Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTVผู้จัดการรายวัน10 มิถุนายน 2552
สคิบขายหุ้นกู้หมื่นล.-BISแตะ14%             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารนครหลวงไทย

   
search resources

ธนาคารนครหลวงไทย, บมจ.
ชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์
Banking and Finance




แบงก์นครหลวงไทยเคาะวงเงินออกหุ้นกู้ 10,000 ล้านบาท หนุนบีไอเอสแตะ14% ชี้ การแข่งขันของสถานบันการเงินอีก 2-3 ปี จะมีการเปลี่ยนแปลงมาก กลุ่มที่ไม่มีแบงก์คอยสนับสนุนจะทำธุรกิจยากขึ้น ชี้ในครึ่งปีหลังจะให้ความสำคัญกับกลยุทธ์บริษัทในเครือมากขึ้น ล่าสุดปรับโฉมสาขาใหม่พร้อมพัฒนาบริการมุ่งตอบสนองทุกความต้องการลูกค้า

นายชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCIB เปิดเผยว่า ขณะนี้ทางธนาคารได้ทำการสรุปวงเงินในการจำหน่ายหุ้นกู้ด้อยสิทธิอายุ 10 ปี เสนอผลตอบแทนในอัตราแบบก้าวหน้าจ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือน ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 5.5% ต่อปี ปีที่ 4-7อัตราดอกเบี้ย 6.0% ต่อปี ปีที่ 8-10 อัตราดอกเบี้ย 6.5% ต่อปี จองซื้อขั้นต่ำ 1 แสนบาท ระหว่างวันที่ 15-18 มิ.ย. 2552แล้ว โดยวงเงินที่จะจำหน่ายอยู่ที่ 10,000 ล้านบาท ซึ่งหากจำหน่ายได้หมดจะทำให้เงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (บีไอเอส) ของธนาคารเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 14% โดยเงินกองทุนขั้นที่ 2 ของจะเพิ่มขึ้นประมาณ 3% หรือเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ประมาณ 4% จากปัจจุบันอยู่ที่ 0.7%

'ที่เราเลือกจะออกหุ้นกู้เพียง 10,000 ล้านบาท ทั้งที่สามารถจะออกได้ไม่เกิน 15,000 ล้านบาท อีกทั้งตอนนี้การสำรวจความต้องการก็มีเกินกว่า 10,000 ล้านบาทแล้วด้วย เป็นเพราะเราคิดว่าเป็นระดับที่เหมาะสม เนื่องจากต้องการให้บีไอเอสวิ่งอยู่ที่ 12-14% อีกทั้งเวลามีเงินเข้ามากก็ต้องพยายามทำให้เกิดผลตอบแทนถ้ามีเงินมากแต่มาอยู่เฉย ๆ นาน ๆ ส่วนของผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นต่ำ (ROE) ต่ำคนก็คงไม่ใช่สิ่งที่ดี อีกทั้งหากมีจังหวะเวลาที่เหมาะสมเราก็สามารถจะเพิ่มเงินกองทุนขั้นที่ 1 ได้ แต่ต้องขอจากทางผู้ถือหุ้นใหญ่ก่อน'

สำหรับการแข่งขันของสถาบันการเงินในอีก 2-3 ปีข้างหน้านั้นมองว่าจะยังมีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง และจะเกิดการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการแข่งขันอีกมาก โดยธุรกิจที่ไม่ได้อยู่ในเครือของธนาคารจะมีความสามารถในการแข่งขันที่น้อยลง เช่น บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ถ้าไม่มีขนาดสินทรัพย์ที่ใหญ่ หรือมีส่วนแบ่งทางการตลาด (มาร์เกตแชร์) ที่สูงพอ หรือประมาณ 3-5% ก็จะแข่งขันได้ลำบากและถ้าไม่ได้อยู่ในเครือของธนาคารก็คงจะมีข้อจำกัดในการทำธุรกิจค่อนข้างมาก บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) ถ้ามีขนาดสินทรัพย์ที่บริหารต่ำกว่า 100,000 ล้านบาท ก็จะแข่งขันได้ยากเช่นกัน

ในส่วนของธุรกิจลีสซิ่ง ซึ่งในขณะนี้ได้มีธนาคารขนาดใหญ่ลงมาเล่นในตลาดนี้กันมากขึ้น ซึ่งทำให้กลุ่ม ผู้ประกอบการที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (นอนแบงก์) ต้อง มีการปรับตัวขนานใหญ่ โดยในส่วนของธนาคารนครหลวงไทยนั้นได้ถือหุ้นอยู่ในบริษัท ราชธานีลีสซิ่งอยู่ประมาณ 49% และก็มีความต้องการที่จะเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้น ซึ่งขณะนี้ทางบริษัท ราชธานีอยู่ระหว่างการให้ที่ปรึกษาทางการเงินซึ่งได้ว่าจ้างบริษัท หลักทรัพย์กิมเอง จำกัด (มหาชน) ทำแผนการเพิ่มทุนให้อยู่ ซึ่งคาดว่าจะสามารถเสนอแผนเข้ามายังธนาคารในเดือนหน้า ซึ่งการเพิ่มทุนดังกล่าวจะทำให้เสร็จสิ้นในปีนี้

