระยะถัดไปนั้น วานนี้ (10 มิ.ย.) นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า แม้ในปัจจุบันเงินทุนสำรองของไทยสูงกว่าในอดีตมาก แต่การนำเงินทุนสำรองมาใช้ในขณะนี้ยังไม่จำเป็น เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในอนาคตคาดเดาได้ยาก โดยเฉพาะภาวะเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินโลกยังไม่มีความแน่นอนสูง และ ธปท.เองก็ต้องประคับประคองเศรษฐกิจและลดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอกประเทศ จึงจำเป็นต้องมีเงินสำรองให้เพียงพอและเหมาะสมในการดูแลเศรษฐกิจให้มีเสถียรภาพทั้งในช่วงระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งในระยะยาวเรื่องนี้สามารถศึกษาได้
ทั้งนี้ ธปท.ได้รายงานฐานะเงินสำรองระหว่างประเทศล่าสุด ณ วันที่ 29 พ.ค.ที่ผ่านมา อยู่ที่ระดับ 1.21 แสนล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 957 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ฐานะสัญญาซื้อเงินตราต่างประเทศอยู่ที่ 6,259 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 173 ล้านเหรียญสหรัฐ
สำหรับภาวะเศรษฐกิจไทยในขณะนี้ หากพิจารณาตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆ เมื่อเทียบเดือนต่อเดือน น้ำหนักการชะลอตัวลดลง เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ของปีนี้และไตรมาส 4 ของปีก่อน และข้อมูลเศรษฐกิจจริงในเดือนเม.ย.ที่การหดตัวเริ่มผ่อนคลายลงเห็นได้จากการส่งออก การผลิตของภาคอุตสาหกรรม อัตราการใช้กำลังการผลิต การใช้จ่ายภาพเอกชน และการนำเข้าลดลง ทำให้การค้าเกินดุลขนาดลดลง จึงเป็นสัญญาณภาวะเศรษฐกิจไทยเริ่มเป็นบวกมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ยังมีความไม่แน่นอนสูงทั้งจากภาวะเศรษฐกิจโลก ตลาดการเงินโลก รวมทั้งการดำเนินการภาวะตลาดโลกที่ยังไม่เข้าสู่ภาวะปกติ โดยเฉพาะในช่วงที่มีกระแสข่าวเชิงลบออกมา ซึ่งสิ่งเหล่านี้ยังคงต้องระมัดระวังอยู่ ดังนั้นในส่วนของ กนง.เองยังคงต้องติดตามการปรับตัวของภาคต่างประเทศ การเคลื่อนไหวเศรษฐกิจในประเทศอย่างใกล้ชิด เพื่อทำนโยบายการเงินให้ได้ประโยชน์ต่อเศรษฐกิจมากที่สุด ซึ่งที่ผ่านมาการดำเนินนโยบายการเงินและการคลังให้น้ำหนักเต็มที่ในการสนับสนุนเศรษฐกิจ จึงต้องมีการติดตามตัวเลขเศรษฐกิจใหม่ๆในอีก 1-2 เดือนข้างหน้าต่อไปด้วยว่าภาคเศรษฐกิจบางตัวที่ดีขึ้นจะช่วยให้เศรษฐกิจผ่อนคลายมากขึ้นแค่ไหนในอนาคต
“การประชุมของ กนง.ในวันที่ 15 ก.ค.นี้จะให้ความสำคัญกับภาพเศรษฐกิจในประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะบางภาคที่เริ่มมีสัญญาณดีขึ้นจากเดิมที่ชะลอลดลง พร้อมทั้งแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อและฐานะต่างประเทศเช่นกันไม่ว่าจะเป็นปรับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) ที่มีผลสะท้อนให้เห็นว่าตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญดีขึ้นกว่าที่คาดไว้และทิศทางต่างๆ ซึ่ง กนง.นำข้อมูลต่างๆ มาร่วมพิจารณาในการทำนโยบายด้วย”
