Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายวัน21 พฤษภาคม 2552
ไตรมาส1บจ.กำไรวูบ7หมื่นล.วิกฤตศก.ฉุด143บริษัทขาดทุน             
 


   
www resources

โฮมเพจ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

   
search resources

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ภัทรียา เบญจพลชัย
Stock Exchange




วิกฤตเศรษฐกิจทำพิษบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ กำไรงวดไตรมาสแรกปีนี้ลดวูบ! 7 หมื่นล้านบาทหรือ48% เหลือเพียง 80,278 ล้านบาท จาก1.5 แสนล้านในช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่ยอดขายรวมเหลือ 1,352,767 ล้านบาทลดลง24% ขาดทุน 143 บริษัท กลุ่มทรัพยากร-กลุ่มธุรกิจการเงิน และกลุ่มบริการ เป็น3กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีกำไรสูงสุด โดยมี THAI ขึ้นเบอร์หนึ่งกำไรสุทธิสูงสุด ด้าน"ประเสริฐ"จี้รัฐช่วยบจ.ขนาดเล็ก

นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ประจำไตรมาส 1 สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2552 ว่าบริษัทจดทะเบียน 468 บริษัท จาก 496 บริษัท (รวมกองทุนอสังหาริมทรัพย์) มีกำไรสุทธิรวม 80,278 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อน72,104 ล้านบาท หรือ48% จาก 152,382 ล้านบาทโดยมีบริษัทที่มีกำไรสุทธิ 325 บริษัท และขาดทุนสุทธิ 143 บริษัท คิดเป็นสัดส่วน 69 ต่อ 31 ในขณะที่ยอดขายรวมเท่ากับ 1,352,767 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อน24%

"ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ไตรมาส 1 ปี 2552 รวม 80,278 ล้านบาท เป็นกำไรที่เพิ่มขึ้นอย่างมากถึง196% เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 2551 ที่ขาดทุนสุทธิ 83,623 ล้านบาท เนื่องจากการบริหารต้นทุนขายที่มีประสิทธิภาพ" นางภัทรียากล่าว

สำหรับบริษัทในกลุ่ม SET100 มีกำไรสุทธิ 77,773 ล้านบาท ลดลง42% จากงวดเดียวกันของปีก่อนยอดขายลดลง 26% ขณะที่ต้นทุนขายลดลง 28% ทำให้อัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นจาก18% เป็น20% ส่วนบริษัทจดทะเบียนในกลุ่ม SET50 มีกำไรสุทธิเท่ากับ 83,091 ล้านบาท ลดลง 32% ยอดขายลดลง 27% ขณะที่ต้นทุนขายลดลงถึง 31% ส่งผลให้อัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นจาก 18% เป็น 21%

ส่วนบริษัทที่มีมูลค่ากำไรสุทธิรวมสูงสุด 5 อันดับแรกคือ บมจ. การบินไทย (THAI) บมจ. ปตท. (PTT) บมจ. ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (SCB) และ บมจ. ปูนซิเมนต์ไทย (SCC)

ขณะที่ผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียน 8 กลุ่มอุตสาหกรรม (Industry Group) [ไม่รวมบริษัทในกลุ่มที่เข้าข่าย อาจถูกเพิกถอน (Non-Compliance: NC) และบริษัทในกลุ่มที่แก้ไขการดำเนินงานไม่ได้ตามกำหนด(Non-PerformingGroup: NPG)] จำนวน 449 บริษัท มีกำไรสุทธิรวม 80,571 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อน48% โดยผลการดำเนินงานเรียงตามกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีกำไรสุทธิสูงสุดดังนี้

1.กลุ่มทรัพยากร ประกอบด้วย หมวดพลังงานและสาธารณูปโภค และหมวดเหมืองแร่ มีกำไรสุทธิ 32,355ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อน 39% แต่มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2551 ที่มีขาดทุนสุทธิ 63,715 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 151%

2.กลุ่มธุรกิจการเงิน ประกอบด้วย หมวดธนาคาร หมวดเงินทุนและหลักทรัพย์ และหมวดประกันภัยและประกันชีวิต มีกำไรสุทธิ 23,311 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อน 18% ทั้งนี้ แต่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2551 ที่มีกำไรสุทธิ 11,348 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น105%

