เป็นคำตอบที่แจ่มชัดที่สุดในบรรดาข้อสงสัยทั้งปวงถึงท่าที และอนาคตของเครือซิเมนต์ไทย
อันหมายถึงการรุกคืบไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง หรืออย่างที่พารณ อิศรเสนา
ณ อยุธยา ผู้จัดการใหญ่ตอบคำถาม "ผู้จัดการ" ว่า "คงจะไปเรื่อย
ๆ อย่างระมัดระวัง" โดยเฉพาะ 5 ปีจากนี้ไปปูนใหญ่วางแผนไว้ว่า จะต้องทุมเงินอีกไม่ต่ำกว่า
1 หมื่นล้านบาท เพื่อการนั้นด้วยเหตุผลง่าย ๆ "เพื่อให้ DEBT-EQUITY
RATIO อยู่ในระดับ 3 : 1" (พารณ) หรือ "มิฉะนั้นจะมีปัญหา CASH
GENERATION" (ทวี บุตรสุนทร) และ…
แต่ทั้งหลายทั้งปวงนั้นล้วนมีแรงจูงใจอันเนื่องจาก หนึ่ง - เหตุผลทางธุรกิจ
สอง - จากความแนบแน่นสายสัมพันธุ์ธุรกิจ ซึ่งพอจะยกกรณีตัวอย่างเพื่ออธิบายให้เห็นแรงจูงใจนั้นทั้งกลยุทธ์ในการเทคโอเวอร์ด้วย
"….บริษัทเซรามิคอุตสาหกรรมไทยเป็นกรณีเทคโอเวอร์ครั้งที่สอง หลังจากสยามคราฟท์
บริษัทนี้ก่อตั้งขึ้นปี 2522 ในยุคสมหมาย ฮุนตระกูล ด้วยทุนจดทะเบียน 20
บ้านบาทในครั้งแรก และเพิ่มทุนเท่าตัวในเดือนตุลาคมปีเดียวกันเมือ่รับซื้อกิจการบริษัทโรยัลโมเสคเอ็กซ์ปอร์ตอุตสาหกรรมของกลุ่มโรยัล
ไม่นาน
กลุ่มโรยัลเจ้าของเดิมคือ อุดม สังขทรัพย์ และพลตรีประมาณ อดิเรกสารผลิตกระเบื้องปูนขนาดใหญ่ที่สระบุรี
ที่ใหญ่กว่านั้นเพราะกู้เงินธนาคารจำนวนมหาศาลจากธนาคารแหลมทอง ไทยพาณิชย์
กรุงไทย ไอเอฟซีที และไฟแน้นซ์อีกหลายแห่ง ในปี 2520 กิจการประสบปัญหาอันนำมาของความขัดแย้งอย่างรุนแรงระหว่าง
เจ้าหนี้ - ลูกหนี้ เจ้าหนี้ไม่ไว้วางใจผู้บริหาร ประกาศไม่ยอมให้เงินกู้งวดสุดท้ายตามที่ตกลงกันไว้
สำหรับเป็นเงินทุนหมุนเวียนมีเพียงไอเอฟซีที เท่านั้นมีแก่ใจอุ้มต่อทุ่มเงินอัดฉีดเข้าไปอีกนับพันล้านบาทแต่ก็ไร้ผลโรยัลโมเสคเอ็กซ์ปอร์ต
เป็นโรงงานที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มซึ่งมีทั้งหมด 4 โรงมีกำลังการผลิตเหลือเพียงเตาเดียวในทีสุดก็บรรดาเจ้าหนี้
(โดยเฉพาะธนาคารไทยพาณิชย์) ก็ขอให้ปูนเข้ารับซื้อกิจการผ่อนส่งราคาถูกส่วนอีก
3 โรงก็เจ้าหนี้รายอื่นก็ยึดเอาไปด้วยวิธีคล้ายคลึงกัน
โครงสร้างเครือซิเมนต์ไทยมาแล้ว จนกล่าวว่าเขารู้จักเครือซิเมนต์ไทยดีกว่าอีกหลายคน
ซึ่งทำงานในเครือปูนซิเมนต์มานับสิบๆ ปี
โครงสร้างใหม่คือการรวมศูนย์การบริหารงานและการควบคุมไว้ ณ แห่งเดียวกันโครงสร้างผู้ถือหุ้นบริษัทปูนซีเมนต์ไทยทำหน้าที่เป็นโฮลดิ้ง
คัมปะนีไปด้วย ถือหุ้นในบริษัทอื่นเกือบทั้งหมด ขณะนี้บริษัทปูนซิเมนต์ไทยเป็นศูนย์กลางและมีอีก
4 บริษัทอันได้แก่ บริษัทกระเบื้องกระดาษไทย บริษัทผลิตภัณฑ์และวัสดุก่อสร้างค้าสากล
ซิเมนต์ไทย และบริษัทเหล็กสยามเป็นดาวบริวาร ยุทธวิธีการขยายตัวของเครือซิเมนต์ไทยที่ได้วางรากฐานจากยุคสมหมาย
ฮุนตระกูล จนถึงปัจจุบันเพื่ออธิบายพฤติกรรมองค์กรได้หลายวิถีทาง
ตั้งบริษัทใหม่ขยายกิจการ
วิถีนี้เป็นวิธีง่ายที่สุด พารณ อิศรเสนาฯก็เห็นด้วยเช่นนี้ โครงสร้างผู้ถือหุ้นก็เป็นไปตามแนวโครงสร้างปี
2515 ส่วนใหญ่เป็นกิจการที่พัฒนาเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์จากเดิมให้กว้างออกไป
ซึ่งถูกมาใช้ในระยะแรกอย่างมาก รวมไปถึงการ "แตกตัว"บริษัทจากหนึ่งเป็นสอง
ดังที่กล่าวมาแล้วในตอนต้น ๆ ล่าสุดคือ เอสซีที คอมพิวเตอร์ แตกหน่อจากค้าสากลฯ
รับผิดชอบขาย PC ของ IBM "หากเป็นกิจการต้องอาศัยเทคโนโลยีสูงก็จะเป็นถ่ายทอดมาโดยตรง
ไม่ถึงขั้นร่วมทุน" แหล่งข่าวว่า
อีกประเด็นหนึ่งเป็นจุดตั้งจากการมองการณ์ไกล เป็นโครงสร้างการที่ศึกษาความเป็นไปได้และมีความพร้อมอย่างดี
โดยเฉพาะการขยายตัวด้านการค้าระหว่างประเทศ ตั้งบริษัทค้าสากลฯ บริษัทเอสจีซีคอร์เปอเรชั่น
(ปานามา) ในฮ่องกงสำหรับการลงทุนในต่างประเทศ
ที่น่าสังเกตุคือเติมช่องว่างให้ครบวงจร ต่อเนื่องจากกิจการในกลุ่มเดียวกัน
โดยเฉพาะในกลุ่มจักรกล เมื่อเริ่มต้นด้วยบริษัทนวะโลหะ ผลิตชิ้นส่วนและอะไหล่สำหรับมอเตอร์ไซค์เพิ่มเติม
