การฟื้นตัวของตลาดรถจักรยานยนต์ ในปีที่แล้ว ซึ่งมีการคาดการณ์ถึงยอดขายตลอดทั้งปีว่าจะสูงถึง
800,000 คัน ส่งผลให้ค่ายรถจากยุโรป ได้เริ่มให้ความสนใจจะขอเข้ามาร่วม แย่งตลาดในประเทศไทยด้วย
แนวโน้มตัวผู้เล่นในตลาดในปีนี้ จึงมีเพิ่มมากขึ้น จากเดิม ที่มีผู้ครองตลาดหลักอยู่เพียง
4 รายที่เป็นค่ายรถจากญี่ปุ่นล้วนๆ
เริ่มจากบีเอ็มดับบลิว ที่ประกาศนโยบายอย่างชัดเจน หลังการเข้ามารับตำแหน่งประธานบริษัทบีเอ็มดับบลิว
(ประ เทศไทย) คนใหม่ของคาร์สเทน แองเกิล ว่าจะให้ความสำคัญกับตลาดรถจักรยานยนต์
โดยจะมีการนำเข้ารถจักรยานยนต์บีเอ็มดับบลิวรุ่นใหญ่เข้ามาขาย
ล่าสุดในช่วงก่อนสิ้นปี กลุ่มเคพีเอ็น ของคุณหญิง พรทิพย์ ณรงค์เดช
ที่เพิ่งเสียความเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในสยามยามาฮ่า ไปให้กับยามาฮ่า มอเตอร์จากญี่ปุ่น
ก็เตรียม ที่จะนำรถจักรยานยนต์คาจิวา ซึ่งเป็นรถสัญชาติอิตาลี ให้หวนกลับคืน
มาในตลาดประเทศไทยอีกครั้ง
"ขณะนี้คาจิวามีความพร้อมในการทำตลาดอีกครั้ง หลังจากได้มีการปรับโครงสร้างหนี้ และจัดองค์กรใหม่"
ปิติ มโนมัยพิบูลย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทอินเตอร์เนชั่นแนล วีฮิเคิลล์
กล่าว
บริษัทอินเตอร์เนชั่นแนล วีฮิเคิลล์ เป็นบริษัทในกลุ่มเคพีเอ็น เคยทำหน้าที่เป็นผู้ผลิต และจำหน่ายจักรยานยนต์ยี่ห้อคาจิวา
ซึ่งเป็นอีกยี่ห้อหนึ่ง ที่กลุ่มเคพีเอ็นสนใจจะนำเข้ามาทำตลาดในประเทศไทย
นอกเหนือจากยี่ห้อยามาฮ่า แต่ปรากฏว่าไม่ประสบความสำเร็จเท่า ที่ควร และเมื่อยิ่งต้องประสบกับวิกฤติการณ์ทางการเงินในปี
2540 ทำให้บริษัทมีภาระหนี้สินจำนวนมาก จนต้องหยุดการจำหน่ายลงไป
ส่วนปิติ มโนมัยพิบูลย์ ก่อนหน้านี้ ก็เคยเป็นเจ้าของแบรนด์จักรยานยนต์
ยี่ห้อคาวาซากิในประเทศไทย แต่เนื่อง จากภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจ ที่เกิดขึ้นเมื่อ
3 ปีก่อนเช่นกัน ทำให้คาวาซากิประเทศญี่ปุ่น ต้องเข้ามาดำเนินการเอง
ทั้งปิติ และคุณหญิงพรทิพย์ มีเส้นทาง ที่คล้ายคลึงกัน เพราะคุณหญิงพรทิพย์ก็เคยถือหุ้นใหญ่ในสยามยามาฮ่า
ในนามของกลุ่มเคพีเอ็น ถึง 72% แต่จากภาระหนี้สิน ที่เพิ่มขึ้นภายหลังการประกาศลอยตัวค่าเงินบาท
