|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
อะมาดิอุส เอเชีย แปซิฟิค ประเทศไทย เผยครองส่วนแบ่งการตลาดส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิค อะมาดิอุสยังเป็นผู้นำในตลาดสำรองและจำหน่ายที่นั่งออนไลน์ด้วยส่วนแบบการตลาด 41%
นายเดวิท เบรทท์ ประธานกรรมการ อะมาดิอุส เอเชีย แปซิฟิก กล่าวว่า อะมาดิอุสฯได้พัฒนาธุรกิจในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิกให้มีความแข็งแกร่งมากขึ้น แม้ในสภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยในปัจจุบัน โดยภายในไตรมาสแรกของปี 2552 อะมาดิอุสได้ขยายส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้นมากกว่า 2% และทำให้เป็นผู้นำตลาดในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิค อย่างเห็นได้ชัด ทั้งนี้ระบบการสำรองและจำหน่ายที่นั่งโดยสารของอะมาดิอุส เอเชีย แปซิฟิค ลดลง 4% ในปี 2551 ซึ่งยังถือเป็นสัดส่วนที่น้อยกว่าการลดลงของตลาดระบบตัวแทนสำรองและจำหน่ายที่นั่งโดยสารทั่วโลก (GDS) ซึ่งตกลงมาถึง 7% อะมาดิอุส เอเชีย แปซิฟิค เป็นผู้นำในตลาดสำรองและจำหน่ายที่นั่งทางออนไลน์ด้วยตัวเลขการสำรองที่นั่งออนไลน์มากกว่า 40% จากทั้งภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิค
อะมาดิอุสเห็นความต้องการที่เพิ่มขึ้นในเทคโนโลยีสารสนเทศในอุตสาหกรรมการเดินทางและการท่องเที่ยว โดยระบบการบริหารจัดการลูกค้าอัลเทีย (Altia CMS) ได้รับการคัดเลือกจากพันธมิตรธุรกิจกลุ่มสายการบินสตาร์ อัลไลแอนซ์ (Star Alliance) ให้เป็นระบบปฏิบัติการอย่างเป็นทางการของบริษัท นอกจากนั้น ในปี 2551 ระบบการบริหารจัดการลูกค้าอัลเทีย ยังได้รับเลือกจากสายการบิน
แควนตัส สายการบินแห่งชาติของประเทศออสเตรเลีย ให้เป็นระบบปฏิบัติการเต็มรูปแบบอย่างเป็นทางการของสายการบิน ซึ่งทำให้สายการบินแควนตัสเป็นสายการบินแห่งแรกในโลกที่ใช้ระบบการบริหารจัดการลูกค้าอัลเทียอย่างเต็มรูปแบบ นอกจากนี้สายการบินชั้นนำอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค เช่น สิงคโปร์ แอร์ไลน์และคาเธ่ย์ แปซิฟิค ยังได้ติดตั้งและใช้ระบบการบริหารจัดการลูกค้าอัลเทียด้วยเช่นกัน
“ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในเอเชีย แปซิฟิคในอดีตเคยเป็นตลาดที่มีความผันผวนอย่างรุนแรง แต่ก็สามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วจากวิกฤตการณ์ฉุกเฉิน เช่น โรคระบาดไข้หวัดนก (SARS) และภัยธรรมชาติต่างๆ พันธมิตรในธุรกิจการเดินทางและการท่องเที่ยว ต่างก็ตระหนักถึงบทบาทที่สำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและผลกำไร และเรายังคาดหวังที่จะเห็นความต้องการทางด้านเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องแม้ในวิกฤตเศรษฐกิจในขณะนี้ เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่ายอดการสำรองและจำหน่ายที่นั่งโดยสารผ่านระบบออนไลน์และผ่านทางตัวแทนท่องเที่ยวจะเพิ่มขึ้นเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัว”
ในประเทศไทยที่อะมาดิอุสเป็นเจ้าของส่วนแบ่งการตลาดรายใหญ่อยู่แล้ว แต่เราก็ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องโดยการเพิ่มขึ้นของส่วนแบ่งการตลาดอีก 1% ในปี 2551 ทำให้มีส่วนแบ่งการตลาดรวมถึง 76% ถึงแม้ว่าวิกฤตการณ์ทางด้านการเงินทั่วโลกและสถานการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศจะส่งผลให้ผู้เดินทางเข้าประเทศลดลงเพียง 1.0% หรือ 14.3 ล้านคนในปี 2551
“ประเทศไทยยังคงเป็นศูนย์กลางของการดำเนินงานที่แข็งแกร่งของเราในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิค ซึ่ง พันธมิตรหลักและผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวส่วนใหญ่ของไทย เช่น การบินไทยและโรงแรมในเครือเซ็นทารา มีส่วนส่งเสริมให้ธุรกิจของอะมาดิอุสแข็งแกร่งและเติบโตขึ้นเรื่อยๆ และเรายังคงเดินหน้าเพื่อโอกาสทางธุรกิจที่สำคัญๆ เพื่อการเติบโตของอุตสาหกรรมการเดินทางและการท่องเที่ยวในประเทศไทย ในอนาคต เนื่องจากประเทศไทยเป็นตลาดที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และมีอิทธิพลเป็นอย่างมากต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวระดับโลก” นายเบรทท์ กล่าว
|
|
|
|
|