Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน16 กันยายน 2546
คลอดแล้วกรอบค้าปลีกบี้ยักษ์ค้าไม่เป็นธรรม             
 


   
search resources

กระทรวงพาณิชย์
อดิศัย โพธารามิก
ปิยะบุตร ชลวิจารณ์
อรสา มั่นคงขันติวงศ์




"พาณิชย์" กำหนด 5 แนวทางในการทำธุรกิจค้าส่งค้าปลีก ที่เป็นธรรม เผยหากประกาศใช้แล้วใครไม่ปฏิบัติตามมีความผิดตามมาตรา 29 แห่งพ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า โทษจำคุก 3 ปี ปรับไม่เกิน 6 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ "ปิยะบุตร" เชื่อจะทำให้การค้าส่งค้าปลีกในไทยเป็นธรรมและทำให้รายย่อยแข่งขันได้ เตรียมจัดสัมมนาใหญ่ 19 ก.ย.นี้ ชี้แจงการปฏิบัติตามแนวทาง

นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ให้ความเห็นชอบในแนว ทางการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม ในธุรกิจค้าส่งค้าปลีก (ไกด์ไลน์) ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจค้าส่งค้าปลีกทุกขนาด ต้องปฏิบัติตาม ไม่เช่นนั้นจะมีความผิดตามพ.ร.บ.แข่งขันทางการค้าพ.ศ.2542 โดยหากยังคงดำเนินพฤติกรรมทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม มีโทษสูงสุดคือ จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

สำหรับการกระทำที่จะนำมาใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ และถือเป็นการทำการค้าที่ไม่เป็นธรรมประกอบด้วย 5 แนวทางหลัก คือ 1.การกำหนดราคาขายต่ำเกินควร โดยขายต่ำกว่าใบแจ้งหนี้ เว้นแต่เป็นการขายที่มีความจำเป็น สามารถอธิบายเหตุผลได้ เช่น สินค้าใกล้หมดอายุ สินค้าที่มีการใช้เฉพาะบางฤดูกาล สินค้าตกรุ่น เป็นต้น

2. การใช้อำนาจต่อรองที่เหนือกว่าเอาเปรียบผู้อื่น โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ในลักษณะทำลาย ทำให้เสียหาย ขัดขวาง กีดกัน หรือจำกัดการประกอบธุรกิจของผู้อื่น หรือ เพื่อไม่ให้ผู้อื่นประกอบธุรกิจ หรือต้องล้มเลิกการประกอบธุรกิจ เช่น การบังคับให้คู่ค้าซื้อ ขายสินค้าหรือบริการ การบังคับให้คู่ค้าส่งพนักงานของคู่ค้าไปประจำ ณ สถานที่ขายของตนเอง เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการประกอบธุรกิจของตนเอง การบังคับให้คู่ค้าแบ่งผลประโยชน์ให้โดยไม่มีเหตุผลอันควร การบังคับให้คู่ค้าต้องขายสินค้าให้ตามปริมาณที่กำหนด โดยไม่มีเหตุผลอันควร การกำหนดเงื่อนไขทำธุรกิจที่ทำ ให้คู่ค้าเสียเปรียบ และเอื้อประโยชน์ต่อตนเอง เช่น เก็บค่าธรรมเนียมวางสินค้าแรกเข้า การกำหนดเงื่อนไขทำธุรกิจ หรือทำข้อตกลงพิเศษที่จำกัดโอกาสประกอบธุรกิจของคู่ค้า และการทำให้ลูกค้าต้องขายสินค้าในราคาที่กำหนด เว้นแต่ราคาที่ให้ขายเป็นราคา แนะนำที่ไม่มีเงื่อนไขต้องปฏิบัติตาม

3.การปฏิบัติกับคู่ค้าไม่เท่าเทียมกัน โดยกำหนดเงื่อนไขหรือราคาที่แตกต่างกัน หรือการปฏิเสธที่จะประกอบธุรกิจด้วย โดยไม่มีเหตุผลอันควร เช่น ยกเลิกขายสินค้าของคู่ค้า โดยนำสินค้าชนิดเดียวกันของตนมาขายแทน

4. การกระทำด้วยประการใดๆให้ได้มาซึ่งข้อมูล หรือความลับทางการค้า หรือเทคโนโลยีของคู่ค้า แล้วนำมาเป็นประโยชน์ในการแข่งขันกับคู่ค้าในลักษณะ Free Rider อย่างไม่เป็นธรรม เช่น การทำสินค้าเฮาส์แบรนด์

5. การบังคับหรือชักจูงให้ลูกค้า ต้องประกอบธุรกิจกับตนเอง โดยไม่มีเหตุผลอันควร เช่น การสร้างความเข้าใจผิดเสนอผลประโยชน์ที่ไม่สมเหตุผลในทางการค้า เป็นต้น

"ไกด์ไลน์ที่เรากำหนดขึ้นมา เราได้นำหลักปฏิบัติของประเทศอื่นๆ เช่น สหรัฐฯ ออสเตรเลีย ยุโรป มาประกอบการพิจารณา และเขียนขึ้นให้สอดคล้องกับการทำธุรกิจของไทย ไม่ได้นั่งเทียนเขียนเอง ซึ่งผู้ประกอบการจะทำตามหรือไม่ก็ได้ แต่ถ้าไม่ทำตามก็จะมีความผิดตามมาตรา 29 พ.ร.บ.แข่งขันทางการค้า แต่มั่นใจว่าเมื่อประกาศใช้แล้ว ธุรกิจค้าปลีกจะยึดถือเป็นแนวปฏิบัติ และจะทำให้การแข่งขัน ของธุรกิจค้าปลีกในไทยเป็นธรรมมากขึ้น" นายปิยะบุตร กล่าว

นางอรสา มั่นคงขันติวงศ์ รองอธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า ไกด์ไลน์ดังกล่าวเขียนขึ้นภายใต้ หลักการที่ว่า การประกอบธุรกิจที่เป็นธรรมต้องไม่มีการบังคับ ไม่มีการเลือกปฏิบัติ มีบรรทัดฐานชัดเจน มีข้อตกลงกันล่วงหน้า ไม่มีการกีดกัน และต้องมีการแข่งขันที่เป็นธรรม แต่ในอนาคตอาจปรับเปลี่ยนไกด์ไลน์ใหม่ได้ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 19 ก.ย.นี้ กระทรวงพาณิชย์จะจัดสัมมนาไกด์ไลน์ดังกล่าว ที่โรงแรม โซฟิเทล เซ็นทรัล พลาซ่า ลาดพร้าว เพื่อให้ผู้ประกอบการค้าปลีกค้าส่งทุกขนาดได้รับทราบ และยึดเป็นแนวปฏิบัติในการทำธุรกิจ รวมถึงให้สามารถ แสดงความคิดเห็นต่อไกด์ไลน์ดังกล่าวด้วย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us