Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มิถุนายน 2552
มหาอำนาจที่ไม่เหมือนใคร             
 


   
search resources

Political and Government




ความเป็นตัวของตัวเองของ Lula กำลังทำให้บราซิลกลายเป็นมหาอำนาจที่โดดเด่นไม่เหมือนใคร

ประธานาธิบดี Luiz Inacio Lula da Silva แห่งบราซิลกำลังดวงขึ้น เมื่อไม่นานมานี้ บราซิลยังเป็นเพียงประเทศประชาธิปไตยอ่อนหัด ยากจนและเศรษฐกิจสะดุดกับปัญหาอยู่บ่อยๆ หลังจากก้าวพลาดมานานหลายสิบปี บราซิล ในขณะนี้กลับกลายเป็นประเทศประชาธิปไตยตลาดเสรีที่เข้มแข็งและมีเสถียรภาพซึ่งหาได้ยากยิ่งในภูมิภาคที่เต็มไปด้วยความยุ่งเหยิง ปกครองด้วยระบบกฎหมายแทนความคิดตามอำเภอใจของผู้นำเผด็จการ บัดนี้บราซิลมีความเป็นตัวของตัวเองอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ที่จะก้าวขึ้นเป็นประเทศมหาอำนาจในวิถีทางที่แตกต่างไปจากมหาอำนาจอื่นๆ ในโลก

ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา บราซิลผงาดขึ้นเป็นมหาอำนาจที่ไม่เหมือนใคร การหลบอยู่ภายใต้ร่มธงของสหรัฐฯ ในด้านความมั่นคง การที่ไม่มีศัตรูเด่นชัด ทำให้บราซิลมีอิสระที่จะใช้ประโยชน์จากเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของตนได้อย่างเต็มที่ เพื่อการผูกมิตรสร้างอิทธิพลหรือร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในละตินอเมริกา ขณะเดียวกันก็สามารถควบคุมศัตรูที่สร้างความยุ่งยากมากที่สุดในภูมิภาคอย่างเวเนซุเอลาได้ Lula กลายเป็นผู้นำประเทศมหาอำนาจผู้มีฝีมือคร่ำหวอดและแตกต่างไปจากมหาอำนาจอื่นๆ ที่มาจากประเทศตลาดเกิดใหม่ด้วยกัน

ในขณะที่จีนคุมเข้มช่องแคบไต้หวัน รัสเซียไม่ต้องการสูญเสียอิทธิพลใน Caucasus ที่มีมาแต่ดั้งเดิมตั้งแต่สมัยที่รัสเซีย ยังเป็นโซเวียต อินเดียแผ่ขยายอำนาจอิทธิพลเลยแนวชายแดนปากีสถานไปจนถึงอ่าวเปอร์เซีย และสหรัฐฯ ยังคงแผ่อิทธิพลไปเหนือจรดใต้ แต่บราซิลกลับก่อร่างสร้างอิทธิพลในประชาคมโลกโดยไม่ต้องอาศัยอาวุธใดๆ เมื่อเกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศเพื่อนบ้านในละตินอเมริกา เช่นเมื่อครั้งที่เอกวาดอร์กับเปรูเกือบจะเปิดฉากสงครามกันในช่วงทศวรรษ 1990 หรือการที่โคลัมเบียดอดเข้าไปทิ้งระเบิดถล่มค่ายกองโจรในป่าของเอกวาดอร์เมื่อปีที่แล้ว บราซิลส่งนักการทูตและนักกฎหมายไปช่วยแก้ปัญหาแทนกองทัพ หรือรถถัง เมื่อทหารรักษาสันติภาพของสหประชาชาติปะทะกับแก๊งโจรในเฮติ คนที่บราซิลเรียกระดมพลมาไม่ใช่ทหาร หากแต่เป็นนักฟุตบอลชื่อดังของบราซิลอย่าง Ronaldinho, Robinho และ Ronaldo ที่ส่งไปช่วยให้เยาวชนเฮติเปลี่ยนมาทำสงครามในสนามฟุตบอลแทนการจับปืน

