สารบัญ
-ยุคแห่งความก้าวหน้าจบลงแล้ว
-ผลได้ ที่ลดลงจากการใช้ยุทธศาสตร์แบบเดิม
-วิธีสร้างสรรค์รูปแบบธุรกิจใหม่
-จะสร้างความปั่นป่วนอย่างไรดี
-การยึดกับการริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่ และการคิดนอกคอก
-การปฏิวัติของรุ่นลายคราม
-กฎในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่
-หนทางในการริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่
-วงจรแห่งการริเริ่มสร้างสรรค์
แท้จริงแล้ว อนาคตก็คือ ปัจจุบันนี่แหละ
แกรี่ ฮาเมล ผู้เขียน Leading the Revolution กล่าวเช่นนี้โดยอธิบายว่า
เพราะอินเทอร์เน็ตไม่ได้เป็นเพียงช่องทางการจำหน่ายใหม่ และช่องทางการสื่อสารให้กับบริษัทธุรกิจเท่านั้น
แต่ยังเข้ามาช่วยปรับโครงสร้าง แนวความคิดพื้นฐานอย่างเรื่องกาลเทศะด้วย
ธุรกิจจึงต้องรับมือ และจับให้ ทันความต้องการของลูกค้าให้เร็ว ไม่ว่าจะเป็น
ณ ตำแหน่งแห่ง ที่ใด หรือในเวลาใด ที่น่าเสียดายก็คือ ธุรกิจจำนวนมากมักดำเนินธุรกิจแบบคับแคบ
และขาดความกล้าหาญ ที่จะเปลี่ยนแปลงวิธีการทำธุรกิจ เพื่อให้เกิดสิ่งที่ดีขึ้นสำหรับลูกค้า
พนักงาน และผู้ถือหุ้น
ฮาเมลระบุว่า บริษัทข้างต้นนี้จะล้มหายตายจากไปในยุคแห่งการปฏิวัติ เขาแจงเหตุผลด้วยว่า
เหตุใดบริษัท ที่รู้จักปรับตัว และปรับแนวธุรกิจ เท่านั้น ที่จะอยู่รอดต่อไป
ในยุคที่การริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่ครั้งใหญ่จะเป็น แหล่งสร้างความมั่งคั่งรอบใหม่ให้องค์กร
ฮาเมลได้ศึกษาความคิดในเชิงปฏิวัติของคนรุ่นก่อน ที่เป็นผู้นำแนว คิดริเริ่มสร้างสรรค์
ตลอดจนการพัฒนา และการบริหาร และได้ข้อสรุปดังนี้
- ยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไปจบลงแล้ว ดังนั้น ตำแหน่งหน้าที่การงานหรือภารกิจแบบเดิมจึงไม่อาจใช้กับธุรกิจแบบใหม่ได้อีก
- การปฏิวัติเกิดขึ้นด้วยการริเริ่มสร้างสรรค์แนวความคิดใหม่ทางธุรกิจ เช่น
การปรับเปลี่ยนแนวความคิดเกี่ยวกับรูปแบบธุรกิจครั้งใหญ่ในทาง ที่จะสร้างคุณค่าใหม่ให้กับลูกค้า
สร้างความประหลาดใจอย่างหนักให้กับคู่แข่ง และสร้างความมั่งคั่งรอบใหม่ให้กับผู้ลงทุน
- ความต้องการสร้างสรรค์แนวความคิดเชิงธุรกิจเกิดขึ้นเพราะการดำเนินธุรกิจแบบเดิมๆ
เช่น การรีเอ็นจิเนียริ่ง การลดต้นทุน เป็นต้น ใช้ได้ผลน้อยลง เนื่องจากแนวทางเหล่านี้ยังมุ่งเน้นไป
ที่การคงวิธีการดำเนิน ธุรกิจแบบเดิมไว้มากกว่าเน้นการเปลี่ยนแปลง
- นักกิจกรรมจะเป็นผู้ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับองค์กร ที่กำลังดิ้นรน
เพื่อปรับรูปแบบธุรกิจแบบเดิมให้มีการริเริ่มสร้างสรรค์ในเชิงแนวความคิดทางธุรกิจ
- บริษัทธุรกิจสามารถปรับตัวให้เป็นองค์กร ที่มีความริเริ่มสร้าง สรรค์ตลอดไปได้
โดยค่อยๆ เข้าไปในวงจรของการสร้างแนวคิด การทดลอง การประเมิน และการนำออกปฏิบัติ
ทั้งหมดนี้มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ยุ ค แ ห่ ง ค ว า ม ก้ า ว ห น้ า จ บ ล ง แ ล้ ว
นานทีเดียว ที่เรามักเชื่อกันว่าความก้าวหน้าเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
อายุขัยของมนุษย์จะเพิ่มขึ้น สิ่งอำนวยความสะดวกจะมีมากขึ้น ความรู้จะเพิ่มพูน
ไม่มีอะไร ที่ปรับปรุงให้ดีขึ้นไม่ได้
ความคิด ที่มุ่งไปสู่ความเจริญก้าวหน้าในทางธุรกิจก็มีมาอย่างต่อเนื่อง
เช่นกัน ที่น่าขันก็คือ คนทำงานทั่วโลกต่างก็ติดอยู่ในวงล้อของการปรับปรุง
ให้ดีขึ้นอย่างไม่สิ้นสุด หวังว่าสิ่งต่างๆ จะเคลื่อนไปเร็วขึ้น ดีขึ้น แต่แล้วกลับพบว่าตัวเองต้องดิ้นรนอย่างยากลำบากยิ่งขึ้นโดยผลที่ได้มีแต่ลดลงเรื่อยๆ
ทิศทาง ที่สวนกันเช่นนี้นับว่าเป็นตลกร้าย อย่างยิ่ง เราได้ฟังคำสัญญาว่าชีวิตจะน่าเบื่อน้อยลง
แต่แล้วก็ต้องทำงานอยู่ในโรงงาน เราได้ยินได้ฟังว่าชีวิตจะเป็นอิสระมากขึ้น
แต่ก็ต้องอยู่ภายใต้กรอบนโยบายขององค์กร เราได้ยินได้ฟังว่าจะมีโอกาส ที่จะทำสิ่งดีๆ
ให้กับผู้อื่น ได้ใช้ความ คิดสร้างสรรค์ แล้วเราก็พบกับการรีเอ็นจิเนียริ่ง
