Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2530








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2530
อาณาจักรของไซม ดาร์บี้หวั่นไหวเล็กน้อยแต่ยังมั่นคงดี             
 


   
www resources

โฮมเพจ ไซม ดาร์บี้ (Sime Darby )

   
search resources

ไซม ดาร์บี้ (Sime Darby)
Commercial and business
Agriculture




ในมาเลเซีย ถ้าพูดถึงกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรที่มีขนาดใหญ่ระดับ เจ้าพ่อ ไซม ดาร์บี้ (Sime Darby) เป็นที่รู้จักกันมากที่สุด The Economist (ฉบับที่ 13-19 มิถนายน 1987) กล่าวถึงกลุ่มบริษัทนี้ว่า กำลังเผชิญปัยหาวิกฤติการณ์ด้านผลการประกอบการ เนื่องจากผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกตกต่ำ แต่ปัญหานี้ก็ไม่หนักหนาเท่าไรนัก เมื่อเทียบกับความยิ่งใหญ่ กล่าวในท้ายสุดแล้ว กลุ่มนี้ The Economist ยังเชื่อว่า ฐานะทางธุรกิจของเขายังมั่นคงดีพอ "นิตยสารผู้จัดการ" เห็นว่า เนื้อหาใจความของรายงานข่าวของกลุ่มบริษัท ไซม ดาร์บี้ น่าสนใจศึกษาไม่น้อย อย่างน้อยที่สุดก็สามารถหยิบยกเป็นตัวอย่างกรณีศึกษาสำหรับกลุ่มธุรกิจรายใหญ่บ้านเราได้บ้างว่า เขาได้คิดแก้ปัญหาความยุ่งยากทางการประกอบการของเขาอย่างไร…..

ไซม ดาร์บี้ (Sime Darby) เป็นกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ ที่รู้จักกันดีในมาเลเซียกำลังอยู่ในภาวะที่ยุ่งยากพอสมควรในผลการประกอบการ กล่าวคือในช่วงครึ่งหลังของปี 1986 ผลกำไรก่อนหักภาษีตกต่ำลงประมาณ 22% เหลือเพียง 77.3 ล้านเหรียญมาเลย์ (30.9 ล้านเหรียญสหรัฐ) ทั้งที่ยอดขายเพิ่มสูงถึง 1.6 พันล้านเหรียญมาเลย์หรือขึ้นเป็น 11% นักวิเคราะห์ได้กล่าวว่า การบริหารจัดการของกลุ่มบริษัทนี้ยังไม่มีอะไรน่าเป็นห่วงการคิดที่จะลงทุนในหุ้นของกลุ่มบริษัทนี้น่าจะสงวนไว้ก่อน (hold) หรือกล่าวอีกแง่หนึ่งถ้ากำลังถือหุ้นนี้อยู่ ก็ยังไม่น่าจะรีบขายออกไป แต่อย่างไรก็ตามก็ปรากฏมีข่าวว่า Kuwait Investment Office ได้เข้ามาซื้อหุ้นนี้ไว้แล้วประมาณ 6.9%

"ไซม ดาร์บี้ แก้ปัญหาการประกอบการตกต่ำ

โดยการตัดทิ้งบริษัทที่ขาดทุนโดยการขายทิ้งไป

และเสริมความแข็งแกร่งให้กับบริษัทธุรกิจที่ดีอยู่แล้ว ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น

โดยการเสริมทักษะการบริหารจัดการให้เหนือกว่าคู่แข่ง"

ไซม ดาร์บี้ ก่อตั้งธุรกิจมานานแล้วกว่า 77 ปี โดยนักการเกษตรชาวอังกฤษ 2 คน คือ William Middleton Sime ซึ่งอาดีตเป็นนักผจญภัยชาวสก็อตและ Henry Darby ซึ่งอดีตเป็นนายธนาคารชาวอังกฤษ เขาทั้ง 2 คนได้เริ่มต้นธุรกิจ Sime Darby ด้วยการปลูกยางในมะละกาชายฝั่งตะวันตกของมาเลเซียเนื้อที่ 55 เอเคอร์ การผลิต เพื่อมุ่งตอบสนองความต้องการของตลาดโลกเป็นสำคัญ