บราซิลยังกลายเป็นปากเสียงให้แก่ประเทศตลาดเกิดใหม่ในเวทีโลก สามารถรวมกำลังชาติกำลังพัฒนาท้าทายชาติร่ำรวยในเรื่องเงินอุดหนุนภาคเกษตร ผ่านการรวมกลุ่มที่เรียกว่า G5 และด้วยการผลักดันของบราซิล ทำให้ทูตบราซิล จีน อินเดียและ รัสเซียจัดประชุมกันเป็นประจำทุกเดือนที่กรุงวอชิงตัน เพื่อวาง แผนยุทธศาสตร์ร่วมกันของทั้ง 4 ประเทศซึ่งเรียกย่อๆ ว่า กลุ่ม BRIC ซึ่งมักเป็นไปเพื่อท้าทายสหรัฐฯ รัฐบาลบราซิลผลักดันวาระ "จากใต้สู่ใต้" และเปิดสถานทูตมาแล้ว 35 แห่งในซีกโลกใต้คือทวีปแอฟริกาและแคริบเบียน นับตั้งแต่ Lula ขึ้นเป็นประธานาธิบดีในปี 2003 เป็นต้นมา บราซิลยังเป็นผู้นำภารกิจรักษาสันติภาพในเฮติ ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจของ ประเทศต่างๆ มากที่สุดปัญหาหนึ่งในซีกโลกใต้ และทำให้บราซิล ได้รับเสียงชื่นชมอย่างกว้างขวาง

บราซิลทำทั้งหมดนี้ได้เพราะไม่มีศัตรูเด่นชัดให้ต้องต่อกรด้วย จึงไม่ต้องถูกผูกมัดด้วยภาระหลายๆ อย่างที่เป็นของประเทศมหาอำนาจ อย่างเช่นการลาดตระเวนในน่านน้ำ ทั้งยังมีสหรัฐฯ คอยเป็นพี่ใหญ่ที่พึ่งสุดท้ายประจำภูมิภาคอยู่เสมอ ในขณะที่ประเทศมหาอำนาจตลาดเกิดใหม่ต้องอัดฉีดเงินที่หามาได้เข้าไปในงบกลาโหม แต่งบกองทัพของบราซิลยังคงเท่าเดิมคือประมาณ 1.5% ของ GDP เท่านั้นหรือเพียง 1 ใน 4 ของงบกลาโหมของจีน หรือ 60% ของงบกลาโหมของอินเดียหรือรัสเซีย บราซิลยังไม่มีความทะเยอทะยานที่จะเป็นมหาอำนาจทางการทหาร ความแข็งแกร่งของบราซิลคือเศรษฐกิจ และการมีประวัติศาสตร์ในการเป็นชาติที่สามารถรักษาผลประโยชน์ของตน รวมทั้งการมีวัฒนธรรมที่ซับซ้อนและเข้มแข็ง

บราซิลต้องการจะมีบทบาทมากขึ้นในเวทีโลกมานานแล้ว แต่ก็ถูกเมินมาตลอด บราซิลเป็นประเทศเดียวในละตินอเมริกาที่ส่งทหารไปช่วยยุโรปในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่กลับไม่มีที่นั่งบนโต๊ะเจรจาหลังสงคราม ความต้องการของบราซิลเพิ่งได้รับการยกระดับในช่วงกลางทศวรรษ 1990 เมื่อรัฐบาลนักปฏิรูปของอดีตประธานาธิบดี Fernando Henrique Cardoso แห่งบราซิล สามารถหยุดยั้งปัญหาเงินเฟ้อ และเปิดประเทศไปสู่การค้าและเชื่อมสัมพันธ์กับประชาคมการเงินโลกได้สำเร็จ Cardoso ทำให้บราซิลที่เพิ่งเป็นประชาธิปไตยกลายเป็นประเทศที่มีความน่าเชื่อถือบนเวทีโลก เขาเรียกร้องที่นั่งให้บราซิลในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ริเริ่มเขตการค้าเสรี Mercosur ของชาติละตินอเมริกา และสามารถรวมพลังชาติกำลังพัฒนาภายใต้การค้าเสรีได้สำเร็จ

