Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายวัน8 มิถุนายน 2552
5เดือนตปท.ซื้อสุทธิ1.5หมื่นล.             
 


   
search resources

Stock Exchange




เม็ดเงินต่างชาติทะลักเข้าตลาดหุ้นไทยไม่หยุด พบตั้งแต่ต้นปีซื้อสุทธิแล้ว 1.5 หมื่นล้าน ภาพรวมปรับตัวดีขึ้นมาตั้งแต่มีนาคมเป็นต้นมา ดันวอลุ่มซื้อขายเฉลี่ยต่อวันขยับเข้าใกล้ 1.3 หมื่นล้านบาท จากความมั่นใจในทิศทางเศรษฐกิจที่เริ่มมีสัญญาณฟื้นตัว โบรกเกอร์ยอมรับได้อานิสงส์ ยอดมาร์จิ้นโลนปรับเพิ่ม บล.ฟิลลิปและกิมเอ็ง โชว์พุ่งขึ้น 50-60% ตามความต้องการเม็ดเงินลงทุน ส่วนมิ.ย.นี้ยกปัจจัยราคาน้ำมัน และสถานการณ์โลกเป็นตัวบ่งชี้การขึ้นลงดัชนี

ตลาดหุ้นไทยในเดือนพฤษภาคม 2552 ที่ผ่านมา ได้ส่งสัญญาณปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน หลังจากที่นักลงทุนต่างคาดการณ์ ว่า สถานการณ์เศรษฐกิจทั่วโลกได้ผ่านพ้นจุดต่ำสุดไปเรียบร้อยแล้ว และยังมีแนวโน้มที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้น จากตัวเลขทางเศรษฐกิจที่เป็นดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจเริ่มปรับตัวดีขึ้น สืบเนื่องจากมาตรการสำคัญๆ ที่ทุกๆ ประเทศทั่วโลกร่วมกันนำออกมาใช้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

ASTV ผู้จัดการรายวัน ได้สำรวจภาวการณ์ลงทุนในตลาดหุ้นทั้งตั้งแต่ต้นปี 2552 พบว่า ตลาดหุ้นไทยเริ่มปรับตัวดีขึ้น แม้ในช่วง 1-2 เดือนแรกของปี ยังได้รับกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องจากปลายปี 2551 แต่ดัชนีตลาดหุ้นไทยและมูลค่าการซื้อขายได้ปรับตัวดีขึ้นในช่วงเดือนมีนาคม – พฤษภาคม 2552

โดยดัชนีตลาดหุ้นไทยได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นและปิดที่ 560.41 จุด (31 พ.ค. 52) เทียบกับสิ้นปี 2551 ที่ระดับ 449.96 จุด (31 ธ.ค.51) ปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 110.45 จุด หรือคิดเป็น 24.55% ขณะที่มูลค่าตามราคาตลาดรวม (มาร์เกตแคป) ขยับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 4.45 ล้านล้านบาท จากสิ้นปีก่อนอยู่ที่ 3.57 ล้านล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นกว่า 0.88 ล้านล้านบาท คิดเป็น 24.65%

หากพิจารณาจากมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์เฉลี่ยต่อวันตั้งแต่ต้นปี 2552 พบมูลค่าการซื้อขายคึกคักมากขึ้นเช่นกัน คือมีมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันรวมอยู่ที่ 12,848.27 ล้านบาท โดยแต่ละเดือนตั้งแต่มกราคม – พฤษภาคม 2552 มีมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 10,575.86 ล้านบาท 7,233.25 ล้านบาท 8,149.70 ล้านบาท 15,472.57 ล้านบาท และ 24,418.50 ล้านบาท ตามลำดับ

จากบรรยากาศการซื้อขายที่คักคักนั้น ส่วนหนึ่งเกิดจากนักลงทุนต่างประเทศที่เริ่มเกิดความมั่นใจและกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทยอีกครั้ง ส่งผลให้เริ่มมียอดซื้อสุทธิกลับเข้ามาตั้งแต่เดือนมีนาคม 2552 จากก่อนหน้าที่มียอดขายสุทธิมาตลอด โดยตั้งแต่ มกราคม – กุมภาพันธ์ นักลงทุนต่างชาติมียอดขายสุทธิ 4,218.90 ล้านบาท และ 3,475.65 ล้านบาท ขณะที่ มีนาคม – พฤษภาคม มียอดซื้อสุทธิ 2,148.12 ล้านบาท 3,815.99 ล้านบาท และ 8,089.72 ล้านบาท