และเข้าประชุมครั้งแล้วครั้งเล่า ที่หาสาระไม่ได้
เรากำลังอยู่ในยุคแห่งการปฏิวัติ ซึ่งจะเต็ม ไปด้วยความยุ่งเหยิง โอกาส
ที่เป็นไปได้ และไม่ได้ มีพอๆ กัน การเปลี่ยนแปลงเองก็ยังเปลี่ยนไป ใน ยุคแห่งความเจริญก้าวหน้า
การเปลี่ยนแปลงเกิด ขึ้นอย่างเป็นลำดับ และน้อยครั้ง ที่จะเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปโฉมใหม่อย่างสิ้นเชิง
แต่ในยุคแห่งการปฏิวัติ บริษัทธุรกิจ ที่ค่อยๆ วิวัฒนาการตัวเองจะเดินไปสู่การสูญพันธุ์
ที่ผ่านมา ยักษ์ใหญ่ ด้านอุตสาหกรรมเคยมีเวลาในการฟื้นตัวได้ หาก ปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงไม่ทัน
เนื่องจากมีข้อได้เปรียบในหลายๆ ด้าน เช่น ชื่อยี่ห้อเป็นที่รู้จัก มีสายป่านเงินสดหมุนเวียน
มีเครือข่ายจัด จำหน่ายทั่วโลก แต่ในโลกยุคใหม่ ที่การเปลี่ยน แปลงเกิดขึ้นตลอดเวลา
บริษัท ที่พลาดพลั้งในช่วงวิกฤติอาจจะไม่มีทางลุกขึ้นยืนได้ใหม่ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
1) โมโตโรล่า ซึ่งเป็นผู้นำทางด้านธุรกิจโทรศัพท์มือถือ พลาดท่าเพราะเข้าสู่เทคโนโลยีโทรศัพท์ไร้สายระบบดิจิตอลช้าไปเพียงปีหรือสองปี
ปรากฏว่าโนเกีย ซึ่งเป็นบริษัท ที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักในขณะนั้น กลับกระโดดเข้าจับเทคโนโลยีดังกล่าว
และกลายเป็นผู้นำโลกทางด้านนี้ไปทันที
2) ระบบ R/3 ของ SAP เป็นระบบ ที่ช่วยให้ธุรกิจผนวกประสานระบบปฏิบัติการต่างๆ
เช่น การจัดซื้อ ระบบบัญชี และการผลิตเข้าด้วยกัน แต่สิ่งผิดพลาดของ R/3
ก็คือ เข้าไปใช้เว็บ เพื่อเชื่อมโยงซัปพลายเออร์กับลูกค้าช้าไป ทำให้คู่แข่งอย่างซีเบล
ซิสเต็ม และอะริบาแซงหน้าไปเป็นผู้นำแทน
จะเห็นได้ว่าผู้มาใหม่สามารถเอาชนะผู้นำเจ้าเก่าได้ด้วยความคิด ที่แหวกแนว
การคิดแบบไม่เป็นเส้นตรงคือ หลักการที่มาแทน ที่แนวคิดแบบ "ค่อยๆ ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง"
ความคิด ที่ว่า "สิ่งที่ดีขึ้นกว่าเดิมสำคัญกว่า สิ่งที่แตกต่าง" ใช้ไม่ได้อีกต่อไปแล้ว
เพราะมีแต่ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งที่แปลกแตกต่างไปเท่านั้น ที่จะนำความมั่งคั่งมาให้ได้
ก า ร ริ เ ริ่ ม ส ร้ า ง ส ร ร ค์ แ น ว ค ว า ม คิ ด ท า ง ธุ ร กิ จ
การริเริ่มสร้างสรรค์ดังกล่าวสร้างขึ้นได้โดยพิจารณา ที่แนวความคิด ทางธุรกิจ
มากกว่า ที่จะพิจารณาตัวสินค้าหรือบริการ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
1) อินเทอร์เน็ต เทเลโฟนีเป็นแนวความคิดทางธุรกิจ ที่แตกต่างเครือข่ายธุรกิจด้านเสียง
ที่มีมาโดยสิ้นเชิง โดยต้องอาศัยเทคโนโลยีแบบใหม่ การกำหนดราคาใหม่
2) ธนาคารในสหรัฐฯ ต้องสูญเสียส่วนแบ่งในตลาดการเงินเกือบครึ่ง ให้กับกิจการหน้าใหม่
อาทิ ฟิเดลลิตี้ และชาร์ลส์ ชวาบ ซึ่งเป็นบริษัทกองทุน รวม ที่มาช่วงชิงลูกค้าโดยถือว่าตนเองก็เป็นนักลงทุนเช่นกัน
3) ความสำเร็จของ "ไดเร็กต์ทีวี" เป็นผลจากรูปแบบธุรกิจ ที่ไม่เหมือนกับโทรทัศน์เครือข่าย
ที่มีอยู่เดิม ไม่ว่าจะในแง่ของช่องสัญญาณ การ เลือกชมรายการ ระบบการจ่ายค่าชมรายการตามการรับชม
เป็นต้น
ตัวอย่างข้างต้นชี้ให้เห็นว่าการริเริ่มสร้างสรรค์แนวความคิดทางธุรกิจ จะเป็นสิ่งที่สร้างความได้เปรียบเชิงแข่งขันในยุคแห่งการปฏิวัติ
โดยที่การริเริ่ม ที่ว่านี้จะต้องมาจากการมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหมายถึงการมีความ
รู้สึกต้องการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ และมีพลังแห่งการริเริ่มสร้างสรรค์ นักกิจกรรมเหล่านี้เป็นผู้เปลี่ยนแปลงรูปร่างขององค์กรทั่วโลก
พวก ที่มีแนวคิด แบบอำนาจนิยม เน้นการควบคุมไม่มีทางคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่
ส่วนผู้ที่มีความเป็นประชาธิปไตยในเชิงข้อมูลข่าวสารจะนำองค์กรไปสู่อนาคต
คิดฝัน สร้างสรรค์ สำรวจ ประดิษฐ์คิดค้น บุกเบิก จินตนาการ คำเหล่านี้คือ
คำอธิบายสิ่งที่จะต้องทำในยุคนี้ หากคุณยังไม่อยากตกยุคไปเสียก่อน
วิ ธี ส ร้ า ง ส ร ร ค์ รู ป แ บ บ ธุ ร กิ จ ใ ห ม่
