Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTVผู้จัดการรายสัปดาห์8 มิถุนายน 2552
วิกฤตเศรษฐกิจสำแดงฤทธิ์!BOI รับทุนนอกตีจาก7หมื่นล้าน-นิคมฯโคม่า             
 


   
search resources

Investment




นิคมฯทั่วประเทศโอดยอดขายที่ดินตกฮวบ ทั้งปัจจัยภายใน-นอกกดดันต่อเนื่อง ด้านยักษ์ใหญ่อย่าง 'อมตะ'ไตรมาสแรกขายได้เพียง 50 ไร่สะท้อนนักลงทุนหนีหน้า หวั่น 'เวียดนาม' ดึงทุนนอกเข้าประเทศขณะที่ BOI ยอมลดเป้ารอบที่ 3 เหลือเพียง 4.5 แสนล้าน เร่งโรดโชว์ต่างประเทศดึง 'จีน-อินเดีย' ปักธงไทย เผยเพียงไตรมาสแรกทุนนอกหายไปกว่า 7 หมื่นล้าน

คงไม่มีใครปฏิเสธว่าการลงทุนของภาคเอกชนมีส่วนสำคัญและเป็นสัญญาณสำคัญในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศควบคู่กับการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐซึ่งผ่านไปหนึ่งไตรมาสการลงทุนของภาคเอกชนโดยเฉพาะหากวัดจากยอดขายที่ดินในนิคมอุตสาหกรรมทั่วประเทศถือว่าตกต่ำอย่างมาก ขณะที่แนวโน้มในไตรมาส 2 การลงทุนใหม่ของภาคเอกชนยังจะมีโอกาสบ้างหรือไม่ นับเป็นเรื่องสำคัญของประเทศไทยเนื่องเพราะการลงทุนจากต่างชาติคือส่วนสำคัญในการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ

อมตะชี้สัญญาณเริ่มดีขึ้น

'สมหะทัย พานิชชีวะ'ประธานเจ้าหน้าที่พัฒนาธุรกิจ บมจ.อมตะ คอร์ปอเรชัน(AMATA)กล่าวกับ 'ผู้จัดการราย 360 องศา รายสัปดาห์' ว่า ยอมรับว่าการขายที่ดินในเครืออมตะกรุ๊ปลดลงกว่า 200-300% ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้โดยขายได้เพียง 50 ไร่เท่านั้น แต่ยอดขายที่ลดลงไม่ใช่เฉพาะในส่วนของอมตะกรุ๊ปเท่านั้นแต่นิคมอุตสาหกรรมอื่นๆก็มียอดขายที่ลดลงเช่นกัน ซึ่งธุรกิจนิคมฯได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกด้วยกันทั้งหมด

ขณะที่ธุรกิจต่อเนื่องอย่างการให้บริการ ไฟฟ้า, น้ำประปา,โทรศัพท์ ก็มีอัตราการใช้ที่ลดลง 15% ซึ่งเป็นการลดลงต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาส 4 ของปีที่แล้วเพราะยอดออเดอร์สั่งของโรงงานต่างๆทำให้บริษัทต่างๆมียอดการใช้บริการธุรกิจต่อเนื่องลดลงตามด้วย

'ตอนนี้มีสัญญาณที่ดีขึ้น คือโรงงานต่างๆ เริ่มมีออเดอร์สั่งของเข้ามา สั่งเกตได้จากโรงงานต่างๆเริ่มมีงานล่วงเวลา (O.T.)ให้พนักงานได้ทำบ้างแล้ว'

อย่างไรก็ดีแม้อุตสาหกรรมหนักอย่าง อุตสาหกรรมรถยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์ยังมีปัญหาในการส่งออกแต่อุตสาหกรรมของใช้ในชีวิตประจำวันอย่างอุตสาหกรรมอาหาร เสื้อผ้ายังมีออเดอร์สั่งของเข้ามาต่อเนื่องเพราะสินค้าเหล่านี้มีความจำเป็นในชีวิตประจำวันรวมถึงสินค้าอุปโภคบริโภค

ทุนนอกห่วง - หนีการเมืองเดือด.!

นอกจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกแล้วปัญหาการเมืองภายในยังคงเป็นปัจจัยที่น่าห่วงที่สุดในขณะนี้เพราะในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาแม้สถานการณ์การเมืองภายในจะมีความเคลื่อนไหวตลอดแต่ก็มีการเคลื่อนไหวในพื้นที่จำกัดเช่น ถนนราชดำเนิน อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ลานพระบรมรูปทรงม้า หรือ หน้าทำเนียบเท่านั้น แต่ตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมาการเคลื่อนไหวได้ขยายวงออกไปไม่มีกำหนด เช่นการปิดสนามบิน, เหตุความวุ่นวายในช่วงสงกรานต์ทำให้นักลงทุนจำนวนมากไม่กล้ามาลงทุนในประเทศเพราะไม่เชื่อมั่นต่อการลงทุนในไทยแล้ว

ขณะเดียวกันแม้ช่วง 30 ปีที่ผ่านมาแม้ประเทศไทยจะมีการปฏิวัติและการเคลื่อนไหวทางการเมืองมาตลอดแต่การชุมนุมทางการเมืองยังมีพื้นที่ในการชุมนุมชัดเจนไม่กระทบต่อการลงทุนแต่อย่างใดซึ่งนักลงทุนต่างชาติเข้าใจดีในจุดนี้

'เดิมพื้นที่ระหว่างกิจกรรมทางการเมือง และพื้นที่เศรษฐกิจกิจแยกกันชัดเจนแต่ตอนนี้ช่องว่างระหว่างการเมืองและเศรษฐกิจคือช่องว่างเดียวกันทำให้นักลงทุนไม่กล้ามาลงทุนในไทย นี่คือปัญหาใหญ่'

ปักธงลงทุนใหม่ 'เวียดนาม'มากขึ้น

ขณะที่นักลงทุนรายใหญ่ที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากที่สุดยังเป็นนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นเช่นเดิมเพราะไทยยังเป็นประเทศที่น่าลงทุนที่สุดในสายตานักลงทุนจากญี่ปุ่น และไทยได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่ญี่ปุ่นจำนวนมากมาลงทุนแต่จากสถานการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองทำให้นักลงทุนบางส่วนเริ่มลังเลที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทยบ้างแล้ว

โดยขณะนี้นักลงทุนจากญี่ปุ่นได้ไปลงทุนที่ ประเทศเวียดนามจำนวนมาก แม้ในตอนแรกจะมีจำนวนน้อยแต่ปัจจุบันนักลงทุนญี่ปุ่นหากไม่ลงทุนในไทยก็จะไปที่เวียดนามแทน

'ที่เวียดนามมีนักลงทุนรายใหญ่อย่างเกาหลีใต้และไต้หวันยึดครองอยู่แต่ตอนนี้มีนักลงญี่ปุ่นสนใจลงทุนจำนวนมากทำให้นักลงทุนญี่ปุ่นอาจจะขึ้นเบอร์หนึ่งในแทน'

สำหรับผลการดำเนินงานอมตะไตรมาสที่ 1 ปี 2552 บริษัทและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิ67.12 ล้านบาท ลดลง 196.93 ล้านบาท หรือลดลง 74.58% เมื่อเปรียบเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 264.05 ล้านบาท เพราะผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกและความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศขณะนี้ ทำให้รายได้จากการขายที่ดินของบริษัทลดลงจำนวน301.68 ล้านบาท หรือเท่ากับ 49.12% เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน

นิคมฯชั้นนำยอดขายดิ่งทั่วหน้า.!

ด้วยวิกฤตเศรษฐกิจในขณะนี้จึงพบว่านิคมอุตสาหกรรมอื่น ๆ ก็ประสบภาวะยอดขายเช่นกัน เช่นบริษัท สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จำกัด(มหาชน) หรือ ROJNAเผยผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 1 ปี 2552 บริษัทมีรายได้รวม 1,346 ล้านบาท ลดลง 14.92% จากงวดเดียวกันของปีก่อน ที่มีรายได้รวม 1,582ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 74 ล้านบาท ลดลง 63% จากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ200 ล้านบาท

บริษัท เหมราชพัฒนาที่ดิน จำกัด(มหาชน) หรือ HEMRAJ ผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 1 ปี 2552 บริษัทมีกำไรสุทธิ 68.4 ล้านบาท ลดลง 87% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการลดลงของยอดขายที่ดินอุตสาหกรรมและอสังหาริมทรัพย์เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และบริษัทมีรายได้รวมจำนวน 440.5 ล้านบาท ลดลง 71% เมื่อเปรียบเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน1,525.6 ล้านบาท

