Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTVผู้จัดการรายสัปดาห์8 มิถุนายน 2552
ซีคอนฯ อัปเกรด รีโนเวต ขยายฐาน B+             
 


   
search resources

Shopping Centers and Department store
ซีคอน ดีเวลลอปเมนท์, บมจ. (ซีคอนสแควร์)




ซีคอนฯ ทุ่มงบ 300 ล้านบาท ยกระดับศูนย์การค้า ปรับโฉม รองรับลูกค้าระดับ B+ พร้อมเดินเกม CRM ทำบัตรสมาชิกแพลทินัม ตั้งเป้า 10,000 ราย ปั้นตลาดครีม สร้างลอยัลตี้ ปั๊มยอดขายต่อครั้งเพิ่มขึ้น

'ในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 เราก็กระทบน้อยมาก เรายังคงมีการเติบโตเพียงแต่เติบโตได้น้อย ส่วนในปีที่ผ่านมาถือได้ว่าซีคอนสแควร์มีการเติบโตที่ดีกว่าปี 2540 และในปีนี้เราก็เชื่อว่าเราจะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เพียงแต่เราจะมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เรามีรายได้ที่เพิ่มขึ้น แต่กำไรลดลง อันเป็นผลมาจากการปรับปรุงศูนย์ฯให้มีความทันสมัยมากขึ้น' เป็นคำกล่าวของ ตะติยะ ซอโสตถิกุล กรรมการผู้จัดการ ซีคอน ดีเวลลอปเมนท์ เกี่ยวกับแผนการดำเนินงานของบริษัทภายใต้ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจและการเมือง

ซีคอนสแควร์ใช้งบกว่า 300 ล้านบาทในการทยอยปรับปรุงโซนต่างๆภายในศูนย์ฯทั้ง 5 โซน เพื่อรองรับฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ที่เข้ามาสู่รัศมี 10 กิโลเมตรรอบๆซีคอนสแควร์ซึ่งมีกำลังซื้อสูง โดยในปีที่ผ่านมามีครัวเรือนย้ายที่พักเข้ามามากกว่า 50,000 ครัวเรือน ส่วนในปีนี้คาดว่าจะมีครัวเรือนใหม่ๆย้ายเข้ามามากถึง 60,000 ครัวเรือน อันเป็นผลมาจากการเปิดสนามบินสุวรรณภูมิเนื่องจากผู้ที่ประกอบอาชีพเกี่ยวกับธุรกิจการบินกว่า 20,000-30,000 คนเริ่มย้ายที่อยู่มาอาศัยในย่านศรีนครินทร์มากขึ้น

ประกอบกับมีโครงการหรูอย่างคอนโนมิเนียมหลักล้าน บ้านจัดสรรที่มีราคาตั้งแต่ 3 ล้านบาทไปถึง 20 ล้านบาท เกิดขึ้นหลายโครงการ ซึ่งถือเป็นกลุ่มลูกค้ากลุ่มใหม่ที่มีกำลังซื้อสูง ซึ่งจะทำให้โครงสร้างลูกค้าเปลี่ยนไปโดยซีคอนคาดว่าจะมีลูกค้าระดับบนเพิ่มขึ้น ทำให้ซีคอนสแควร์ต้องปรับรูปโฉมสาขาให้มีความทันสมัยเพื่อรองรับกลุ่มลูกค้าที่มีศักยภาพเหล่นี้ โดยทางศูนย์ฯจะลดพื้นที่ร้านค้าที่เป็นคีออสซึ่งกินพื้นที่ส่วนกลางออกไป 50% เพื่อให้ทางเดินกว้าง ดูโล่ง โปร่ง สบายตามากขึ้น