เทคโอเวอร์
การเข้าซื้อหุ้นบริษัทอื่นๆ จำนวนมาก และมีบทบาทเข้าควบคุมการบริหารงานด้วยนั้น
เครือซิเมนต์ไทยดำเนินกลยุทธ์นี้ค่อนข้างมาก และเป็นที่ครึกโครม รวม ๆ กันแล้วประมาณ
20 บริษัท ในจำนวนนี้ยกระดับไปอีกขั้น โดยเครือซิเมนต์ไทยตั้งบริษัทใหม่ขั้นรัลโดนกิจการอื่นเข้ามาในรูปของโรงงานเครื่องจักร
และอื่น ๆ
ลักษณะการขยายกิจการเช่นนี่ ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางแนวตอบโต้ของพนักงานระดับสูงออกสู่สาธารณชนมักอ้างว่า"เพราะได้รับการร้องขอ"
จึงเป็นแรงจูงใจในการเทคโอเวอร์ แต่อย่างไรก็ตาม การเข้าสู่ธุรกิจใหม่เช่นนี้มักจะกลมกลืนไปกับแนวทางที่เครือซิเมนต์ไทยวางไว้เสมอ"เนื่องจากมีคนขอร้องหลายราย
เลือกไว้บางรายเฉพาะที่อยู่ในสายธุรกิจ" นักสังเกตการณ์คนหนึ่งสรุป
ปี 2527 ปีเดียวเครือซิเมนต์ไทยเข้าเทคโอเวอร์ถึง 5 บริษัทอันเป็นช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ
จวบกับปลายปีนั้นรัฐบาลลดค่าเงินครั้งใหญ่ ธุรกิจประสบปัญหาในการปรับตัวกันมาก
สำหรับปูนซิเมนต์มีประสบการณ์เป็นที่ยอมรับจากกรณีสยามคราฟท์ทั้งเป็นสถาบันธุรกิจที่เติบโตอย่างเข้มแข็งมีชื่อเสียง
จึงได้รับความไว้วางใจโดยเฉพาะบรรดาธนาคารเจ้าหนี้ธุรกิจที่มีปัญหาทั้งหลาย
ธุรกิจวิกฤติที่เข้าสู่อ้อมอกปูนใหญ่นั้นมีโครงสร้างการเป็นเจ้าของทั้งเป็นบริษัทร่วมทุนจากต่างประเทศ
ซึ่งผู้ร่วมทุนต่างประเทศเห็นว่าสถานการณ์ไม่สู้ดีจึงต้องขายหุ้นส่วนของตนออกไปเช่น
บริษัทยางไฟร์สโตน(ประเทศไทย)บริษัทอามิเทจแชงค์ส บริษัทอแซโซซิเอทเต็ด แบตเตอรี่
แมนูแฟคเจอริ่ง เป็นต้น อีกส่วนหนึ่งเป็นของคนไทย เช่น อินเตอร์เนชั่นแนล
เอนยิเนียริง(ไออีซี) กระดาษสหไทย แพนซัพพลาย ฯลฯ แหล่งข่าวในปูนใหญ่กล่าวว่า
เฉพาะเจ้าของกิจการคนไทยนั้น เครือซิเมนต์ไทยจะเลือกสรรเป็นพิเศษในขณะที่กิจการเดิม
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่เป็นชาวต่างประเทศ เครือซิเมนต์ไทยให้ความสนใจมากกว่า "แตกตัว
"เป็นอีกบริษัทหนึ่ง - บริษัทนวโลหะดำเนินกิจการเหล็กหล่อรูปพรรณ และการถลุงเหล็ก
การ "แตกตัว" เป็นยุทธวิธีเบื้องแรกของเครือซิเมนต์ไทยใช้ในการขยายกิจการ
ในเวลาเดียวกันนั้นบริษัทเหล็กสยามได้รับเทคโนโลยี สมัยใหม่เข้ามาจากญี่ปุ่นครั้งแรกในปลายปี
2523 สำหรับการหล่อเหล็กแท่งส่วน นวโลหะแผ่ขยายรับเทคโนโลยีจากทั้งเบลเยี่ยมและญี่ปุ่น
ในปี 2524 (เป็นผลงานต่อเนื่องจากยุคสมหมาย ฮุนตระกูล) "มากอตโต แห่งเบลเยี่ยม
เพื่อผลิตลูกบดซิเมนต์ คูโบต้าแห่งญี่ปุ่นเพื่อผลิตชิ้นส่วนและอะไหล่สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็ก
และทากาโอกาซึ่งเป็นบริษัทในเครือโตโยต้ามอเตอร์ส ผลิตจานห้ามล้อรถบรรทุก"
ข้อมูลจากปูนใหญ่เองระบุ
การ"แตกตัว" ในยุคนี้เป็นการต่อเนื่องโดยพุ่งเป้าในอุตสาหกรรมเครือจักรกล
ในเวลาเดียวก็เปิด"การร่วมทุน" เป็นครั้งแรกของเครือซีเมนต์ไทยกับคูโบต้าผลิตเครื่องยนต์ดีเซล
เพื่อการเกษตรและภายใต้การส่งเสริมของบีโอไอในสัดส่วนไทย/ญี่ปุ่น 60/40 ในปี2521
ใช้ชื่อบริษัทสยามคูโบต้าดีเซล อันเป็นสนามสำคัญของพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา
ผู้จัดการใหญ่คนปัจจุบันได้แสดงฝีมือในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการแห่งแรกด้วย
ไม่เพียงเท่านั้นในยุคนี้ได้วางรากฐานกลุ่มการค้าเอาไว้ ถึงแม้เหตุการณ์ผ่านมาพิสูจน์ว่าไม่แตกหน่อเติบโตเท่าที่ควรจะเป็นอันเกิจจากสมหมาย
ฮุนตระกูล ได้นำความคิด "โซโกะ โซฉะ" จากญี่ปุ่นมาตั้งบริษัทค้าสากลซิเมนต์
ในจังหวะที่ประเทศไทยเปิดให้การส่งเสริมบริษัทการาค้าระหว่างประเทศขึ้นมา
ตั้งแต่ปี 2521 จนถึงปัจจุบัน "เรา STRUGGLEมา 8 ปี ค้าสากลฯขาดทุนติดต่อกัน
5 ปีเต็ม ปีที่แล้วเพิ่งได้กำไร" พารณ ยอมรับกับ "ผู้จัดการ"
