Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTVผู้จัดการรายวัน27 พฤษภาคม 2552
นายแบงก์ปิดตายปล่อยกู้ อ้างNPLพุ่ง-ธุรกิจรร.โคม่า             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
Loan




ภาคธุรกิจเจ๊งต่อเนื่อง ธปท.เผยแนวโน้มปล่อยกู้ช่วงไตรมาส 2 สถาบันการเงินยังคงใช้เข้มงวดมากขึ้นสำหรับสินเชื่อทุกประเภท เหตุกังวลคุณภาพสินทรัพย์และปัญหาเอ็นพีแอลพุ่ง ธุรกิจโรงแรมและภัตตาคาร เครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้ารวมทั้งยานยนต์เป็นอันดับต้นที่แบงก์กังวลในการปล่อยกู้

รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า สายนโยบายสถาบันการเงินได้ทำการสำรวจภาวะการปล่อยสินเชื่อ ซึ่งเป็นความคิดเห็นของผู้บริหารระดับสูงของสถาบันการเงินของสถาบันการเงินจำนวน 21 แห่งที่ดูแลงานด้านสินเชื่อ ถือว่าครอบคลุมสินเชื่อมากกว่า 86%ของสินเชื่อทั้งระบบ พบว่า แนวโน้มในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้

มาตรฐานให้สินเชื่อทุกประเภทของสถาบันการเงินยังคงเข้มงวดขึ้น ขณะที่ความต้องการสินเชื่อของภาคธุรกิจจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และในส่วนของภาคครัวเรือนคาดว่าจะทรงตัวใกล้เคียงกับไตรมาสก่อน เนื่องจากความต้องการในการบริโภคช่วงเศรษฐกิจถดถอยยังอยู่ในระดับต่ำ

ทั้งนี้ สถาบันการเงินคาดว่าสาเหตุหลักที่ความต้องการสินเชื่อภาคธุรกิจเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากความต้องการลงทุนของธุรกิจยังไม่ฟื้นตัวชัดเจน ส่วนภาคครัวเรือนเริ่มดีขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจทั่วไปและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทางการเงินมีความชัดเจนขึ้น และสถาบันการเงินถึง 75% คาดว่าสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์จะยังอยู่ในระดับที่เหมาะสม อย่างไรก็ตามความกังวลด้านคุณภาพสินเชื่อและความสามารถในการชำระหนี้อาจก่อให้เกิดปัญหาหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ได้ จึงส่งผลให้มาตรฐานการให้สินเชื่อทั้งภาคธุรกิจและครัวเรือนเข้มงวดขึ้นสำหรับสินเชื่อทุกประเภท

นอกจากนี้ ประเภทของธุรกิจที่สถาบันการเงินคาดว่ากำลังประสบปัญหาที่อาจเป็นความเสี่ยง 3 อันดับแรก คือ ธุรกิจโรงแรมและภัตตาคาร ซึ่งมีสัดส่วนถึง 83.1% เครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า 75% และยานยนต์ 70.8% ตามลำดับ ขณะที่ความต้องการกู้เงินของภาครัฐเพื่อใช้จ่ายในการกระตุ้นเศรษฐกิจจะส่งผลต่อสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์และอัตราดอกเบี้ยในสัดส่วนเท่ากัน คือ 81.3% ความต้องการในการกู้เพื่อการลงทุนภาคเอกชน คิดเป็น 75% และความต้องการในการกู้เพื่อการบริโภคภาคเอกชน 73.3% ตามลำดับ

สำหรับภาวะการปล่อยสินเชื่อในช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมานั้น ความต้องการสินเชื่อภาคครัวเรือนลดลงทุกประเภทจากไตรมาสก่อนและต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยเป็นที่น่าสังเกตว่าความต้องการสินเชื่อบัตรเครดิตลดลง เนื่องจากการแข่งขันจากแหล่งเงินทุนอื่นๆ ทั้งจากสถาบันการเงิน บริษัทที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (นอนแบงก์)รวมถึงความเข้มงวดของมาตรฐานการให้สินเชื่อที่เพิ่มขึ้น

ขณะที่ความต้องการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยลดลงตามความเชื่อมั่น โดยผู้บริโภคยังรอประเมินแนวโน้มตลาดที่อยู่อาศัยและผู้บริโภคมีการใช้แหล่งเงินทุนอื่น เช่ เงินออมของครัวเรือน อย่างไรก็ตาม แม้อัตราการอนุมัติสินเชื่อครัวเรือนทุกประเภทลดลงจากไตรมาสก่อน แต่อัตราการอนุมัติสินเชื่อที่อยู่อาศัยยังคงเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจึงสะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคยังมีความต้องการซื้อที่อยู่อาศัย

ด้านภาคธุรกิจเช่นเดียวกัน โดยปัจจัยที่มีผลมากต่อความต้องการสินเชื่อที่ลดลง คือ การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร การใช้เงินทุนหมุนเวียน และการผลิตสินค้าคงคลังสะสมที่ลดลงเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตามภายใต้ภาวะที่มาตรฐานการให้สินเชื่อของสถาบันการเงินมีความเข้มงวดเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน ซึ่งสะท้อนไปยังเงื่อนไขต่างๆ เช่น วงเงินสินเชื่อ (Credit lines) และเงื่อนไขประกอบสัญญาเงินกู้ (Loan covenants) ยังมีต่อเนื่อง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us