Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน18 กันยายน 2546
เงินเฟ้อต่ำกดดันการลงทุน ส่งสัญญาณวิกฤติเศรษฐกิจ             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกรุงเทพ

   
search resources

ธนาคารกรุงเทพ, บมจ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์




"โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์" บิ๊กแบงก์กรุงเทพ เตือนอัตราเงินเฟ้อที่ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำกว่า 0.5% ต่อเนื่องนาน 17 เดือน อาจผลักดันให้นักลงทุนหันไปลงทุนในภาค ธุรกิจอื่นที่ได้ผลตอบแทนสูงกว่า เพราะเงินเฟ้อต่ำการลงทุนภาคการผลิตให้ผลตอบแทนต่ำ ระบุเป็นสัญญาณอันตรายที่นำไปสู่วิกฤติเศรษฐกิจรอบใหม่ แม้จะมีความเชื่อเศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ตามตัวเลขคาดการณ์ของสภาพัฒน์ พร้อมลุ้นให้กำลังการผลิตขยับขึ้นถึง 80% เพื่อ หนุนให้เศรษฐกิจไทยมีการขยายตัวอย่างเข้มแข็ง

นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ กล่าวถึงทิศทางการขยายตัวเศรษฐกิจของไทย ว่า มีแนวโน้มการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับการคาดการณ์ของสภาพัฒน์ หรือสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) โดยนับจากปัจจุบันจนถึงสิ้นปีนี้ คงจะไม่มีปัจจัยสำคัญเข้ามาส่งผลให้เกิดการพลิกผันทางเศรษฐกิจมากนัก

ทั้งนี้สภาพัฒน์ ได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจทั้งปีเพิ่มเป็น 5.8-6.2% จากเดิมกำหนดไว้ 4.5-5.5% และตั้งเป้าปี 2547 ไว้อย่างต่ำที่ระดับ 6.5% และอาจจะขยายตัวสูงถึง 9%

นายโฆสิต กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการพิจารณาตัวเลขเศรษฐกิจในครึ่งปีแรก พบว่า ปัจจัยต่างประเทศเริ่มเข้ามามีผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยมากขึ้น โดยตัวเลขจีดีพีไตรมาส 2 ที่สภาพัฒน์ ประเมินว่ามีอัตราการขยายตัว 5.8% เกิดจากปัจจัยภายในประเทศ 4.8% และปัจจัยต่างประเทศ 1% ขณะที่ไตรมาสแรกมีอัตราการขยายตัว 6.1% เกิดจากปัจจัยในประเทศ 5% และต่างประเทศอีก 1%

"ในปี 2547 ไทยจะต้องอาศัยปัจจัยจากต่าง ประเทศมากขึ้น เพื่อเข้ามาทดแทนดัชนีการบริโภคที่ถือว่าร้อนแรงอยู่ในขณะนี้ ขณะเดียวกัน การลงทุนน่าจะมีการปรับตัวดีขึ้น จากปัจจุบันยังไม่มีความชัดเจนนัก"

ปัจจุบันกำลังการผลิตภายในประเทศอยู่ที่ประมาณ 65% ของกำลังการผลิตทั้งหมด ซึ่งถือ ว่าเป็นระดับที่น้อยมาก เพราะมีกำลังการผลิตคงเหลืออยู่มาก หากต้องการให้เศรษฐกิจมีการขยาย ตัวอย่างมีเสถียรภาพและเข้มแข็ง กำลังการผลิตในประเทศน่าจะสูงถึงระดับ 80%

สำหรับประเด็นสำคัญที่น่าเป็นห่วงในปัจจุบันคือ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core Inflation) ที่ทรงตัวอยู่ในระดับกว่า 0.5% ติดต่อกันมาเป็นระยะเวลานานกว่า 17 เดือน ซึ่งจะส่งผลให้ราคาขายสินค้าต่ำ และทำให้ผลตอบแทนจากการลงทุนต่ำตามไปด้วย

"จากการที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ในระดับต่ำ กดดันให้ผลตอบแทนจากการลงทุนต่ำ ไปด้วยนั้น จะส่งผลต่อเนื่องให้ภาคธุรกิจงดการลงทุนในธุรกิจพื้นฐาน และดิ้นรนและหันไปหาลงทุนประเภทอื่นที่มีผลตอบแทนที่ดีกว่า"

นายโฆสิต ได้ตั้งข้อสังเกตว่า ขณะนี้ราคาสินค้าและบริการไม่มีการขยายตัว สวนทางกับราคาสินทรัพย์ประเภทอื่น อาทิ อสังหาริมทรัพย์ และราคาหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งเริ่มเป็นทิศทางเดียวกับช่วงก่อนที่จะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ หรือก่อนเกิดฟองสบู่แตก

"ขณะนี้ ผมยังมองไม่เห็นชัดเจนว่า นักธุรกิจหันไปลงทุนในรูปแบบอื่นๆ หรือรูปแบบใด ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า แต่เป็นเรื่องสำคัญที่ทั้งภาครัฐบาลและเอกชนจะต้องให้ความสำคัญและ ป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เหมือนในอดีตที่ผ่านมา"

สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่อยู่ในระดับเหมาะสมที่จะเกิดแรงจูงใจให้เกิดการลงทุนและ การผลิตนั้น นายโฆสิต กล่าวว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟด ได้ประเมินไว้ที่ระดับประมาณ 1-2% จึงจะดึงดูดความสนใจของนักลงทุน ซึ่งประเทศไทยเองก็ควรจะมีอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกัน

