Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTVผู้จัดการรายวัน21 พฤษภาคม 2552
คนฝากเงินสูญ7.6หมื่นล. ธปท.อ้างเหตุผลคงดอกเบี้ย1.25%             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
Interest Rate




แบงก์ชาติแข็งข้อ "กรณ์" ประกาศคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.25% "อัจนา" อ้างสารพัด ลดมากแล้ว กรี๊ด! รับไม่ได้คนฝากเงินโดนกดดอกเบี้ย เผย 5 เดือนดอกฝากลด 1.96% ส่งผลรายได้ผู้ฝากเงินวูบ 7.6 หมื่นล้าน พร้อมยอมรับความเสี่ยงในและนอกประเทศยังไม่หมด เป็นใบ้ถูกถามทำไมแบงก์พาณิชย์ไม่ลดดอกเบี้ยเงินกู้ แต่ปากดีแขวะเสื้อเหลืองปิดสนามบินหนักกว่าแดงถ่อยสงกรานต์ แบงก์กรุงเทพขี่ม้าขาวประกาศลดดอกเบี้ยเงินกู้ 0.125% แม้จิ๊บจ๊อยแต่ก็ทำให้เอ็มแอลอาร์ต่ำสุดจนได้

นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน วานนี้ (20 พ.ค.) ได้มีมติคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 1.25%ต่อปี โดยให้เหตุผลว่าที่ผ่านมาได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายไปมากแล้ว คิดว่าต่ำพอสนับสนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจได้ ขณะเดียวกันเครื่องชี้เศรษฐกิจบางตัวเริ่มหดตัวชะลอลงและอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ รวมทั้งแรงกระตุ้นนโยบายการคลังเริ่มมีความชัดเจนและเริ่มมีการเบิกจ่ายมากขึ้น จึงช่วงประคองเศรษฐกิจไทยได้ในระดับหนึ่ง

“ขณะนี้เศรษฐกิจลงลึก ถือว่ายังติดลบอยู่ แต่ข่าวร้ายลดลง ซึ่งดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสสุดท้ายปีก่อนและในช่วง 2 เดือนก่อนหน้า ทำให้การใช้นโยบายการเงินน้อย การลดอัตราดอกเบี้ยเหมือนเชือก แค่ดึงให้เศรษฐกิจเย็นลงแค่นั้น แต่ในยามที่ความไม่แน่นอนข้างหน้ายังมีอยู่ก็มีช่องหรือโอกาสใช้นโยบายการเงินได้ ซึ่งขณะนี้อัตราดอกเบี้ยไม่ได้ต่ำมากจนมองว่าไม่มีเครื่องมือแล้ว” นางอัจนากล่าว

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 19 ที่ผ่านมา นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ให้สัมภาษณ์ว่า กนง.สามารถลดดอกเบี้ยลงได้อีก 0.25% เพราะขณะนี้ไม่มีแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อ

รองผู้ว่าฯ ธปท.กล่าวอีกว่า การคงอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ไม่ได้หมายว่าประสิทธิภาพในการใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายช่วงที่ผ่านมาไม่ได้ผล และสถานการณ์ที่ยังมีความไม่แน่นอนอยู่ในปัจจุบัน ธปท.ได้มีการป้องกันมาหลายครั้งแล้ว จึงลดอัตราดอกเบี้ยมาหลายครั้ง แต่การตัดสินใจครั้งนี้แตกต่างออกไป เพื่อตั้งหลักรอดูผลการลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง รวมทั้งติดตามผลกระทบที่ทำให้รายได้ผู้ฝากเงินจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์

อย่างไรก็ตาม แม้การพิจารณาคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งนี้แล้ว แต่ ธปท.ไม่สามารถบังคับได้ว่าธนาคารพาณิชย์ควรปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงอีก และจากการหารือระหว่างธนาคารพาณิชย์และ ธปท.เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ธนาคารพาณิชย์ได้ให้เหตุผลว่าลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ได้น้อย เพราะต้องดูแลความเสี่ยงท่ามกลางเศรษฐกิจชะลอลง ดังนั้น ธปท.ได้ให้แนวคิดธนาคารพาณิชย์ไปว่าการคิดค่าธรรมเนียมความเสี่ยงหรือต้นทุนอะไร รวมทั้งคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไว้ควรอยู่ให้สมเหตุสมผล