3.กลุ่มบริการ ประกอบด้วย หมวดการแพทย์ หมวดการท่องเที่ยวและสันทนาการ หมวดขนส่งและโลจิสติกส์ หมวดบริการเฉพาะกิจ หมวดพาณิชย์ และหมวดสื่อและสิ่งพิมพ์ มีกำไรสุทธิ 13,049 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อน 26% แต่มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 2551 ที่มี กำไรสุทธิ 1,020 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 1,179%

4.กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง ประกอบด้วยหมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ หมวดวัสดุก่อสร้างและกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ มีกำไรสุทธิ 12,625 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อน 28% ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 2551 ซึ่งมีผลการดำเนินงานขาดทุน 3,686 ล้านบาท จะมีผลการดำเนินงานดีขึ้นคิดเป็น 443%

5.กลุ่มเทคโนโลยีประกอบด้วยหมวดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและหมวดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ มีกำไรสุทธิ 7,717 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อน 54% แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 2551 ที่มีขาดทุนสุทธิ 4,462 ล้านบาท จะมีกำไรเพิ่มขึ้น 253%

6. กลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร ประกอบด้วยหมวดอาหารและเครื่องดื่ม และหมวดธุรกิจการเกษตร มีกำไรสุทธิ 4,385 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อน 5% เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 2551 กลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 293%

7. กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค ประกอบด้วยหมวดของใช้ในครัวเรือนและสำนักงานหมวดของใช้ส่วนตัวและเวชภัณฑ์ หมวดแฟชั่น มีกำไรสุทธิ 390 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อน 79%ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 2551 กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคมีกำไรสุทธิลดลง 46%

8.กลุ่มวัตถุดิบสินค้าอุตสาหกรรม ประกอบด้วยหมวดปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ หมวดวัสดุอุตสาหกรรมและเครื่องจักร หมวดบรรจุภัณฑ์ หมวดกระดาษและวัสดุการพิมพ์ และหมวดยานยนต์ ขาดทุนสุทธิ 13,261 ล้านบาท ขาดทุนเพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน 195% ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 2551 กลุ่มวัตถุดิบสินค้าอุตสาหกรรมทุกหมวดมีผลการดำเนินงานดีขึ้นโดยมีขาดทุนสุทธิลดลง50%ซึ่งมีผลขาดทุนสุทธิ 26,615 ล้านบาท

ด้านนายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย กล่าวว่า จากผลประกอบการไตรมาส1ที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่าปรับตัวลดลงไปจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ทำให้กำลังซื้อลดลง แม้กนง.จะมีการปรับลดอัตราดอกเลบี้ยลงมา ก็ไม่สามารถช่วยให้กำไรของบริษัทจดทะเบียนเพิ่มขึ้นได้มากนัก ทำได้เพียงประคับประครองให้กำไรในปีนี้ใกล้เคียงกับปีก่อนเท่านั้น อย่างไรก็ตามจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว สิ่งที่สำคัญคือ บจ.ต้องบริหารเงินสดให้ดี ลดค่าใช้จ่าย รวมทั้งพิจารณาการลงทุนใหม่ๆอย่างรอบคอบ ลดความจำเป็นเรื่องต่างๆ เพื่อความอยู่รอด

"เรากังวลในเรื่องการขาดสภาพคล่องทางการเงินของบรฃิษัทขนาดใหญ่และเล็ก แต่บริษัทขนาดใหญ่การหาเงินระดมทุนจากแหล่งหรือช่องทางอื่นเป็นเรื่องที่ทำได้ แต่บริษัทขนาดเล็ก น่าเป็นห่วง เพราะแบงก์ไม่ปล่อยสินเชื่อ เนื่องจากกลัวปัญหาในเรื่องหนีเสีย จนทำให้ต้องตั้งสำรองมากขึ้น จึงเป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องเข้ามาสนับสนุนและให้การช่วยเหลือผู้ประกอบการ"   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us