|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ความเคลื่อนไหวในสมรภูมิประกันชีวิตยังร้อนระอุ แม้สภาพเศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวย "แมนูไลฟ์" เชื่อประกันชีวิตยังโตได้ท่ามกลางพายุวิกฤต พื้นทีในการทำตลาดยังมีช่องว่างอีกมากมาย เตรียมยุทธศาสตร์ทะลุทะลวงสนามรบประกันชีวิตแชร์ส่วนแบ่งทางตลาดเพิ่ม เน้นงานให้บริการสร้างความพึงพอใจลูกค้า พร้อมกับวาดแผนสวยหรูดันเบี้ยโตได้ 10 %
ดูเหมือนภาคธุรกิจประกันชีวิตในประเทศไทยจะได้รับผลกระทบเพียงน้อยนิดจากพายุวิกฤตเศรษฐกิจที่ลุกลามมาจากแดนดินฝั่งอเมริกา ศูนย์วิจัยกสิกรไทย วิเคราะห์โดยให้เหตุผลว่า บริษัทประกันชีวิตในไทยยังน่าจะมีโอกาสในการขยายธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องเพราะความมั่นคงทางการเงิน และปัจจัยบวกจากการมีธนาคารพาณิชย์หนุนหลัง หรือเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ รวมถึงการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อขยายฐานลูกค้าร่วมกัน เช่น แบงก์แอสชัวรันส์ เป็นต้น
ความมั่นคงทางการเงิน และพันธมิตรที่หนุนหลังมีความแข็งแกร่งจนสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภคเป็นหนึ่งในปัจจัยที่คาดว่าทำให้ธุรกิจประกันชีวิตเติบโตได้ ขณะเดียวช่องว่างที่จะให้บริษัทประกันชีวิตเข้าไปแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดก็ยังมีอีกมาก เพราะอัตราส่วนผู้ถือกรมธรรม์ในปะเทศไทยเมื่อเทียบกับต่างประเทศ หรือแม้แต่ประเทศเพื่อนบ้านถือว่ายังอยู่ในสัดส่วนที่ต่ำมาก นี่จึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้โอกาสทางธุรกิจมีอยู่
ข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย แจงว่าสัดส่วนเบี้ยประกันชีวิตต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (Insurance Penetration Rate) ในปี 2551 ยังอยู่ในระดับต่ำเพียงประมาณ 2.45% ซึ่งค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับประเทศในเอเชียซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ที่เกินกว่า 5-10% นอกจากนี้ จำนวนกรมธรรม์ที่มีผลบังคับต่อประชากรในไทย ก็ยังอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำประมาณ 25% เทียบกับสิงคโปร์ที่ 215% และมาเลเซีย 40%
และจะว่าไปการที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ จนธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)ได้ออกมาประการลดอัตราดอกเบี้ยอาร์พี ในช่วงที่ผ่านมา จนทำให้การลงทุนในสถาบันการเงินอย่างแบงก์ไม่นาสนใจอีกต่อไปเพราะอัตราผลตอบแทนที่ได้รับไม่คุ้มค่าเมื่อเทียบกับช่องทางการลงทุนประเภทอื่น และนั่นเองที่เปิดประตูโอกาสให้กับธุรกิจประกันชีวิต เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับนักลงทุนให้ความสนใจออมแบบมีความคุ้มครองพร้อมผลตอบแทน ด้วยผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตที่มีหลากหลายให้เลือก อย่างความคุ้มครองชีวิตผนวกกับการลงทุนเข้าไปด้วย โดยเฉพาะกรมธรรม์แบบ ยูนิตลิงค์ เป็นต้น
หลายๆปัจจัยที่เกิดขึ้นได้เอื้อต่อการขยายตัวในภาคธุรกิจประกันชีวิต ทำให้บริษัททั้งลูกครึ่ง ลูกเสี่ยว หรือไทยแท้ต่างไม่ละมือที่จะกระตุ้นตลาดเพื่อเพิ่มยอดอย่างต่อเนื่อง
สำหรับการขยายตัวทาง ธุรกิจประกันชีวิตในปี 2552 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าน่าจะขยายตัวในอัตราประมาณ 6-8% เพิ่มขึ้นในอัตราชะลอลงจาก 10.6% ในปี 2551 โดยมีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงรวมประมาณ 236,800-241,000 ล้านบาท