ส่วนแนวโน้มของภาพรวมเศรษฐกิจในอนาคตนั้น ประชาชนควรมีพฤติกรรมการบริโภค ที่มีความเข้มแข็งและมีวินัย เพื่อลดความรุนแรง ดัชนีการบริโภคในขณะนี้ ขณะที่รัฐบาลเริ่มกลับเข้าสู่การมีวินัยการคลังแล้ว ด้วยการพยายามลดบทบาทนโยบายการคลัง เช่น การขาดดุลนโยบายลดลง ดังนั้นประชาชนอย่าหวังพึ่งการบริโภคให้มากนัก ขณะที่สิ่งที่จะทำให้มีการเติบโตอย่างยั่งยืน คือการทำมาค้าขาย การนำเข้าส่งออก หรือการลงทุน เป็นต้น

ขณะเดียวกัน ประเทศไทยลดการพึ่งพาการส่งออกไปยังประเทศจีน และจะต้องปรับตัวเพื่อรับมือหากจีนมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการค้า แม้ว่าขณะนี้ประเทศจีนจะเป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก

"ที่ผ่านมา ไทยพึ่งพาการส่งออกไปยังประเทศจีนจำนวนมาก โดยตั้งแต่เดือนมกราคม-กรกฎาคม 2546 ไทยมีการส่งออกยางพาราไปจีน คิดเป็นสัดส่วนถึง 91% ดังนั้นหากจีนมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการนำเข้า ก็จะส่งผลต่อการส่งออกของไทย ซึ่งจะส่งผลต่ออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศด้วย"

ดอกเบี้ยคงที่จนถึงสิ้นปีนี้

สำหรับกรณีที่ธนาคารกลางสหรัฐฯได้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยเฟดไว้ที่ระดับ 1.00% นั้น นายโฆสิต กล่าวว่าเรื่องนี้เป็นนโยบายการเงินของแต่ละประเทศ ที่จะปรับเปลี่ยนให้มีความ เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจ ทั้งนี้สหรัฐฯ เองยังมีความกังวลเรื่องตัวเลขการจ้างงาน ที่ยังอยู่ในระดับสูงถึง 6.1%

ขณะที่นโยบายของไทย ที่คงอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำ เพื่อป้องกันภาวะเงินเฟ้อนั้น ถือว่านโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ทำได้ดีอยู่แล้ว และมั่นใจว่าอัตราดอกเบี้ย จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงนี้ ส่วนธนาคารกรุงเทพ เองก็จะมีการพิจารณาตามความเหมาะสมในการบริหารเงิน รวมทั้งดูทิศทางของดอกเบี้ย ทั้งระบบ ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีปัจจัยใดๆ เปลี่ยน แปลงมากนัก

ส่วนประเด็นของไถ่ถอนแคปส์จำนวนประมาณ 46,000 ล้านบาท เป็นเงินกองทุนขั้นที่ 1 จำนวน 34,500 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 11% ซึ่งครบกำหนดไถ่ถอนในปี 2547 ขณะนี้ธนาคาร ยังไม่ได้สรุปว่าจะใช้วิธีใดในการไถ่ถอน โดยวิธีที่เหมาะสมคือ การรีไฟแนนซ์ และการเพิ่มทุน

"แบงก์กรุงเทพ ต้องการไถ่ถอนแคปส์ทั้งจำนวน เพื่อจะไม่ต้องแบกรับภาระดอกเบี้ยปีละประมาณกว่า 4 พันล้านบาท เพราะแคปส์จำนวน 4.6 หมื่นล้านบาท มีภาระดอกเบี้ยจ่ายประมาณ 11% แต่ทั้งนี้แนวทางการไถ่ถอนแคปส์ ของแบงก์จะไม่กระทบต่อเงินกองทุน และการบริหารแต่อย่างใด"

สินเชื่อเกษตร-เอสเอ็มอีเกินเป้า

ส่วนนโยบายการสนับสนุนโครงการเกษตรก้าวหน้า และธุรกิจเอสเอ็มอีนั้น นายโฆสิต กล่าวว่า ธนาคารให้ความสำคัญกับทั้ง 2 โครงการ โดยจัดโครงการเครือข่ายคุณภาพเอสเอ็มอี หวังที่จะให้ลูกค้าเอสเอ็มอีมีความเข้มแข็ง และเป็นฐานให้เศรษฐกิจในประเทศขยายตัว โดยตั้งแต่มกราคม-กรกฎาคม 2546 ธนาคารสามารถ ปล่อยสินเชื่อเอสเอ็มอี ได้ 24,000 ล้านบาท จาก เป้าหมายทั้งปี 30000 ล้าน ซึ่งจะทำให้ผลงานทั้งปีเกินเป้าหมายอย่างแน่นอน

ขณะที่โครงการสินเชื่อเกษตรก้าวหน้า ได้กำหนดเป้าหมายการปล่อยสินเชื่อไว้ 5,000 ล้าน บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี หรือปีละประมาณ 1,000 ล้านบาท โดย 3 ปีที่ผ่านมาสามารถปล่อย สินเชื่อได้แล้ว 3,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นสินเชื่อระยะกลาง-ยาว ตั้งแต่ 3-7 ปี และลูกค้าส่วนใหญ่ จะเป็นลูกค้ารายย่อย ประมาณ 1,500 คน คิดเป็นมูลค่า 1,200 ล้านบาท หรือเฉลี่ยรายละไม่เกิน 1 ล้านบาท ส่วนในปีนี้ยอดการปล่อยสินเชื่อ ถึงเดือนสิงหาคมรวมทั้งสิ้น 817 ล้านบาท

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us