ในขณะนี้กลุ่มบริษัทของเขามีคนงาน 35,000 คน มีบริษัทในเครือข่ายมากกว่า 200 บริษัททั่วโลก และขยายธุรกิจออกไปสู่สาขาต่าง ๆ มากมาย เช่น รองเท้า ประกันภัย และรถเช่า เป็นต้น แต่ธุรกิจหลักของกลุ่มบริษัท ไซม ดาร์บี้ ยังคงเป็นกิจการที่ได้จากพืชผลเกษตรพวก ยาง โกโก้ และน้ำมันปาล์ม ด้วยเหตุนี้เมื่อภาวะเศรษฐกิจโลกตกต่ำ ราคาสินค้าเกษตรก็ตกต่ำ อุปทานในตลาดมีล้นเกินและผู้ใช้มีการใช้วัตถุดิบอื่นทดแทน ก็เยทำให้กลุ่มธุรกิจของไซม ดาร์บี้ ที่เน้นหนักธุรกิจเกษตร ต้องพลอยได้รับผลกระทบกระเทือนไปด้วย

เมื่อปีกลายมีข่าวไม่สู้ดีนักในธุรกิจผลิตน้ำมันปาล์มของกลุ่ม ซึ่งก็เป็นที่ทราบกันดีว่า น้ำมันปาล์มนี้ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันพืชประกอบอาหาร เครื่องสำอางและสบู่ กล่วคือในช่วงปี 1984 ราคาเฉลี่ยน้ำมันปาล์มตกตันละ 1,294 เหรียญมาเลย แต่ปีกลายตกลงเหลือเพียงตันละ 779 เหรียญมาเลย์เท่านั้น และน้ำมันจากปาล์มเกรดดีได้ตกลงเหลือพียงตันละ 368 เหรียญมาเลย์และ 411 เหรียญมาเลย์ในปี 1984 และ 1983 ตามลำดับ ผลการประกอบการช่วงครึ่งปีแรกของปี 1986 ธุรกิ่จเกษตรและการค้าพืชผลผลิตเกษตรของกลุ่มมีสัดส่วนคิดเป็น 37% ของยอดขายทั้งหมดขอกงลุ่มและสามารถทำกำไร (ก่อนหักภาษี) ได้ 41% ของทั้งหมด แต่พอมาเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งหลังของปี 1986 ปรากฏว่ารายได้จากธุรกิจเกษตรส่วนนี้ตกลงเหลือเพียง 20.3 ล้านเหรียญมาเลย์ จาก 46.7 ล้านเหรียญมาเลย์ของระยะเดียวกับของปีก่อน เหตุไรธุรกิจของกลุ่มซึ่งมีแนวโน้มตกลงเช่นนี้ เหตุผลหนึ่ก็คือว่าวัฏจักรสินค้าเกษตรดังกล่าวไม่มีความแน่นอนในตัวของมันเอง และนอกจากนี้ยังมีเหตุผลอื่น ๆ อีก เช่น ลูทางการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็มีจำกัด การแสวงหาลู่ทางไปยังดินแดนนอกกลุ่มภูมิภาคนี้ ก็ต้องเผชิญกับการแข่งขันจากคู่แข่งสูงซึ่งมีความเสี่ยงมากไม่น้อยเหมือนกัน

ดังที่กล่าวมาแล้วว่า จากการเริ่มต้นธุรกิจด้วยเนื้อที่ 500 เอเคอร์เพื่อปลูกสวนยาง ทางชายฝั่งตะวันตกของมาเลเซีย Sime และ Darby ได้ผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดโลกที่กำลังบูมอย่างมาก เป็นผลให้เขาสามารถทำกำไรในธุรกิจได้อย่างงดงามในระหว่างช่วงปีทศวรรษที่ 20 เขาได้ขยายเนื้อที่เพาะปลูกสวนยางออกไปอีกและขณะเดียวกันก็ขยายประเภทธุรกิจออกไปเป็นผู้แทนการค้านำเข้า