ในยุคเศรษฐกิจใหม่ หน่วย ที่ใช้วิเคราะห์เรื่องความคิดริเริ่มสร้าง สรรค์ไม่ใช่สินค้าหรือเทคโนโลยี
แต่เป็นแนวความคิดทางธุรกิจ ผู้ที่จะประสบความสำเร็จสูงสุดในยุคแห่งการปฏิวัติคือ
ผู้ที่มีขีดความสามารถในการพิจารณาใคร่ครวญถึงรูปแบบธุรกิจ ที่เป็นอยู่ในทิศทาง
ที่จะสร้างมูลค่าใหม่ให้กับลูกค้า ทำให้คู่แข่งประหลาดใจอย่างหนัก และสร้างความมั่งคั่งรอบใหม่ให้กับผู้ลงทุน
เป้าหมายของการริเริ่มสร้างสรรค์แนวความคิดทางธุรกิจก็คือ การ นำความหลากหลายเชิงยุทธศาสตร์เข้าไปในอุตสาหกรรม
โดยก้าวข้ามความริเริ่มแบบค่อยเป็นค่อยไป ไปสู่การเปลี่ยนแนวความคิดเชิงธุรกิจทั้งหมด
การดำเนินการเช่นนี้จะทำให้การริเริ่มสร้างสรรค์แนวความคิดทางธุรกิจ เป็นที่เข้าใจได้ง่ายกว่าความริเริ่มสร้างสรรค์
ที่มุ่งเน้นไป ที่สินค้าหรือเทคโนโลยีตามลำพัง
ดังนั้น คุณจึงต้องพัฒนาขีดความสามารถ ในการคิดเกี่ยวกับรูปแบบธุรกิจโดยรวม
โดยอาจ จะอาศัยกรอบวิธีคิดต่อไปนี้เป็นแนวทาง
อ ง ค์ ป ร ะ ก อ บ ห ลั ก
รูปแบบธุรกิจมีองค์ประกอบสี่ส่วน คือ
- ยุทธศาสตร์หลัก องค์กรของคุณเลือก แข่งขันกับคู่แข่งอย่างไร ทิศทางการดำเนินธุรกิจ
(วัตถุประสงค์ของยุทธศาสตร์ ที่เลือก) ขอบข่ายของสินค้า และตลาด และพื้นฐาน
ที่จะสร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง ทั้งหมดนี้ ล้วนแต่เป็นองค์ประกอบ ที่รวมกันเป็นยุทธศาสตร์หลักของคุณ
การพัฒนาความคิด เพื่อการริเริ่มสร้าง สรรค์แนวความคิดทางธุรกิจทำได้โดยการถามตัวเองว่า
ทิศทางธุรกิจของคุณนั้น เหมาะสมสอด คล้องกับลูกค้าเหมือนกับ ที่เป็นมาในอดีตหรือเปล่า
คุณมีทิศทางธุรกิจ ที่มีจุดแตกต่างจากคู่แข่ง มากพอหรือไม่ คุณสามารถตอบสนองความต้อง
การของลูกค้าได้ในระดับ ที่ใกล้เคียงกับ "ระดับ ที่ครบถ้วนสมบูรณ์" โดยขยายขอบข่ายความหมายของสินค้าออกไปหรือไม่
- ทรัพยากรเชิงยุทธศาสตร์ ความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ ที่สำคัญ ตั้งอยู่บนพื้นฐานทรัพยากร
ที่จำเพาะเจาะจงสำหรับองค์กร การเปลี่ยนแปลงทรัพยากรอย่างรุนแรง เพื่อให้เกิดการแข่งขัน
จะเป็นแหล่งการริเริ่มสร้างสรรค์แนวความคิดทางธุรกิจได้ ทรัพยากรดังกล่าวได้แก่
ขีดความสามารถหลัก (สิ่งที่คุณรู้) สินทรัพย์เชิงยุทธศาสตร์ (สิ่งที่คุณมีอยู่)
และกระบวนการหลัก (สิ่งที่คุณทำจริง)
ทั้งนี้ต้องตั้งคำถาม ที่นำไปสู่การริเริ่มสร้าง สรรค์ ดังนี้ อะไรคือ ผลตอบแทนสูงสุด
ที่คุณจะใช้ ความสามารถหลักขององค์กรในการสนองความต้องการของลูกค้าได้? คุณจะนำผลตอบแทน
ที่ได้ มาไปใช้ลงทุนใหม่อย่างไร ในสถานการณ์ใหม่แบบไหน? คุณจะนำสินทรัพย์เชิงยุทธศาสตร์ของ
คุณมาใช้ในภาวการณ์ทางธุรกิจใหม่ได้หรือไม่? คุณคิดหากระบวนการหลัก ที่แตกต่างโดยสิ้นเชิง
ในการสร้างผลตอบแทนเช่นเดียวกันได้หรือไม่? เป็นต้น
- การเผชิญกับลูกค้า การมีอินเทอร์เน็ต ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาล
ผู้ผลิตจะพบกับผู้บริโภคได้ทั้งในแง่ของช่องทางในการเข้าถึงลูกค้า ข้อมูลที่ให้กับลูกค้า
วิธีบริหารการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับลูกค้า รวมทั้งโครงสร้างการกำหนดราคา
ด้วย ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงจะยังไม่หยุดเท่านี้ แต่ กลับยิ่งเพิ่มขึ้นในยุคแห่งการปฏิวัติ
หากจะริเริ่มสร้างสรรค์ในด้านต่างๆ ดังกล่าว ควรถามตัวเอง ว่า คุณสร้างกระบวนการที่จะเติมเต็ม
และสนับ สนุนลูกค้าให้ได้รับความสะดวก และสบายมากขึ้น หรือไม่? คุณให้ข้อมูลที่ลูกค้าต้องการมากพอสำหรับประกอบการตัดสินใจหรือไม่?
- เครือข่ายมูลค่า ซัปพลายเออร์ ผู้ร่วมธุรกิจ และผู้สนับสนุน ที่รายล้อมคุณถือว่า
เป็นเครือข่ายมูลค่าขององค์กรทั้งสิ้น คำถามสำหรับริเริ่มสร้างสรรค์ทางธุรกิจก็คือ
คุณใช้ซัปพลายเออร์เป็นแหล่งความริเริ่มสร้างสรรค์อย่างมีประสิทธิภาพมากแค่ไหน?
จะมีโอกาสใหม่อะไรบ้างหากสามารถ "หยิบยืม" ทรัพยากร และขีดความสามารถของบริษัทอื่นมา
และนำมาผสมผสานกับ ที่บริษัทมีอยู่เดิม?