ทำให้คุณหญิงพรทิพย์ ต้องยอมเปิดทางให้ยามาฮ่า มอเตอร์ ประเทศญี่ปุ่น เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่แทน
ในสัดส่วน 51% ขณะที่กลุ่มเคพีเอ็นลดสัดส่วนการถือหุ้นลงมาเหลือเพียง 15%
ส่วนอีก 34% เป็นของสถาบันการเงินเจ้าหนี้
ด้วยความ ที่ปิติอยู่ในวงการรถจักรยานยนต์ของไทยมานาน หลังจากต้องสูญเสียแบรนด์คาวาซากิไปแล้ว
เขาจึงมีแนวคิด ที่จะทำธุรกิจทางด้านรถจักรยานยนต์ต่อ โดยครั้งแรก ได้ไปติดต่อขอซื้อเครื่องเก่าของรถจักรยานยนต์คาจิวาจำนวน
2,000 เครื่องจากกลุ่มเคพีเอ็น โดยหวังว่าจะนำมาประกอบเป็น รถจักรยานยนต์ในสไตล์ของคนไทย
แต่เมื่อได้พบกับคุณหญิง พรทิพย์ทำให้แนวคิดเปลี่ยนไปเป็นการร่วมกันฟื้นแบรนด์
คาจิวาขึ้นมาอีกครั้ง
แนวคิดดังกล่าวได้รับการตอบรับจากบริษัทเอ็มวี อากุสตา มอเตอร์ เจ้าของแบรนด์รถจักรยานยนต์คาจิวา
จากประเทศอิตาลี การประกาศร่วมทุนของทั้ง 3 ฝ่ายจึงเริ่มต้นขึ้น
เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา บริษัทอินเตอร์เนชั่น แนล วีฮิเคิลล์
ได้มีการปรับโครงสร้างหนี้มูลค่าประมาณ 900 ล้านบาท กับสถาบันการเงินเจ้าหนี้
2 แห่ง ซึ่งประกอบด้วยบรรษัทเงินทุนอุตสาห-กรรมแห่งประเทศไทย (IFCT) มูลหนี้ประมาณ
700 ล้านบาทกับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงศรี อยุธยา มูลหนี้ประมาณ 100
กว่าล้านบาท
หลังจากนั้น ได้มีการปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหม่ จากเดิม ที่ถือหุ้นใหญ่โดยกลุ่มเคพีเอ็น
เปลี่ยนเป็นกลุ่มเคพีเอ็น ปิติ มโนมัยพิบูลย์ และเอ็มวี อากุสตา มอเตอร์
ฝ่ายละ 30% ที่เหลืออีก 10% ถือโดย IFCT
ตามแผนงาน ที่จะเริ่มต้นในปีนี้ รถจักรยานยนต์คาจิวา จะย้ายฐานการผลิตเข้ามาในประเทศไทย
โดยอาศัยโรงงานคาวาซากิเดิมของปิติ ที่จังหวัดสมุทรปราการ โดยในปีแรกตั้งเป้าหมายจะผลิตได้ประมาณ
10,000 คัน และเพิ่มเป็น 20,000 คัน ในปีที่ 2
พร้อมกันนี้ ก็ได้แต่งตั้งดีลเลอร์ในเขตกรุงเทพฯ 10 ราย และต่างจังหวัดอีก
15 ราย โดยได้นำรถในสต็อกเดิม ที่เหลืออยู่จำนวน 200 คันมาปรับปรุงใหม่ เพื่อนำออกจำหน่าย
และในปีนี้จะมีการเปิดตัวรถใหม่อีก 3 รุ่น
การกลับมาสู่ตลาดไทยของคาจิวา ภายใต้โครงสร้างพันธมิตรใหม่ของกลุ่มเคพีเอ็น
น่าจะทำให้การแข่งขันในตลาด รถจักรยานยนต์ของไทยปีนี้ เพิ่มความดุเดือดขึ้นอีกมาก