|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
แม้ว่าชื่อเสียงของ FUJITSU จะเป็นที่แพร่หลายในประเทศไทยมาเนิ่นนาน แต่หากกล่าวเฉพาะถึง Fujitsu Systems Business ขอบเขตทางธุรกิจขององค์กรแห่งนี้อาจถูกจำกัดให้ตีบแคบอยู่เฉพาะแวดวงของกลุ่มธุรกิจจากญี่ปุ่นในประเทศไทยเท่านั้น
แต่นั่นอาจเป็นเพียงภาพอดีตที่กำลังจะกลายเป็นหลักไมล์ที่เคลื่อนผ่าน ก่อนนำไปสู่การรุกคืบทางธุรกิจครั้งใหญ่ของ FUJITSU ที่พร้อมขยายตลาดสู่กลุ่ม ธุรกิจองค์กรและภาครัฐ
การดึงตัววิษณุ ชัยวานิชศิริ อดีตผู้บริหารจากไอบีเอ็มมาเสริมทัพในตำแหน่งรองประธานฝ่ายขายกลุ่มธุรกิจองค์กรและภาครัฐ บริษัท Fujitsu Systems Business (ประเทศไทย) บ่งบอกทิศทางของ FUJITSU ในห้วงเวลานับจากนี้ได้เป็นอย่างดี
"ที่ผ่านมา Fujitsu เน้นหนักไปที่กลุ่มลูกค้าญี่ปุ่นเป็นหลัก แต่นับจากนี้ขอบเขตทางธุรกิจของเราจะแพร่กว้างออกไปอีก" วิษณุบอกผู้จัดการ 360 ํ เมื่อไม่นานมานี้
บริบทของ Fujitsu ในตลาดโซลูชั่น ที่ครบวงจรถือเป็นจุดเด่นที่ยากจะปฏิเสธ เมื่อผสานเข้ากับประสบการณ์ของวิษณุ ดูเหมือนว่าเป้าประสงค์ในการขยายธุรกิจของ Fujitsu ไม่ใช่สิ่งที่เกินเลยแม้แต่น้อย
วิษณุคร่ำหวอดในวงการจัดการและให้คำปรึกษาด้านระบบไอทีที่ไอบีเอ็มมานานกว่า 23 ปี ผ่านประสบการณ์ทั้งด้าน วิศวกรรมระบบ ซึ่งต้องดูแลรับผิดชอบระบบงานในกลุ่มลูกค้าธนาคาร และการเป็นผู้จัดการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า รวมถึงการเป็นผู้จัดการฝ่ายการตลาดระบบงานเอนเตอร์ไพร์ซ
ในปี 2543 เขาได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้จัดการประจำประเทศไทย ของไอบีเอ็มซิสเต็มกรุ๊ป ซึ่งดูแลโซลูชั่นและผลิตภัณฑ์กลุ่มฮาร์ดแวร์ของไอบีเอ็ม ซึ่งประกอบด้วยเซิร์ฟเวอร์ และกลุ่มสตอเรจ รวมถึงการเข้าดูแลส่วนงานขายตรงทางโทรศัพท์ ไอบีเอ็มดอทคอมในภูมิภาคอาเซียน และการให้บริการข้อมูลด้านผลิตภัณฑ์กับลูกค้าทางโทรศัพท์ในประเทศไทย โดยมีตำแหน่งสุดท้ายในไอบีเอ็ม เป็นผู้จัดการฝ่ายการตลาดประจำประเทศไทย ก่อนที่จะมาแสวงหาความท้าทายใหม่ๆ ใน Fujitsu
ความเคลื่อนไหวดังกล่าวสะท้อนทิศทางของ Fujitsu และการแข่งขันในตลาด ไอที โซลูชั่นในห้วงเวลานับจากนี้ได้เป็นอย่างดี เพราะหากพิจารณาจากบริบทของ การแข่งขันในระดับนานาชาติ Fujitsu และไอบีเอ็ม เป็นคู่แข่งขันที่ขับเคี่ยวกันในตลาดไอทีโซลูชั่นอย่างหนักหน่วง การนำอดีตผู้บริหารของบริษัทคู่แข่งสำคัญมาเป็น ส่วนหนึ่งในองค์กรจึงไม่ใช่เรื่องบังเอิญ