อ ง ค์ ป ร ะ ก อ บ ส ะ พ า น เ ชื่ อ ม
องค์ประกอบทั้งสี่ข้างต้นยังเชื่อมโยงถึง กันด้วยองค์ประกอบ ที่เป็น "สะพานเชื่อม"
ดังนี้
1) โครงร่างภายนอก สิ่งที่อยู่ระหว่างยุทธศาสตร์หลักขององค์กรกับทรัพยากรเชิงยุทธศาสตร์ก็คือ
ลักษณะเฉพาะ ที่ประสานรวมขีดความสามารถ สินทรัพย์กับกระบวนการดำเนิน ธุรกิจเข้าด้วยกัน
เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์องค์กร ถามตัวเองว่าคุณจัดทำเค้าโครงแนวทางด้านสินทรัพย์
ทักษะ และกระบวนการทำงานให้มีลักษณะเด่นเฉพาะหรือไม่? คุณคิดว่ามีเค้าโครงแนวทาง
ที่แตกต่างจาก ที่คุณวางไว้อีกหรือไม่?
2) ผลประโยชน์ของลูกค้า สิ่งเชื่อมโยงระหว่างยุทธศาสตร์หลัก และการเผชิญกับลูกค้าคือ
ผลประโยชน์ ที่ให้กับลูกค้าจริง ซึ่งก็คือ การที่ความต้องการของลูกค้าได้รับการตอบสนอง
คุณกำลังให้ในสิ่งที่ลูกค้าไม่ต้องการหรือเปล่า? คุณสามารถเปลี่ยนรูปแบบผลประโยชน์จนทำให้ลูกค้ารู้สึกประหลาดใจ
แต่สร้างความคับข้องใจให้กับคู่แข่งได้หรือไม่?
3) ขอบข่ายของธุรกิจ การเชื่อมโยงระหว่างทรัพยากรเชิงยุทธศาสตร์ ขององค์กร
และเครือข่ายมูลค่าอยู่ ที่การตัดสินใจขององค์กร และสิ่งที่มอบหมายให้เครือข่ายมูลค่ารจับช่วงไปดูแล
การเปลี่ยนแปลงขอบข่ายระหว่างสิ่งที่องค์กรจะทำ เพื่อตนเองกับสิ่งที่จะจ้างผู้อื่นทำเป็นสิ่งที่สำคัญ
และจะเป็น ประโยชน์ต่อการริเริ่มสร้างสรรค์แนวความคิดทางธุรกิจได้
ศั ก ย ภ า พ ใ น ก า ร ส ร้ า ง ค ว า ม มั่ ง คั่ ง
มีปัจจัยสี่ประการที่กำหนดศักยภาพในการทำกำไรขององค์กร นั่นคือ
1) ประสิทธิภาพ มูลค่า ที่ลูกค้าตั้งไว้จากผลประโยชน์ ที่ได้รับจากธุรกิจของคุณ
ต้องเกินกว่าต้นทุนในการผลิตผลประโยชน์เหล่านั้น ขึ้นมา การริเริ่มสร้างสรรค์ในเรื่องประสิทธิภาพ
ทำได้โดยทดสอบสมมติฐานเกี่ยว กับมูลค่าของลูกค้า และเข้าใจถึงต้นทุน ที่เกิดขึ้นในการสร้างมูลค่าขึ้นมา
2) ความโดดเด่นเฉพาะ ยิ่งใช้รูปแบบธุรกิจมากมายปนกันยิ่งทำให้มีโอกาสทำกำไรได้น้อยลง
คุณจะต้องสร้างรูปแบบธุรกิจสักแบบ ที่มีความโดดเด่นเฉพาะตัวทั้งในแง่ของแนวความคิด
และการปฏิบัติ ดังนั้น จึงควรกำหนดประเด็นของความแตกต่างขององค์ประกอบของแนวความคิดหลักๆ
ไว้รวมทั้งผลประโยชน์ ที่จะเกิดขึ้นกับลูกค้า
3) ความลงตัว แนวความคิดทางธุรกิจต้องมีความต่อเนื่องภายใน ซึ่งองค์ประกอบย่อยๆ
ทำงานร่วมกันภายใต้เป้าหมายเดียวกัน
4) การเพิ่มพูนกำไร คุณต้องรู้ว่ารูปแบบธุรกิจของคุณนั้น สร้างกำไรได้จริงหรือไม่
คุณควรรวมเอาวิธีการสร้างกำไรไว้ในแนวความคิดทางธุรกิจของคุณด้วย เช่น การกันคู่แข่งออกไป
การสร้างการประหยัดตามขนาด จากการใช้ยุทธศาสตร์ และการสร้างความยืดหยุ่นในเชิงยุทธศาสตร์
เป็นต้น
จ ะ ส ร้ า ง ค ว า ม ปั่ น ป่ ว น อ ย่ า ง ไ ร ดี
แต่ละวัน องค์กรธุรกิจต้องอยู่ในสภาพปกป้องตัวเอง ในขณะที่ดิ้นรนปรับตัวจากรูปแบบธุรกิจแบบเก่าไปสู่รูปแบบใหม่
ที่พยายามคิดสร้าง สรรค์ขึ้น แต่ดูเหมือนว่าอนาคตไม่เคยมาถึงเสียที อย่างไรก็ตาม
มีวิธีการเป็นขั้นเป็นตอนในการสร้างกิจกรรมใหม่ๆ ให้องค์กรมีการเคลื่อนไหว
เปลี่ยนแปลงอย่างริเริ่มสร้างสรรค์ ดังนี้
ขั้น ที่ 1 สร้างมุมมอง การเป็นนักสร้างกิจกรรมต้องมีมุมมอง ที่บอกได้ว่าอะไรบ้าง
ที่กำลังเปลี่ยนแปลง และรู้ว่าจะสร้างโอกาสในการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้อย่างไร
รวมทั้งใช้แนวความคิดทางธุรกิจแบบไหนในการสร้างกำไรจากการเปลี่ยนแปลง มุมมอง
ที่ว่านี้ต้องมีข้อมูลสนับ สนุน ที่เชื่อถือได้ ต้องมีความต่อเนื่องของการใช้องค์ประกอบต่างๆ
และมีลักษณะจับใจผู้ฟัง นำไปสู่การสร้างรายได้
ขั้น ที่ 2 เขียนคำประกาศหลักการ โดย
1) สาธิตให้เห็นถึงเหตุผลที่ต้องลงมือดำเนินการ 2) พูดถึงความต้องการของมนุษย์
ที่ไม่เคยหยุดยั้ง นั่นคือ ทำไมจึงต้องใส่ใจเรื่องนี้ 3) กำหนดแนวการปฏิบัติให้ชัดเจน
ตั้งแต่จุดตั้งต้น และ 4) บอก ให้รู้ว่าคนในองค์กรจะเข้ามีส่วนร่วมมือกันได้อย่างไร