รองผู้ว่าฯ ธปท.กล่าวว่า กนง.ได้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยถึง 2.50% ในช่วง 5 เดือนหรือ 4 ครั้งที่ผ่านมา ทำให้ธนาคารพาณิชย์ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไปแล้วประมาณ 70%ของระดับดอกเบี้ยนโยบายที่ลดลงหรือลดลงประมาณ 1.96% ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลดไปประมาณ 50% หรือประมาณ 1.19% และล่าสุด ณ วันที่ 18 พ.ค.ที่ผ่านมา อัตราดอกเบี้ยเงินกู้แท้จริงอยู่ที่ 7.05% และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่แท้จริงอยู่ที่ 0.15%

ทำให้รายได้ของผู้ฝากเงินลดลงโดยเฉลี่ย 7.6 หมื่นล้านบาท โดยผู้ฝากเงินประเภทออมทรัพย์มีรายได้ลดลง 4.6 หมื่นล้านบาทหรือเฉลี่ยแต่ละบัญชีรายได้ลดลง 115 บาทต่อปี ขณะที่ผู้ฝากเงินรายใหญ่ที่เป็นเงินฝากประจำ 3 เดือน และ 12 เดือนลดลง 4-7 แสนบาทหรือเฉลี่ยแต่ละบัญชีลดลง 6,000 บาทต่อปี ส่วนเงินฝากประจำประเภท 6 เดือน ซึ่งมียอดเงินฝากประจำมากที่สุด ผู้ฝากเงินมีรายได้ลดลง 11,000 บาทต่อปีหรือเฉลี่ยแต่ละคน 1,100 บาทต่อปี แต่ในส่วนของการปรับดอกเบี้ยเงินกู้ลงยังไม่สามารถบอกได้ว่าจะส่งผลดีให้ผู้กู้แง่ลดภาระหรือลดปัญหาหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ได้มากน้อยแค่ไหน เพราะผู้กู้แต่ละรายได้เงื่อนไขอัตราดอกเบี้ยแตกต่างกันและกลุ่มผู้กู้ต่างกัน โดยหากเป็นลูกค้ากลุ่มธุรกิจขนาดกลางและย่อม (เอสเอ็มอี) มีความเสี่ยงมากกว่ากลุ่มลูกหนี้รายใหญ่

อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยยังคงเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงอยู่ทั้งภายนอกและในประเทศ โดยขณะนี้ยังมีความไม่นอนแน่หลายปัจจัยทั้งไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ซึ่งยังไม่แน่นอนว่าจะกระทบเศรษฐกิจโลกมากแค่ไหน ราคาน้ำมัน แม้ราคาไม่สูงเหมือนช่วงที่ผ่านมา แต่หากมีการเก็งกำไรเกิดขึ้นอาจส่งผลให้ราคาสูงขึ้นและดึงอำนาจซื้อของผู้บริโภคลดลงได้ นอกจากนี้การเพิ่มทุนของสถาบันการเงินในต่างประเทศและสะสางภาคการเงินที่ต้องใช้เวลา ซึ่งในช่วงแรกอาจเกรงไม่ปล่อยกู้ก็ได้

ขณะที่ความเสี่ยงในประเทศยังมีอยู่ทั้งยอดการส่งออกชะลอลงและเสถียรภาพการเมือง ซึ่งมีผลนักท่องเที่ยวลดลงและปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจได้ รวมถึงการตอบสนองนโยบายรัฐให้ล่าช้าออกไปได้ และความเชื่อมั่นลดลงของนักลงทุนและผู้บริโภค

