|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
บัตรเดบิตที่ใช้เทคโนโลยีแถบแม่เหล็กเริ่มถูกขโมยข้อมูลเพิ่มมากขึ้นทำให้ธนาคารกรุงเทพหันมาติดเทคโนโลยีไมโครชิปเพื่อป้องกันปัญหา
ธนาคารกรุงเทพตัดสินใจนำเทคโนโลยีไมโครชิป EMV ติดลงบนตัวบัตรเดบิตหรือบัตรชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ภายใต้ชื่อบัตรใหม่ "บัตรบีเฟิสต์ สมาร์ท" หรือบัตรเดบิตเทคโนโลยีชิปเมื่อ ต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ธนาคารอ้างว่าเป็นสถาบันการเงินรายแรกที่ติดชิปบนบัตรเดบิต
บัตรเดบิตที่ใช้เทคโนโลยีไมโครชิป EMV (Euro Master Card Visa) เป็นของค่ายวีซ่าที่รวมคุณลักษณะของบัตรวีซ่าและบัตรเอทีเอ็มไว้ในบัตรเดียวกันเพื่อป้องกันการลักลอบบันทึกข้อมูล และการปลอมแปลงบัตร
ธนาคารกรุงเทพจึงต้องลงทุน 2 ส่วน บัตรเดบิตติดชิปและเครื่องอ่านชิปที่ตู้เอทีเอ็มสามารถครอบคลุมการอ่านข้อมูลชิป ที่ติดอยู่บนตัวบัตรเพื่อใช้บริการเบิกถอนเงินสด ชำระค่าสินค้าและบริการ
ตามแผนการตลาดของธนาคารกรุงเทพกำหนดไว้ว่าบัตรเดบิตเทคโนโลยีชิปจะเริ่มให้บริการในวันที่ 1 มิถุนายนในเขตกรุงเทพมหานคร ต่างจังหวัดเริ่มให้บริการในวันที่ 1 กรกฎาคม 2552 นี้
ส่วนตู้เอทีเอ็มที่ต้องนำเครื่องอ่านชิปไปติดตั้ง ธนาคารคาดว่าในเดือนพฤษภาคมติดตั้งจำนวน 600 ตู้ มิถุนายนติดตั้งเป็น 4,000 ตู้ และภายในสิ้นปีนี้จะติดตั้งได้ทั้งหมด 6,000 ตู้
เมื่อปี 2540 ธนาคารกรุงเทพออกบัตรเดบิตเป็นครั้งแรกในช่วงเวลานั้นเรียกว่า บัตรบีเฟิสต์โดยใช้เทคโนโลยีแถบแม่เหล็ก แต่หลังจากนักโจรกรรมข้อมูลใช้เครื่องสกิมเมอร์ (skimmer) สามารถขโมยข้อมูลจากบัตรอิเล็กทรอนิกส์เทคโนโลยีแถบแม่เหล็กได้อย่างง่ายดาย
จึงทำให้ธนาคารหันมาลงทุนใช้เทคโนโลยีชิปที่มีต้นทุนสูงกว่าบัตรแถบแม่เหล็ก ต้นทุนสำหรับบัตรเดบิตติดชิป 10 บาทต่อบัตร จากเดิมที่บัตรแถบแม่เหล็กมีต้นทุน 4-5 บาทแต่ข้อดีของเทคโนโลยีชิปสามารถบรรจุความจำได้มากกว่าหลายเท่าหรือบรรจุความจำได้ 2 M ขณะที่แถบแม่เหล็กบรรจุความจำ 512 K
การลงทุนของธนาคารกรุงเทพถือว่าเป็นการหวังผลระยะยาวเพราะปริมาณการใช้บริการชำระเงินผ่านบัตรเดบิตเริ่มสูงขึ้นหรือมีมูลค่า 1,000 ล้านบาทต่อเดือน จากร้านค้าทั้งในและต่างประเทศที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน 100,000 ร้าน
ธีระ อภัยวงศ์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ ยอมรับว่าในปีนี้มูลค่าการใช้จ่ายผ่านบัตรเดบิตลดลงบ้าง เพราะเกิดจากสภาพเศรษฐกิจ
ที่ผ่านมาธนาคารได้พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งด้านอุปกรณ์และโปรแกรมเพื่อรองรับนวัตกรรมการเงินรูปแบบใหม่ๆ รวมถึงบริการชำระเงินผ่านบัตรเครดิตและบัตรเดบิต เริ่ม ตั้งแต่ปี 2548 ธนาคารนำเทคโนโลยีชิป EMV มาติดในบัตรเครดิต แทนบัตรแม่เหล็กและปรับปรุงระบบการรับบัตรเครดิตของร้านค้า ให้สามารถรับบัตรชิปในปี 2550 เปิดตัวบัตรบีเฟิสต์ บีทีเอสบัตรเดบิตที่ใช้เทคโนโลยีไร้การสัมผัสเพื่อใช้บริการโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสและในปี 2551 ได้เปิดตัวบัตรวีซ่า บลูเวฟ บัตรเครดิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ไร้การสัมผัส
การพึ่งพิงเทคโนโลยีของสถาบันการเงินมีเป้าหมายให้บริการเข้าถึงผู้ใช้บริการได้ง่ายและรวดเร็ว แต่ก็ต้องมีการลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันมิจฉาชีพที่หาวิธีขโมย ข้อมูลของลูกค้าจึงทำให้การลงทุนของธนาคารไม่มีที่สิ้นสุด
|
|
|
|
|