"เราบุกอย่างสุดฝีมือแล้วการออกไปต่างประเทศเป็นสิ่งใหม่สำหรับประเทศเรา
ประสบการณ์เป็นสิ่งใหม่สำหรับประเทศเรา ประสบการณ์น้อย ไม่เหมือนเกาหลี ญี่ปุ่นไต้หวัน
เขาทำมาก่อน ซึ่งมีกองเรือพาณิชย์สนับสนุน ของเราไม่มี เราพยายามอย่างมากเท่าที่กำลังคน
กำลังเงินของเรามีอยู่ มันยากมากเลย ยากมากๆๆๆ" เขาเน้นเสียงแสดงเจตนาอย่างแน่วแน่
แต่ยังไม่บรรลุตามตั้งใจ มีคนถามว่าสมหมาย ฮุนตระกูลทำเช่นนั้นได้อย่างไร
หลายคนบอกว่ามิใช่เพราะสมหมายคนเดียวในขณะเดียวกันก็อาจค้นหาคำตอบจากความเป็นสมหมายได้บ้างเช่นกัน
สมหมาย ฮุนตระกูล ปี 2519 อายุ 58 ปีเข้าไปแล้ว แต่กำลังวังชา และประสบการณ์ของเขาตอนนั้น
ยากจะหาคนทัดเทียม เขาผ่านงานที่ธนาคารแห่งประเทศไทยมาเป็นเวลานานถึง 30
ปี เป็นผู้จัดการใหญ่ธนาคารไทยพาณิชย์ 2 เดือนในปี 2515 ก่อนดำรงตำแหน่งประธานกรรมการไอเอฟซีที
ก่อนจะมาดำรงตำแหน่งผู้จัดการใหญ่ปูนซิเมนต์ไทย
"เขามีประสบการณ์ในสวนของการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศมาอย่างดีคนหนึ่ง"
ผู้รู้ให้เหตุผลปรพการแรกทำให้ประสบการณ์ของเขาตกผลึกที่เครือซิเมนต์ไทย
อีกทั้งสมหมาย ฮุนตระกูล ได้รับความไว้วางใจอย่างมากจากผู้ถือหุ้นใหญ่ (สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์)
และประการสำคัญเขาเดินในกรอบการเมืองอย่างถูกจังหวะก้าว
เพราะไอเอ็มเอฟ. ปล่อยเงินกู้ก้อนใหญ่ 18 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2512 โดยบริษัทในเคเรือซิเมนต์ไทยเป็นผู้ค้ำประกันกันเองในฐานะเจ้าหนี้ไอเอ็มเอฟจงผลักดันให้เครือซิเมนต์ไทยปรับโครงสร้างบริหารงาน
แหล่งข่าวยืนยันว่าขณะนั้นชุมพล ณ ลำเลียง ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่อาวุโสปัจจุบันกำลังทำงานอยู่ที่นั่น
และเขาได้รับมอบหมายให้ศึกษาโครงสร้างของปูนซิเมนต์ไทยเสียด้วย
ปี 2515 มีคนอย่างน้อย 2 คน เข้ามาเป็ฯพนักงานใหม่ของปูนซิเมนต์ไทยและมีบทบาทในการปรับโครงสร้างใหม่พอดี
คนแรก - เสนาะ นิลกำแหง ผู้มีประสบการณ์กับริษัทต่างชาติในประเทศไทย(ลิเวอร์บราเธอร์)
และชุมพล ณ ลำเลียง ผู้เคยศึกษา
" ความใหญ่ เป็นอันตราย"
พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา
"ผู้จัดการ" ตั้งปุจแากับผู้จัดการนใหญ่เครือซีเมนต์ไทยเมื่อต้นเดือนกรกฎาคมนี้เกี่ยวกับการขยายตัวสู่ธุรกิจใหม่
ๆ ของปูนใหญ่ พารณอิศรเสนา ณ อยุธยายอมรับเป็นครั้งแรกว่ายุคของเขา (1 มกราคม
2528-ปัจจุบัน)เครือซีเมนต์ไทยขยายตัวสู่ธุรกิจใหม่มากที่สุด
ซึ่งเป็นการต่อเนื่องจากยุคของสมหมาย ฮุนตระกูล และจรัส ชูโต
หากประเมินบทบาทผู้จุดเชื้อปะทุและวางรากฐานการขยายตัวแล้ว ต้องยกเครดิตนี้ให้สมหมาย
ฮุนตระกูล ที่ใครๆให้สมญานำหน้าว่า ซามูไร …..ให้ภาพเกี่ยวข้องกับญี่ปุ่นเพราะเขาเป็นนักเรียนเก่าของญี่ปุ่นที่ญี่ปุ่นยกย่องและภาคภูมิใจมากๆ
สมหมาย ฮุนตระกูล เป็นผู้จัดการใหญ่ (2519-2523) ณ จุดเริ่มต้น ปูนใหญ่ได้ขยายตัวไปในสองทาง
หนึ่ง สู่ธุรกิจที่ไม่ได้ตั้งใจหรือ อยู่นอกเหนือธุรกิจเดิมเนื่องจากความจำเป็นที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหันได้แก่การเข้าบริหารบริษัทสยามคราฟท์(โปรดอ่านล้อมกรอบ)
แม้ว่าจุดเริ่มต้นผลักดันไให้ปูนใหญ่เข้าผูกพันกับสยามคราฟท์จะมีมาปลายยุค
บุญมา วงษ์สวรรค์ เป็นผู้จัดการใหญ่ก็ตามแต่การตัดสินใจอย่างเป็นทางการในการเข้าอุ้ม
ซึ่งติดตามมาด้วยแผนการกอบกู้กิจการอันยาวนานนั้นในยุคสมหหมาย ฮุนตระกูล
จัดทำพิมพ์เขียวขึ้น ถือเป็นรากฐานกลุ่มเยื้อกระดาษในเวลาต่อมา แนวนี้รวมไปถึงการแยกตัวจากกลุ่มปูนซีเมนต์ไปสู่กลุ่มวัสดุก่อสร้างอย่างชัดเจน
สอง - ธุรกิจแนวใหม่ซึ่งเป็นรากฐานกลุ่มการค้า กลุ่มเครื่องจักรกล ปัจจุบันอันเป็นไปตามเจตจำนงของเครือซีเมนต์ไทยที่ก่อสร้างในยุคนั้น
ยุคนี้มิเพียงเครือซีเมนต์ไทยเติบโตอย่างรวดเร็วในแง่สินทรัพย์ และยอดขาย
(จาก 3,465 ล้านบาทเป็นปี 2519 เป็น 8,039 ล้านบาทในปี 2523 และจาก 3,525
