|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ในช่วงเศรษฐกิจขาลงแบบนี้ การท่องเที่ยวมักถูกเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆในการตัดทิ้งออกไปสำหรับค่าใช้จ่ายของคนส่วนใหญ่ ส่งผลทำให้ผู้ประกอบการทุกธุรกิจท่องเที่ยวต่างงัดสารพัดกลยุทธ์เพื่อจูงใจให้นักท่องเที่ยวกลับมาเดินทางท่องเที่ยวกันอีกครั้ง และสูตรสำเร็จที่ผู้ประกอบการนิยมนำมาใช้คงจะหนีไม่พ้นเรื่องของการลดราคาสินค้าทางการท่องเที่ยว!!
เพียงหวังจะกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวเกิดอารมณ์ในการจับจ่ายได้อย่างรวดเร็ว และตรงกลุ่มเป้าหมายที่สุด
ปัจจุบันกลยุทธ์การตลาดดังกล่าวได้ลุกลามกลับเข้าสู่ธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำหรือ โลว์คอสต์ แอร์ไลน์เส้นทางบินภายในประเทศอีกครั้งหลังจากที่เหินห่างการใช้กลยุทธ์แบบนี้ไประยะหนึ่ง
ว่ากันว่ากลยุทธ์ราคานั้นเปรียบเสมือนดาบสองคมที่ทำให้สายการบินต้องเจ็บตัวเช่นกัน เพราะผู้โดยสารส่วนใหญ่มักจะรอ 'ซื้อ' ในช่วงที่มีการดัมพ์ราคาเท่านั้น ซึ่งนั่นหมายถึงโครงสร้างราคาทั้งระบบของสายการบินโลว์คอสต์ เองที่ต้องสั่นคลอน
ขณะเดียวกันที่ผ่านมาจำนวนนักท่องเที่ยวเริ่มลดลง อย่างต่อเนื่อง ส่งผลทำให้โลว์คอสต์ แอร์ไลน์ทั้งหลายต้องยอม 'กลืนเลือด' ตัวเอง เพื่อดึงลูกค้าเข้ามาใช้บริการให้มากที่สุด เพราะเมื่อเร็วๆนี้สงครามราคาไม่ได้ถูกใช้เพียงแค่เฉพาะสายการบินต้นทุนต่ำเท่านั้น แต่สายการบินแห่งชาติอย่างการบินไทย และสายการบินบางกอก แอร์เวย์ส ที่วางตัวเองว่าเป็นบูติกแอร์ไลน์ ยังกระโดดลงมาเล่นในสงครามราคาอีกด้วย สังเกตได้จากการคลอดแคมเปญราคาออกมากระตุ้นการขายอย่างต่อเนื่อง อาทิ แคมเปญ summer fly summer fares ของบางกอกแอร์ฯที่คลอดราคาเส้นทางบินในประเทศเริ่มต้นที่ 2,100 บาท
แม้ว่าสายการบินต่างๆ จะ 'เจ็บตัว' จากกลยุทธ์ดังกล่าวก็ตาม เพราะต้องใช้ต้นทุนการบริหารที่ค่อนข้างสูง และมีความเสี่ยงพอตัว แต่เชื่อว่าผู้ประกอบการมีความจำเป็นที่ต้องดึงลูกค้ามาไว้ในมือให้ได้มากที่สุด เพื่อกระตุ้นการตลาดให้กลับมาคึกคักดังเดิม
ล่าสุดที่ผ่านมาสายการบินไทยแอร์เอเชีย มีการจัดโปรโมชั่น '1,000,000 Free Seats บินสบายจ่ายเพียงค่าธรรมเนียม' ซึ่งเป็นโกลบอลแคมเปญ ซึ่งประเทศไทยได้สัดส่วนของโปรโมชั่นที่นั่งฟรีดังกล่าวมากกว่า 50% ของที่นั่งทั้งหมด โดยมีการจองตั้งแต่กลางเดือน พฤษภาคม 2552 และจะได้เดินทางตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม-30 เมษายน 2553 ในเส้นทางบินจากกรุงเทพฯ ไปยัง 11 เส้นทางของสายการบิน