ขณะเดียวกัน ได้ส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติมียอดซื้อสุทธิตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 6,359.28 ล้านบาท และส่งผลให้ล่าสุด (5 มิ.ย. 52) ยอดซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติเพิ่มขึ้นสูงกว่า 15,108.58 ล้านบาท

มาร์จิ้นโลนขยับตามดัชนี

นายสุชาย สุทัศน์ธรรมกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.)ฟิลลิป(ประเทศไทย) เปิดเผยว่า จากการที่ภาวะตลาดหุ้นไทยมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นนั้น ทำให้นักลงทุนมีความต้องการการเงินทุนเข้ามาลงทุนมากขึ้น โดยเฉพาะการมาขอวงเงินสินเชื่อเพื่อซื้อหลักทรัพย์ (มาร์จิ้นโลน) ทำให้ช่วงนี้บริษัทหลักทรัพย์ (โบรกเกอร์)ต่างๆมีการปล่อยมาร์จิ้นมากขึ้น

ทั้งนี้ยอดการปล่อยมาร์จิ้นของบล.ฟิลลิป มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น 50-60% มาอยู่ที่ระดับ 500 ล้านบาท จากช่วงต้นปีที่อยู่ที่ระดับ 300 ล้านบาท โดยนักลงทุนเข้ามาขอวงเงินกู้มากขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนมิถุนายน นี้ ซึ่งส่วนใหญ่ลูกค้าที่เข้ามาขอมาร์จิ้นโลนนั้น จะเป็นลักษณะการซื้อขายรายวัน จึงถือว่าเป็นเรื่องที่ดีกับบริษัททำให้มีความเสี่ยงที่ต่ำกว่าลูกค้าที่มีการขอวงเงินมาร์จิ้นซื้อหุ้นในพอร์ตนานๆ

อีกทั้งจากเรื่องดังกล่าว ทำให้บริษัทใช้เงินจำนวนไม่มากในการปล่อยมาร์จิ้น โลน เพราะ เม็ดเงินจะหมุนเวียน และลูกค้าของบริษัทมีการหมุนเวียนในการซื้อขายหุ้นเพิ่มขึ้น แต่การที่นักลงทุนมีการเข้ามาขอมาร์จิ้นโลนในปริมาณที่สูงนั้น จะเกิดระยะสั้นเท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นจังหวะที่ดีในการทำธุรกิจของโบรกเกอร์ที่จะได้รับรายได้จากการปล่อยมาร์จิ้นมากขึ้นในช่วงไตรมาส2/52 นี้

“ในช่วงภาวะที่ตลาดหุ้นมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นนั้นทำให้นักลงทุนต้องการกำลังในการซื้อหุ้นมากขึ้น ทำให้บล.มีการปล่อยวงเงินมาร์จิ้นมากขึ้นในช่วง 1-2 เดือนนี้ แต่ลักษณะแบบนี้จะเกิดขึ้นปีละ 1-2 ครั้งเท่านั้น ทำให้ช่วงนี้การปล่อยมาร์จิ้นของโบรกเกอร์จะสูงขึ้น ซึ่งของบริษัทนั้นก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน 50-60% แต่วงเงินการปล่อยของบริษัทไม่มากจากการที่ลูกค้ามีการเทรดระยะสั้น ซื้อขายภายในวันเดียวกัน หรือซื้อวันนี้ขายพรุ่งนี้เป็นส่วนใหญ่” นายสุชาย กล่าว

ด้านนายมนตรี ศรไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) กล่าวว่า ในช่วง 1-2 เดือนนี้ มูลค่าการปล่อยมาร์จิ้นของบริษัทปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 1,600 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงต้นปีที่มีนักลงทุนมาขอวงเงินมาร์จิ้นน้อย เพียง 1,000 ล้านบาท เนื่องจาก ภาวะตลาดหุ้นมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจึงทำให้นักลงทุนมีความต้องการเม็ดเงินเข้ามาลงทุนในช่วงนี้ โดยการที่บริษัทมีการปล่อยมาร์จิ้นมากขึ้น ไม่ได้เกี่ยวกับการที่บล.เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ หยุดในการปล่อยมาร์จิ้น แต่อย่างใด

แนะติดตามเพื่อนบ้าน-ราคาน้ำมัน

ส่วนดัชนีตลาดหลักทรัพย์เมื่อวันศุกร์ (5มิ.ย.)ที่ผ่านมา พบว่ายังปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 10 จุด เป็นวันที่ 3 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยปิดที่ 604.57 จุด เพิ่มขึ้น 10.97 จุด หรือ 1.85% ระหว่างวันปรับตัวสูงสุด 605.34 จุด ตำสุดที่ 595.47 จุด มูลค่าการซื้อขาย 31,493.58 ล้านบาท และนับเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 8 เดือนที่ดัชนีหุ้นไทยกลับมาแตะในระดับ 600 จุดได้อีครั้ง โดยนักลงทุนต่างประเทศซื้อสุทธิ 2,131.56 ล้านบาท