แต่ไม่มีผู้นำบราซิลคนใดที่มุ่งมั่นเท่ากับ Lula ในการแผ่ขยายอิทธิพลของบราซิลบนเวทีโลก แม้ Lula จะเริ่มต้นเส้นทาง การเมืองของเขาจากการเป็นฝ่ายซ้าย แต่เขาได้สร้างความประหลาดใจให้แก่นักลงทุนต่างชาติ เมื่อเขาปกป้องโยบายเป็นมิตรกับตลาดของ Cardoso ท่ามกลางความผิดหวังของพรรคพันธมิตรกับพรรค Worker's Party ของเขา อย่างไรก็ตาม Lula เอาใจฝ่ายซ้ายด้วยการรักษานโยบายต่างประเทศของ Cardoso อย่างเต็มที่ เขาเพิ่มหน่วยงานใหม่ในกระทรวงการต่างประเทศเป็นสองเท่าและเริ่มออกทัวร์ต่างประเทศ

Lula เดินทางเยือนต่างประเทศมาแล้ว 45 ประเทศ และใช้เวลาเกือบ 1 เดือนต่อทุกๆ 5 เดือนในการทำงานในสำนักงาน ในต่างประเทศมาตั้งแต่ปี 2007 จนสื่อบราซิลตั้งฉายาเขาว่า "Aero-Lula" จุดประสงค์ของ Lula คือเพื่อกระชับความสัมพันธ์กับชาติกำลังพัฒนาด้วยกัน Lula ยังช่วยบีบชาติร่ำรวยให้ยอมลดอุปสรรคทางการค้า ในปี 2004 องค์การการค้าโลก (WTO) ตัดสินให้บราซิลชนะคดีทางการค้าสำคัญ 2 คดี เมื่อ WTO สั่งให้สหรัฐฯ ยกเลิกอุดหนุนเกษตรกรฝ้ายและสั่งให้ยุโรปยกเลิกคุ้มครองอุตสาหกรรม sugar-beet อย่างไรก็ตาม การสนับสนุนการค้าเสรีของ Lula ยังรวมถึงการเข้าข้างสหรัฐฯ ในการเจรจาการค้าโลกรอบ Doha เพื่อบีบให้ชาติกำลังพัฒนาลดการกีดกันทางการค้าลงด้วย ในรายงานล่าสุดของธนาคารโลกเกี่ยวกับการกีดกันทางการค้าในชาติกำลังพัฒนา ธนาคารโลกถึงกับชมเชยบราซิลที่ต่อต้านแรงกดดันให้บราซิลปิดประเทศเพื่อปกป้องเศรษฐกิจของตนเอง

การกระทำของบราซิลทั้งหมดข้างต้น เกิดจากแผนยุทธศาสตร์ที่บราซิลวางไว้ซึ่งแม้มิได้ประกาศออกมาอย่างโจ่งแจ้ง แต่เห็นได้ชัดว่ามีจุดประสงค์เพื่อลดทอนอิทธิพลของสหรัฐฯ ใน ละตินอเมริกา และเพื่อลบล้างความเข้าใจที่ว่าบราซิลเป็นตัวแทน ผลประโยชน์ของสหรัฐฯ บราซิลปิดปากเงียบเมื่อ Hugo Chavez ผู้นำเวเนซุเอลาข่มขู่บริษัทต่างชาติและฝ่ายค้าน รวมทั้งศาลและรัฐสภาเวเนซุเอลา Lula กล่าวว่า ไม่มีใครอาจอ้างได้ว่าไม่มีประชาธิปไตยในเวเนซุเอลา บราซิลประณามโคลัมเบีย ซึ่งเป็นพันธมิตรสนิทที่สุดของสหรัฐฯ ในละตินอเมริกา ว่าละเมิดอธิปไตย เอกวาดอร์ที่เข้าไปทิ้งระเบิดถล่มค่ายกองโจรถึงในเอกวาดอร์ เมื่อปีกลาย บราซิลยังมักจะงดออกเสียงในการลงมติของสหประชาชาติ เพื่อประณามการละเมิดสิทธิมนุษยชนในคิวบา