ส่วนกรณีนายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สนับสนุนให้มีการเปิดเสรีทางการเงินมากขึ้นนั้น รองผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า ในปัจจุบันพื้นฐานเศรษฐกิจไทยมีศักยภาพที่สูงและยังสามารถเติบโตได้อีกในอนาคต โดยธุรกิจธนาคารพาณิชย์ยังสามารถทำกำไรได้ดีและยังมีพื้นที่ในการดำเนินธุรกิจต่างๆ ได้อีก โดยเฉพาะการปล่อยกู้ให้แก่ธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล ขณะเดียวกัน ธปท.เองให้ความสำคัญการแข่งขันและเพิ่มผู้เล่นรายใหม่ให้มากขึ้นจากแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (มาสเตอร์แพลน) ฉบับที่ 2 เพื่อให้สถาบันการเงินสามารถนำบริการและเทคโนโลยีใหม่ๆ มาพัฒนาและให้มีประโยชน์แก่ประชาชนหรือผู้บริโภคมากขึ้น
“ธปท.คาดว่าแผนมาสเตอร์แพลน2 นี้จะสามารถประกาศใช้ได้ในภายในปีนี้ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจะเพิ่มผู้เล่นในตลาดมากขึ้นทั้งผู้เล่นรายใหม่ที่มีความถนัดเฉพาะทางเข้ามาเติมเต็มส่วนที่ขาดหายไปในตลาด และผู้เล่นที่เข้ามาในรูปแบบเข้ามาถือหุ้นในลักษณะควบรวมกิจการตามปกติ นับเป็นการเพิ่มบทบาทระหว่างประเทศมากขึ้นผ่านการเปิดเสรีการเงินในตลาดการเงิน”
นายบัณฑิตกล่าวว่า สถานการณ์ที่ผลตอบแทนในตลาดพันธบัตรระยะยาวปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะอายุพันธบัตร 10 ปีขึ้นไป เป็นการสะท้อนความต้องการใช้เงินในระบบสูงขึ้น โดยเฉพาะในช่วงที่มีข่าวว่ารัฐบาลจะออกพันธบัตร เพื่อระดมทุน ซึ่งยิ่งช่วงที่มีกระแสข่าวออกมามากตลาดพันธบัตรรัฐบาลจะมีอ่อนไหวอย่างมาก เพราะมีการซื้อขายพันธบัตรในตลาดรองด้วย อย่างไรก็ตามผลตอบแทนพันธบัตรที่สูงขึ้น แต่ยังในวิสัยที่ตลาดสามารถปรับตัวได้ จึงไม่จำเป็นที่ ธปท.ต้องเข้าไปดูแลพิเศษ และมั่นใจว่าในอนาคตอุปทานของพันธบัตรรระยะยาวจะมีมากขึ้น
ห่วงฉุดเงินบาทแข็งค่า
แหล่งข่าวระดับสูงจาก ธปท.อีกรายแจงว่า หลายประเทศไม่นิยมนำเงินทุนสำรองมาใช้เพื่อแก้ไขหนี้สาธารณะหรือกระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะเงินทุนสำรองฯ เหล่านี้อยู่ในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ หากมีการนำมาใช้โดยการแปลงเป็นค่าเงินบาทจะส่งผลเสียต่อระบบ โดยเมื่อนำเงินดอลลาร์มาแลกในตลาดการเงินก็จะกดดันให้เงินบาทในประเทศแข็งค่า ขณะเดียวกันหากนำมาใช้ในการซื้อขายระหว่างประเทศ เสมือนพิมพ์ธนบัตรออกมาใช้สู่ระบบที่เหมือนสหรัฐ เป็นการบิดเบือนกลไกตลาด ค่าเงินก็ไม่สะท้อนฐานะแท้จริงทางเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตาม หากมีการนำเงินทุนสำรองมาใช้จริงจะต้องมีการแก้ไขเนื้อหากฎหมายของพ.ร.บ.ธปท. ซึ่งต้องเพิ่มเติมบทเฉพาะกาลเข้าไป แต่การแก้ไขกฎหมายเหล่านี้มีข้อจำกัดตามมา คือ ทุกรัฐบาลต้องมีบรรทัดฐานเดียวกัน ฉะนั้นไม่ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลทุกชุดสามารถนำทุนสำรองไปใช้ตลอดโดยไม่มีข้อจำกัดในการใช้
ส่วนแนวคิดที่จะมีการจัดตั้งกองทุนความมั่นคงแห่งชาติ (Sovereign Wealth Fund) ในช่วงก่อนหน้านี้ หากจะดำเนินการช่วงนี้ไม่เหมาะสมนัก เพราะปัจจุบันกองทุนในลักษณะเช่นเดียวกันนี้ เช่น กองทุนเทมาเส็กก็ขาดทุนกันถ้วนหน้า
|
|
 |
|
|