ในช่วงปี 1929 Sime Darby เป็นตัวแทน แทรคเตอร์ คาร์เตอร์พิลล่า (Carterpilla) ซึ่งเขาได้ใช้มันเป็นเครื่องมือในการบุกเบิกพัฒนาที่ดินเพาะปลูกที่ขยายตัวออกไป ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1970 ธุรกิจของกลุ่ม Siam Darby ได้พุ่งสูงถึงขีดสุด เขาได้ขยายธุรกิจไปเพาะปลูกพืชเช่น โกโก้ น้ำมันปาล์ม ที่ให้ผลตอบแทนกำไรต่อเอเคอร์สูงกว่าสวนยาง ผลผลิตเหล่านี้จะช่วยปกป้องฐานะการประกอบการได้ เมื่อราคาตกต่ำลงด้วยสามารถนำไปใช้แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรมเกษตรได้

ด้วยผลสำเร็จเหล่านี้ ทำให้มีความเชื่อมั่นในโครงการขยายประเภทธุรกิจออกไปสู่สาขาต่าง ๆ มากขึ้น เช่น วิศวกรรม ประกันภัย นายหน้าค้าเงิน การขนส่ง และโรงงานอุตสาหกรรมอาหารในฮ่องกง การเติบโตของ Sime Darby อย่างขีดสุดนี้จูงใจให้รัฐบาลกลางมาเลเซียได้เข้ามาเทคโอเวอร์หุ้นส่วนบริษัทในกลุ่มด้วย ในฐานะเป็นกลุ่มธุรกิจของชาวอังกฤษนั่นเอง

Pernas ซึ่งเป็นบริษัทการค้าของรัฐบาลได้เข้าซื้อหุ้นของบริษัทในตลาดลอนดอน จนสามารถเข้าไปมีส่วนควบคุมการบริหารการประชุมสามัญประจำปีของกลุ่มบริษัท Sime Darby เมื่อปี 1976 ปีชาวเอเชียน 3 นายได้รับเลือกจากที่ประชุมเป็นกรรมการบริหารและตุน ตัน ซิว ซิน (Tun Tan Siew Sin) อดีตรัฐมนตรีการคลังรัฐบาลมาเลเซียและเป็นบุตรชายกรรมการบริษัทรุ่นแรกได้รับเลือกเป็นประธานกลุ่มบริษัท Sime Darby (เดี๋ยวนี้เขาก็ยังดำรงตำแหน่งประธานอยู่)

ธุรกิจของกลุ่ม Sime Darby ขยายไปรวดเร็วเหลือเกิน ในช่วงต้นของทศวรรษที่ 1980 กลุ่มธุรกิจ Sime Darby ได้เข้าดำเนินกิจการอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ค้าอสังหาริมทรัพย์, เช่าซื้อ และค้าคอมมอดิตี้ นอกจากนี้ยังเข้าดำเนินกิจการผลิตภัณฑ์อโลหะอีกด้วย ในประเทศสิงคโปร์ กลุ่ม Sime Darby เข้าดำเนินกิจการรถยนต์เป็น เฟรนไชต์ BMW, Ford และ Land Rover และเป็นตัวแทนจำหน่ายแต่ผู้เดียวในภูมิภาคอาเชี่ยนของแอปเปิ้ลคอมพิวเตอร์ ในฟิลลิปปินส์เข้าซื้อกิจการธุรกิจผลิต-ค้ายางของบริษัท B.F. Gord rich และเริ่มเปิดประตูการค้ากับประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน

อย่างไรก็ตาม ธุรกิจขนาดใหญ่ ๆ ของกลุ่มบริษัทยักษ์ใหญ่จากลอนดอนกับสิงคโปร์เริ่มซวดเซในผลการดำเนินการ Sime Darby ก็หลีกไม่พ้นเช่นกัน ในปี 1983 คือ ผลกำไรมี 110.9 ล้านเหรียญมาเลย์จากยอดขาย 2.2 พันล้านเหรียญมาเลย์ รายได้ต่อหุ้นได้ลดลงจาก 17.3 เซ็นต์ ในปี 1981 เหลือ 7.4 เซ็นต์ แต่ก็ยังดีกว่าปีกลายที่ให้ผลตอบแทนเพียง 6.4 เซ็นต์เท่านั้น

