Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2530








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2530
สยามโตโยต้าอุตสาหกรรมก้าวแรกของปูนใหญ่ในอุตสาหกรรมผลิตเครื่องรถยนต์             
 


   
www resources

Toyota (Thailand) Homepage
โฮมเพจ เครือซิเมนต์ไทย

   
search resources

สยามโตโยต้าอุตสาหกรรม
ปูนซิเมนต์ไทย, บมจ.
Auto-parts
โตโยต้ากรุ๊ป
นิปปอนเด็นโซ่ ประเทศไทย.,บจก




ไม่มีใครคิดหรอกว่าห้องรสสุคนธ์ โรงแรมฮิลตันฯ ขนาดประมาณ 1/4 สนามฟุตบอลจะดูคับแคบแออัดได้ขนาดนั้น ในวันหนึ่งเมื่อกลางห้องด้านหน้าจัดเป็นโต๊ะยาวเรียงแถวผู้บริหารระดับสูงของ 4 บริษัทใหญ่ มร. ที ฟูจิโมโต้ รองประธานบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ประเทศไทย มร.เอ็ม ทานากะ กรรมการผู้จัดการบริษัทโตโยต้า มอเตอร์คอร์เปอเรชั่น พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ผู้จัดการใหญ่บริษัทปูนซีเมนต์ไทย สบสันต์ เกตุสุวรรณ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ บริษัทปูนซีเมนต์ไทย ศุกรีย์ แก้วเจริญ กรรมการผู้จัดการทั่วไป บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย มร.อีโต้ ประธานกรรมการ บริษัท นิปปอนเด็นโซ่ ประเทศไทย

ทั้ง 7 คน ถูกจัดให้นั่งเผชิยหน้ากับสื่อมวลชนที่มีเก้าอี่นั่งพร้อมหูฟังคำแปลภาษาไทย-อังกฤษ ประมาน200 ที่และยังมีประเภทที่ต้องยืนสลับนั่งอยู่หลังห้องเพราะที่นั่งไม่พออีกหลายคน ปีกทั้งสองด้านของห้องถูกโอบล้อมด้วยโต๊ะเรียงแถวเจ้าหน้าที่บริหารระดับสูงของทั้ง 4 บริษัท ประชาสัมพันธ์ปูนใหญ่และโตโยต้ายกชุดใหญ่มาอำนวยความสะดวกเต็มที่

วันนั้นเป็นวันที่ 12 มิถุนายน 2530 สื่อมวลชนหลายแขนง ผู้บริหารระดับสูง เจ้าหน้าที่ระดับกลาง และทีมงานประชาสัมพันธ์ ทั้งปูนซีเมนต์ไทย โตโยต้า ประเทศไทย บรรษัทฯ และนิปปอนเด็นโซ่ ประเทศไทย ต่างหลั่งไหลมาพร้อมกันในพิธีลงนามสัญญาก่อตั้ง บริษัทสยามโตโยต้า อุตสาหกรรม

พิธีเริ่มเวลา 16.00 น. ผู้ร่วมลงนามได้แก่ พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา มร. เอ็ม ทานากะ มร.เค อีโต้ และศุกรีย์ แก้วเจริญ ตลอดเวลาร่วมลงนามประมาณ10 นาที แฟลชจากกล้องถ่ายรูปของช่างภาพกว่า 30 คน กดพร้อมๆกันดังสนั่น ไฟแพลชจากกล้องรวมกันหลายๆครั้งแรงไม่แพ้แสงจากสปอร์สไลท์จากกล้องโทรทัศน์

นับแต่ต้นปีคงยังไม่มีงานไหนที่ใช้ฟิล์มถ่ายรูปกันมากขนาดนี้

บริษัทสยามโตโยต้า อุตสาห์กรรม มีทุนจดทะเบียน 150 ล้านบาท แบ่งเป็นฝ่ายญี่ปุ่นคือบริษัทโตโยต้า มอเตอร์คอร์เปอเรชั่น 40 % ที่เหลือเป็นฝ่ายไทย คือบริษัทปูนซีเมนต์ไทย และบริษัทนิปปอนเด็นโซ่ ประเทศไทย และบริษัทเงินทุนอีกแห่งละ 10 %

โครงการผลิตเครื่องยนต์สำหรับรถปิกอัพนี้จะใช้เงินลงทุนประมาณ 1, 000 ล้านบาน ทั้งนี้ไม่รวมค่าที่ดินและเงินทุนหมุนเวียน จะทำการผลิตเครื่องยนต์ขนาดบรรจุไม่เกิน 2, 500 ซีซี ด้วยกำลังผลิตเดือนละ 2, 000 เครื่อง เริ่มทำการผลิตประมาณกลางปี 2532 ที่นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง ใช้พนักงานทั้งสิ้น ประมาณ 200 คน

