Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2543
วัชระพงษ์ ยะไวทย์ โอกาสที่มากับอี-คอมเมิร์ซ             
 


   
search resources

แมกซ์เซฟวิ่ง, บจก.
วัชระพงษ์ ยะไวทย์
E-Commerce
shoppingthai.com




สิ่งที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงแน่นอนก็คือ การใช้งานของอุปกรณ์ไร้สาย (Wireless) อย่างโทรศัพท์มือถือจะถูกพัฒนาจากการใช้ในเรื่องของเสียง (voice) ไปสู่การรับ-ส่งข้อมูล (DATA) การใช้โทรศัพท์มือถือจะไม่ใช่แค่ การพูดคุยเท่านั้น แต่จะถูกใช้ไปในเรื่องของบริการธนาคาร โอนเงิน จองตั๋ว หนัง ดูราคาจองซื้อหุ้น เรียกดูข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต

wap หรือ Wireless Application Protocol เป็น มาตรฐานของ server application ที่เป็นภาษาของเครื่อง โทรศัพท์มือถือ ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อให้ โทรศัพท์มือถือมีขีดความสามารถเข้าถึงข้อมูลอินเตอร์เน็ต และการแสดง ผลของข้อมูลได้เหมือนกับเรียกดูจากเครื่องคอมพิวเตอร์

แต่การเปลี่ยนแปลงไปสู่ wap เทคโนโลยี ไม่ได้เกิดขึ้นได้เพียงชั่วข้าม คืน และไม่ใช่แค่ตัวโอเปอเรเตอร์ หรือ ซัปพลายเออร์เท่านั้น แต่จำเป็น ต้องมีพาร์ตเนอร์ ที่จะทำเรื่อง ข้อมูล จะต้องมีพันธมิตรรายที่ 3 แ ละ 4 หรือ 5 มาร่วมด้วย

หลักๆ แล้วจะต้องอาศัยความพร้อมของผู้ให้บริการ 5 ส่วนหลักๆ คือ 1.โอเปอเรเตอร์ 2.ผู้ให้บริการข้อมูล 3.ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ไอเอสพี) 4.ซัปพลายเออร์ และผู้ผลิตเครื่องลูกข่าย

สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะข้อมูลที่อยู่บนอินเตอร์เน็ต นั้น เป็นมาตรฐาน ของภาษา HTML หากใช้โทรศัพท์มือถือรุ่นปกติ ที่ไม่มี wap เทคโนโลยี wap ลูกข่าย ที่มีเทคโนโลยี ถ้าเป็นเครื่อง เท่านั้น จะเรียกดูข้อมูลที่อยู่บนอินเตอร์เน็ตได้ไม่แตกต่างไปจากดูจากเครื่อง คอมพิวเตอร์นัก เพราะ wap จะแปลงภาษา HTML ให้มาเป็นภาษาของโทรศัพท์มือถือ

ในด้านผู้ให้บริการข้อมูล เช่น เว็บไซต์ต่างๆ จะต้องแปลงข้อมูลที่อยู่ ในเว็บไซต์ให้สามารถรองรับกับมาตรฐานของ wap นั่นก็คือ จะต้องมีการ ลงทุน wap server เพื่อนำข้อมูลให้มาอยู่บนมาตรฐานของ wap หรือจะ ต้องมีการผลัก ดันให้มีการพัฒนาข้อมูลให้รองรับกับ wap และ application ใหม่ๆ ที่จะทำให้ wap เทคโนโลยี ใช้งานกับบริการได้หลายๆ ประเภท

ในแง่ของไอเอสพีเองก็มีส่วนร่วมได้โดยตรง โดยลงทุนทำเป็น server เพื่อรองรับกับ wap เทคโนโลยี เพื่อให้มีผู้สนใจมาเช่าเนื้อ ที่นำข้อมูลที่ พัฒนาขึ้นมาใส่ไว้ เพื่อให้บริการ

งานนี้ทั้งโอเปอเรเตอร์ และซัปพลายเออร์ต้องออกโรงหันมาผลักดัน เต็มที่ อีริคสันเองก็ทำเป็นโครงการให้นักศึกษาพั ฒนาโปรแกรมประยุกต์ บน wap เทคโนโลยี เช่นเดียวกับโนเกีย ที่ซุ่มเงียบหาพันธมิตรรอบด้าน ทั้งไอเอสพี และผู้พัฒนาข้อมูลที่จะมาร่วมมือ เพื่อให้ wap เกิดขึ้นมาได้ เพราะเวลานี้ทั้งโนเกีย อีริคสัน ซีเมนส์เ องก็มีเครื่องลูกข่าย ที่รองรับกับ wap ออกมาแล้ว และจะเปิดตัวในต้นปี 2000