ล้านบาท ในปี 2519 เป็น 9,774 ล้านบาท ในปี 2523 ตามลำดับ) หรืออาจจะกล่าวได้ว่า
4 ปี ยุคสมหมายประวัติศาสตร์บันทึกว่าปูนใหญ่มีอัตราการเจริญเติบโตสูงสุด
ยิ่งกว่านั้นคือได้เปิดเทคโนโลยีกว้างขวางมาจากหลายแห่งทะลักเข้ามา เครือซิเมนต์ไทยได้เรียนรู้
และ รู้จักใช้เทคโนโลยีต่างๆ เหล่านี้อันเป็นความภูมิใจของคนปูนในเวลาต่อมาว่า"เราเข้าไปแก้วิกฤติการธุรกิจต่าง
ๆ ซึ่งเราไม่มีความชำนาญมาก่อน และประสบความสำเร็จเพราะคนของเรารู้จักบริหารเทคโนโลยีจากต่างประเทศ"
ผู้บริหารคนหนึ่งกล่าวไว้
ทั้งนี้ยังไม่รวม "ความกล้าหาญ" ของสมหมาย ฮุนตระกูลที่เข้ามาแตะระบบบริหารงานเครือซิเมนต์ไทยดั่งเดิม
"สิงแรกที่ผมมีความรู้สึกเมื่อเข้าร่วมงานก็คือ ปูนซิเมนต์ไทยดำเนินกิจการในรูปแบบของกิจการในรูปแบบของกิจการยุโรปที่มาทำในตะวันออก
คือผู้จัดการใหญ่ หรือผู้จัดการทั่วไปในสมัยนั้น เป็นผู้ชี้นำทุกสิ่งทุกอย่างไม่แต่ในบริษัทปูนซิเมนต์ไทยเท่านั้น
แต่รวมไปถึงบริษัทในเครือด้วยซึ่งไม่ใช่แนวทางที่เหมาะสม หากปรารถนาที่จะขยายงานให้กว้างขวางออกไป
ผู้จัดการแต่ละบริษัทในเครือซิเมนต์ไทยควรต้องรับผิดชอบการบริหารในบริษัที่ตนดำเรงตกฃำแหน่งอยุ่
โดยให้ประสานสอดคล้องกับนโยบายหลักที่กำหนดไว้" สมหมาย ฮุนตระกูลกล่าวไว้อย่างตรงไปตรงมาในหนังสือปูนซิเมนต์ไทย
70 ปี
บางคนวิเคราะห์ว่าเป็นแรงปะทะการจำกัดตัวเองของปูนซิเมนต์ไทยในขณะนั่นที่รุนแรงพอใช้?
ก่อนปี 2519 หรือ 63ปีจากการก่อตั้งบริษัทปูนซิเมนต์ไทย การขยายตัวของธุรกิจมุ่งไปในแนวตั้งขยายผลิตภัณฑ์จากรากฐานเดียวกันให้มากขึ้น
คือสินค้าต่อเนื่องหรือใช้ปูนซิเมนต์เป็นพื้นฐาน และต่อเนื่องมาเป็นผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการก่อสร้าง
รวมถึงบริษัททำหน้าที่ด้านการจำหน่าย มีแปลกออกไปเพียงบริษัทเหล็กสยาม (ปี
2510) ซึ่งแต่เดิมเป็นแผนกหนึ่งของปูนซิเมนต์ไทย มีประวัติศาสตร์ตั้งแต่ปี
2485 เนื่องจากได้รับสัมปทานทำเหมืองแร่เหล็กที่ลพบุรีและนครสวรรค์พร้อม
ๆ กับการสร้างเตาทดลองถลุงเหล็ก พัฒนาการอย่างเชื่องช้ากว่าจะเปิดแผนกหล่อเหล็กรูปพรรณก็ปาเข้าไปปี
2509 ซึ่งมาการแยกตั้งบริษัท เมื่อสมหมายเข้ามา แทบจะเรียกว่าเป็นงานชิ้นแรก
ๆ ของเขา "…กิจการหลอมเหล็กของบริษัทเหล็กสยาม..ประสบการขาดทุนเป็นอย่างมากและเป็นเวลานานพลอยทำให้ผลกำไรซึ่งพอจะได้จากกิจการอื่นไ
ในเครือฯต้องตกต่ำลงไป" เขากล่าวไว้ในหนังสือเล่มเดียวกัน ด้วยเหตุนี้สมหมายจึงดำริจะพัฒนาอุตสาหกรรมนี้ในขั้นแรกเพื่อทดแทนการนำเข้ามาใช้ในกิจการของเครือซิเมนต์ไทย
จากบริษัทเหล็กสยามก็
การแก้ไขปัญหาของปูนใหญ่ในกิจการนี้ปมเงื่อนอยู่ที่การพัฒนาเทคโนโลยี อันเป็นตัวอย่างที่ดีในการผสมผสานเทคโนโลยี
อันเป็นตัวอย่างที่ดีในการผสมผสานเทคโนโลยีจากหลายแหล่ง อังกฤษ ญี่ปุ่น และอิตาลี
มาพัฒนาการผลิตกระเบื้องโมเสค ซึ่งในระยะ 2 - 3 ปีมานี้เป็นสินค้าแข่งขันกันอย่างสูง
ผลประกอบการไม่สู้ดีนัก ไม่เป็นไปตารแผนการฟื้นฟูทั่วไปของเครือซิเมนต์ไทยซึ่งส่วนใหญ่กำหนดระยะเวลาเพียง
5 ปี "ปีนี้เราจะเบรคอีเว่น หลังจากขาดทุนมาตลอด" ทวีบุตรสุนทรผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่อาวุโสกล่าวกับ
"ผู้จัดการ" เท่าที่ตรวจหลักฐานงบการเงิน ณ สิ้นปี 2528 ขาดทุนสะสมอยู่ถึง
71.7 ล้านบาท
..เป็นหนึ่งในไม่กี่บริษัทที่ปูนเข้าไปเทคโอเวอร์ ผลประกอบการไม่เป็นไปตามแผน"
คนปูนเองกล่าว
อินเตอร์เนชันแนล เอนยิเนียริ่ง(ไอิรผงร) มีประวัติยาวนานมาก ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง
เมื่อสงครามระเบิดขึ้นญี่ปุ่นบุกเเเข้ามาในประเทศเจ้าของกิจการซึ่งเป็นอเมริกันจึงถอนตัวออกจากประเทศไทยไปจนถึง
ปี 2495 เฮอร์แมน เฟรด โชลท์ส เจ้าของกิจการคนเดิมก็หวนกลับมาใหม่ ร่วมมือกับพระยาศรีวิจารวาจา