ตัดทิ้งบริษัทเครือข่ายที่ขาดทุน

Sime Darby แก้ปัญหาผลการประกอบการตกต่ำอย่างไรเพื่อคงความแข็งแกร่งไว้อย่างเดิม ตันกู อาหมัด (Tunku Ahmad) หัวหน้าคณะผู้บริหารตั้งแต่ปี 1983 และอดีตกัปตันทีมฟุตบอลมหาวิทยาลัยบริสตอล อังกฤษ ได้ตอบปัญหานี้ไว้ชัดเจนว่าวิธีการหนึ่งก็คือ ตัดทิ้งบริษัทที่ขาดทุนโดยการขายทิ้งไป อย่างเช่น เขาได้ขายบริษัทธุรกิจใบชาในอินเดีย และถอนตัวออกจากการมีหุ้นส่วนของธุรกิจประกันภัย Fire man's Fund ในซานฟรานซิสโก เป็นต้น อีกวิธีการหนึ่งก็คือ เสริมความแข็งแร่งให้กับบริษัทธุรกิจที่ดีอยู่แล้วให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นในการเสริมทักษะการบริการจัดการให้เหนือกว่าคู่แข่งขันให้ได้

กลุ่มธุรกิจ Sime Darby ยังคงยึดธุรกิจการเพาะปลูกพืชผลเกษตรขนาดใหญ่ ธุรกิจอุตสาหกรรม การค้าแทรคเตอร์ การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และประกันภัย ในดินแดนภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้เป็นจุดหลักของกลุ่มธุรกิจต่อไป ยกเว้นเพียงธุรกิจประกันภัย แยกตัวออกไปเป็นบริษัทมหาชน แต่กลุ่ม Sime Darby ก็ยังคงถือหุ้นและควบคุมการบริหารใหญ่อยู่

นอกจากนี้ ทางกลุ่ม Sime Darby ยังได้จัดตั้งโครงสร้างการบริหารกลุ่มใหม่ที่เรียกว่า "Mini Conglomerates หรือกึ่ง ๆ การกระจุกตัวบริหารธุรกิจ" กระจายตามดินแดนภูมิภาคประเทศต่าง ๆ (เช่น Sime Darby ฮ่องกง รับผิดชอบธุรกิจการจำหน่ายเครื่องมือเครื่องจักรการก่อสร้าง Sime Darby สิงคโปร์ ก็รับผิดชอบธุรกิจการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น)

"ด้วยเหตุนี้ จึงไม่เป็นที่สงสัยเลยว่า

เหตุไรหุ้นของบริษัท ไซมดาร์บี้ ในตลาดกัวลาลัมเปอร์และสิงคโปร์

จึงมีผู้สนใจลงทุนกันมาก เหตุผลสำคัญก็อยู่ที่ว่า

แม้ว่าบริษัทนี้จะมีผู้บริหารที่จบการศึกษาระดับปริญญาโทบริหารธุรกิจไม่มากนักก็ตาม

แต่ก็เป็นที่ยอมรับกันว่ามีการบริหารงานที่ดีที่สุด

เมื่อเทียบกับบริษัทอื่น ๆ ในประเทศเหล่านี้"

กฎเกณฑ์การดำเนินธุรกิจของบริษัทสาขาต่าง ๆ จะอยู่ภายใต้การควบคุมของกฎหมายมหาชน และหัวหน้าคณะบริหารประจำภูมิภาคและหัวหน้าบริษัทแต่ละสาขาจะต้องมาพบปะประชุมกันเดือนละ 1 ครั้ง แนวคิดการบริหารจัดการเช่นนี้ก็คล้าย ๆ กับการบริหารแบบกระจุกตัว เพียงแต่กระจายความรับผิดชอบและอำนาจไปสู่หัวหน้าบริษัทประจำภูมิภาคต่า ๆ มากขึ้น เป็น Resinal Multinational