นายโกสินท์ ศรีไพบูลย์ ผู้อำนวยการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ยูโอบีเคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ UOBKH กล่าวว่า ดัชนีตลาดหลักทรัพย์สัปดาห์ที่แล้ว (5มิ.ย.) ค่อนข้างสดใส ผลจากราคาน้ำโลกขยับขึ้นต่อเนื่องจนมาแตะ 69.15 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาเรลล์ ส่วนความวุ่นวายของการเมืองนั้นไม่มีผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวของนักลงทุนในการซื้อขายหลักทรัพย์แต่อย่างใด

สำหรับแนวโน้มดัชนีตลาดหุ้นไทยวันนี้ (8มิ.ย.) คาดว่าแกว่งตัวในกรอบแคบๆ โดยนักลงทุนควรจับตาดัชนีดาวโจนส์ รวมถึงราคาน้ำมันโลก ดังนั้นจึงแนะนำให้นักลงทุนควรทยอยเทขายหุ้นทำกำไรระยะสั้นเมื่อดั ชนีเข้าใกล้แนวต้าน เพื่อป้องกันความเสี่ยงหลังราคาหุ้นปรับขึ้นอย่างต่อเนื่องหลายวัน ทั้งนี้ประเมินแนวรับอยู่ที่ 590-595 จุด และแนวต้านอยู่ที่ 610 จุด

ด้านนายเตชธร ลาภอุดมสุข ผู้อำนวยการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.เอเซียพลัส จำกัด (มหาชน) หรือ ASP กล่าวว่า สัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดหุ้นไทย เคลื่อนไหวด้านบวก หลังราคาน้ำมันโลกทะยานขึ้นเกือบแตะ 70 ดอลลาร์ต่อบาเรลล์จนทำให้มีแรงซื้อเข้ามาในหุ้นกลุ่มพลังงาน เช่น PTT PTTEP ตลอดทั้งวัน ขณะที่ปัจจัยทางการเมืองในประเทศนั้นไม่มีผลต่อการเคลื่อนไหวต่อดัชนีมากนัก เนื่องจากไม่มีปัจจัยที่กระตุ้นหรือฉุดความเชื่อมั่นของนักลงทุน

“บรรยากาศซื้อขายหุ้นไทยวันนี้ เชื่อว่าจะเคลื่อนไหวกรอบแคบๆ แต่อย่างไรก็ดีควรรอดูราคาน้ำโลก และตลาดหุ้นเอเชีย และปัจจัยต่างประเทศ ส่วนกลยุทธ์การลงทุนแนะให้นักลงทุนควรทยอยขายหุ้นกลุ่มพลังงานหากดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นและทยอยเก็บหุ้นกลุ่มรับเหมาเมื่อดัชนีอ่อนตัวลงเข้าใกล้แนวรับ โดยให้กรอบแนวรับที่ 610-615 จุด ส่วนแนวต้านที่ 610 จุด

ขณะที่ภาพรวมตลาดหุ้นไทยในช่วงเดือนมิถุนายน 52 คงต้องจับตาราคาน้ำมันโลกซึ่งจะเป็นตัวบ่งชี้การปรับขึ้นลงของดัชนีเพราะเป็นกลุ่มที่มีสัดส่วนค่อนข้างมากในตลาด รวมถึงปัจจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของสหรัฐฯภายใต้การนำของนายบารัค โอบามา

ด้านนายรณกฤต สารินวงศ์ ผู้อำนวยการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.คันทรี่กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ CGS กล่าวว่า บรรยากาศการซื้อขายหุ้นไทยสัปดาห์ก่อน ทะยานขึ้นกว่า 10 จุด โดยมีแรงซื้อเขามาอย่างหนาแน่ในหุ้นกลุ่มธนาคารพณิชย์ พลังงาน และขนส่ง ตามการเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นเอเชียและสหรัฐฯ ทำให้คาดว่าดัชนีหุ้นไทยวันนี้น่าจะบวกต่อได้อีก แต่ก็ไม่ควรประมาทและต้องสังเกตการปรับขึ้นลงของตลาดหุ้นต่างประเทศและราคาน้ำมันโลก ด้วยดังนั้นจึงแนะนำในช่วงนี้ควรซื้อขายในระยะสั้นตามการเคลื่อนไหวต่างประเทศ ซึ่งมองแนวรับอยู่ที่ 595 จุด และแนวต้านอยู่ที่ 630 จุด   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us