และจากการที่ภาครัฐยังมีนโยบายส่งเสริมการประกันชีวิตทั้งที่ผ่านมาตรการภาษี การเสริมสร้างมาตรฐานการกำกับดูแลธุรกิจให้มั่นคง และการสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชน ซึ่งมีส่วนช่วยสนับสนุนการขยายตลาดของธุรกิจประกันชีวิตให้กว้างขวางขึ้น ทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเห็นว่ายังมีความเป็นไปได้ที่ธุรกิจประกันชีวิตจะยังมีอัตราเติบโตเป็นบวกได้ ภายใต้ปัจจัยลบทางเศรษฐกิจที่เด่นชัดขึ้นเรื่อย ๆ แต่ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขสำคัญ
ล่าสุด 'แมนูไลฟ์ ประกันชีวิต' เปิดตัวผู้บริหารคนใหม่ 'คริสโตเฟอร์ เตียว' พร้อมกับแผนในการบริหารองค์กร สำหรับการช่วงชิงพื้นที่ส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้น ซึ่งแม้จะเป็นเพียงนามธรรม แต่สำหรับแมนูไลฟ์นี่คือแผนแม่บทขององค์กรที่จะเดินไปเพื่อหาความสำเร็จ
แม้จะไม่ใช่เรื่องง่ายในการขอแชร์ส่วนแบ่ง แต่อย่างที่รู้กันว่าเพราะอัตราส่วนพลเมืองของไทยที่ทำประกันชีวิตยังมีอยู่ต่ำ ความท้าทายในการกวาดพื้นที่จึงมีสูง
คริสโตเฟอร์ ผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แมนูไลฟ์ ประกันชีวิต (ประเทศ ไทย) บอกว่า กลยุทธ์ที่ดีที่สุดคือ การบุก ซึ่งเป็นจุดที่ทำให้บริษัทสามารถขยับตำแหน่งในประเทศไทยได้ด้วยแผนการดำเนินงานของบริษัท ที่เน้นในหลัก P R I C E หลัก CARE และ SIAM
ในส่วนของ PRICE ประกอบด้วย Professional ความเป็นมืออาชีพ Real Value To Our Customers คุณค่าที่แท้จริงต่อลูกค้า Integrity ความซื่อสัตย์ Demonstrated Financial Strength ความเข้มแข็งทางการเงิน และ E-Employer of Choice เป็นนายจ้างที่ทุกคนอยากทำงานด้วย
CARE ประกอบด้วย Coverage ความคุ้มครองจากการประกันชีวิตและการเงิน Advisory ความเป็นมืออาชีพ Recovery Aid ความช่วยเหลือจากสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นให้เป็นจุดขายของบริษัท มองวิกฤตให้เป็นโอกาสเสมอ และ Employer of Choice พนักงานแม้แต่ตัวแทนของบริษัทต้องสามารถดูแลครอบครัวได้
คริสโตเฟอร์ บอกว่า เนื่องจากตัวแทนประเทศไทยไม่เหมือนต่างประเทศ เพราะคนไทยจะทำอาชีพดังกล่าวในรูปแบบงานนอกเวลา ทำให้ไม่สามารถทุ่มเทเวลาทั้งหมดให้กับอาชีพนี้ได้โดยแม้จริง หากก็ไม่โทษว่าเป็นความผิดของตัวแทน เนื่องจากโครงสร้างผลตอบแทน การตัดสินใจของลูกค้าที่จะซื้อประกันชีวิต ล้วนเป็นปัจจัยที่ตัวแทนส่วนใหญ่ยังมองว่ามีความไม่แน่นอนสูงเท่ากับการทำงานประจำที่มีรายได้แน่นอน
'ดังนั้นเราจึงอยากหาวิธที่ทำให้ตัวแทนของเราเชื่อมั่นในวิชาชีพของเขาว่าจะสามารถสร้างรายได้เพียงพอต่อการดูแลครอบครัวได้ในอนาคต ซึ่งนั่นคือการให้ความรู้ การสอนให้มีแผนงาน มีความเชื่อมั่น มีความเป็นมืออาชีพ แต่ทั้งหมดนี้เราจะต้องเป็นฝ่ายสนับสนุนให้เขาเกิดความเชื่อที่ว่านี้'
ด้านหลัก SIAM ประกอบด้วย Settory Gold การตั้งเป้าหมายที่จะเติบโต Individually monitoring Their activating วางแผนการทำงานมุ่งเน้นการดูแลสนับสนุนให้ทำงานอย่างมีวินัยและถูกต้อง Attack Their ego การทำงานให้ไปสู่เป้าหมายผลักดันส่งเสริมให้เห็นศักยภาพของตัวเอง และ Manager Their Time ช่วยบริหารเวลาเป็นส่วนสำคัญที่จะก้าวไปสู่ความสำเร็จเป้าหมายการทำงาน
นี่คือกุญแจที่ไขไปสู่ความสำเร็จขององค์กรหากว่าสามารถดำเนินการทุกอย่างได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ อย่างไรก็ตาม หลักที่กล่าวมายังเป็นเพียงรูปธรรมเท่านั้นส่วนจะเห็นภาพที่เกิดขึ้นเป็นนามธรรมเมื่อไร คริสโตเฟอร์ บอกว่าเรื่องนี้คงต้องใช้เวลา แต่จากประสบการณ์ที่ผ่านมามั่นใจว่าจะสามารถทำได้ตามแผนที่วางไว้ โดยตั้งเป้าว่า 100 วัน แมนูไลฟ์จะต้องโตอย่างก้าวกระโดดจาก3 ช่องทาง คือช่องทางตัวแทนภายนอก ตัวแทนภายใน และผู้บริหารธุรกิจ
|
|
|
|
|