(พี่ชาย สมหมาย ฮุนตระกูล) ตั้งบริษัทอีกครั้งมีหนักงานเก่าหลายคนถือหุ้นร่วมทั้งเทียม
กาญจนจารี บริษัทมีทุนจะทะเบียน 10 ล้านบาทมาคราวนี้ โชลท์สไม่เอาการเอางานเหมือนก่อน
การบริหารจริง ๆ จึงตกอยู่ในมือคนไทย จนปี 2512 เขาก็ขายหุ้นให้คนไทยทั้งหมด
โดยเฉพาะเทียม กาญจนจารี ประหยัดอังศุสิงห์ กิจการนำเข้าเครื่องจักรกล เครื่องมือสื่อสาร
โทรคมนาคม ในระยะแรกก็ดำเนินไปด้วยดี แต่ในราวปี 2522 ไออีซี ไม่สามารถชิงความเป็นดีลเลอร์เครื่องจักรคาเตอร์พิลลาร์
(CATER PILLAR) ซึ่งครองตลาดประเทศไทยมานานไว้ได้ อันถือได้ว่าเป็นการพ่ายแพ้ทางยุทธศาสตร์ของไออีซีทีเดียว
กิจการเริ่มมีปัญหา ด้วยสายสัมพันธ์ที่ดีในปี 2526 ธนาคารไทยพาณิชย์และสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เข้าถือหุ้น
ในปีถัดมา (ปี 2527) ปูนซิเมนต์ไทยก็เข้าถือหุ้น 25%
"เจ้าของเก่าไม่ต้องการให้กิจการเก่าแก่ต้องล้มไป" ผู้รู้เผยแรงจูงใจขอให้ปูนเข้าแก้ไขวิกฤติการณ์"
โดยมีข้อแม้ว่าจะไม่เปลี่ยนชื่อ ทั้ง ๆ ตกลงขายให้ราคาถูกกว่าบางรายเสนอมาในเวลาเดียวกันด้วย"
อันเป็นที่ทราบกันว่ากิจการหลายแห่งเครือซีเมนต์เข้าไปถึงหุ้นใหญ่และบริหารได้เปลี่ยนชื่อเป็นส่วนใหญ่มักจะมีคำว่าสยามนำหน้าแต่
ไออีซีวันนี้ยังคงเป็นไออีซี
ไทยอินดัสเตรียลฟอร์จจิงส์ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดของปูนซีเมนต์ไทยเป็นผู้ร่วมก่อตั้งมาตั้งแต่ปี
2516 ถือหุ้นถึง 50% ร่วมทุนกับ เบอร์ลี่ยุคเกอร์และ ออสเตรียเลียนเนชั่นแนว
อินดัสตริส์ครั้งแรกเลือกโนว์ฮาวจากเยอร์มัน จากทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาทเพียงปีเศษ
ๆ ต้องเพิ่มทุนเพิ่ม 20 ล้านบาทจนถึงประมาณปี 2521 สถานการณ์ย่ำแย่มาก ๆ
ฝรั่งต่างชาติถอนตัวออกหมดทิ้งหนี้เอาไว้จำนวนมากธนาคารไทยพาณิชย์ต้องเข้ารับซื้อหุ้นส่วนนั้นไว้ทั้งหมดในฐานะเจ้าหนี้
ในที่ประชุมมีการเสนอให้ปูนซิเมนต์ไทยบริหารงานตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2521
แต่ก็ไม่สามารถตกลงกันได้ อันเนื่องจากปัญหาหนี้สินกับธนาคารไทยพาณิชย์ต่อมาธนาคารไทยพาณิชย์ได้ฟ้องล้มละลายบริษัทเจรจาประนอมหนี้โดยขอชำระเพียง
25% ใน 1ปี แบ่งชำระเป็น 4 งวดโดยไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ซึ่งเจ้าหนี้เห็นว่าน้อยเกินไปมีการเจรจาต่อรองจนได้
28% หรือประมาณ 20 ล้านบาท ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยกับการประนอมหนี้ของบริษัทก่อนล้มละลายเมื่อต้นปี
2528 เป็นว่ารอดการล้มละลายไปได้ ในตอนนั้นปูนซิเมนต์ไทยโดยบริษัท นวโลหะได้เข้าซื้อกันทั้งหมดประมาณกลางปี
2528จึงเริ่มการดำเนินการใหม่
กิจการผลิตภัณฑ์เหล็กทุบ ลูกหมากรถบรรทุก ตะขอ ขาสตารท์มอเตอร์ไซร์ ของบริไทยอินดัสเตรียลฟอร์จจิ่งส์
ที่ปทุมธานี ปัจจุบันดีขึ้นตามลำดับหลังจากได้รับเงินอัดฉีดเข้าไปใหม่
อีกกรณีที่ผู้ถือหุ้นต่างชาติกลุ่มเดียวกันบ. สยามบรรจุภัณฑ์ซึ่งก่อตั้งในปี
2514 ด้วยความริเริ่มและถือหุ้นโดยเบอร์ลิ่ยุกเกอร์และออสเตรีย คอนโซลิเดเต็ดอินดัสตรีพอเริ่มมีปัญหากิจการ
ปูนซิเมนต์ไทยก็เข้าไปในปี 2522ทั้งชักนำฮอนชูเปเปอร์ของญี่ปุ่นเข้าไปด้วยในฐานะเจ้าของเทคโนโลยีอุตสาหกรรมกระดาษและเพิ่มทุนอย่างมากจาก
9 ล้านบาทเป็น 80 ล้านบาทในปี 2524 เบอร์ลี่ยุกเกอร์กับออสเตรียได้ถอนตัวอย่างสิ้นเชิงในปีนั้นด้วย
บริษัทท่อธารา จดทะเบียนวันที่ 20 มีนาคม 2527 ด้วยทุน 60 ล้านบาท (นำไปฝากธนาคารกสิกรไทย)
ในระยะเวลาใกล้เคียงกันนี้ได้ทำสัญญากู้เงินระยะยาวกับธนาคารในประเทศ 4 แห่งเป็นจำนวนเงิน
165 ล้านบาท เพื่อซื้อที่ดิน อาคาร โรงงาน เครื่องจักรจากบริษัทท่อใยหินที่เขตราดกระบัง
ด้วยอัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำ การชำระหนี้จะสินสุดในปี 2535 ถึง 2537 ในขั้นแรกเพื่อแก้ปัญหาสินค้าผลิตออกมาจะมีปัญหาด้านตลาด
ในวันที่ 9 ตุลาคม ปีเดียวกันได้ทำสัญญาขายผลิตภัณฑ์ทั้งหมด ให้กับบริษัทปูนซิเมนต์ไทย