ขั้น ที่ 3 สร้างกลุ่มแนวร่วม อย่าลืมว่าคุณคนเดียวไม่อาจผลักดันแนวความคิดให้สำเร็จ
ลุล่วงได้ ควรมองหาคนที่มีศักยภาพ และจะเข้าร่วมกับคุณในการทำให้การริเริ่มสร้างสรรค์กลาย
เป็นความจริง
ขั้น ที่ 4 เลือกเป้าหมาย และจังหวะเวลาในการพูดคุยทำความเข้าใจ มองหาคนที่เห็นพ้อง
กับแนวทางของคุณอย่างจริงจัง และหาทางพูดคุย เป็นส่วนตัวกับพนักงานในเรื่องแนวคิดต่างๆ
โดย ต้องพูดให้สั้นกระชับ และเข้าใจง่าย
ขั้น ที่ 5 หาคนร่วมทาง และยึดความเป็น กลาง คุณอาจต้องหาใครมาช่วยในการดำเนินการ
และอาจเป็นคนมีตำแหน่งสูงพอสมควร เพื่อให้ดำเนินการได้สะดวก พยายาม หาทางสร้างสถานการณ์
ที่ทำให้ผู้เกี่ยวข้องต่างเป็นผู้ชนะหรือได้ประโยชน์ด้วย กันทั้งสองฝ่าย
ขั้น ที่ 6 หาล่าม หาใครสักคนที่เข้าใจสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อาจเป็นพนักงานอาวุโสหรือผู้บริหาร
ที่แต่งตั้งขึ้นใหม่ ซึ่งได้ศึกษามุมมองการเปลี่ยนแปลงมาอย่างดีแล้ว จากนั้น
มอบหมายให้คนผู้นี้เป็นผู้สื่อสารแนวคิด ไปยังส่วนอื่นๆ ขององค์กรรวมทั้งผู้บริหารระดับสูง
ขั้น ที่ 7 เอาชนะในจุดเล็กๆ ให้รวดเร็ว และบ่อยครั้ง สาธิตให้เห็นว่า ความคิดของคุณนั้น
นำไปปฏิบัติจริงได้อย่างไร โดยเริ่มจากโครงการเล็กๆ และปรับปรุงให้ดีขึ้นเป็นขั้นๆ
และร้อยเรียงกันจนประสบความสำเร็จ
ขั้น ที่ 8 ดึงแนวความคิดออกมาให้เห็นเด่นชัด กระจายแทรกซึม และผนวกประสาน
การทดลอง ที่เป็นเพียงการทดลองนั้น มีแต่จะนำความล้มเหลวมาให้ คุณต้องโน้มน้าวให้ผู้บริหารระดับสูงในวงกว้างให้เห็นว่าแนว
ความคิดของคุณนั้น มีความสำคัญต่ออนาคตขององค์กร จากนั้น กระจายแนว ความคิดให้องค์กรเข้าใจร่วมกันโดยอาจนำเสนอในรูปของเอกสาร
โครงงาน และการพรีเซ็นเตชัน เพื่อให้คนในองค์กรมีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนแนว ความคิดกับคุณ
และจัดสรรทรัพยากร เพื่อทำให้แนวความคิดเป็นจริงในทาง ปฏิบัติ
นั ก ป ฏิ วั ติ รุ่ น ล า ย ค ร า ม
โดยส่วนใหญ่แล้ว องค์กร ที่เคยมีวิสัยทัศน์ก้าวไกลมักประสบความสำเร็จเพียงครั้งเดียว
ยิ่งในยุคเศรษฐกิจใหม่องค์กรเหล่านี้กลับไม่รู้ว่าจะริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่ให้ต่อเนื่องได้อย่างไร
ทั้งนี้ส่วนหนึ่งก็เพราะยังติดยึดอยู่กับความสำเร็จ ในอดีตของตนเองนั่นเอง
นักปฏิวัติรุ่นลายครามมีการจัดการที่จะปรับปรุงตัวเอง และธุรกิจของตนมากกว่าหนึ่งครั้ง
การได้ชื่อว่ารุ่นลายครามจึงไม่ใช่เพียงเพราะวัยอาวุโส แต่มาจากประสบการณ์การใช้ชีวิตภายใต้ยุทธศาสตร์แบบ
"ตลอดชีวิต" คนกลุ่มนี้จึงสามารถนำพาความสำเร็จให้องค์กรได้ครั้งแล้วครั้งเล่า
ชาร์ลส์ ชวาบ เป็นตัวอย่างหนึ่งของนักปฏิวัติรุ่นลายคราม บริษัทโบรกเกอร์แห่งนี้สร้างความแปลกใหม่ให้กับธุรกิจโบรกเกอร์
โดยเริ่มจากการตัดค่าธรรมเนียมจาก ที่เคยเรียกเก็บสูงลิ่ว จากนั้น ก็ทำการปฏิวัติครั้ง
ที่สองโดยจัดตั้ง "One Source" ซึ่งเป็นกองทุนรวมแบบซูเปอร์มาร์เก็ตคือ ให้นักลงทุนเลือกลงทุนในกองทุนได้นับพัน
แห่ง ยิ่งกว่านั้น การเป็นผู้นำโบรกเกอร์ออนไลน์ยังทำให้ชวาบเป็นองค์กรปฏิวัติรุ่นลายครามตัวจริง
โดยมีลูกค้าทางอินเทอร์เน็ต 3 ล้านราย และ มีสินทรัพย์ออนไลน์รวมกว่า 260
พันล้านดอลลาร์ ซึ่งส่งผลให้ชวาบเป็นโบรกเกอร์ ที่ให้บริการได้เต็ม รูป กรณีของชวาบนี้จะเห็นได้ว่าแนวความคิด
ทางธุรกิจ ที่ริเริ่มสร้างสรรค์ขึ้นมานั้น เกิดจากพื้นฐานความคิดดังต่อไปนี้
1) มีความทะเยอทะยานอย่างแรงกล้า ที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ในแง่การเติบโต
นับตั้งแต่ปี 1993-1998 รายได้ของบริษัทเพิ่มขึ้นในอัตรา 23% ต่อปี ส่วนกำไรเติบโตในอัตรา
24% ในช่วงเวลาเดียวนั้น นี้ ราคาหุ้นก็ทะยานขึ้น 1,072% เปรียบเทียบกับของเมอร์ริล
ลินช์ ที่เพิ่ม 218% และเอสแอนด์พี 500 ที่เพิ่ม 164%