ระบบการบริหารแบบนี้ จะทำให้กลุ่มธุรกิจ Sime Darby แต่ละสาขาสามารถคานผลการดำเนินงานกันได้ กล่าวคือ เมื่อสาขาหนึ่งตกต่ำลงก็จะถูกชดเชยโดยการเติบโตของอีกสาขาอีกแห่งหนึ่งได้ ยกตัวอย่างเช่น

บริษัทสาขาของ Sime Darby ในภูมิภาคเอเชียน ซึ่งประกอบด้วย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ไทย บรูไน ฮ่องกง และออสเตรเลีย ซึ่งส่วนใหญ่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับสินค้าเกษตร ยกเว้นฮ่องกงและบางส่วนของออสเตรเลีย เมื่อปีที่แล้วราคาสินค้าเกษตรตกต่ำมากตามภาวะเศรษฐกิจที่มีอัตราการเติบโตตกต่ำทั่วโลก ผลเช่นนี้ทำให้ธุรกิจสินค้าเกษตรของ Sime Darby มีกำไรตกต่ำลง นอกจากนี้ธูรกิจเครื่องมือกลก็มียอดขายลดลง 25% ธุรกิจประกันภัยก็มีกำไรลำต่ำลง ยอดขายยางรถยนต์ก็ตกลงผลกำไรจากธุรกิจการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ตกลงถึง 46%

อย่างไรก็ตาม สำหรับในฮ่องกง ผลกำไรก่อนที่อัตราดอกเบี้ยในตลาดจะสูงขึ้นในกลางปี 1986 เพิ่มขึ้น 23% จากยอดขายที่เพิ่มขึ้น 8% แม้นว่าประเทศจีนจะมีการทบทวนนโยบายการควบคุมการนำเข้าใหม่ก็ตาม ในฟิลิปปินส์ แม้นว่าจะมีเหตุการณ์การปฏิวัติสังคมเกิดขึ้นก็ตาม แต่บริษัทสาขาที่นี่ก็สามารถบริหารยอดขายเพิ่มขึ้น โดยผลกำไรจะลดลงบ้างเล็กน้อยก็ตาม

กล่าวโดยสรุปแล้ว ทฤษฎีความสมดุลในความเสี่ยงระหว่างสาขา ให้ผลอย่างชัดเจนเมื่อพิจารณาจากผลการประกอบการครึ่งปีหลังของปี 1986 ยกตัวอย่าง บริษัทขายแทรคเตอร์ของบริษัทที่มาเลเซีย สามารถทำกำไรได้เพิ่มขึ้นกว่า 10 เท่า เนื่องจากผลการขยายตัวในการเติบโตของอุตสาหกรรมป่าไม้ในซาบาห์และซาราวัค ทำให้มีความต้องการเครื่องมือและอุปกรณ์ชักลากซุงมากขึ้น (Logging Machinery) นักวิเคราะห์แห่งบริษัท Bar clays de Zoete Wedd ได้กล่าวว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในมาเลเซียและสิงคโปร์ ภายใต้สมมติฐานว่าจะไม่มีเหตุการณ์เลวร้ายทางการเมืองในฟิลิปปินส์ น่าจะส่งผลให้ผลการประกอบของบริษัทมีกำไรก่อนหักภาษีเพิ่มขึ้น 15% เป็น 176 ล้านเหรียญมาเลย์ ในระยะครึ่งแรกของปี 1987 นี้

ด้วยเหตุนี้ จึงไม่เป็นที่สงสัยเลยว่าเหตุไรหุ้นของบริษัท Sime Darby ในตลาดกัวลาลัมเปอร์และสิงคโปร์ จึงมีผู้สนใจลงทุนกันมาก เหตุผลสำคัญก็อยู่ที่ว่า แม้นว่าบริษัทนี้จะมีผู้บริหารที่จบการศึกษาระดับปริญญาโทบริหารธุรกิจไม่มากนักก็ตาม แต่ก็เป็นที่ยอมรับกันว่ามีการบริหารงานที่ดีที่สุดเมื่อเทียบกับบริษัทอื่น ๆ ในประเทศเหล่านี้