ว่ากันว่าการจัดโปรโมชั่นฟรี 1 ล้านที่นั่งของไทยแอร์ฯครั้งนี้ นับเป็นกลยุทธ์อัดโปรโมชั่นที่แรงที่สุดของไทยแอร์ฯ ในปี 2552 นี้
สอดคล้องกับที่ ทัศพล แบเลเว็ลด์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการบิน ไทยแอร์เอเชีย ออกมายอมรับว่า โปรโมชั่นดังกล่าวจะสามารถกระตุ้นการเดินทางภายในประเทศ และการเดินทางภายในภูมิภาคของเอเชียได้มากขึ้น จุดมุ่งหมายเพื่อกระตุ้นตลาดในช่วง Low Season ไม่ให้จำนวนผู้โดยสารลดลงนั่นเอง
ขณะเดียวกันการหาพันธมิตรร่วมธุรกิจเพื่อให้สอดคล้องกับแคมเปญดังกล่าว และสร้างความสะดวกให้กับลูกค้า ล่าสุด ไทยแอร์เอเชียก็ร่วมมือกับธนาคากสิกรไทย เปิดตัวบัตรเครดิตร่วมแอร์เอเชีย-กสิกรไทย ออกมารองรับกลุ่มนักเดินทางที่มีไลฟ์สไตล์ทันสมัย โดยใช้สิทธิประโยชน์พิเศษมาเป็นเครื่องมือทางการตลาด ซึ่งลูกค้าสามารถนำคะแนนสะสมไปแลกรับตั๋วเครื่องบินโดยสารเส้นทางบินทั่วเอเชีย
ขณะเดียวกันสายการบินนกแอร์กลับมองกลยุทธ์แตกต่างจากไทยแอร์เอเชียซึ่งสอดคล้องกับที่ พาที สารสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการบินนกแอร์ ออกมายอมรับว่านกแอร์คงไม่ไปแข่งแจกที่นั่งฟรี แต่จะเน้นในเรื่องของการสร้างแพ็กเกจใหม่ๆออกมาโดยให้ผู้โดยสารมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ นอกเหนือจากการเดินทาง 'ถ้าออกตั๋วฟรีมา แล้วคนเขาไม่รู้ว่ามาเที่ยว มาทำอะไร เป็นผมก็คงไม่มา แต่นี่เราสร้างกิจกรรมต่างๆ ออกมากระตุ้นให้เกิดความสนใจอยากท่องเที่ยว ซึ่งเป็นการท่องเที่ยวแบบใหม่ๆ ที่แตกต่างจากการเที่ยวธรรมชาติแบบเดิมๆ เช่น เชียงใหม่ก็เป็นทัวร์ขี่จักรยาน ภูเก็ตหรือจังหวัดชายทะเลก็เป็นทริปสอนเล่นกระดานโต้คลื่น โดยแพ็กเกจต่างๆ ก็จะมีการปรับเปลี่ยนอัพเดตเรื่อยๆ ให้เหมาะสมกับฤดูกาลบ้านเรา ให้เหมาะสมกับเทรนด์ใหม่ๆ'พาที กล่าว
ล่าสุด นกแอร์ออกแพ็กเกจท่องเที่ยวในรูปแบบใหม่ โดยจับเอากิจกรรมหรือแอ็กทิวิตี้ต่างๆ มาเป็นจุดขาย และสร้างรูปแบบการขายใหม่ ในลักษณะเดียวกับการขายตรงผ่านทางโทรทัศน์ หรือที่เรียกว่าทีวีไดเรก โดยจะเสนอขายแพ็กเกจกว่า 10 แพ็กเกจ ที่ออกแบบมาให้เหมาะสมกับกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างๆ ผ่านทางรายการของนกแอร์ ที่จะออกอากาศทางช่องยูบีซี 10 ช้อปปิ้ง แชนแนล วันละอย่างน้อย 5 นาที หมุนเวียนแพ็กเกจต่างๆ ไปเรื่อยๆ ซึ่งผู้ที่สนใจซื้อแพ็กเกจก็จะสามารถโทรเข้ามาสั่งซื้อตามหมายเลขโทรศัพท์ที่ทางรายการกำหนดได้ตลอด 24 ชั่วโมง และที่เหมือนทีวีไดเรกก็คือ หากผู้สนใจสั่งซื้อภายในเวลาที่ทางรายการกำหนด ก็จะได้รับสิทธิพิเศษเพิ่มเติมจากรายการด้วย