และบริษัทกระเบื้องกระดาษไทยเป็นเวลา 3 ปีซึ่งสิ้นสุดไปเมื่อสิ้นเดือนกรกฎาคม
ที่ผ่านไปนี้ ซึ่งคาดกันว่าต้องสัญญากันต่อไป
บริษัทไทยวนภัณฑ์ จดทะเบียนเป็นบริษัทใหม่เอี่ยมหลังจากบริษัทท่อธาราเพียง
1 เดือน ด้วยเงินทุนเริ่มแรก 1 แสนบาท ต่อมาวันที่ 4 ตุลาคมปีเดียวกันได้เพิ่มทุนเป็น
85 ล้านบาท อันเป็นที่เข้าใจกันว่าบริษัทใหม่ที่เพิ่มทุนรวดเร็วมากมายขนาดนี้
คือการตั้งบริษัทไปรับซื้อกิจการอื่น ซึ่งปกติบทเรียนที่ผ่านมาของเครือซิเมนต์ไทยจะรับซื้อกิจการบริษัทต่อบริษัท
แต่รายไทยวนภัณฑ์ได้ซื้อโรงงานไม้อัดของบริษัทศรีมหาราชาของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่ศรีราชา
ซึ่งพินิต วงศ์มาสา กรรมการผู้จัดการบริษัทไทยวนภัณฑ์เปิดเผยกับ " ผู้จัดการ"ซื้อเฉพาะโรงงาน
ส่วนที่ดินนั้นบริษัทศรีมหาราชาให้เช่าในอัตราที่ถูกมาก ขณะเดียวกันก็ซื้อที่ดินและโรงงานทั้งหมดของบริษัทไทยทักษิณป่าไม้
ย่านถนนปู่เจ้าสมิงพรายของอภิวัฒน์ นันทา
ภิวัฒน์ (น้องชายสมบูรณ์ นันทาภิวัฒน์ กรรมการจัดการธนาคารแหลมทองคนปัจจุบัน)
ในราคาที่แจ้งต่อกระทรวงพาณิชย์ 15 ล้านบาท แต่พินิต วงศ์มาสา บอกว่า "คงไม่ถูกเช่นนั้น"
โรงงานของไทยทักษัณมีอายุมาแล้ว 25ปี ซึ่งดำเนินธุรกิจใกล้เคียงกันมาอยู่ด้วยกันในปลายปี
2527 นั้นบริษัทได้จ้างบริษัทในใต้หวันให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับความชำนาญพิเศษ
ทักษะเพื่อดำเนินธุรกิจด้านไม้ยางพารา ไม้ยางสลับชั้น และผลิตภัณฑ์อื่นที่ทำจากไม้
เป็นเงินประมาณ 10 ล้านเหรียญสหรัฐ ต่อมาในเดือนมีนาคม 2528 บริษัทใต้หวันได้เข้าถือหุ้นในบริษัทไทยวนภัณฑ์
45 %
โรงงานนี้เพิ่งเปิดได้ประมาณ 2 ปี พินิต วงศ์มาสา กรรมการผู้จัดการมั่นใจจะสามารถพลิกทำกำไรก่อนเวลาอย่าง
5 ปี แน่นอน
บริษัทกระเบื้องทิพย์เกิดขึ้นระยะไล่เลี่ยกับริษัทไทยวนภัณฑ์มาก จนถึงกลางเดือนกันยายน
2527 บริษัทได้เพิ่มทุนจาก 1 แสนบาทเป็น 50 ล้านบาท ตามสูตรเข้ารับซื้อกิจการผลิตกระเบื้องมุงหลังคา
จากบริษัทซุปเปอร์แมน ย่านถนนสุขสวัสดิ์ สมุทปราการ ซึ่งได้ตกลงซื้อขายกันต้นเดือนกุมภาพันธ์
2528 (อย่างเป็นทางการ) โดยเครือซิเมนต์ไทยได้เข้าไปดำเนินกิจการราวๆ ปลายเดือนตุลาคม
ปี 2527แล้ว
บริษัททั้ง 3 ท่อธารา ไทยวนภัณฑ์ และกระเบื้องทิพย์อยู่ในกลุ่มวัสดุก่อสร้างโดยบริษัทไทยวนภัณฑ์ดำเนินกิจการขนาดค่อนข้างใหญ่
การบริหาร จึงเหมือนบริษัทในเครือซิเมนต์ไทยทั่วไป ส่วนบริษัทท่อธาราและกระเบื้องทิพย์
นั้นบริษัทกระเบื้องกระดาษไทยซึ่งดำเนินธุรกิจใกล้เคียงกันมาก ทำหน้าที่คล้าย
ๆ กับบริษัทแม่เพราะถือหุ้นจำนวนมาก
ร่วมทุนกับต่างประเทศ
เป็นแนวทางพื้นฐานของนักลงทุนไทยที่แสวงหาเทคโนโลยีสูงขึ้น ซึ้งต้องใชั้เวลาถ่ายทอดเทคโนโลยีนั้นพอสมควรเป็นเป้าหมายสำคัญ
เครือซิเมนต์ไทยก็เช่นกัน ในครั้งแรกร่วมทุนกับญี่ปุ่นตั้งบริษัทสยามคูโบต้าผลิตและจำหน่ายเครื่องยนต์การเกษตรในปี
2521 ก็ต้องถือเป็นอุตสาหกรรมก้าวหน้าเพื่อพัฒนาการผลิตพื้นฐานของสังคมไทย
กลุ่มเยื่อและกระดาษก็แสวงหาเทคโนโลยีใหม่ ๆ จากการร่วมทุนกับใต้หวันและญี่ปุ่น
"เทคโนโลยีใต้หวัน หาได้ง่ายช่วยแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดีส่วนของญี่ปุ่นก็ถือว่าดีกว่า"
ผู้บริหารกลุ่มนี้กล่าว
ในช่วงปี 2529 ถึงปัจจุบันนี้เป็นแนวที่เครือซีเมนต์ไทยกำลังจะก้าวไปลงทุนอาศัยเทคโนโลยีมากขึ้น
การร่วมลงทุนจากต่างประเทศจึงเกิดขึ้นถี่ เริ่มตั้งแต่บริษัทไทยอาร์ที ผลิตหลอดภาพทีวีด้วยร่วมทุนกับมิตซูบิชิ
และสำคัญอย่างยิ่ง บริษัทสยามโตโยต้าอุตสาหกรรม บริษัทร่วมทุนกับโตโยต้า
ผู้ผลิตรถยนต์ใใหญ่ที่สุดในญี่ปุนเป็นประกาศการร่วมทุนครั้งยิ่งใหญ่มากดครงการหนึ่งสำหรับอนาคตอุตสาหกรรมรถยนต์อันจะเกิดขึ้นในประเทศไทย
การเติบโตอย่างก้าวร้าวของปูนใหญ่ถูกตั้งคำถามว่ามีแรงจูงใจมาจากอะไร?