2) การทำงานโดยยึดหลักพิจารณา ที่ความ ต้องการของลูกค้ามากกว่าการคิดจากกระบวน
การ และบริการที่มีอยู่เดิมออกไป นั่นคือ ชวาบไม่ได้มองว่าลูกค้านั้น ไม่รู้อีโหน่อีเหน่เรื่องกำไร
แต่เป็นผู้เฉลียวฉลาด และรู้จักเลือกสรร ชวาบจึงไม่หลอกลวงลูกค้าด้วยเรื่องค่าธรรมเนียม
และการดำเนินการ
3) มีความมุ่งมั่น ที่จะริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่โดยไม่คำนึงว่า ความคิดที่ดีจะต้องมาจากพนักงานในระดับใด
อีกทั้งมีระบบการให้รางวัลตอบ แทนแก่พนักงาน ที่มีความคิดสร้างสรรค์ด้วย
ก ฎ ใ น ก า ร ส ร้ า ง ส ร ร ค์ สิ่ ง ใ ห ม่
บทบาทอันสลับซับซ้อนของตลาดที่รวมกันเป็นเศรษฐกิจโลก และความหลากหลายของอินเทอร์เน็ตแสดงให้เห็นว่าจะสร้างระเบียบแบบแผนขึ้นได้อย่างไร
ในท่ามกลางการไม่มีการควบคุมอำนาจจากส่วนกลาง วิธีการหนึ่งก็คือ การเตรียมเงื่อนไขพื้นฐาน
เพื่อรองรับการริเริ่มสร้างสรรค์ โดยพิจารณาจากกฎ 10 ประการดังนี้
1. การคาดหมาย ที่ไม่มีเหตุผล คนในองค์กรมักคิดกันว่าอัตราการเติบโตต่อปีคือ
เพดานสูงสุด ที่พนักงานจะคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เช่น
หากคาดหมายว่าอัตราการเติบโตต่อปีอยู่ ที่ 5 หรือ 10% ทุกคนก็จะคิดกันว่าอัตราดังกล่าวเป็นอัตราสูงสุด
ที่ทุกคนทำได้ แต่หากคุณตั้งเป้าหมายให้สูงกว่านั้น บริษัทก็จะคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ได้สูงกว่าเพดาน
และทำซ้ำได้อีกครั้งแล้วครั้งเล่า
2. นิยามธุรกิจแบบยืดหยุ่น หากองค์กรของคุณผูกติดอยู่กับแนวความคิดแบบคับแคบ
การเปลี่ยนแปลงอาจเป็นเรื่อง ที่ทำได้ยาก กรอบความ คิดแบบนี้ใช้ไม่ได้เลยกับองค์กรอย่างบริษัทเวอร์จิน
ซึ่งขยายอุตสาหกรรมออกไปอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยว แพ็กเกจฮอลิเดย์
ธุรกิจ ค้าปลีก ธนาคาร และการกระจายเสียงวิทยุ จะเห็นได้ว่าเวอร์จินมองหาโอกาสธุรกิจใหม่ๆ
แบบไม่มีเงื่อนไขจำกัดอยู่เสมอเพราะมีแนวความคิดทางธุรกิจ ที่ยืดหยุ่น
3. ต้นเหตุไม่ใช่ ที่ธุรกิจ นักริเริ่มสร้างสรรค์ แบบปฏิวัติต้องสร้างความแข็งแกร่ง
โดยก้าวข้าม พ้นทั้งในเรื่องอัตราเติบโต และกำไร หากไม่มีจุดประสงค์ ที่ชัดเจน
พนักงานก็จะขาดความกล้าหาญ ที่ทำตัวเป็นนักปฏิวัติ บริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่อย่างเอ็นรอนมีทิศทางการดำเนินการ
โดยไม่ยอมจมอยู่กับการดำเนินธุรกิจโดยให้รัฐเป็นผู้ผูกขาด เอ็นรอนจึงขยายกิจการอย่างริเริ่มสร้าง
สรรค์โดยมุ่งเน้นไป ที่การให้ความสำคัญกับความ ต้องการของลูกค้าเป็นหลัก
4. ความคิดเห็นใหม่ๆ หากผู้บริหารอาวุโส ต้องการยุทธศาสตร์แบบปฏิวัติ ต้องเรียนรู้
ที่จะรับฟังเสียงของผู้ที่มีแนวคิดแบบปฏิวัติ โดยจะต้อง
- ฟังเสียงคนรุ่นใหม่ อย่ากีดกันคนรุ่นใหม่ ที่มีความสำคัญต่ออนาคตขององค์กร
ในการมีส่วนร่วมสร้างสรรค์ยุทธศาสตร์ขององค์กร
- ฟังเสียงคนที่อยู่รอบนอก การสร้าง สรรค์สิ่งใหม่จำเป็นต้องอาศัยความคิดเห็นของคนที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางหรือสำนักงานใหญ่ด้วย
อย่าลืมว่ายิ่งอยู่ห่างจากสำนักงานใหญ่เท่าไร พนักงานยิ่งมีทรัพยากรจำกัด
คนกลุ่มนี้จึงต้องดิ้นรนมาก และมีแรงผลักดันให้คิดสร้างสรรค์มากขึ้น
- ให้คนใหม่ๆ มีโอกาสพูดบ้าง คราวต่อไป ที่มีการประชุมในเรื่องยุทธศาสตร์องค์กรหรือการริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่
ต้องแน่ใจว่าครึ่ง หนึ่งของผู้เข้าร่วมประชุมไม่เคยได้รับเชิญให้เข้าร่วมประชุมเรื่องนี้มาก่อน
การทำเช่นนี้เป็นการเปิดโอกาสให้มีการสร้างแนวความคิดทางธุรกิจแบบปฏิวัติขึ้นมาได้
5. เปิดกว้างให้กับความคิดใหม่ สร้างสปิริตในการเป็นผู้ประกอบการให้เกิดขึ้นในองค์กรได้อย่างเสรี
โดยสร้างตลาดความคิด ที่มีการเคลื่อนไหวแลกเปลี่ยนกันภายในองค์กร ทลายกำแพงองค์กร
ที่เป็นอุปสรรคความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เสีย