อย่างไรก็ตาม กล่าวสำหรับในมาเลเซียแล้ว อิทธิพลทางเชื้อชาติและศาสนาก็มีผลต่อการค้าขายการบริหารจัดการธุรกิจต่าง ๆ ในมาเลเซียมากพอสมควร กล่าวคือ ประชากรกว่ารึ่งหนึ่งของชาวมาเลเซียเป็นเชื้อชาติมาเลย์หรือภูมิบุตรา (Bumiputras) ที่มีความหมายถึงลูกชายของดิน (Sons of Soil) 1 ใน 3 เป็นชาวจีน และที่เหลือเป็นอินเดียน ผู้มีอำนาจทางการเมืองเป็นชาวมาเลย์ แต่ผู้มีอำนาจทางเศรษฐกิจกลับเป็นชาวจีน ความไม่สมดุลในปัญหาเชื้อชาติเช่นนี้ทำให้เกิดการจลาจลรุนแรงหลังการเลือกตั้งใหญ่ปี 1969

ในปีหน้า รัฐบาลผสมที่มีชาวมาเลย์หรือภูมิบุตรากุมเสียงข้างมาก จะเริ่มใช้นโยบายเศรษฐกิจใหม่ (NEP) เป้าหมายก็คือเพื่อให้ปี 1990 ที่จะมาถึงนี้ ชาวภูมิบุตราสามารถถือหุ้นในบริษัทธุรกิจต่าง ๆ ได้ 30% ของเงินทุน (Equity) จากที่เคยถือหุ้นเพียง 2% ในปี 1969 และ 18% ในปีปัจจุบัน ซึ่งก็หมายถึงชาวภูมิบุตรก็จะสามารถเข้าไปมีอำนาจในการบริหารจัดการระดับสูงในธุรกิจต่าง ๆ ได้นั่นเอง

ดังนั้น ภายใต้เป้าหมายนโยบายเศรษฐกิจใหม่นี้ ย่อมท้าทายฐานะของธุรกิจต่าง ๆ ในมาเลเซียตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้นไม่ใช่น้อย มันไม่ใช่ปัญหาเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เกี่ยวกับการที่รัฐบาลกลางเรียกร้องให้ธุรกิจต่าง ๆ ยอมรับในนโยบายใหม่นี้ แต่ปัญหามันมีมากกว่านั้น 2 เท่า คือจะยืนยันได้ไหมว่ามีแต่ชาวมาเลย์เท่านั้นที่เข้าซื้อหุ้นในบริษัทมหาชนนั้น ๆ จริง และมีขีดความสามารถและกำลังซื้อหุ้นสูงเพียงพอหรือไม่ ต่อความมุ่งหวังที่จะเข้าไปมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นในความรับผิดชอบฐานะของกิจการ ปัจจุบันนี้กล่าวเฉพาะในบริษัท Sime Darby ก็มีชาวมาเลย์ถือหุ้นอยู่ 30% ของเงินทุน ซึ่งการซื้อขายหุ้นในแต่ละครั้งสามารถตรวจสอบได้ตามตลาดต่าง ๆ ตั้งแต่ ลอนดอน กัวลาลัมเปอร์ สิงคโปร์ และฮ่องกง

แต่อย่างไรก็ตาม การบริหารงานบุคคลในปัญหาเชื้อชาตินี้ก็มีอยู่บ้าง กล่าวคือในประเด็นการรับชาวมาเลย์เข้าทำงานในบริษัทเพราะในธรรมเนียมปฏิบัติธุรกิจเพาะปลูกพืชผลขนาดใหญ่ ชาวอังกฤษเป็นผู้จัดการชาวอินเดียนเป็นลูกจ้างคนงาน โดยสร้างครอบครัวกันในไร่นั้นเลย ฐานะการเป็นคนงานชาวอินเดียน 2 ใน 3 จะทำงานอยู่กับบริษัทที่กระจายอยู่ตามสาขาต่าง ๆ ขณะที่ชาวมาเลย์มีสัดส่วนเพียง 19% เท่านั้นที่ทำงานอยู่กับบริษัท