อย่างไรก็ตาม Lula กลับไม่เห็นดีเห็นงามไปกับการปฏิรูปอย่างในโบลิเวีย ตรงข้ามเขาพยายามควบคุมละตินอเมริกา ด้วยการให้ความร่วมมือกับเพื่อนบ้านในด้านการค้า และเปลี่ยนทวีปนี้ทั้งทวีปให้กลายเป็นตลาดสินค้าของบราซิล ความเป็นมหาอำนาจของบราซิลไม่ได้มาจากปลายกระบอกปืน หากแต่มาจากการมีทรัพยากรธรรมชาติมหาศาล รวมถึงน้ำมันและก๊าซ เหล็ก ถั่วเหลืองและเนื้อ บราซิลกลายเป็นผู้ผลิตสินค้ารายใหญ่ที่ป้อนสินค้าให้ทั้งตลาดเอเชียและประเทศใกล้เคียง ขณะนี้บราซิลเกินดุลการค้ากับทุกๆ ประเทศ ในละตินอเมริกา รวมถึงเวเนซุเอลาที่ขาดดุลให้บราซิลถึง 1 พันล้านดอลลาร์ David Rothkopf อดีตเจ้าหน้าที่กระทรวง พาณิชย์สหรัฐฯ ชี้ว่า ความสามารถในการเปลี่ยนทรัพยากร ธรรมชาติให้กลายเป็นสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ทำให้บราซิลสามารถ "ชกข้ามรุ่น" ได้

บราซิลขัดขวางแผนการใหญ่ของ Chavez ได้ถึง 2 เรื่องคือการจัดตั้งธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งละตินอเมริกา ที่เรียกว่า Banco del Sur และการสร้างโรงกลั่นน้ำมันร่วมระหว่างบราซิลกับเวเนซุเอลา ซึ่งบราซิลไม่เคยออกปากว่าจะออกเงินช่วยเลย Lula ยังกล้าตำหนิ Chavez ที่ใช้จ่ายเงินสุรุ่ยสุร่ายไปกับการซื้ออาวุธทันสมัย ทั้งๆ ที่เศรษฐกิจเวเนซุเอลายังอยู่ในสภาพยอบแยบ จนต้องพึ่งพิงสินค้าพื้นฐานจากบราซิลแทบทุกอย่าง เขาตำหนิผู้นำเวเนซุเอลาตรงๆ ในการพบกันเมื่อเร็วๆ นี้ว่า Chavez จะต้องการอาวุธ เหล่านั้นไปเพื่ออะไร ในขณะที่ในโรงแรมยังหาไม่ได้แม้แต่นมหรือกาแฟ รัฐสภาบราซิลอาจจะยอมรับรองเวเนซุเอลาเข้าเป็นสมาชิก Mercosur ในที่สุด แต่ไม่ได้เท่ากับเป็นการรับรองการทำตัวเป็นจักรวรรดิของ Chavez แต่การรับเวเนซุเอลาเข้าเป็นสมาชิกจะเป็นวิธีควบคุมผู้นำเวเนซุเอลาผ่านข้อผูกมัดที่มีอยู่ในสนธิสัญญาการจัดตั้งกลุ่มการค้า Mercosur ซึ่งรวมถึงการเคารพประชาธิปไตยและการคุ้มครอง ทรัพย์สินของเอกชน

นี่อาจเป็นเกมการเมืองที่เสี่ยงสำหรับ Lula แต่ในเมื่อไม่มีคู่มือสอนการเป็นมหาอำนาจ Lula ก็ดูเหมือนกำลังเขียนคู่มือนั้นด้วยมือของเขาเอง

แปลและเรียบเรียง เสาวนีย์ พิสิฐานุสรณ์
เรื่อง นิวสวีค 27 เมษายน 2552   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us