กระนั้นก็ดี ภายใต้ตำแหน่งใหม่ ซึ่งวิษณุได้รับการแต่งตั้งมาไม่ถึงปีนี้ เขาไม่ได้มุ่งหมายการเติบโตอย่างก้าวกระโดด เหมือนที่ผู้บริหารรุ่นใหม่บางส่วนวางเป็นเป้าหมายอย่างทะเยอทะยาน
"การลงทุนในเรื่องไอทีและโซลูชั่นเป็นเรื่องใหม่ สำหรับบางองค์กร ขณะที่บางแห่งได้ลงทุนไปก่อนหน้า นี้แล้ว การรุกเข้าไปในกลุ่มลูกค้าแต่ละรายจึงหมายถึงผลิตภัณฑ์และบริการของเรา ต้องแตกต่างจากระบบเดิมที่ พวกเขาใช้อยู่อย่างโดดเด่น และต้องสามารถตอบสนองความต้องการของพวกเขาอย่างชัดเจนด้วย" เขากล่าว อย่างผู้มีประสบการณ์
สอดรับกับสถานการณ์ความเป็นไปของวิกฤติเศรษฐกิจในห้วงปัจจุบัน ซึ่งหลายฝ่ายยังไม่แน่ใจนักว่าจะเข้าสู่จุดต่ำสุดหรือฟื้นตัวขึ้นเมื่อใด ซึ่งอาจทำให้การลงทุนปรับเปลี่ยนระบบงานภายในอาจชะลอตัวไปด้วย
กระนั้นก็ดี ภายใต้เทคโนโลยีที่ Fujitsu ได้พัฒนาขึ้นมา พวกเขาเชื่อว่าจะสามารถเจาะและรุกเข้าสู่กลุ่มลูกค้าเฉพาะ ทางได้หลากหลายกลุ่ม โดยเฉพาะระบบจัดเก็บฐานข้อมูลบุคคลแบบ Vein scanner ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ทั้งในมิติของความมั่นคง การให้บริการและการตรวจสอบภายใน
Vein Scanner เป็นเทคโนโลยีการบ่งชี้บุคคลที่ใช้แนวความคิดหลักคล้าย คลึงกับเทคนิคของ finger print scanner ที่เชื่อว่าลายนิ้วมือของบุคคลมีลักษณะเฉพาะ แต่ด้วยเหตุที่ Vein Scanner ใช้วิธีบ่งชี้บุคคลด้วยลักษณะการจัดเรียงของเส้นโลหิต ทำให้ระบบดังกล่าวสามารถป้องกันการทุจริตและปลอมแปลงได้มากขึ้น
ปัจจุบันระบบดังกล่าวได้เข้ามาแทนที่ finger print scanner ในระบบ access&security control บ้างแล้ว แต่นั่นอาจไม่ใช่คำตอบที่สามารถบ่งบอกนัยสำหรับการรุกคืบทางธุรกิจครั้งใหม่ของ Fujitsu นี้ได้
"เรากำลังมองธุรกิจโรงพยาบาลว่าเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีศักยภาพ ซึ่งเทคโนโลยีของ Fujitsu จะช่วยให้พัฒนาระบบงานเวชระเบียนของโรงพยาบาลเหล่านี้ให้มีความสะดวกและแม่นยำมากขึ้นอีก"
แต่กลุ่มธุรกิจโรงพยาบาลย่อมไม่ใช่ กลุ่มธุรกิจเดียวที่ Fujitsu ให้ความสนใจ เพราะท่ามกลางกระแสข่าวว่าด้วยการปลอมแปลงบัตรเครดิต บัตรเอทีเอ็ม หรือแม้กระทั่งการสวมอ้างบุคคล การจัดการระบบฐานข้อมูลบุคคลและเทคโนโลยีที่เกี่ยวเนื่องกับกิจกรรมเหล่านี้กำลังเปิดให้ Fujitsu ดำเนินยุทธศาสตร์เชิงรุกจากระดับ การพัฒนาของเทคโนโลยีที่ก้าวหน้านี้ได้
แต่นั่นอาจเป็นเรื่องในอนาคตที่ยังอยู่อีกไกล
|
|
|
|
|