การดำเนินงานที่มีความสมดุล

อย่างไรก็ตาม โดยเนื้อแท้ของปัญหานั้นอยู่ที่ว่าจะทำอย่างไรกับวัฎจักรการเคลื่อนไหวด้านราคาของสินค้าเกษตรนั้นต่างหาก

วิธีการหนึ่งก็คงจะอยู่กับมาตรการการสร้างผลกำไรต่อเนื้อที่ให้สูงกว่าคู่แข่งขันให้เป็นผลสำเร็จ นัยนี้ก็คงต้องมีการลงทุนโครงการด้านวิจัยและพัฒนาให้มากขึ้น เพื่อพัฒนาคุณภาพของสินค้าให้มีรสชาติสูงยิ่งขึ้นยกตัวอย่างเช่น การผลิตเมล็ดโกโก้ก็คงต้องให้ผลรสชาติหวานกว่าหรือเทียบเท่าที่ผลิตจากอัฟริกาตะวันตก หรืออาจจะต้องปรับปรุงประสิทธิภาพของภาชนะรองรับน้ำยางที่ได้จากการกรีดยางบนต้นยาง ที่สามารถสกัดเอาเฉพาะน้ำยางแท้ ๆ ที่ไม่มีส่วนผสมของน้ำฝนปนอยู่เลย เป็นต้น

อีกวิธีการหนึ่งก็คือ การยืดรายจ่ายกิจกรรมด้านเงินทุนออกไป และแขวนอัตราค่าจ้างเงินเดือนไว้ในระดับเดิม เหมือนกรณีปีที่แล้วที่ราคาน้ำมันปาล์มได้ตกต่ำลงถึงจุดต่ำกว่าต้นทุนการผลิตเสียอีก

และวิธีการสุดท้ายอีกประการหนึ่งก็คือ การผลิตสินค้าให้สมดุลกับความต้องการวิธีการเช่นนี้ใช้ได้กับกรณีการผลิตผลปาล์มที่อยู่ในช่วงที่ราคาเริ่มฟื้นตัวขึ้น กล่าวคือเป้าหมายของบริษัทต้องการจัดสรรเนื้อที่เพาะปลูกผลปาล์มเพิ่มขึ้นเพื่อเร่งผลผลิตน้ำมันปาล์มจาก 65% เป็น 70% ซึ่งจะต้องแบ่งรายจ่ายจากธุรกิจสวนยางมา 24%

ปัญหาหนึ่งที่ประสบก็คือ ต้นยางใช้เวลามากกว่าจะเติบโต ฉะนั้นการคาดหมายวัฏจักรทางการค้าจะต้องมองไปในปีหน้าเนื้อที่ปลูกยางทั้งหมดจะมีประมาณ 3.5-4% ที่จะต้องมีการปลูกใหม่ ต้นยางแต่ละต้นมีวงจรชีวิตทางเศรษฐกิจประมาณ 25 ปี เมื่อผู้ผลิตปลูกต้นยางใหม่ ราคายางจะสูงขึ้นโดยไม่คาดหวังว่ามันจะมีราคาตกลงเมื่อต้นยางที่ปลูกใหม่ออกดอกออกผล ราคายางกลับตรงข้ามกับที่คาดหวัง มันตกลงมา สภาพนี้ผู้ผลิตก็จะต้องประสบปัญหาทันที