6. เปิดกว้างให้กับการลงทุน อย่าสร้างอุปสรรคให้กับโครงการใหม่ ที่มีความริเริ่มสร้าง
สรรค์ ใช้ได้อย่างยั่งยืน และสามารถเก็บเกี่ยวกำไรได้ในอนาคต
7. เปิดโอกาสให้กับคนมีความสามารถ องค์กร ที่ต้องการโอกาสในการริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่
ต้องสร้างแรงจูงใจดึงดูดคนมีความสามารถให้ได้ หากคุณให้งาน ที่ท้าทายมีชีวิตชีวาพร้อมกับผลตอบแทนที่ดี
คนกลุ่มนี้จะอยู่กับคุณนาน
8. การทดลอง ที่มีความเสี่ยงน้อย การเป็นนักปฏิวัติไม่ได้หมาย ความว่าจะต้องเผชิญกับความเสี่ยงสูงมาก
จงมีความกล้าแต่ต้องรู้ว่าจะจัดการกับสิ่งที่ตามมาอย่างไรด้วย
9. แผนกงานแบบรวงผึ้ง องค์กร ที่มีความริเริ่มสร้างสรรค์ไม่ใช่องค์กรเดี่ยว
แต่จะต้องมีการแบ่งซอยหน่วยงานเป็นหน่วยงานแนวปฏิวัติย่อยๆ จำนวนมาก หากองค์กรใดหยุดการแบ่งส่วนงานความคิดสร้างสรรค์
ก็จะตายไป และการเติบโตจะลดลง เมื่อครั้ง ที่เวอร์จิน เรคอร์ด เริ่มเฉื่อยชา
ริชาร์ด แบรนสตัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารได้ให้ผู้ช่วยผู้บริหารสามคนเป็นแกนกลางตั้งบริษัทใหม่
ปัจจุบัน เวอร์จินแม้จะเป็นบริษัทธุรกิจเทป ซีดีอิสระใหญ่ที่สุดในโลก แต่ไม่ได้ทำตัวเป็นบริษัทใหญ่ทั่วไป
10. สะสมความมั่งคั่งส่วนบุคคล หากต้องการรักษาสปิริตแบบผู้ประกอบการภายในองค์กรไว้
คุณต้องตอบแทนแก่คนในองค์กรเหมือนเป็นผู้ประกอบการ ในปี 1998 เอสเอพีไม่ยอมปฏิบัติตามแผนกระจายหุ้นให้กับพนักงาน
ผลก็คือ กิจการเริ่มเสื่อมถอยลงตามลำดับ
ห น ท า ง ใ น ก า ร ริ เ ริ่ ม ส ร้ า ง ส ร ร ค์ สิ่ ง ใ ห ม่
นอกจากกฎ 10 ประการแล้ว การสร้างสรรค์แนวความคิดทางธุรกิจยังต้องอาศัยหลักอีก
4 ประการดังนี้
- ทักษะ องค์กรไม่มีทางเป็นผู้นำการปฏิวัติทางธุรกิจได้หากพนักงาน ไม่มีจิตใจ
และทักษะความชำนาญ ที่นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับการปฏิวัติทางธุรกิจ พนักงานจะต้องเข้าใจถึงบทบาทของการปฏิวัติในการสร้างความมั่งคั่งให้กับองค์กรโดยรวม
รวมทั้งต้องสามารถสร้างแนวความคิดทางธุรกิจ ใหม่ขึ้นมา และปรับเปลี่ยนแนวความคิดเดิมเสียใหม่
นอกจากนั้น พนักงาน ยังจะต้องรู้วิธีการประยุกต์กฎเกณฑ์การสร้างความริเริ่มสร้างสรรค์
จากส่วนงาน ที่ตนรับผิดชอบด้วย
- มาตรวัด องค์กรจะต้องมีเครื่องมือ และวิธีการวัดความริเริ่มสร้างสรรค์
และผลการดำเนินงานของแต่ละคน รวมทั้งมีการเปรียบเทียบกับคู่แข่งในเชิงการริเริ่มสร้างสรรค์ด้วย
- เทคโนโลยีข้อมูล คุณต้องมีเครือข่ายการริเริ่มสร้างสรรค์ ซึ่งอาจรวมไปถึงข้อมูลที่จะช่วยพนักงานจัดความคิดให้เป็นรูปร่างมีกรอบแนวทาง
ที่ชัดเจน รวมทั้งมีกระบวนการที่ช่วยให้พนักงานปรับแนวความคิดดังกล่าว ให้สอดคล้องกับความพยายามของตนเอง
- กระบวนการ องค์กร ที่รีเอ็นจิเนียกระบวนการดำเนินธุรกิจหลักให้มีประสิทธิภาพ
จะต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการบริหารหลักอีกครั้ง เพื่อ ให้เกิดความริเริ่มสร้างสรรค์
ทั้งนี้จะต้องมีวัตถุประสงค์ ที่ระบุได้ ปราศจาก อคติ และเปลี่ยนจุดมุ่งเน้นไปเป็นการคิดสร้าง
สรรค์แบบไม่เป็นเส้นตรง และเน้นสร้างความมั่งคั่ง
ว ง จ ร แ ห่ ง
ก า ร ริ เ ริ่ ม ส ร้ า ง ส ร ร ค์
การริเริ่มสร้างสรรค์เป็นกระบวนการที่เคลื่อนไหวอยู่ตลอด และเป็นการเคลื่อนไหวทาง
ความคิด ที่มาจาก IDEAS ซึ่งย่อมาจาก
1. การใช้จินตนาการ (Imagining) ถึงโอกาสความเป็นไปได้ใหม่ๆ
2. การออกแบบ (Designing) รูปแบบธุรกิจ ที่มีความต่อเนื่องโดยยึดอยู่กับแนวความคิดดังกล่าว
3. การทดลอง (Experiment) หรือทดสอบในระดับย่อยว่าแนวความคิดทางธุรกิจนั้น
ใช้ได้จริงหรือไม่ โดยสร้างฐานรองรับแนวความคิดเหล่านั้น
4. จัดลำดับ (Scaling) หรือวัดว่าจะให้ผลลัพธ์ ที่แข็งแกร่งหรือไม่ จากนั้น
เข้าสู่วงจรการ ทดลองรอบใหม่หากต้องประเมินผลเพิ่มเติม
บริษัท ที่ผลักดันให้วงจรแห่งการริเริ่มสร้างสรรค์เคลื่อนไปได้เร็ว จะสร้างความมั่งคั่งรอบใหม่ให้กับตนเองได้เร็วขึ้น
