Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTVผู้จัดการรายสัปดาห์25 พฤษภาคม 2552
ตลาดของเล่นดึงเทคโนโลยีช่วยประตุ้นยอดขาย             
 


   
search resources

Toys




การประกอบธุรกิจของเล่นเด็กในตลาดโลกขณะนี้ ไม่ได้ง่ายและสบายเหมือนกับสมัยก่อน เพราะพ่อแม่ผู้ปกครองส่วนใหญ่ประเมินว่าของเล่นเด็กเป็นสินค้าที่มีอันตรายต่อลูกหลาน มากกว่าจะเป็นสิ่งที่เพิ่มพูนความสุขให้แก่ลูกหลานของตน

นอกจากอุปสรรคจากความเชื่อและความกังวลของพ่อแม่แล้ว ผู้ประกอบการของเล่นเด็กชั้นนำของโลกยังมีปัญหาและอุปสรรคอีกอย่างน้อย 3 ประการคือ ประการแรก อุตสาหกรรมของเล่นเด็ก มีความจำเป็นต้องใช้พลาสติกเป็นจำนวนมาก จนกล่าวได้ว่าเป็นธุรกิจที่ใช้พลาสติกมากที่สุดในโลกธุรกิจหนึ่ง การสูงขึ้นของระดับราคาน้ำมันจึงส่งผลกระทบให้ราคาพลาสติกที่เป็นวัตถุดิบของธุรกิจเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ขณะที่ความสามารถในการปรับเพิ่มราคาขายไม่มากนัก

ประการที่สอง พฤติกรรมของลูกค้าเด็กสมัยนี้ เปลี่ยนแปลงจากสมัยก่อนมาก และพยากรณ์ความต้องการได้ยากกว่าเดิม การผลิตของเล่นเด็กออกมาแต่ละครั้ง แม้ว่าจะผ่านกระบวนการวิจัยและพัฒนาและการกลั่นกรองมาหลายต่อหลายชั้นแล้ว ก็ยังไม่แน่ว่าจะประสบความสำเร็จทางการตลาดหรือไม่

ประการที่สาม เด็กสมัยนี้มีความเป็นผู้ใหญ่เร็ว และเป็นเด็กไซเบอร์ที่นิยมใช้ชีวิตอยู่บนโลกอินเทอร์เน็ตมากกว่า จึงทำให้ช่วงอายุที่ใช้ชีวิตอย่างสนุกสนานอยู่กับการเล่นของเล่นเด็กแคบลงเหลือเพียงไม่กี่ปี แถมอายุการเล่นของเล่นแต่ละชิ้นยังสั้นลง เพราะความเบื่อง่ายอีกด้วย ผู้ประกอบการที่จะอยู่รอดในธุรกิจของเล่นเด็กได้จึงเป็นกิจการที่ต้องมีความสามารถในการทำกำไรสูงมากเท่านั้น และอาจจะมีการรวมตัวหรือควบกิจการอีกในอนาคต

ประเมินจากผู้ประกอบการรายใหญ่ๆ ของโลกอย่างเช่น แมทเทล ก็ไม่สามารถธำรงรักษายอดการจำหน่ายเอาไว้ได้ แม้ว่าจะพยายามโปรโมตการครบรอบ 50 ปีของบาร์บี้ไปในไตรมาสแรกที่ผ่านมาก็ตาม ขณะที่ฮาสโบรก็มีผลประกอบการรวมย่ำแย่กว่าความคาดหมายของตลาดมาก

ในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา กรรมาธิการระหว่างประเทศด้านอุตสาหกรรมของเล่นเด็กหรือไอซีทีไอ ระบุว่าตลาดของเล่นเด็กของโลกยังคงมีการเติบโตโดยรวม โดยในปี 2008 ธุรกิจนี้มีมูลค่าทางการตลาดรวม 75,700 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 5.3% จากปี 2007 และจากผลการจัดงานแสดง มิดเดิล อีสท์ ทอยแฟร์ ในดูไบซึ่งเป็นงานที่ใหญ่ที่สุดในโลกงานหนึ่ง สะท้อนว่าราว 60% ของประชากรเด็กที่มีวัย 0-14 ปี เป็นผู้ที่อยู่อาศัยในเอเชียรองลงมาคือในแอฟริกา 21% ยุโรปมีเพียง 6% ส่วนที่เหลืออยู่ในอเมริกาเหนือ และละตินอเมริกาใต้ 4% และ 9% ตามลำดับ

ประเด็นเกี่ยวกับการควบรวมกิจการของอุตสาหกรรมของเล่นเด็กนั้น ดูเหมือนว่าจะมีการคาดการณ์กันว่าระหว่างแมทเทลกับฮาสโบรอาจเกิดการเจรจาขึ้นเมื่อใดก็ได้ เพราะเมื่อปี 1996 ทั้งสองบริษัทก็เคยมีการหารือเกี่ยวกับการรวมกิจการกันมาแล้วครั้งหนึ่ง เพียงแต่ไม่ถึงจุดสุดท้าย เพราะถูกมองว่าการรวมกิจการของ 2 บริษัทน่าจะสร้างอำนาจผูกขาดทางการตลาด และไม่เป็นผลดีต่อการแข่งขัน แต่การที่ทั้ง 2 บริษัทล้วนแต่มีส่วนแบ่งทางการตลาดลดลงไปมากในปัจจุบัน อาจทำให้อุปสรรคของทางการที่มองว่าเกิดการผูกขาดทางธุรกิจหรือไม่หมดไป

นอกเหนือจากการพิจารณาปัดฝุ่นแผนการควบรวมกิจการระหว่างกันแล้ว ผู้เชี่ยวชาญทางการตลาดของเล่นเด็กมองว่า ผู้ประกอบการรายใหญ่ๆ ของโลก กำลังตัดสินใจจะนำเอาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมาช่วยเสริมจุดแข็งทางธุรกิจ หรือการก้าวไปสู่การผลิตของเล่นเด็กที่พึ่งพาเทคโนโลยีสมัยใหม่มากขึ้น

ข้อดีของการนำเทคโนโลยีมาเป็นส่วนประกอบของของเล่นเด็กเพิ่มขึ้น คือประการแรก ทำให้สินค้าใหม่ๆ เกิดขึ้นในตลาดได้เร็วขึ้น และมุ่งที่จะเจาะตลาดลูกค้ากลุ่มไฮเทคได้ด้วยการตั้งระดับราคาที่แพงขึ้น โดยใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เป็นตัวสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างหนึ่ง และนำไปสู่การทำกำไรต่อหน่วยที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย

ประการที่สอง การมีส่วนประกอบของเทคโนโลยีในแบรนด์ของเล่นเด็ก จะมีส่วนช่วยยกระดับภาพลักษณ์ของแบรนด์บางแบรนด์ ที่กำลังถูกมองว่าเป็นแบรนด์เก่า สะท้อนสินค้าของเล่นเด็กที่ล้าสมัยได้

ทั้งนี้ แม้แต่ตุ๊กตาบาร์บี้ก็ถูกแมทเทล เจ้าของลิขสิทธิ์นำมาดัดแปลงโดมด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่เช่นกัน เพื่อให้ภาพของสาวบาร์บี้พ้นจากการเป็นของเล่นยุคคุณป้า เข้ากับบุคสมัยอินเทอร์แอคทีฟเทรนด์   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us