Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2530








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2530
ไดเออิ อิงค์ในนามเจ้าพ่อร้านค้าปลีกญี่ปุ่นสู่เมืองไทยในฐานะสำนักงานตัวแทน             
 


   
search resources

ไดเออิ อิงค์
Investment
Retail




ไดเออิ เป็นบริษัทดำเนินกิจการค้าปลีกรายใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น มีส่วนแบ่งการตลาดประเภทร้านสรรพสินค้าประมานร้อยละ 10 ของทั้งหมด คิดเป็นยอดขายประมาณปีละ 18 ล้านบาท เห็นตัวเลขยอดขายก็รู้ได้ถึงความใหญ่

จากเหตุที่บริหารโดยยึดแนวคิดร้านค้าแบบลูกโซ่ของอเมริกัน ประกอบกับกุลยุทธ์การจัดหาผลิตภัณฑ์หลากชนิดมาจำหน่ายตามที่ลูกค้าต้องการ ทำให้ร้านปลีกของไอเออิขยายไปอย่างรวดเร็ว จนเป็นกลุ่มร้านค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น มีร้านค้าปลีกที่ดำเนินกิจการเองประมาน 169 แห่ง และร้านค้าย่อยอีกที่ไดเออิมีหุ้นหรือมีสิทธิ ทางการค้าอีกกว่า 5,000แห่ง

เมื่อไดเออิขยายร้านค้าออกไปอย่างกว้างขวาง จากร้านขายยาเพียงคูหาเดียวเมื่อปี 2500 ขยายเป็นร้านค้าปลีกที่มีอยู่ทั่วญี่ปุ่นกว่า 5,000 แห่ง ขอบข่ายการขยายความสามารถในการจัดหาผลิตภัณฑ์เข้ามาจำหน่ายในร้าน จึงจำเป็นต้องเพิ่มขึ้นตามไปด้วย นอกจากสินค้าที่ผลิตในญี่ปุ่นแล้วยังนำสินค้าต่างประเทศเข้าไปจำหน่ายด้วยสำนักงานตัวแทน จัดซื้อสินค้าในต่างประเทศที่มีอยู่ตามจุดต่างๆทั่วโลกแล้ว 10 แห่งไม่เพียงพอ ที่จะหาสินค้า ใหม่ๆ มาสนองความต้องการ ของลูกค้าที่คิดเฉลี่ยแล้วเข้ามาใช้บริการไดเออิ วันละประมาณ 3 ล้านคน

สำนักงานตัวแทนเพื่อจัดซื้อสินค้า ส่งไปญี่ปุ่น แห่งที่ 11 ไดเออิ กรุงเทพฯ จึงเปิดทำการตั้งแต่ปลายปี 2529 และเพิ่งเปิดสำนักงานอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนที่แล้ว

"เราพบว่าสินค้าของไทย มีโอกาสขยายตัวได้มากในตลาดญี่ปุ่นหากได้รับการส่งเสริมด้านการส่งออกจากภายในประเทศ ควบคู่ไปกับการพัฒนาตลาดในญี่ปุ่นให้มีความรู้ความเข้าใจ และต้องการในสินค้าของไทย" มร.ที.ฟูจิตะ หัวหน้าสำนักงานตัวแทนไดเออิ กรุงเทพฯ กล่าวถึงโอกาสที่มีมากของสินค้าไทยในญี่ปุ่นอันเป็นสาเหตุ ให้ไอเออิ ต้องมาเปิดสำนักงาน ตัวแทนที่กรุงเทพฯ

สินค้าที่ไดเออิติดต่อจัดซื้อจากบริษัทจำหน่ายและผู้ผลิตในประเทศไทย เป็นสินค้าประเภทเสื้อผ้า อาหารทะเลแช่เย็น ไก่ ข้าวตัง กล้วยไม้ ผลิตภัณฑ์ที่ทำด้วยไม้ ลวด เครื่องแก้ว เซรามิค

