Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTVผู้จัดการรายวัน9 มิถุนายน 2552
กองทุนสำรองฯแย่นายจ้าง-ลูกจ้างหด             
 


   
search resources

Funds




นายจ้าง-ลูกจ้างกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหด สวนทางเงินลงทุนพุ่ง เผยเดือนเมษายนสินทรัพย์รวมทั้งอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้นกว่า 8,586.41 ล้านบาท หลังได้อานิสงส์ดัชนีหุ้นไทยทะยาน สมาคมบลจ. ไม่หยุดความพยายาม เดินหน้าหารือ สศค. อธิบายเหตุผลขอหยุดส่งเงินเข้ากองทุน

รายงานข่าวจากสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคม บลจ.) เปิดเผยถึงตัวเลขเงินลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเดือนล่าสุด (สิ้นสุด เมษายน 2552) ว่า ในแง่ของเงินลงทุน ยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้านี้ โดยได้อานิสงส์จากการที่ดัชนีหุ้นไทยปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังเงินลงทุนต่างชาติไหลเข้ามาลงทุนในภูมิภาคเอเชียรวมถึงไทยด้วย ซึ่งจากปัจจัยบวกดังกล่าว ทำให้จำนวนเงินลงทุนทั้งอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นประมาณ 8,586.41 ล้านบาทมาอยู่ที่ 479,922.18 ล้านบาท จากเงินลงทุนรวม 471,335.77 ล้านบาทในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าเงินลงทุนจะเพิ่มขึ้นแต่หากดูตัวเลขนายจ้างและจำนวนสมาชิกซึ่งเป็นลูกจ้างแล้ว จะพบว่า มีการปรับลดลงสวนทางจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว ซึ่งเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจ ที่เป็นปัจจัยชะลอการขยายตัวของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เนื่องจากนายจ้างและลูกจ้างบางส่วนขอถอนตัวออกจากกองทุน เพราะไม่สามารถจ่ายเงินเข้ากองทุนอย่างต่อเนื่องได้ ประกอบกับการลดจำนวนพนักงานหรือเลิกกิจการน่าจะส่งผลกระทบต่อจำนวนนายจ้าง และจำนวนสมาชิกในระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเช่นกัน โดยจำนวนสมาชิกในเดือนเมษายนเริ่มลดลงหลังจากที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตลอด ล่าสุด จำนวนนายจ้างอยู่ที่ 10,017 ราย ลดลงจากเดือนก่อนซึ่งมีจำนวนนายจ้างรวม 10,028 ราย ส่วนจำนวนสมาชิกมีทั้งหมด 2,049,500 ราย ลดลงจากเดือนก่อนเช่นกันซึ่งมีจำนวนสมาชิกทั้งสิ้น 2,061,400 ราย

ทั้งนี้ จากผลกระทบของปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้สมาคมบริษัทจัดการลงทุน ทำหนังสือถึงหน่วยงานกำกับดูแล เพื่อขอให้บริษัทนายจ้างสามารถหยุดส่งเงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นการชั่วคราว 6 - 12 เดือนได้ เพื่อช่วยลดการยุบเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เช่นเดียวกับในต่างประเทศโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา โดยข้อมูลล่าสุดพบว่า นับตั้งแต่เดือนพ.ย. 51 – มี.ค. 52 มีนายจ้างที่เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพประสบปัญหาถึงขั้นต้องยกเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือปรึกษาเพื่อขอลดเงินสมทบกว่า 200 บริษัท คิดเป็นเม็ดเงินประมาณ 5 พันล้านบาท ทั้งนี้ ตัวเลขดังกล่าวเพิ่มขึ้นจากที่สมาคมฯ รวบรวมก่อนหน้านี้ ณ วันที่ 17 ก.พ.52 มีเพียง 150 บริษัท มูลค่าสินทรัพย์สุทธิ 3,461.67 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้มีข่าวอย่างไม่เป็นทางการจากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)ซึ่งเป็นหน่วยงานที่กำกับดูแลออกมาว่า ไม่เห็นด้วยกับการหยุดส่งเงินชั่วคราว โดยเสนอให้ลดสัดส่วนลงให้อยู่ในระดับ 2-15% แทน ซึ่งเรื่องนี้ นางวรวรรณ ธาราภูมิ นายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน กล่าวว่า ทางสมาคมบลจ.เอง ยังคงพยายามที่จะผลักดันต่อไป โดยในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เอง ก็เห็นด้วยกับการหยุดส่งเงินเข้ากองทุนชั่วคราวเช่นกัน ซึ่งหลังจากนี้ จะเข้าไปหารือและอธิบายเหตุผลให้ทาง สศค. ฟังอีกครั้ง ส่วนจะตัดสินใจอย่างไรนั้น คงขึ้นอยู่กับสศค. ซึ่งเราเองคงต้องเคารพการตัดสินใจ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับบรรยากาศการแข่งขันในอุตสาหกรรมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเอง ยังคงดุเดือดเช่นเดียวกับช่วงที่ผ่านมา โดยเป็นการโยกย้ายสับเปลี่ยนบริษัทจัดการกองทุนเป็นหลัก ซึ่งส่วนแบ่งการตลาด (มาร์เกตแชร์) ล่าสุด พบว่าอันดับหนึ่งมีการเปลี่ยนแปลง โดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไทยพาณิชย์ จำกัด ขยับขึ้นจากอันดับ 3 มาเป็นอันดับหนึ่ง ด้วยเงินลงทุนรวม 71,718.36 ล้านบาท โดยมีเงินลงทุนเพิ่มขึ้นกว่า 11,609.50 ล้านบาท จากเดือนก่อนหน้านี้ซึ่งมีเงินลงทุน 60,108.85 ล้านบาท ทั้งนี้ บลจ.ไทยพาณิชย์ ได้เงินของทุนของบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCC มาบริหาร

อันดับ 2 บลจ.กสิกรไทยแชมป์เก่า มีเงินลงทุนรวม 66,227.61ล้านบาท เพิ่มขึ้นเล็กน้อยประมาณ 1,336.58 ล้านบาท อันดับ 3 บลจ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน) ด้วยเงินลงทุนรวม 62,039.47 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 1,584.62 ล้านบาท อันดับ 4 บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) ด้วยเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 60,008.86 ล้านบาท คิดเป็นจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น 1,042.59 ล้านบาท อันดับ 5 บลจ.ทิสโก้ ด้วยเงินลงทุนรวม 59,499.94 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 1,494.39 ล้านบาท

อันดับ 6 บลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งมีสินทรัพย์ลดลงสูงถึง 8,325.29 ล้านบาท มาอยู่ที่ 44,261.34 ล้านบาท ทั้งนี้ การลดลงดังกล่าวน่าจะเป็นการโยกย้ายบริษัทจัดการระหว่างกันเอง อันดับ 7 ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ด้วยสินทรัพย์รวม 38,421.57 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 1,628.37 ล้านบาท อันดับ 8 บริษัท อเมริกันอินเตอร์เนชั่นแนลแอสชัวรันส์ จำกัด มีเงินลงทุนลงทุนรวม 15,116.76 ล้านบาท ลดลงประมาณ 1,325.29 ล้านบาท อันดับ 9 บลจ.ฟินันซ่า มีเงินลงทุนรวม 12,376.04 ล้านบาท และอันดับ 10 บลจ.อยุธยา ด้วยเงินลงทุนรวม 10,805.18 ล้านบาท   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us