Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2530








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2530
พิมพ์ใจ ลี้อิสสระนุกูล คนที่ 2 ของรุ่นที่ 3 "นักตามรอย"             
 


   
search resources

อินโนเว รับเบอร์
พิมพ์ใจ ลี้อิสสระนุกูล
Auto-parts




"ลี้อิสสระนุกูล" วันนี้ไม่เล็กเลยเมื่อย้อยกลับไปเทียบ 70 สิบปีที่แล้ว ครั้งที่กนก ลี้อิสสระนุกูล จากเมืองจีนเข้ามาตั้งรกรากซ่อมจักรยานอยู่ที่ตลาดน้อยจนถึงรุ่นที่ 2 ที่ดำเนินกิจการรับช่วงจากกนก ซึ่งเสียชีวิตลงเมื่อปี 2516 คือ ปริญญา, วิทยา ลี้อิสสระนุกูล และกัลยาณี พรรณเชษฐ์

พิมพ์ใจ ลี้อิสสระนุกูล คนที่ 2 ของรุ่นที่ 3 ที่ตามรอยทนงเกือบทุกอย่าง ด้วยเหตุผลที่มีพื้นฐานทางด้านวิศวะ และเข้าใจการผลิตเป็นอย่างดี เมื่อถูกซักถามจากนักข่าวเกี่ยวกับการผลิต ลึกๆ เธอมักจะตอบฉะฉานเสมอว่า ขอไม่ตอบเพราะเกรงความลับด้านการผลิตจะรั่วไหล

ตั้งแต่วันนี้ที่กนกเริ่มก่อร่างสร้างตัวจนถึงวันนี้ "ลี้อิสสระนุกูล" เติบโตออกไปอย่างกว้างขวางในธุรกิจอุตสาหกรรมยานยนต์ ตั้งแต่สิทธิผล 1919 ที่เป็นกิจการแรกเกี่ยวกับจักรยานสิทธิผลมอเตอร์ ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์มิตซูบิชิ, สหพัฒนายานยนต์ ประกอบรถยนต์มิตซูบิชิ รถบรรทุกฟูโซ่, โรงเรียนกนกอาชีวศึกษา, บริษัท อินโนเวรับเบอร์ (ประเทศไทย) ผลิตยางนอกยางในรถจักยานยนต์ และชิ้นส่วนประกอบรถยนต์ ที่ทำด้วยยางบริษัทไทยสแตนเลย์ ารไฟฟ้าผลิตหลอดไฟและโคมไฟสำหรับยานพาหนะทุกชนิด

ในวันนี้อิสระนุกูล รุ่นที่ 3 ได้เข้ามามีบทบาทแล้วเริ่มด้วยทนง ลี้อิสสระนุกูล ลูกชายคนโตของวิทยาและพรดี ลี้อิสสระนุกุล ซึ่งขณะนี้มีบทบาทเด่นมากเขาเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท สิทธิผล 1919 บริษัทไทย สแตนเลย์ การไฟฟ้า บริษัทไทยเชต้าสตีลอินดัสเตรียลและรองประธานกรรมการบริษัทอินโนเวรับเบอร์ (ประเทศไทย)

นอกจากนี้ยังมีอีกคนที่ตามรอยทนงเกือบทุกอย่าง พิมพ์ใจ ลี้อิสสระนุกูล น้องสาวทนง ลูกสาวคนที่ 2 ของวิทยาจากลูกทั้งหมด 4 คนเป็นคนที่ 2 ของรุ่นที่ 3 ที่เข้ามามีบทบาทในธุรกิจกลุ่ม สิทธิผล เธอเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทอินโนโว รับเบอร์ (ประเทศไทย ) เมื่ออายุ 25

พิมพ์ใจขณะนี้อายุ 26 จบปริญญาตรีวิศวอุตสาหกรรมจากจุฬาฯ เมื่อได้ทำงานวิศวะตามที่เรียนมาสมใจที่บริษัทกระเบื้องกระดาษไทยได้ประมาณ 3 เดือน แล้วจึงทำที่ครอบครัวต้องการ เริ่มด้วยการเรียนทางบริหารธุรกิจ ตามรอยพี่ชาย แต่แทนที่จะไปเรียนที่ญี่ปุ่นเหมือนทนง พิมพ์ใจ ไปเรียนที่ เอ็มบีเอ ที่ DREXELUNIVERSITY ฟิลาเดลเฟีย

ทันทีที่กลับเมืองไทยก็รับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการบริษัทอินโนเว รับเบอร์ ซึ่งเป็นบริษัทผลิตยางรถจักยานยนต์ และชิ้นส่วนประกอบรถยนต์ที่ทำด้วยยางที่ใหญ่ที่สุดในเมืองไทย ต่อจากทนง ซึ่งเริ่มบทบาทของตนในกลุ่มสิทธิผล ที่บริษัทวันนี้ เธอเรียนรู้งานมาแล้ว 1ปี กับ 4 เดือน

