|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ขณะที่ธีรภพ ศิรประภาธรรม ซึ่งได้แนวคิดจากร้าน "โชคดี แต่เตี้ยม" มาเปิดเป็นร้าน "โชคดี ติ่มซำ" เมื่อปี 2543 ได้นำแนวทางการบริหารงานสมัยใหม่เข้ามาใช้จนปัจจุบัน "โชคดี ติ่มซำ" ถือว่าประสบความสำเร็จได้จดทะเบียนเป็นรูปแบบบริษัทและเปิดขายแฟรนไชส์ให้กับผู้สนใจ มีผู้ซื้อแฟรนไชส์จากธีรภพไปเปิดเป็นร้าน "โชคดี ติ่มซำ" ในพื้นที่ต่างๆ แล้วถึงกว่า 20 สาขา
ในจำนวนนี้หลายสาขาเปิดขาย 24 ชั่วโมงต่อวัน
แต่คล่องเจน ศิรประภาธรรม ต้นตำรับตัวจริง เขายืนยันว่ารูปแบบของร้าน "โชคดี แต่เตี้ยม" จะยังคงมีอยู่เพียงสาขาเดียวที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เท่านั้น
"เราอยากคงความเป็นเอกลักษณ์ที่คนในครอบครัวช่วยเหลือกันดูแลกิจการ รักษารสชาติ บริการ และดูแลลูกค้าได้อย่างทั่วถึงเช่นนี้ตลอดไป"
อย่างไรก็ตาม คล่องเจนได้วางตัวทายาทที่จะรับช่วงร้านของเขาเอาไว้แล้วในอนาคต ซึ่งก็คือลูกชายคนรองที่ชื่อกวิน ศิรประภาธรรม
กวินเป็นอดีตนักเรียนสาขาก่อสร้างจากวิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ แต่ไม่ชอบการเรียนในห้องเรียน จึงได้ออกมาช่วยพ่อดูแลกิจการและสามารถเรียนรู้จากประสบการณ์การทำงาน จนเข้าใจกระบวนการผลิตและรูปแบบธุรกิจของร้าน "โชคดี แต่เตี้ยม" ได้ดีที่สุด รองจากผู้เป็นพ่อ
ทุกวันนี้กวินคือผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการควบคุมการผลิตทุกขั้นตอนของร้าน จนสามารถนำสินค้าออกมาจำหน่าย โดยคงมาตรฐานของรสชาติเดิมเอาไว้ได้ไม่แปรเปลี่ยน หรือด้อยคุณภาพลงไปจากต้นตำรับ
แต่ละวันกวินจะเริ่มต้นงานด้วยการไปเลือกซื้อวัตถุดิบ อันมีส่วนประกอบหลักได้แก่ หมู ปลา ปลาหมึก กุ้ง ด้วยตัวเอง
เขาให้เหตุผลว่าที่ต้องซื้อวันต่อวัน ก็เพื่อความสดและรสชาติของอาหาร โดยเฉพาะกุ้งที่มีหลายชนิด ซึ่งให้รสชาติเมื่อนำมาประกอบอาหารต่างกัน
ถือเป็นจุดแข็งของ "โชคดี แต่เตี้ยม" ที่เจ้าของเข้ามาดูแลการผลิตด้วยตัวเอง แตกต่างจากร้านแต่เตี้ยม หรือติ่มซำทั่วไปที่ส่วนใหญ่ทางร้านจะว่าจ้างผู้อื่นให้ผลิตส่งมาให้อีกทอดหนึ่ง
นอกจากดูแลด้านการผลิตแล้ว กวินยังมีหน้าที่สร้างกิจกรรมสื่อสารระหว่างร้านและลูกค้า โดยการเปิดโอกาสให้ลูกค้าได้เลือกเมนูแต่เตี้ยมด้วยตัวเอง มีการพูดคุยแนะนำแต่เตี้ยมแต่ละอย่างให้ลูกค้ารู้ข้อมูลก่อนจะสั่งออร์เดอร์
รวมถึงการบริหารบุคลากร ซึ่งเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญ
ปัจจุบันร้าน "โชคดี แต่เตี้ยม" มีลูกจ้างกว่า 20 คน ทุกคนได้รับการดูแลดั่งญาติพี่น้องของเจ้าของร้าน มีการใส่ใจสอบถามสารทุกข์สุกดิบตลอดเวลา แต่จะจริงจังกับงานบริการลูกค้าในช่วงที่ร้านเปิดขาย
ลูกจ้างของร้าน "โชคดี แต่เตี้ยม" ได้รับค่าจ้างตกเดือนละไม่ต่ำกว่า 7,000 บาท แลกกับการบริการลูกค้าที่เปิดขายเพียงวันละ 2 รอบ
|
|
|
|
|