ปัจจุบันซีคอนสแควร์มีทราฟฟิกนับจากปริมาณรถยนต์ในลาดจอดรถเพิ่มขึ้น 2.8% คิดเป็นปริมาณรถ 6.1 ล้านคันต่อปี เฉลี่ย 510,000 คันต่อเดือน โดยปริมาณรถที่มาใช้บริการในช่วงวันหยุดมี 20,000-22,000 คันต่อวัน ส่วนวันธรรมดา 14,000-17,000 คันต่อวัน โดยในปีนี้ทางศูนย์ฯตั้งเป้าว่าจะสามารถเพิ่มปริมาณรถได้ 3% หรือคิดเป็นจำนวนรถยนต์ 6.3 ล้านคันต่อปี เฉลี่ยนเดือนละ 525,000 คัน โดยมีรถหรูราคา 2 ล้านบาทขึ้นไปเข้ามาใช้บริการมากขึ้นจากสัดส่วน 19% ในปีที่ผ่านมาเพิ่มเป็น 26% ในปีนี้

ขณะที่สัดส่วนการใช้จ่ายของลูกค้าระดับบนก็เพิ่มขึ้นด้วย โดยสัดส่วนการใช้จ่าย 3,001-5,000 บาทต่อครั้ง เพิ่มจาก 7.6% เป็น 10% ส่วนการกลุ่มที่มีการใช้จ่ายมากกว่า 5,000 บาทต่อครั้ง มีสัดส่วนเพิ่มจาก 1.9% เป็น 5% สวนทางกลับลูกค้าระดับกลางที่มีสัดส่วนลดลง โดยกลุ่มที่มีการใช้จ่าย 501-1,000 บาทต่อครั้งมีสัดส่วนลดจาก 44% เหลือ 34% กลุ่มที่มีการใช้จ่าย 1,001-3,000 บาทต่อครั้ง มีสัดส่วนลดจาก 26% เหลือ 22% ซึ่งเป็นผลมาจากการโยกย้ายประชากรและทำให้สัดส่วนลูกค้าซีคอนสแควร์มีการเปลี่ยนแปลง

ในอดีตลูกค้ากลุ่มหลักของซีคอนสแควร์คือคนวัยเริ่มต้นทำงานวัย 24-30 ปีมีสัดส่วน 40% รองลงมาคือกลุ่มอายุ 31-40 ปี มี 24% วัยรุ่น 22% และคนที่มีอายุ 41 ปีขึ้นไป 14% แต่สัดส่วนลูกค้าปัจจุบันเทน้ำหนักไปที่ผู้ใหญ่ และคนมีครอบครัว มีหน้าที่การงานที่มั่นคง มีกำลังซื้อสูงกว่าคนวันเริ่มต้นทำงาน โดยลูกค้าวัย 41 ปีขึ้นไปมีสัดส่วนสูงถึง 29% ลูกค้าอายุ 31-40 ปีมีสัดส่วน 27% ขณะที่ลูกค้าวัย 24-30 ปีมีสัดส่วนลดเหลือ 24% และวัยรุ่นเหลือ 20%

ซีคอนสแควร์ทุ่มงบ 50 ล้านบาท ในการทำการตลาด โดยชูแนวคิด 4's E ประกอบด้วย Entertainment การทำให้ผู้บริโภคมีความสนุกเวลาที่อยู่ในศูนย์ฯ Excitement การสร้างความตื่นเต้นแปลกใหม่ทำให้ลูกค้าไม่เกิดความรู้สึกเบื่อ Enlargement การเพิ่มร้านค้าใหม่ๆ การเพิ่มระยะเวลาในการทำกิจกรรม และ Education การจัดกิจกรรมควบคู่กับความรู้ เช่น งานรถ งานตุ๊กตา ก็จะมีประวัติความเป็นมาของแต่ละโมเดล มีการจำลองคล้ายพิพิธภัณฑ์ให้ลูกค้าได้ดู