"การขยายตัวเพื่อความอยู่รอดและความมั่นคงของเครือซีเมนต์ไทยกระจายความเสี่ยง
ไม่อาศัยอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่ง ถ้าเศรษฐกิจไม่ดี มีผลกระทบถึงกิจการก็ไม่กระทบทั้งหมด"
พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา กล่าวถึงแรงจูงใจนั้นกับ" ผู้จัดการ"
ทวี บุตรสุนทร ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่อาวุโส กล่าวว่า การขยายตัวของเครือซีเมนต์ไทยเป็นความจำเป็นของธุรกิจ
เนื่องจากระยะใกล้เครือซีเมนต์ไทยขยายตัวอย่างมากโดยเฉพาะการแก้ไขวิกฤตการณ์กิจการต่างๆ
และจากประสบการณ์ของปูนใหญ่เอง ได้กำหนดเป็นแผนฟื้นฟู หรือดำเนินธุรกิจใหม่ว่าจะใช้เวลาไม่เกิน
5 ปี ก็จะยืนอยู่ได้อย่างสง่าผ่าเผย " โปรเจ็คต่างๆ มันได้ผล CASH IN
FLOW มันมาก ซึ่งไม่ใช้กำไรแต่เป็นเงินสดที่มาจากการขายสินค้า CASH GENERATION
มากเกินไปต้องปรับให้พอดีด้วยการลงทุน
แนวคิดนี้เป็นหัวใจของการบริหารธุรกิจสมัยใหม่ เรียกกันว่าการบริกหารหนี้สิน
(LIABILITY MANAGEMENT) พารณ กล่าวว่า ตัวเลขการลงทุนกำหนดไว้จากนี้ไป 5
ปีประมาณหนึ่งหมื่นล้านบาท พิจารณาจากสัดส่วนของหนี้สินกับส่วนของผู้ถือหุ้น
(debt-equity ratio ) หรือความสามารถในการก่อหนี้ 3 ต่อ 1 เมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลจะพบ
debt-equity ratio ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาอยู่ในระดับต่ำกว่า 3 ต่อ 1 เสมอมาท่ากับว่าแนวนโยบายการลงทุนของเครือซิเมนต์ไทยจากนี้ไปมีลักษณะรุกมากขึ้น
อภิพร ภาษวัธน์ กรรมการผู้จัดการบริษัทไทยโพลีเอสทีลีน เจ้าของโครงการผลิตเม็ดพลาสติกมูลค่า
2300 ล้านบาทกล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่าแนวการลงทุนของเครือซิเมนต์ไทย
เป็นการไต่บันไดการวิวัฒนาการของอุตสาหกรรมของโลก ซึ่งกำลังวิ่งไล่หลังกับไต้หวัน
เขาชี้ว่าเครือซิเมนต์ไทยเริ่มลงทันในกิจการที่ใช้เทคโนโลยีไม่สูงนักปูนซีเมนต์
เข้าสู่การถลุงเหล็ก ผลิตเยื้อและกระดาษ อุตสาหกรรมเครื่องจักรกล ต่อจากนี้ก็คือการลงทุนในอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีที่สูงขึ้นตามลำดับ
ได้แก่ อุตสาหกรรมปิโตรเคมี และอิเล็คทรอนิคกส์
ดังนั้นเครือซิเมนต์ไทยย่อมหยุดไม่ได้ หากหยุดก็เท่ากับว่าการพันาอุตสาหกรรมของไทยก็หยุดไปด้วย
กลุ่มปูนซิเมนต์และวัสดุทนไฟ เติบโตไปเรื่อยตามฐานอันแข็งแรง กลุ่มวัสดุก่อสร้างอันเป็นกลุ่มที่
DYNAMIC อย่างสูง เพราะมีสินค้าจำนวนมาก ตลาดกว้างขวาง แม้ว่าปูนซิเมนต์ไทยจะมีสินค้าพื้นฐานอยู่แล้วยังจำเปป็นต้องพัฒนาอยู่ไม่หยุด
ผู้จัดการใหญ่ปูนใหญ่คนปัจจุบันยอมรับกับ " ผู้จัดการ" เป็นกลุ่มที่ต้องใช้กลยุทธ์ทางด้านการตลาดมากที่สุด
ยิ่งเมื่อ อมเรศ ศิลาอ่อน ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่อาวุโส วึ่งกล่าวกันว่าเป็นเซียนการตลาดมุ่งดำเนินแผยเชิงรุกมารับผิดชอบตั้งแต่วันที่
1 กรกฎาคม นี้เป็นต้นไปด้วย จากนี้อุตสาหกรรมด้านนี้ คงมีเรื่องราวสนุก ตื่นเต้นเกิดขึ้นอีกมากมาย
กลุมเยื้อกระดาษเป็นความภาคภูมิใจของผู้บริหารระดับสูงของปูนเกือบถ้วนหน้า
ซึ่งถือได้ว่าสถาปนากลุ่มอันแข็งแรงที่สุดรองลงมาจากกลุ่มหลักปูนซิเมนต์และวัสดุทนไฟทีเดียว
กลุ่มเครื่องจักรกล พารณ อิศรเสนา บอกว่ายังคงค่อยเป็นค่อยไป ยังไม่รีบร้อนบางคนคาดว่าหลังจากเครือซิเมนต์ไทยทะยานร่วมทุนกับโตโยต้าผลิตเครื่องยนต์รถปีกอัฟคราวนี้หมายถึงกำลังจะบุกคืบหน้าไปอีกขั้ยนั้น
พารณ กล่าวว่า " เราค่อยๆ ไป ยังไม่รีบร้อน ตอนนี้เพียงผลิตชิ้นส่วนและอะไหล่"
กลุ่มการค้าเป็นกลุ่มยังต้องใช้ความพยายามอีกมากในทัศนะของพารณ ซึ่ง ดุสิต
นนทะนาคร กรรมการผู้จัดการค้าสากลซีเมนต์ใหม่กล่าวกับ "ผู้จัดการ"
ว่ากลุ่มนี้สถาปนาเพื่อเป็นช่องทางสำหรับอนาคตเพื่อปรับความสมดุลอุสหกรรมต่างๆ
ของปูนในประเทศ โดยเฉพราะอย่างยิ่งในกรณีผลิตล้นเกินความต้องการภายในประเทศ
ปี 2530 แท้จริงแล้วเป็นปีที่เครือซีเมนต์ไทยกำลังปูพื้นฐานอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
หรืออุตสาหกรรมพลาสติก
บริษัทแปซิฟิกพลาสติคส์ (ประเทศไทย) ก่อตั้งเมื่อมีนาคม 2518 โดยมี DOW