ในระยะ 5 ปี แรก สยามโตโยต้าอุตสาหกรรมจะผลิตเครื่องยนต์ โดยใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศอัตรา 20 % 30 % 40% 60% และ 80 % ตามลำดับ ทั้งชิ้นส่วนเครื่องยนต์ และเครื่องยนต์สำเร็จรูปที่ผลิตได้ นอกจะใช้และจำหน่ายในประเทศแล้วยังมีเป้าหมายในการส่งออก 5 ปีแรกเป็นมูลค่าประมาณ 500 ล้านบาท โดยผ่านทางโตโยต้า มอเตอร์ คอร์เปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น

นอกจากผลที่ได้รับทางด้านการทดแทนการนำเข้าและเพื่อการส่งออกแล้ว สิ่งที่เราหวังจะได้รับจากโครงการนี้คือ การถ่ายทอดเทคโนโลยี เพราะบริษัทโตโยต้าเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีและการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ของโลก

ด้วยความร่วมมือทางด้านเทคนิคจากโตโยต้า คงจะช่วยพิจารนาอุตสาหกรรมยานยนต์ภายในประเทศให้ทันสมัย และสามารถแข่งขันกับทั้งตลาดภายในและต่างประเทศได้ เทคโนโลยีที่ผมว่านี้นอกจากโตโยต้าจะถ่ายทอดให้เรา ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องยนต์แล้วยังถ่ายถอดให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนภายในประเทสด้วย ทั้งยังทำให้เกิดการจ้างงาน ซึ่งเป็นการตอบสนองนโยบายรัฐบาลอีกทางหนึ่งด้วย ตอนหนึ่งในคำปราศรัยองพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ผู้จัดการใหญ่ปูนซีเมนต์ไทย

เกือบ 2 ชั่วโมงวันนั้นหลังพิธีลงนามคำปราศัยและคำถามคำตอบที่วกไปวนมาทุกอย่างก็จบลงไปเรียบร้อย

และนับเป็นก้าวแรกของปูนซีเมนต์ไทยที่ก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมเครื่องยนต์เป็นไปอย่างเรียบร้อยเช่นกัน เหลืออีกสองโครงการที่จะตามมาเร็วๆ นี้คือ โครงการร่วมทุนบริษัทนวโลหะไทยกับบริษัทสยามกลการบรรษัทเงินทุนฯ ธนาคารกรุงเทพ บริษัทนิสสันมอเตอร์ ประเทศญี่ปุ่น โครงการนี้นวโลหะไทยจะถือหุ้นประมาณ 15%

อีกโครงการเป็นโครงการร่วมทุนบริษัทนวโลหะไทย กับกลุ่มอีซูซุ และกลุ่มอื่นๆ ได้แก่บริษัทมิตซูบิชิ ประเทศญี่ปุ่น บริษัทกมลสุโกศล บริษัทสิทธิผลมอเตอร์ บริษัทตรีเพชรอีซูซุ ธนาคารไทยพาณิชย์ บริษัทเงินทุนฯ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โครงการนี้นวโลหะไทยจะเข้าร่วมถือหุ้น 10 %

จากโครงการผลิตเครื่องยนต์ที่ได้รับการส่งเสริมลงทุนทั้งสิ้น 4 โครงการ ปูนซีเมนต์ไทยและบริษัทในเครือเข้าร่วม 3 โครงการ มีเพียงโครงการของยนตรกิจเท่านั้นที่ทางปูนซีเมนต์ไทยไม่ได้เข้าร่วม

ทั้งที่การขยายตัวเข้าสู่อุตสาหกรรมใหม่ๆ ของปูนใหญ่แต่ละครั้งไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมกระดาษ, อุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้างที่ขยายไปอย่างกว้างขวาง ผู้บริหารระดับสูงหลายคนให้เหตุผลเหมือนๆกันว่า " เราไม่อยากเข้าไปหรอก เขามาขอให้เข้าไปก็เข้าไปช่วย "

แต่ในอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องยนต์ที่มีทั้งสิ้น 4 ราย ปูนใหญ่เข้ามีส่วนร่วมลงทุนถึง 3 โครงการ

ไม่รู้ว่างานนี้มีคนมาขอร้องให้เข้าร่วมทั้ง 3 โครงการหรือเปล่า!?

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us