"ถ้าคิดว่าตนเองเป็นวิศวกรก็ต้องบอกว่าใช้เวลาในโรงงานน้อยไป แต่ถ้าคิดว่าตนเองเป็นผู้บริหารก็ต้องบอกว่า ให้เวลาส่วนใหญ่กับโรงงานมากทีเดียว" พิมพ์ใจกล่าวกับ "ผู้จัดการ" ถึงตัวเองที่มีพื้นฐานทางวิศวอุตสาหกรรมมาก่อน เมื่อมาบริหารงานบริษัทที่เป้นผู้ผลิตจึงเข้าในงานด้านโรงงานเป็นอย่างดี

ความจริงแล้ว อินโนเวรับเบอร์เป็นบริษัทที่เหมาะมากที่สุดในกลุ่มสิทธิผล สำหรับการเรียนรู้งานเพราะดูเหมือนจะเป็นบริษัทที่ทำงานเป็นทีมและมีระบบมากที่สุด เป็นบริษัทที่มีการถ่ายทอดทั้งทางด้านบริหารงานและเทคโนโลยีการผลิตจากญี่ปุ่นเพราะบริษัทนี้ อินโนเว ประเทศญี่ปุ่นถือหุ้น 49% กลุ่มคนไทย ถือ 51% ดำเนินการผลิตยางรถยนต์และชิ้นส่วนที่ทำด้วยยาง เพื่อทดแทนการนำเข้ามาได้ 15 ปีแล้ว และในปีหน้า 2531 ภายใต้การนำของกรรมการผู้จัดการอายุ 26 บริษัทนี้จะส่งยางรถจักรยานยนต์ ไออาร์ซี ที่ผลิตขึ้นเพื่อส่งออก เป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 50 ล้านบาท

โครงการเพื่อการส่งออกนี้ต้องลงทุนเพิ่มอีก 30 ล้านบาท ต้องลงทุนเพื่อควบคุมคุณภาพมากขึ้นๆ เพราะการส่งออกภายใต้ชื่อ ไออาร์ซี ทางญี่ปุ่นต้องการให้สินค้าที่ออกไปมีคุณภาพมาตราฐาน พิมพ์ใจบอกว่าบริษัทนี้ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งในการถ่ายทอดเท็คโนโลยีขั้นต่อไปคือ การลงทุนทางด้านวิจัยและพัฒนาส่วนสำคัญที่ต้องลงทุนคือ TESTING ROOM เพื่อเตรียมรับการตรวจสอบคุณภาพสินค้าเพื่อการส่งออก

ขณะนี้ยางไออาร์ซีของอินโนเวรับเบอร์ ครองส่วนการตลาดถึง 70% และเป็นซัพพลายยางให้กับจักรยานยนต์ ทั้งฮอนด้า ยามาฮ้า คาวาซากิ ซูซูกิ และส่วนประกอบรถยนต์ที่ทำด้วยยางซึ่งครองส่วนแบ่งการตลาดอยู่ประมาณ 80% ก็เป็นซัพพลายให้กับผู้ประกอบรถรายใหญ่ไม่ว่าจะเป็น ฮอนด้า โตโยต้า อีซูซู มิตซูบิชิ นิสสัน มาสด้า เปอร์โยต์ บีเอ็มดับบลิว

"เราคิดว่าจะขยายตลาดในส่วนชิ้นส่วนยางออกไปอีกนอกจากตลาดที่เป็นยานยนต์ เช่นยางขอบกระจก ตามอาคาร ยางระบบวาวล์ ยาง INSULATOR" พิมพ์ใจกล่าวถึงความคิดส่วนตัวในเรื่องการขยายตลาด

ปี 2529 อินโนเวรับเบอร์ ประเทศไทยมียอดขาย 240 ล้านบาท ในปี 2530 คาดว่าจะทำยอดขายได้ทั้งสิ้นประมาน 280 ล้านบาท และในปี 2531 จะเป็นปีแรกที่อินโนเวรับเบอร์ ประเทศไทย ส่งออกยางรถจักรยานยนต์ ไออาร์ชี เป็นครั้งแรก ภายใต้การนำของกรรมการผู้จัดการที่ชื่อ พิมพ์ใจ ลี้อิสสระนุกูล และเมื่อผ่านเวลานั้นไปไม่นาน รุ่นที่ 3 คนที่ 2 นี้ต้องขยับขยายหน้าที่รับผิดชอบตามพี่ชายต่อไป

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us