นักริเริ่มสร้าง สรรค์จึงต้องรู้ถึงวิธีสนับสนุนความคิดสร้าง สรรค์โดยใช้แนวความคิดทางธุรกิจ
ที่สอดคล้องกัน และสร้างกำไรได้ ตรงนี้เอง ที่เป็นจุดแตกต่างระหว่างการมีความคิดฟุ้งซ่านมากมาย
กับการมีความคิดเชิงยุทธศาสตร์ ที่สอดคล้องเชื่อมโยงกัน
ยิ่งบริษัทเข้าไปในวงจรแห่งการทดลอง การประเมิน และการปรับให้เข้ากับแนวความคิด
ทางธุรกิจได้เร็วเท่าไร บริษัทนั้น ก็จะยิ่งแก้ไขจุดอ่อนหรือความผันผวนทางด้านแนวความคิดได้เร็วขึ้น
อีกทั้งสามารถเปลี่ยนแนวความคิดดังกล่าวให้เป็นความพยายาม ที่เป็นไปได้ และสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ
แต่ทั้งนี้องค์กรต้องให้ลูกค้ามีบทบาทร่วมในการผลักดันแนวความคิดทางธุรกิจให้เกิดผลขึ้นมา
รวมทั้งช่วยให้บริษัทสามารถระบุปัญหา และโอกาสด้วย ในยุคแห่งการปฏิวัติ มีแต่วิธีนี้เท่านั้น
ที่คุณจะสามารถยืนนำหน้าในด้านการคิดริเริ่มสร้างสรรค์
พ อ ร์ ต โ ฟ ลิ โ อ แ ห่ ง ก า ร คิ ด ริ เ ริ่ ม ส ร้ า ง ส ร ร ค์
เมื่อผู้บริหารระดับสูงมองว่าบริษัทเป็นพอร์ตโฟลิโอทางธุรกิจ ก็มักจะนำแนวคิดเชิงเหตุผล
ในเรื่องการลงทุนพอร์ตโฟลิโอมาทดลองใช้กับแนวความคิดเชิงธุรกิจ (เช่น การลดความเสี่ยงโดยกระจายการลงทุน)
แต่อย่าลืม ว่าความคิดใหม่ใช่ว่าจะเป็นแหล่งสร้างขุมทรัพย์ได้เสมอไป ในบางแง่มุมแล้ว
การมีอคติต่ออะไรบางอย่างโดยคำนึงถึงด้านลบบ้าง อาจช่วยให้องค์กรไม่ต้องเจอสถานการณ์กลับทิศกลับทาง
ที่ต้องประหลาดใจจนเกินไป
ไม่มีทาง ที่ใครจะสร้างความมั่งคั่งขึ้น โดยไม่เริ่มต้นจากการสร้าง แล้วลงทุนในพอร์ตโฟลิโอแห่งการคิดริเริ่มสร้างสรรค์
จากนั้น จึงจัดลำดับความคิดสร้างสรรค์แล้วลงทุนรอบใหม่อย่างสร้างสรรค์ และน่าตื่นเต้น
เมื่อพิจารณาในแง่นี้แล้ว พอร์ตโฟลิโอด้านความคิดสร้างสรรค์จึงแบ่งออกเป็นพอร์ตโฟลิโอย่อยสามพอร์ตด้วยกันคือ
- พอร์ตโฟลิโอด้านความคิด การใช้จินตนาการ และออกแบบเป็นขั้นตอนในกระบวนการริเริ่มสร้างสรรค์
ที่อยู่ในพอร์ตโฟลิโอด้านความคิดหรือความเป็นไปได้ ซึ่งได้แก่ แนวความคิดทางธุรกิจ
ที่ยึดไว้แล้วสร้างเสริม ให้แข็งแกร่งก่อนจะนำออกใช้ในเวลา ที่เหมาะสม
- พอร์ตโฟลิโอด้านการทดลอง ความคิด ที่กลับทิศทางเปิดโอกาสให้สร้างรายได้เพิ่มขึ้น
และได้รับการสนับสนุนจากผู้ที่เห็นด้วยอย่างเต็มที่ จัดว่าเป็นพอร์ตโฟลิโอด้านการทดลอง
ความคิดทุกๆ 1,000 ความคิด อาจ จะมีหนึ่งในสิบ ที่มีพลังพอ ที่จะผลักดันเข้าสู่การทดลองต่อไป
พอร์ตโฟลิโอ ที่มีความคิด 1,000 ความคิด จึงทำให้มีพอร์ตโฟลิโอด้านการทดลองถึง
100 การทดลอง
- พอร์ตโฟลิโอด้านการลงทุน เมื่อคุณระบุ และลดความเสี่ยงทางด้านการตลาด
และเทคโนโลยีในขั้นของการทดลองได้แล้ว คุณต้องเน้นไป ที่ความเป็นไปได้ของกำไร
และรูปแบบการดำเนินการ นอกจากนั้น ยังอาจ มองหาผู้ร่วมธุรกิจ ที่จะสนับสนุนทางด้านการเงิน
ทักษะความชำนาญ และสินทรัพย์ (ในกรณี ที่ไม่อาจหาได้จากภายในองค์กร) ด้วย
จากนั้น ต้องประเมินขนาดในเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อ ที่จะยึดครอง ตลาดให้ได้ก่อนคู่แข่ง
ขั้นตอนนี้จึงเป็นขั้น ที่คุณต้องตัดสินใจด้วยว่าจะดำเนินการลงทุนทางธุรกิจ
โดยลำพังหรือขายไลเซนส์ให้กับบริษัทอื่น หรือแยกออกไปเป็นธุรกิจต่างหาก
วิ ธี ก า ร ริ เ ริ่ ม ส ร้ า ง ส ร ร ค์โ ด ย ร ว ม
วิธีการริเริ่มสร้างสรรค์โดยรวมจะช่วย ให้คุณมีภาระผูกพันกับการริเริ่มสร้างสรรค์ในประเด็นใหม่ๆ
โดยที่ประเด็นหนึ่งก็คือ การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องควบคู่ไปกับการริเริ่มสร้างสรรค์แบบไม่เป็นเส้นตรง
และการปรับปรุงกระบวนการผลิต และสินค้าควบคู่ไปกับการริเริ่มสร้างสรรค์แนวความคิดทางธุรกิจ
หากคุณพร้อม ที่จะลงมือปฏิบัติตามวิธีการสร้างสรรค์ใหม่แล้ว คุณย่อมรู้ว่าควรจะเริ่มต้นเสียแต่เดี๋ยวนี้
หรือรอคอยแล้วสู้แบบตั้งรับด้านหลัง