แต่การเริ่มต้นนั้น ไม่จำเป็นต้องรอให้ผู้ให้บริการทั้ง 4 ส่วนพร้อมเท่ากันหมด แต่อาจจะเริ่มจากส่วนใดส่วนหนึ่งก่อนได้ เช่น หากติดตั้ง wap พร้อม ก็สามารถให้บริการผ่านบริการ short message

แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส หรือ เอไอเอส ซุ่มเงียบเตรียมความพร้อม มาตั้งแต่ต้นปี 2542 ยังไม่ได้ก้าวไปถึง Wap เทคโนโลยีเต็มตัว เพรา ะยัง ต้องใช้เวลา เพื่อหาซัปพลายเออร์ ที่เหมาะสม และให้มีการพัฒนาแอพพลิเคชั่น ที่ใช้งานมากขึ้นกว่านี้ และหาพันธมิตร ที่จะมาป้อนข้อมูล

เอไอเอสเริ่มชิมลางให้บริการข้อมูลให้กับลูกค้าโทรศัพท์มือถือค่ายจี เอสเอ็ม ด้วยการใช้ประโยชน์จากบริการที่อยู่ในมือ พัฒนาเป็นบริการให้ลูกค้าโทรศัพท์มือถือจีเอสเอ็ม ต่อเชื่อมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งปกติจะมี การ์ด PCMCIA ที่ใช้สำหรับเชื่อม การทำงานของโทรศัพท์มือถือ และ เครื่องคอมพิวเตอร์อยู่แล้ว เรียกดูข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต โดยไม่ต้องเป็นสมาชิก อินเตอร์เน็ต

งานนี้เป็นการร่วมมือกันระหว่างเอไอเอสกับบริษัทในเครือ คือ ซีเอส อินเตอร์เน็ต ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ไอเอสพี) ร่วมกันทำบริการนี้ขึ้น€า ลูกค้าจะเสียค่าบริการนาทีละ 4 บาท คือ เอไอเอสจะได้อัตราเดิมคือ นาที ละ 3 บาท ส่วน ที่เพิ่มอีก 1 บาทจากอัตราปกติ จะเป็นค่าบริการของซี เอส อินเตอร์เน็ต

โทรศัพท์มือถือระบบจีเอสเอ็มสามารถใช้บริการนี้ได้ จะต้องนำเอา sim card ไป upgrade โปรแกรมซอฟต์ แวร์ ที่เรียกว่า sim to cit เพิ่ม ความสามารถเรียกดูข้อมูล และ เพื่อโปรแกรมให้เครื่องโทรศัพท์มือถือ สามารถต่อเชื่อมเข้าไป ที่ศูนย์ของซีเอส อินเตอร์เน็ตโดยตรง หรือเรียกว่า data call ไม่ต้องสมัครเป็นสมาชิกอินเตอร์เน็ต

เอไอเอสจะได้ประโยชน์ทั้งขึ้นทั้งล่อง เท่ากับเป็นการสร้างความ ต้องการของลูกค้าในช่วงเริ่มต้น ก่อนก้าวไปสู่ wap เทคโนโลยี สำหรับการเปลี่ยนไปสู่โทรศัพท์มือถือยุคที่ 3 ที่จะรองรับกับการให้บริการได้ทั้งเสียง ข้อมูล และภาพอย่างแท้จริง ขณะเดียวกันเซีเอสอินเตอร์เน็ต จะมีรายได้ โดยตรงจากบริการเหล่านี้

และนี่เองคือ สาเหตุส่วนหนึ่ง ที่ชินคอร์ปเปิดโครงการแอดเวนเจอร์ หรือ บริษัทเอดี เวนเจอร์ เพื่อลงทุนในเว็บไซต์ต่างๆ เท่ากับเป็นการสร้างฐาน ข้อมูล เพื่อตอบสนองกับทิศทาง ในอนาคตของโทรศัพท์มือถือ ที่จะต้องเปลี่ยนไปใช้ในเรื่องการส่งข้อมูล ไม่ใช่แค่เสียงอีกต่อไป

สิ่งที่ตามมาก็คือ ธุรกรรมบนอินเตอร์เน็ต การค้าบนอินเตอร์เน็ต (อี- คอมเมิร์ซ) ที่จะต้องเป็นรูปธรรมในอนาคต