เคนเนท เอลเลส (Mr. Kenneth Eales) ผู้จัดการชาวอังกฤษของบริษัท Sime Darby ที่รับผิดชอบงานด้านการเพาะปลูกเกษตรขนาดใหญ่ ได้เสนอแง่คิดที่ตรงกันข้ามกับพฤติกรรมการตัดสินใจเพาะปลูกใหม่ข้างต้นว่า การที่สินค้าเกษตร เช่น ผลปาล์มมีราคาสูงขึ้นและให้ผลตอบแทนต่อเนื้อที่ดีไม่น่าจะขยายเนื้อที่เพาะปลูกใหม่ ตรงข้ามควรจะยืดเวลาโครงการลงทุนเพาะปลูกใหม่ ่หลักการความคิดนี้ ก็เหมือนกับการผลิตยางทางบริษัท จะยืดเวลาการขยายเนื้อที่เพาะปลูกสวนยางใหม่ออกไป เมื่อราคายางคงที่และมีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้น

อย่างไรก็ตาม ถึงการบริหารธุรกิจเพาะปลูกพืชผลเกษตรขนาดใหญ่จะดีอย่างไรก็ตาม ธุรกิจส่วนนี้ของ Sime Darby ก็ยังขึ้นอยู่กับโอกาสเสมอ ผลผลิตยาง 90% โกโก้ 80% และน้ำมันปาล์ม 74% ล้วนแล้วแต่เป็นการผลิตเพื่อส่งออก ซึ่งต้องประสบกับไม่เพียงแต่เงื่อนไขภาวะเศรษฐกิจของระหว่างประเทศเท่านั้น หากยังเกี่ยวข้องกับเงื่อนไขภาวะทางการเมืองระหว่างประเทศด้วย เช่น ภาษีนำเข้าน้ำมันพืชของกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจยุโรป หรือการที่สหรัฐอเมริกากำหนดมาตรฐานการลงโทษอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองที่ใช้น้ำมันปาล์มที่มีไขมันมากเกินไป เป็นต้น

โดยสรุปแล้ว บางทีความมีเสถียรภาพในผลการประกอบการของกลุ่มธุรกิจ Sime Darby อาจจะต้องขึ้นอยู่กับการพึ่งพาอาศัยฐานธุรกิจเกษตรขนาดใหญ่ให้น้อยลง ซึ่งหมายถึงจะต้องขยายฐานธุรกิจออกไปยังประเภทธุรกิจอื่น ๆ ให้มากขึ้น แต่การตัดสินใจทำเช่นนี้ก็ไม่ง่ายนัก เมื่อโอกาสในภูมิภาคนี้มีข้อจำกัด อีกประการหนึ่งทางบริษัท Sime Darby ก็ไม่ปรารถนาขยายอาณาจักรธุรกิจของตนไปด้วยวิธีการใช้ความยิ่งใหญ่ของตัวไปทำลายบริษัทอื่น ๆ ที่เล็กกว่า ซึ่งอาจจะส่งผลให้เกิดความยุ่งยากทางการเมืองตามมาภายหลังได้

ข้อสังเกตนี้ กล่าวในปัจจุบันอาจจะไม่จำเป็นต้องรีบด่วนที่ต้องการคำตอบ เพราะฐานะการประกอบการของกลุ่มยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี เงินทุนและเงินสำรองของกลุ่มบริษัทปีที่แล้วมีอยู่ 2.4 พันล้านเหรียญมาเลย์ ซึ่งจากโครงสร้างของกลุ่มบริษัทเองสามารถหาเงินพิเศษเข้ามาได้โดยการขายหุ้นบางส่วนของบริษัทออกไปในตลาดเท่านั้น เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว บริษัทขายหุ้นบางส่วนของธุรกิจเกษตรขนาดใหญ่ (Consolidated Plantation) เพียง 10% สามารถมีเงินพิเศษเข้ามาถึง 131 ล้านเหรียญมาเลย์ โดยบริษัทยังสามารถถือหุ้นส่วนใหญ่ไว้ได้อยู่ในสัดสวน 52.5% ของมูลค่าหุ้นทั้งหมด ซึ่งแสดงว่าฐานะของกลุ่มบริษัท Sime Darby ยังคงอยู่ในฐานะที่มั่นคง และยังคงมุ่งฐานธุรกิจสินค้าเกษตรต่อไปเป็นจุดหนัก

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us