'ในครึ่งปีหลังของปีนี้เราจะให้ความสำคัญกับกลยุทธ์ บริษัทในเครือมากขึ้น โดยตอนนี้ทางราชธานีลีสซิ่งเขามีความเชี่ยวชาญการปล่อยสินเชื่อรถยนต์มือ 2 มีตลาดหลักๆ อยู่ในกรุงเทพมหานคร ที่ผ่านมามีการขยายสินเชื่ออย่างรวดเร็ว ทำให้ต้องเพิ่มทุน เพื่อนำเงินไปขยายธุรกิจ และจะมีแผนทำการตลาดผ่านสาขาทั่วประเทศ และจะเข้าไปทำตลาดรถยนต์ใหม่ ส่วนบลจ.นครหลวงไทยตอนนี้มีขนาดอยู่ 60,000 ล้านบาทและจะเพิ่มเป็น 100,000 ล้านบาทในปีหน้า ส่วนของบล.ตอนนี้มีมาร์เกตแชร์อยู่ที่ไม่ถึง 1% ก็จะพยายามทำให้ถึง 3-5% ภายในไม่เกิน 3 ปีถ้างั้นก็คงจะอยู่ไม่ได้'

นายชัยวัฒน์ กล่าวว่า ล่าสุดธนาคารตั้งเป้าที่จะเปิดที่ทำการสาขารูปแบบใหม่ตามโครงการปรับภาพลักษณ์องค์กร และบริษัทในเครือ (Corporate Re-Branding) และโครงการปรับปรุงระบบบริหารงานสาขา (Branch Business Transformation) เพิ่มอีก 15 สาขา โดยมีสาขาต้นแบบ 2 สาขา คือ สาขาชาญอิสสระทาวเวอร์ (พระราม 4) และสาขาศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ (อาคาร A) และติดตั้งเครื่องให้บริการเบิกถอนเงินสดอัตโนมัติ (เอทีเอ็ม) จำนวน 100 เครื่อง ส่งผลให้ตู้เอทีเอ็มรวมเป็น 1,720 เครื่อง เพื่อเป็นการสร้างจุดให้บริการ (SCIB Touch Point) แก่กลุ่มลูกค้า และประชาชนในพื้นที่ หรือแหล่งที่มีศักยภาพทางธุรกิจสูง (Trading Area) เพื่อสนับสนุนการให้บริการทางการเงินแบบครบวงจรพร้อมบริการเสริมอื่น ๆ ของธนาคารตลอดจนบริษัทในเครือ และการนำเสนอบริการของพันธมิตรทางธุรกิจผ่านสาขาของธนาคาร และมีแผนที่จะเปิดสาขาเพิ่มเฉลี่ยปีละ 15-20 แห่ง อย่างต่อเนื่องตามแผน 3 ปี (ระหว่างปี 2551-2553) ถึงแม้ว่าอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโดยรวมยังคงชะลอตัวลงอยู่ก็ตาม

แต่อย่างไรก็ตาม ธนาคารสามารถบริหารจัดการเรื่องต้นทุนในการเปิดดำเนินการสาขาได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งมีแผนที่จะพิจารณาเพิ่มจำนวนสาขาที่ขยายเวลาในการให้บริการอีกประมาณ 30-40 สาขา จากปัจจุบันที่มีอยู่ทั้งหมด 63 สาขาทั่วประเทศ หลังจากที่พบว่ามียอดการทำธุรกรรมของลูกค้าเพิ่มขึ้นในระดับที่น่าพอใจ เช่นเดียวกับการนำระบบการบริหารและการดำเนินงานของเขตและสาขาออกเป็น 7 คลัสเตอร์ (Cluster) ส่งผลให้แต่ละสำนักงานสาขาเขตและสาขากำหนดกลยุทธ์และการเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการทางการเงินสำหรับกลุ่มลูกค้าในแต่ละคลัสเตอร์ได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งยังสามารถให้คำปรึกษาทางด้านการเงินแก่ลูกค้าได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย

'แบงก์ได้เตรียมงบในการโฆษณาไว้ 100 ล้านบาท แบ่งเป็นโฆษณาชุด SCIB Heart : ก้าวไปกับคุณด้วยใจ ในวงเงิน 50 ล้านบาท และใช้ในการออกผลิตภัณฑ์ 25 ล้านบาท และที่เหลือใช้โฆษณาทั่วไป'   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us