แว้งกัดเสื้อเหลืองปิดสนามบิน

นางอัจนากล่าวด้วยว่า การจลาจลของกลุ่มคนเสื้อแดงในช่วงสงกรานต์ ซึ่งเกิดจากผลการเมืองไม่ได้แสดงชัดเจนว่ากระทบภาคท่องเที่ยวเลวร้ายต่างกับช่วงที่ปิดสนามบิน แต่มองว่าที่นักท่องเที่ยวลดลงเกิดจากรายได้ของนักท่องเที่ยวน้อยลงมากกว่า ดังนั้นเสถียรภาพการเมืองได้รับผลกระทบต่อเศรษฐกิจบ้าง ทำให้การใช้นโยบายของภาครัฐต่อระบบเศรษฐกิจล่าช้าออกไป รวมทั้งความเชื่อมั่นนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงผู้บริโภคลดลงได้

บัวหลวงฮึดลดดอกเบี้ยกู้ 0.125%

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (20 พ.ค.) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL ได้ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ทุกประเภทลงในอัตรา 0.125% และจะมีผลตั้งแต่วันที่ 21 พ.ค.นี้เป็นต้นไป โดยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ดังกล่าว ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี (เอ็มแอลอาร์) ลดลงมาอยู่ที่ 5.875% จากเดิมอยู่ที่ 6% อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เบิกเกินบัญชี (เอ็มโออาร์) ลดลงมาอยู่ที่ 6.125% จากเดิมอยู่ที่ 6.25% และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลูกค้ารายย่อยชั้นดี (เอ็มอาร์อาร์) ลดลงมาอยู่ที่ 6.375% จากเดิมอยู่ที่ 6.50%

ทั้งนี้ การปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารกรุงเทพดังกล่าวนั้น ถือเป็นการสนองนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้ธนาคารพาณิชย์ปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ลง โดยในที่ผ่านมาทางสมาคมธนาคารไทยได้มีการเรียกประชุมสมาชิกพิจารณาเรื่องการปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ แต่มีสมาชิกส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย เนื่องจากต้นทุนการเงินของธนาคารแต่ละแห่งมีความแตกต่างกัน

นอกจากนี้ การปรับลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ ยังส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเอ็มแอลอาร์ของธนาคารกรุงเทพนั้นอยู่ในระดับที่ต่ำที่สุดในระบบธนาคาร ซึ่งจากเดิมดอกเบี้ยเอ็มแอลอาร์ของธนาคารกรุงเทพ เท่ากับธนาคารกรุงไทยที่ระดับ 6 % ขณะที่ธนาคารขนาดใหญ่แห่งอื่นๆ เช่น ธนาคารกสิกรไทย อยู่ที่ 6.10 % และธนาคารไทยพาณิชย์อยู่ที่ 6.15 % อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 18 พ.ค.ที่ผ่านมา ธนาคารกรุงเทพได้ทำการปรับลดอัตราเงินฝากออมทรัพย์ของนิติบุคคล หน่วยงานราชการ และสถาบันการลงไปก่อนแล้ว ซึ่งทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากดังกล่าวได้ลดลงมาอยู่ที่ 0.25% จากเดิมอยู่ที่ 0.375% และเงินฝากประจำ 12 เดือนปรับลดลงเหลือ 0.75% จากเดิม 1% ส่วนเงินฝากออมทรัพย์ของบุคคลธรรมดาไม่เปลี่ยนแปลง

"KTB-KBANK" หารือลดตาม

นายอนุชิต อนุชิตานุกูล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส ผู้บริหารสายงาน สายงานบริหารผลิตภัณฑ์และการตลาด ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB กล่าวว่า การที่ธนาคารกรุงเทพได้ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงมานั้น ทำให้ธนาคารต้องมีการพิจารณาเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน เพราะที่ผ่านมาธนาคารซึ่งถือว่าเป็นธนาคารของรัฐนั้นได้มีการเสนออัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในอัตราที่ต่ำสุดในระบบและให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากสูงที่สุด เพื่อช่วยเหลือประชาชนมาโดยตลอด และคาดว่าจะนำเรื่องดังกล่าวเข้าพิจารณาในการประชุมของธนาคารในครั้งถัดไป