"ขณะที่เราติดต่อผู้ผลิต และจำหน่ายสินค้าในประเทศ ไทยอยู่ประมาน 150 ราย และคาดว่า จะสามรถส่งสินค้าไปญี่ปุ่นได้ ประมาณ 26 ล้านบาท" มร.ฟูจิตะ กล่าวเสริมถึงการนำเข้าสินค้าเข้าไปจำหน่ายในร้านค้าปลีกที่ญี่ปุ่น

กล่าวได้ว่า ธุรกิจค้าปลีกเป็นหัวใจสำคัญของไอเออิ เพราะคิดเป็น 90% ของธุรกิจทั้งหมด ซึ่งธุรกิจอื่นประกอบด้วยธุรกิจที่อยู่อาศัย ภัตตาคาร และบริการอื่น ๆ ธุรกิจการเงิน ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

"ทรัพยากรที่มีค่าที่สุดของกลุ่มไอเออิ คือ ลูกค้าจำนวน 3 ล้านคนที่แวะเข้าไปร้านค้าต่างๆ ของบริษัท ทุกๆ วัน คนเหล่านี้ไม่เพียงซื้อสินค้าและใช้บริการของบริษัท แต่ยังเป็นเงาสะท้อนความต้องการและแนวโน้มการตลาดด้วย ด้วยเหตุนี้ เราคิดว่าไม่มีกลุ่มบริษัทใดในญี่ปุ่น จะเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการของลูกค้าได้ดีเท่าไอเออิ ผู้บริหารกลุ่มไอเออิคนหนึ่งกล่าวโยงไปถึงการเปิดสำนักงานตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทย เพื่อหาสินค้าสนองความต้องการของลูกค้าญี่ปุ่นด้วย

อย่างไรก็ตาม สินค้าหลายตัวที่มีลู่ทางตลาดดีที่ญี่ปุ่น แต่มีปัญหาการกีดกันทางการค้าไม่สามารถส่งเข้าไปตลาดญี่ปุ่นได้ เช่น ไก่ทอดกระดูกแช่แข็ง ที่เจอกำแพงภาษีอย่างสูง และผลไม้ที่ถูกกีดกัน เนื่องจากปัญหาเรื่องการกำจัดแมลง

"ปัญหาเหล่านี้เกินความสามารถที่ไดเออิจะจัดการได้ ต้องพึ่งพาความร่วมมือทั้งทางราชการทั้ง 2 ประเทศ และผู้ผลิตเองด้วย รวมทั้งต้องการให้ สื่อมวลชนช่วยกันให้ความสนใจ เป็นตัวกระตุ้นให้การกีดกันนั้นหมดไป" มร.อิชาโอะ นาคาอุชิ ประธานกรรมการและหัวหน้า ผู้บริหารไอเออิ อิงค์ ซึ่งเป็นกรรมการ เจโทร ประเทศญี่ปุ่นด้วย กล่าวถึงเรื่องนี้

ด้วยความมุ่งมั่น การขยายร้านสรรพสินค้า และร้านค้าปลีกออกไปไม่หยุดยั้ง ไอเอิที่ญี่ปุ่น ปี 2529 จึงเพิ่มขึ้นอีกหกร้าน ถึงแม้ในเมืองไทย ไดเออิยังไม่มีห้างสรรพสินค้า หรือร้านค้าปลีกของตนก็ตาม

ในเมืองไทยนั้นกลุ่มร้านค้าปลีกและห้างสรรพสินค้าญี่ปุ่น มาเปิดห้างสรรพสินค้าและเป็นตัวแทนจัดซื้อสินค้าจากประเทศไทยกลับไปนั้นก็มีหลายหลายแล้ว เช่น ไดมารู จัสโก้

แต่ไดเออิยักษ์ใหญ่ห้างสรรพสินค้า กลับเข้ามาเปิดสำนักงานตัวแทนจัดซื้อสินค้าเสียก่อนแต่คงไม่แน่หรอก ต่อไปประเทศไทยอาจมีห้างสรรพสินค้า ชื่อ ไอเออิ ก็เป็นได้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us