นอกจากนี้ยังมีการทำ CRM กับลูกค้าในระดับ B+ ขึ้นไปด้วยการทุ่มงบ 10 ล้านบาททำบัตรสมาชิกแพลทินัม โดยลูกค้าที่จะเป็นสมาชิกต้องถือบัตรแพลทินัมของสถาบันการเงินตามที่ทางศูนย์ฯกำหนด ซึ่งผู้ถือบัตรแพลทินัมของสถาบันการเงินต่างๆ ส่วนใหญ่มีรายได้ไม่ต่ำกว่า 75,000 บาทต่อเดือน โดยทางศูนย์ฯนำเสนอสิทธิพิเศษให้กับลูกค้ากลุ่มนี้ เช่น การจัดพื้นที่จอดรถให้สมาชิก เลาจน์สำหรับพักผ่อน ส่วนลดร่วมกับร้านค้าในศูนย์ฯ และบริการอื่นๆที่จะอำนวยความสะดวกเพื่อดึงดูดให้ลูกค้ามาใช้บริการเป็นประจำ ซึ่งหลังจากเริ่มมีการทำบัตรสมาชิกในเดือนที่ผ่านมา ก็สามารถสร้างฐานสมาชิกได้ 4,500 ราย โดยศูนย์ฯตั้งเป้าสมาชิกแพลทินัมไว้เพียง 10,000 ราย เพื่อประสิทธิภาพในการให้บริการที่ดีที่สุดแก่ลูกค้ากลุ่มครีมเหล่านี้

'ศูนย์การค้าย่านชานเมืองถือว่าปลอดภัยจากวิกฤตเศรษฐกิจ เพราะผู้บริโภคยังต้องกินต้องใช้ และเราก็มีราคาไม่แพงเหมือนศูนย์การค้ากลางกรุง นอกจากนี้ช่วงที่น้ำมันมีราคาสูงขึ้น ผู้บริโภคก็ออกต่างจังหวัดน้อยลง แต่ยังคงมาใช้บริการในศูนย์การค้าของเรา เพื่อเอนเตอร์เทน พักผ่อน ซึ่งมาแต่ละครั้งก็ต้องมีค่าใช้จ่ายในการกิน ซื้อของ ดูหนัง ไม่ต่ำกว่า 300-400 บาท อย่างไรก็ดีจากวิกฤตเศรษฐกิจ และการเมือง ที่กระหน่ำเข้ามาก็ส่งผลให้ยอดการใช้จ่ายเฉลี่ยในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ลดลงไปจากไตรมาสแรกของปีก่อน คือลดจาก 1,350 บาท เหลืออยู่ที่ 1,205 บาท แต่ทางศูนย์ฯก็เชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบมากนัก' ตะติยะ กล่าว

สำหรับผลประกอบการในปีที่ผ่านมา ซีคอนสแควร์สามารถสร้างรายได้ที่ 1,150 ล้านบาท เติบโตขึ้น 5% เมื่อเทียบกับปี 2550 ขณะที่กำไรมีการเติบโต 13% จาก 308 ล้านบาทเป็น 350 ล้านบาท ส่วนในปีนี้บริษัทตั้งเป้าว่าจะสามารถปิดรายได้ที่ 1,177 ล้านบาท เติบโต 2.3% แต่บริษัทจะมีกำไรลดลงเหลือ 310 ล้านบาท จากการลงทุนปรับโฉมใหม่ทั้งในส่วนของพื้นที่ส่วนกลาง และร้านค้าต่างๆ ตลอดจนการเพิ่มเชนร้านค้าใหม่ๆที่มีระดับมากขึ้นเพื่อรองรับกลุ่มลูกค้า B+ เช่น ร้าน SUKISHI, CAWAI, BAPPLE, TMB, TISCO ฯลฯ ซึ่งในแต่ละปีจะมีพื้นที่ประมาณ 5% ที่หมดสัญญา หากรายใดบริหารร้านค้าไม่เต็มที่ก็จะหาร้านค้าใหม่มาลงแทน นอกจากนี้ทางศูนย์ฯยังมีการเจรจากับร้านค้าเซ้งอายุสัญญา 30 ปี คิดเป็นสัดส่นเกือบ 40% ของพื้นที่ขาย เนื่องจากร้านค้าบางร้านไม่กระตืนรือล้น ปล่อยให้ร้านโทรม ไม่มีการปรับปรุง ทางศูนย์ฯก็จะเข้าไปเจรจาเช่าช่วงให้ผู้ค้ารายอื่นเพื่อปรับภาพลักษณ์ของศูนย์ฯให้ดีขึ้น

นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกให้ลูกค้า เช่น การใช้งบ 20 ล้านบาท พัฒนาพื้นที่ 12 ไร่ เป็นที่จอดรถใหม่ รองรับรถเพิ่มอีก 640 คัน การทำทางลัดสู่ถนนอ่อนนุชเพื่อลดความหนาแน่นของการจราจรบนถนนศรีนครินทร์ การทำสะพานลอย บันไดเลื่อน และรถรับส่งลูกค้า ซึ่งจะเปิดให้บริการในปลายปีนี้

จุดเริ่มต้นของซีคอนสแควร์วางตลาดในระดับล่าง ซึ่งเดิมทีลานน้ำพุในศูนย์การค้าเคยมีการทำคีออสจำหน่ายส้มตำ หมูย่าง ซึ่งทางซีคอนสแควร์เห็นว่าสามารถสร้างรายได้ให้กับศูนย์ฯเป็นอย่างดี แต่ทำให้ศูนย์ฯเสียภาพลักษณ์ไป ต่อมามีการขยายตัวของเมือง กลุ่มผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อสูงเริ่มกระจายสู่ย่านศรีนครินทร์ทำให้ซีคอนสแควร์ต้องเร่งปรับภาพลักษณ์ให้ดีขึ้นเพื่อรองรับกลุ่มลูกค้าใหม่ๆที่มีอัตราการเติบโตที่สูง แต่ก็ยังคงทำตลาดตอบสนองฐานลูกค้าระดับกลางซึ่งถือเป็นฐานลูกค้ากลุ่มใหญ่ของทางศูนย์ฯ

ซีคอนสแควร์ใช้จุดแข็งในเรื่องของความหลากหลายของร้านค้าและบริการในการดึงดูดลูกค้า ซึ่งปัจจุบันมีการแข่งขันค่อนข้างรุนแรง โดยเฉพาะการเกิดขึ้นของคอมมูนิตี้มอลล์ในย่านศรีนครินทร์ อ่อนนุช อุดมสุข ซึ่งส่วนใหญ่โฟกัสไปที่ตลาดระดับกลาง-บนที่มีกำลังซื้อสูง นอกจากนี้การเกิดขึ้นของศูนย์การค้าเซ็นทรัลชลบุรีที่ทับซ้อนพื้นที่ให้บริการของซีคอนสแควร์ในจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี สมุทรปราการ ซึ่งซีคอนสแควร์มองผลกระทบเพียง 1% ของฐานลูกค้าเนื่องจากลูกค้าที่อยู่ไกลไม่ได้มีความถี่ในการมาใช้บริการมากนัก ขณะที่เสรีเซ็นเตอร์ภายใต้บังเหียนของ เอ็มบีเค และสยามพิวรรธน์ ยังไม่เห็นผลการปรับปรุงศูนย์ฯเป็นรูปธรรม ทว่าทางซีคอนสแควร์เชื่อว่าโพซิชันนิ่งใหม่ของเสรีเซ็นเตอร์จะไม่ทับซ้อนกับซีคอนสแควร์ ทั้งนี้ เสรีเซ็นเตอร์ เปิดให้บริการครั้งแรกในปี 2537 โดยมุ่งจับตลาดระดับบน ทว่าไม่ประสบความสำเร็จ ต่อมามีความพยายามในการปรับศูนย์ให้เป็นเอ็ดดูเคชั่นเซ็นเตอร์ ต่อมาก็ปรับเป็นศูนย์ไอที   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us