CHEMICAL NV. NETHER-LAND ถือหุ้น 100% จากทุนจดทะเบียนครั้งแรก 10 ล้านบาท
ดำเนินการผลิตเม็ดพลาสติคโฟลีสไตรีน โดยได้รับการส่งเสริมระบุว่า ต่อไปนี้ต้องมีหุ้นของคนไทยไม่ต่ำกว่า
40% อันเป็นสาเหตุสำคัญในเวลาต่อมาที่เครือซีเมนต์ไทยได้เข้าร่วมทุนด้วย
ภายหลังได้บัตรส่งเสริมในปีเดียวกันนั้น แปซิฟิกพลาสติคส์ได้เพิ่มทุนรวดเร็วเป็น
64 ล้านบาท ตามมาด้วยโรงงานผลิตเม็ดพลาสติค ซึ่งเป็นวัสดุดิบผลิตภาชนะพลาสติค
ที่บางนา จากนั้นอีก 7,500 ตัน/ปี ปัจจุบันยอดขายอยู่ในระดับ400 ล้านบาท
ส่วนกำไรในปีที่ตกต่ำ ประมาณ 10 ล้านบาท และสูงประมาณ 40 ล้านบาท ในปีปกติ
จนถึงต้นเดือนมีนาคม 2530 เครือซีเมนต์ไทยก็เข้าถือหุ้น 48 % เทียน อัชกุล
กรรมการ พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา กรรมการผู้จัดการใหญ่ และที่ขาดไม่ได้สำหรับบุกเบิกกิจการใหม่ๆ
คือ ชุมพล ณ ลำเลียง ทั้งสามคนเข้าเป็นกรรมการใหม่ทันทีในบริษัทแปซิฟิก พลาสติคส์
(ประเทศไทย)
แหล่งข่าวกล่าวว่า หากแปซิฟิก พลาสติคส์ไม่เปิดโอกาสให้คนไทยถือหุ้นความเป็นไปในการขยายกิจการก็ไม่มี
ครั้นเลือกก็เลือกเครือซีเมนต์ ซึ่งเป็น" พารท์เนอร์ "ที่ดีที่สุด
กลางเดือนพฤษภาคมนี้ บริษัทไทยโฟลีเอททีลีนก้าวหน้าถึงจุดสำคัญได้ทำสัญญาซื้อเทคโนโลยีการผลิตเม็ดพลาสติคชนิดลีเนียร์
โลวเดนซีตี้ โพลีเอททีลีน กับบริษัทบีพีเคมีคอล อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งอังกฤษและร่วมมือเซ็นสัญญากากจัดหาเครื่องจักรกับบริษัทมิตซุยเอนยิเนียริ่ง
แอนด์ชิปปิ้งและมิตซุยแอนด์โก แห่งญี่ปุ่นโครงการนี้คาดกันว่า ปี 2532 คงจะเสร็จซึ่งใกล้ความจริงมากแล้ว
ล่าสุดเมื่อปลายเดือนมิถุนายนนี้ อมเรศ ศิลาอ่อน ออกแถลงการณ์ข่าวครั้งสุดท้ายก่อนพ้นหน้าทีรับผิดชอบสายบริการกลางด้วยประกาศ
ซื้อหุ้นของบริษัท คัสตอม-แพค บริษัทนี้ก็คือผู้ผลิตสินค้าสำเร็จรูปต่อเนื่องจากวัตถุดิบของบริษัทแปซิฟิก
พลาสติคส์ (ประเทศไทย)นั่นเอง คัสตอมแพคเคยเป็นกิจการในเครือของไวท์กรุ๊ปก่อตั้งเมื่อปี
2521 ปัจจุบันมีทุนจดทะเบียน 50 ล้านบาท ปูนใหญ่เข้าถือหุ้นจำนวน 40% เท่ากับไวท์กรุ๊ป
การเดินทางอย่างครบวงจรในอุตสาหกรรมผลิตพลาสติกของเครือซิเมนต์ไทยได้เริ่มเป็นรูปเป็นร่าง
ในรายงานประจำปีบริษัทปูนซิเมนต์ไทยปี 2529 รูปเล่มสวยงามตามเคยภาพปกแสดงจินตนาการถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกัน
6 กลุ่มเป็นรูปหกเหลี่ยม หกรูปก่อฐานเป็นโครงสร้างสามเหลี่ยมใหญ่ในบรรดารูปหกเหลี่ยมเล็กหกรูปนั้นห้ารูปแจ่มชัดแก่บุคคลทั่วไปแล้ว
แสดงถึงกลุ่มอุตสาหกรรมของเครือซิเมนต์ไทยตั้งแต่กลุ่มปูนซิเมนต์วัสดุทนไฟ
กลุ่มวัสดุกระดาษ การค้า ส่วนสุดท้ายภาพจงใจโชว์ให้เห็นอุตสาหกรรมปิโตรเคมีอย่างชัดเจน
ทั้งนี้กลุ่มนี้ยังไม่สถาปนาอย่างไม่เป็นทางการก็ตาม
ส่วนจะมองไกลออกไปอีกว่าเครือซิเมนต์ไทยจะขยายอุตสาหกรรมอิเลคทรอนิคนั้นยังไม่แจ่มชัด
"เรื่องอิเลคทรอนิคเราจะต้องดูก่อนว่าจะเอาดีหรือไม่เอาดีถ้าปิโตรเคมีเราต้องเอา"
พารณกล่าวอย่างหนักแน่น
แม้ว่าเครือซิเมนต์ไทยเริ่มกรุยทางสู่อุตสาหกรรมพอสมควร ตั้งแต่โครงการผลิตจอภาพทีวีซึ่งได้เซ็นสัญญากับมิซูบิชิเป็นที่เรียบร้อย
หรือใกล้เคียงกันโครงการผลิตคอมเพรสเซอร์ ชิ้นส่วนสำคัญในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าก็อยู่ในระยะเข้าด้ายเข้าเข็มก็ตาม
ในการสัมภาษณ์อย่างเป็นทางการกับพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยาผู้จัดการใหญ่เครือซิเมนต์ไทยเมื่อต้นเดือน
กรกฎาคม นี้กับ "ผู้จัดการ" เขาได้กล่าวถึงทิศทางการลงทุนในอนาคตไว้แจ่มชัดมาก
"นโนบายหลักของเราจะไม่ลงทุนในอุตสาหกรรมที่เป็น LABOR INTENSIVE
เพราะเราเป็นบริษัทที่จ่ายค่าแรงค่อนข้างสูงโดยจะเน้นการลงทุนที่เป็น CAPITAL
INTENSIVE และ MODERN TECHNOLOGY ใน 6 - 7 อย่างที่ดำเนินการอยู่แล้ว"
เขาเน้นอีกว่าจะเป็นฝ่ายรุกมากขึ้นมิใช่รอให้ใครมาขอให้เข้าไปช่วยเช่นที่ผ่านมา
"ประสบการณ์ของเราเห็นว่าการเข้าไปกู้สถานการของบริษัทที่แย่หนักมากสู้ตั้งอุตสาหกรรมที่ใหม่ไม่ได้"
เขากล่าวอย่างแจ่มชัด