ด้านบริษัท นวนคร จำกัด (มหาชน) หรือ NNCL เปิดผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 1 ปี 2552 บริษัทมีกำไรสุทธิ 492,000 บาทลดลง 86.26 ล้านบาท หรือลดลง 99.43% เนื่องมาในไตรมาสที่ 1 ปี 2552 บริษัทมีรายได้จากการขายที่ดินลดลง 90.31 ล้านบาท รายได้ค่าบริการลดลง 21.10 ล้านบาท ต้นทุนขายที่ดินและบริการลดลง 2.80 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ลดลง 18.21 ล้านบาท

โดยทั้ง 4 บริษัทชั้นนำต่างให้เหตุผลถึงสาเหตุยอดขายที่ลดลงว่า มาจากวิกฤตการณ์ทางการเงินและเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ส่งผลในทางลบอย่างรุนแรงในภาคอุตสาหกรรมการผลิต ประกอบกับเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองภายในประเทศทำให้นักลงทุนส่วนใหญ่ต้องระงับหรือชะลอ การตัดสินใจในการลงทุนไว้ก่อน

'ภาคอุตสาหกรรมบางเซกเตอร์อาจจะเริ่มฟื้นตัวได้บ้างในช่วงไตรมาส 2 แต่ธุรกิจนิคมฯคาดหมายกันว่าน่าปีนี้อาจจะทรงตัวยาวและจะเริ่มฟื้นในไตรมาส 1 ปี 2553 โน่น' สมหะทัย กล่าวยืนยัน

ทุนนอกหาย 7 หมื่นล้าน .!

อย่างไรก็ตามจากการสำรวจข้อมูลของ 'ผู้จัดการ 360 องศารายสัปดาห์'ระหว่างเดือน ม.ค.-เม.ย.2551 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2552 ในช่วงเดียวกันพบว่านักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ยังเป็นหน้าเดิมประกอบด้วย ญี่ปุ่น ,กลุ่มยุโรป, ไต้หวัน, สหรัฐอเมริกา ,ฮ่องกง และ สิงคโปร์ หากเทียบจำนวนโครงการที่ผ่านการอนุมัติของบอร์ดสำนักคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ในช่วง ม.ค.-เม.ย.2552 พบว่าจำนวนโครงการลงทุนของนักลงทุน ต่างชาติมีจำนวนโครงการที่ลดลงจากทุกประเทศยกเว้นจากลุ่มสหรัฐยุโรปที่เพิ่มขึ้น 11 โครงการ

สำหรับประเทศที่ยื่นขอส่งเสริมการลงทุนญี่ปุ่นยังคงเป็นประเทศที่ยื่นขอรับฯสูงสุด โดยยื่นขอ 71 โครงการลดลง 41.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มูลค่าลงทุน 10,148 ล้านบาท ลดลง 47.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน รองลงมาเป็นการลงทุนจากยุโรปมีทั้งสิ้น 46 โครงการมูลค่า 5,660 ล้านบาท มูลค่าลดลงคิดเป็น 77.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งหากแยกเป็นทุนจดทะเบียนพบว่านักลงทุนจากญี่ปุ่นลดลงมากที่สุดโดยระหว่างเดือน ม.ค. - เม.ย.2551 มียอดออกบัตรส่งเสริมถึง 12, 7000 ล้านบาทแต่ช่วงเดียวกันของปีนี้ (ม.ค.-เม.ย. 2552) เหลือยอดออกบัตรส่งเสริมเพียง 2,100 ล้านบาทเท่านั้น

นอกจากนี้การยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติ(FDI) มีทั้งสิ้น 186 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 21,672ลดลงทั้งจำนวนโครงการและเงินลงทุนจากช่วงเดียวกันของปีก่อนโดยจำนวนโครงการลดลง 123 โครงการหรือคิดเป็นการเปลี่ยนแปลงลดลง 39.8% ขณะที่เงินลงทุนลดลง 69,837 ล้านบาทหรือคิดเป็นสัดส่วนที่ลดลง 76.3%

ทั้งนี้จำนวนโครงการจากต่างชาติที่ยื่นขอส่งเสริมการลงทุนคิดเป็น 63.3 % ของจำนวนโครงการทั้งสิ้นที่ยื่นขอส่งเสริม (294 โครงการ) ปริมาณเงินลงทุนคิดเป็น 15.8 %ของปริมาณเงินลงทุนทั้งสิ้นที่ยื่นขอส่งเสริม (137,072 ล้านบาท) อุตสาหกรรมที่นักลงทุนต่างชาติยื่นขอส่งเสริมและมีปริมาณเงินลงทุนสูงสุด คือ กิจการบริการและสาธารณูปโภคในภาคอุตสาหกรรม รองลงมาคือ กิจการผลิตชิ้นส่วนโลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง

'ต้องยอมรับว่าโครงการลงทุนขนาดใหญ่ช่วงนี้จะไม่มีการลงทุนใหม่เพราะบริษัทต่างๆต้องรอดูสถานการณ์ของวิกฤตเศรษฐกิจโลก และสถานการณ์ทางการเมืองของไทย' 'ดร.อรรชกา ศรีบุญเรือง บริมเบิล' เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กล่าวยืนยันถึงสถานการณ์ในขณะนี้

ทว่าผ่านไปเพียงไตรมาสแรกบีโอไอได้ปรับเป้าหมายตัวเลขการส่งเสริมการลงทุนถึง 3 ครั้ง โดยเริ่มศักราชใหม่ได้ตั้งเป้าหมายการส่งเสริมลงทุนไว้ถึง 650,000 ล้านบาทและเมื่อกลางเดือนเมษายนที่ผ่านมาก็ปรับตัวเลขลดลงเหลือเพียง 600, 000 ล้านบาท แต่ล่าสุด BOI ยังได้รับลดตัวเลขส่งเสริมการลงทุนเหลือเพียงแค่ 450,000ล้านบาทในปีนี้เท่านั้น

'จีน-อินเดีย'อีกความหวังปักธงไทย

ดังนั้นบีโอไอ จึงจำเป็นจะต้องออกไปโรดโชว์ต่างประเทศเพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาลงทุนในไทย ล่าสุดเมื่อวันที่ 2 มิ.ย.ที่ผ่านมาทางกระทรวงอุตสาหกรรมโดยนายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมพร้อมด้วยบีโอไอได้เดินทางไปยังประเทศอินเดียเพื่อพบปะนักลงทุนที่สนใจลงทุนในไทยรวมถึงอธิบายสถานการณ์ทางการเมืองของไทย ซึ่งเบื้องต้นนักลงทุนอินเดียสนใจลงทุนเกี่ยวกับ เคมีภัณฑ์ ,ปุ๋ย และ รถยนต์ เป็นต้นเพราะมีความเชี่ยวชาญในเรื่องดังกล่าว

ขณะที่นักลงทุนจากประเทศจีนเป็นอีกกลุ่มที่บีโอไอให้ความสนใจในขณะนี้เพราะจีนเป็นประเทศที่มีศักยภาพมากในเรื่องการลงทุน ล่าสุด บีโอได้เปิดสำนักงานเศรษฐกิจการลงทุน ประจำกรุงปักกิ่งไปแล้วเมื่อเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นสำนักงานแห่งที่ 2 ของบีโอไอในประเทศจีน และจะช่วยสนับสนุนความร่วมมือด้านการลงทุนของทั้งสองประเทศได้ดียิ่งขึ้น โดยจะช่วยให้บีโอไอสามารถเข้าถึงและรองรับนักธุรกิจจีนที่สนใจเข้ามาลงทุนในไทยได้มากยิ่งขึ้น และสะท้อนให้นักธุรกิจจีนเห็นว่า ประเทศไทยให้ความสำคัญกับนโยบายการออกไปลงทุนในต่างประเทศของภาครัฐและเอกชนของจีน และประมาณเดือนก.ค.-ส.ค. บีโอไอก็จะเปิดสำนักงานแห่งที่ 3 อีกที่เมืองกวางโจว

สำหรับนักลงทุนจากประเทศจีน จะสนใจในกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลและอุปกรณ์ กลุ่มงานโลหะต่างๆ กลุ่มยาและเวชภัณฑ์ และกลุ่มพลังงานทางเลือก ทั้งนี้ ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2552 มูลค่าเงินลงทุนของโครงการที่ขอรับส่งเสริมการลงทุนจากจีน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 25 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา แสดงให้เห็นถึงความสนใจในประเทศไทยอย่างต่อเนื่องของนักลงทุนจีน

ดังนั้นการออกไปโรดโชว์และเปิดสำนักเศรษฐกิจการลงทุนในต่างประเทศของบีโอไอ นั้นจะช่วยให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวหรือไม่เป็นเรื่องต้องติดตาม   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us