เวลานี้ เอไอเอส จัดตั้งทีมงาน new product ขึ้นมา 10 คน เพื่อดูแลในเรื่องของ Non voice application หรือบริการที่ไม่ใช่เรื่องของเสียง หรือพูดง่ายๆ ก็คือ บริการที่เกี่ยวกับข้อมูล ซึ่งได ้ทดลองกับโทรศัพท์มือถือ 3,000 เครื่อง มาแล้ว 1 ปีเต็ม จะเริ่มให้บริการได้ภายในต้นปีนี้ ก่อนจะก้าวไปสู่เทคโนโลยีของ wa@ ที่จะเป็นเฟสต่อไป ที่เอไอเอสจะต้องใช้เงินลงทุน 100 ล้านบาท เพื่อเพิ่มอุปกรณ์ มารองรับกับบริการที่จะเกิดขึ้น

ทางด้านค่ายเวิลด์โฟน 1800 โทรศัพท์มือถือของ$่ายนี้ก็สามารถ โปรแกรม sim to cit ได้เช่นกัน แต่ขึ้นอยู่กับว่าแทคจะลงทุนทำเช่นเดียว กับเอไอเอสหรือไม่ แต่ ที่แน่ๆ แทคเ องก็เตรียมพร้อมสำหรับ wap เทคโนโลยีแล้ว โดยอยู่ในขั้นของการเลือกซัปพลายเออร์ ที่เวลานี้ก็กำลังเร่งเดิน เครื่องพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตัวเอง เพื่อรองรับกับ wap เทคโนโลยีกันทุกค่าย ไม่ว่าจะเป็นโนเกีย อีริคสัน ซีเมนส์ อัลคาเทค

ทางด้านของพีซีทีก็จะมุ่งไปสู่เรื่องของบริการสื่อสารข้อมูลด้วยเช่นกัน ในปีหน้า ทุกวันนี้เครื่องรุ่นใหม่ๆ ที่ออกในญี่ปุ่นล้วนตอบสนองการใช้งานในเรื่องของข้อมูลทั้งสิ้น ด้วยขนาดเล็กลง แต่การรับ-ส่งข้อมูลมากขึ้น การรับ ส่งอีเมล รวมถึงการมีระบบจีพีเอส หรือระบบบอกตำแหน่งสถานที่ ที่จะถูกนำมาประยุกต์ใช้กับครื่องพีซีที เพราะระบบเครือข่ายของพีซีทีจะรู้ทันทีว่า ผู้ใช้เครื่อง ลูกข่ายหมายเลขนี้ใช้งานอยู่ ที่จุดใด ดังนั้น เมื่อเกิดปัญหาอะไรขึ่น เช่น รถเสีย หรือ เกิดอุบัติเหตุ ที่จุดใด ผู้ใช้พีซีทีกดเข้าศูนย์ของพีซีที จะรู้ทันทีว่าเกิดเหตุที่จุดใด

จุดสำคัญ ที่จะผลักดันให้พีซีทีใช้ในเรื่องการส่งข้อมูล ก็คือ ความพร้อมในเรื่องของโครงข่าย ที่เอเซียมัลติมีเดีย เตรียมในเรื่องข่ายสาย ที่จะมารองรับในเรื่องของแนวโน้มเหล่านี้

ทางฟากของผู้ผลิตคอมพิวเตอร์เองก็มีสัญญาณชัดเจนจากผู้ใช้คอมพิวเตอร์มือถือ "ปาล์ม" ที่เป็นผลผลิตของปาล์ม คอมพิวติ้ง ซึ่งในอดีตเป็นผู้ ผลิตเครื่องนอร์ตันให้กับค่ายของแอปเปิ้ลคอมพิวเตอร์ ที่ถูกบริษัททรีคอมเ ทกโอเวอร์มา ได้รับการต้อนรับจากผู้ ใช้ ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี แม้ กระทั่งไอบีเอ็ม ยังมองเห็นแนวโน้มเหล่านี้หันมาโออีเอ็มจาก ทรีคอม ออกมาเป็นเครื่อง work pad ออกมาหน้าตาไม่แตกต่างจากปาล์มของทรีคอม

อีริคสันยังร่วมมือกับไมโครซอฟท์ เพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ mobile explorer สำหรับอินเตอร์เน็ตไร้สาย นั่นก็คือ การพัฒนาโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้กลายเป็นคอมพิวเตอร์ ซึ่งอีริคสันจะนำ wap มาประยุกต์ใช้กับ mobile explorer ให้ใช้บนโทรศัพท์มือถือ

ด้านโนเกียเองก็ประกาศจับมือกับทรีคอม เตรียมออกเครื่องลูกข่าย ที่จะนำเอาประสิทธิภาพของโทรศัพท์มือถือ มารวมกับเครื่องปาล์มของทรีคอม

นี่คือ รอยต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีไร้สาย ที่การรวมกันระหว่างคอมพิวเตอร์ สื่อสาร และมีเดีย จะเป็นรูปธรรม ที่ชัดเจนในปี 2000

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us