ส่วนการที่ กนง.ได้มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.25% นั้น มองว่า การใช้นโยบายการเงินในขณะนี้จะใช้ไม่ได้ผลเท่ากับการใช้นโยบายการคลัง ด้วยการใช้จ่ายภาครัฐเป็นส่วนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ อีกทั้งเครื่องมือทางการเงินของ ธปท.ยังมีตัวอื่นนอกจากอัตราดอกเบี้ยด้วย โดยมองว่าเครื่องมือที่ธปท.น่าจะใช้ต่อไปคือในด้านของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

"คิดว่าทางแบงก์ชาติคงต้องลองใช้เครื่องมือตัวอื่นบ้าง เพราะจะใช้แค่เรื่องของดอกเบี้ยเพียงอย่างเดียวคงไม่ได้ แต่จะต้องใช้สิ่งที่สามารถสร้างดีมานด์ที่ทำให้เกิดการลงทุนเพิ่มและเมื่อรัฐบาลมีการใช้เงินได้ถูกจุดด้วยก็จะทำให้เกิดการหมุนของเศรษฐกิจ"

นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK กล่าวว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงนั้นก็เป็นแนวคิดและนโยบายของธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งอยู่แล้ว ที่พยายามจะทำหากธนาคารสามารถจัดการต้นทุนทางอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมได้ ซึ่งโดยปกติแล้วเมื่อธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงก็จะทำให้ธนาคารขนาดเล็กปรับลดตามด้วย

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของธนาคารกสิกรไทยเองจะมีการพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงเมื่อไรนั้นขณะนี้ยังไม่สามารถตอบได้ เพราะต้องรอประชุมคณะกรรมการของธนาคารก่อน ในขณะที่หลายฝ่ายมองว่าขณะนี้ทางรัฐบาลกำลังกดดันให้ธนาคารพาณิชย์ปรับลดอัตราดอกเบี้ยฝั่งเงินกู้ลงนั้น โดยส่วนตัวแล้วขอยืนยันว่าธนาคารไม่ได้มีการกดดันอะไรและธนาคารก็ไม่ได้คำนึงถึงเรื่องดังกล่าวมากจนเกินไป เนื่องจากธนาคารจะพิจารณาถึงผู้ฝากเงิน ผู้กู้เงิน และผลประกอบการของธนาคารเป็นหลัก เพราะถ้าธนาคารลดอัตราดอกเบี้ยลงไปพร้อมกับการจัดการต้นทุนทางการเงินได้ ก็จะเป็นผลดีต่อทุกฝ่าย

BAYผิดคาด กนง.คงดอกเบี้ย

นายตรรก บุนนาค ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) หรือ BAY กล่าวว่า ธนาคารจะมีการหารือเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในวันศุกร์ที่จะถึงนี้ ส่วนแนวโน้มนั้นมองว่าอัตราดอกเบี้ยของธนาคารนั้นจะเป็นไปตามธนาคารขนาดใหญ่ ส่วนการที่ กนง.คงอัตราดอกเบี้ยก็ยอมรับว่าค่อนข้างผิดคาด แต่เชื่อว่าทุกอย่างก็เป็นดุลพินิจของ ธปท. โดยการลดดอกเบี้ยนโยบายที่ผ่านมานั้นใช้ไม่ค่อยได้ผลที่ชัดเจนในการกระตุ้นเศรษฐกิจ

นายธวัชชัย ยงกิตติกุล เลขาธิการสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า เรื่องการปรับลดอกเบี้ยเงินกู้ ธนาคารพาณิชย์พร้อมให้ความร่วมมือ และขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาโดยการลดดอกเบี้ยจะเป็นไปตามต้นทุนการเงิน ซึ่งต้องยอมรับว่าธนาคารแต่ละแห่งมีต้นทุนไม่เท่ากัน อย่างไรก็ตามการปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ไม่สามารถออกมาเป็นมติสมาคมได้เพราะหากออกมาเป็นมติก็เท่ากับธนาคารมีการฮั้วกัน ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดี ส่วนกรณี กนง. คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.25 % ก็มีผลต่อการพิจารณาปรับลดดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์.   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us