นับเป็นเรื่องน่าสนใจสำหรับถูกเป็นช่องทางขายใหม่ๆของโลว์คอสแอร์ไลน์ในประเทศไทย เพราะที่ผ่านมาทีวีไดเรกมักใช้ในการขายสินค้าทั่วไป การหยิบนำมาปรับใช้กับแพ็กเกจท่องเที่ยวของนกแอร์ครั้งนี้จึงน่าจับตา
ขณะที่ สายการบินวัน-ทู-โก ยังคงใช้การจัดโปรโมชั่นออกมากระตุ้นลูกค้าเช่นเดิมภายใต้สโลแกนที่ว่า Do it by heart วัน-ทู-โก สายการบินจริงใจ เพื่อคนไทย ด้วยวิธีซื้อบัตรโดยสารใบแรกพร้อมมอบส่วนลด 500 บาท สำหรับบัตรโดยสารใบที่ 2 จากราคาปกติ ที่เริ่มตั้งแต่วันนี้-30 กันยายนศกนี้
นอกจากนี้กิจกรรมของการออกบูธท่องเที่ยวในงานต่างๆเพื่อกระตุ้นให้มีการเดินทางยังคงใช้ได้ผลเสมอสำหรับสายการบินวัน ทู โก ล่าสุดการเปิดตัวในงาน Bangkok Post Thailand Travel Fair 2009 ที่ผ่านมากลยุทธ์การตลาดที่ถูกนำมาใช้คือการจับมือกับพันธมิตรร่วมทางธุรกิจให้ส่วนลดต่างๆไม่ว่าจะเป็น เรื่องของที่พักราคาพิเศษเพียง 99 บาท เมื่อซื้อตั๋วไป-กลับราคาเต็ม และ/หรือแม้แต่การขายบัตรโดยสารราคาพิเศษเริ่มต้นที่ 1,000 บาทต่อเที่ยวก็ตาม ยังคงถูกนำมาสร้างกระแสให้ดึงดูดลูกค้าให้เข้าไปใช้บริการได้เป็นอย่างดี
สังเกตได้ว่าการบริหารธุรกิจ 'โลว์คอสต์' ที่ผ่านมาจึงต้องดูแลต้นทุนให้ต่ำอยู่แล้ว พร้อมกับการขยับ หรือ คิดทำอะไรในปี 2552 ให้มากกว่าเดิม และที่สำคัญต้อง'โลว์คอสต์' ให้ได้อีกเท่าตัว
แนวทางการขับเคลื่อนธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำ ในปี 2552 จึงถูกมองไปที่ประเด็น การบริหารต้นทุนมาเป็นอันดับต้นๆ โดยประเมินจากขนาดขององค์กรที่ต้องสอดคล้องกับยอดขายและสภาวะทางธุรกิจส่วนการบริหารจัดการ 'องค์กร' ต้องไม่ให้หลุดกรอบคิดแบบ 'โลว์คอสต์'เช่นกัน
ซึ่งในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาต้นทุนต่างๆต้อง 'คุ้มค่า'ให้มากที่สุด'แต่ในยุคที่เศรษฐกิจถดถอยแบบนี้ 'สิ่งสำคัญ คือการมีเงินสดหมุนเวียนอย่างเพียงพอ'และเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ กลเกมธุรกิจของโลว์คอส แอร์ไลน์ปีนี้จึงเป็นเกม 'รุก' มากกว่าการ 'ตั้งรับ' ไปพร้อมๆกับช่วงเวลาของการดูแลต้นทุนและการหาตลาดใหม่
ดังนั้นจึงไม่แปลกที่การบริหารต้นทุนจึงต้องมาเป็นอับดับต้นๆของการให้ความสำคัญ สำหรับแผนเชิงรุกของแต่ละสายการบินต้นทุนต่ำ ที่ต้องดำเนินการคู่ขนานกันไปทั้งในส่วนของขนาดขององค์กร ยอดขายและสภาวะทางธุรกิจ ส่วนที่จะสร้างรายได้ให้ได้มากขึ้นนั่นเอง
|
|
 |
|
|