Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTVผู้จัดการรายวัน20 พฤษภาคม 2552
ธปท.ชี้Q2แบงก์กำไรวูบต่อ กังวลสินเชื่อค้างชำระพุ่ง4%             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
Interest Rate




ธปท.แถลงตามน้ำ คาดการณ์แนวโน้มทำกำไรระบบแบงก์ไตรมาส2 วูบ เหตุสินเชื่อชะลอตัวต่อเนื่อง ขณะที่สินเชื่อที่ค้างชำระ 1-3 เดือน เพิ่มขึ้น 4% หรือเพิ่มขึ้น 1.49 หมื่นล้านบาทจากไตรมาสก่อน โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรม-ภาคผลิต เป็นแนวทางเดียวกับยอดเอ็นพีแอลในระบบ สั่งแบงก์จับตาความสามารถในการชำระหนี้และคุณภาพสินทรัพย์

น.ส.นวพร มหารักขกะ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า แนวโน้มการทำกำไรของระบบธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 2 ของปีนี้ ขึ้นอยู่กับการดำเนินธนาคารพาณิชย์ว่าจะขยายธุรกิจ ซึ่งยอมรับว่าสินเชื่อที่ลดลงเป็นแรงกดดันรายได้ของระบบธนาคารในอนาคตหดหายไปบ้าง หลังจากไตรมาสแรกกำไรจากการดำเนินงานลดลง 1.6 พันล้านบาท แต่ค่าใช้จ่ายที่ลดลงในช่วงเดียวกันช่วยพยุงให้ระบบธนาคารพาณิชย์ยังคงมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 2.3 หมื่นล้านบาท จากไตรมาสก่อน

“แม้ภาคธุรกิจยังมีอุปสงค์ด้านการลงทุนอ่อนพอควร ทำให้ขณะนี้ความต้องการกู้ไม่มากนัก รวมถึงเงินกู้การค้าระหว่างประเทศลดลงตามภาวะเศรษฐกิจโลกด้วย แต่ขณะนี้ในระบบมีปัจจัยสนับสนุนให้ธนาคารพาณิชย์สามารถเอื้ออำนวยในการปล่อยกู้มากกว่าการประเมินในช่วงไตรมาสก่อนไม่ว่าจะเป็นเรื่องสภาพคล่องที่สูงขึ้น เงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงอยู่ในระดับสูง และการบริหารความเสี่ยงของสถาบันการเงินที่ดีขึ้นตามลำดับ รวมทั้งการใช้จ่ายภาครัฐที่ช่วยกระตุ้นอุปสงค์ในประเทศและสัญญาณจากภาวะเศรษฐกิจโลกเริ่มดีขึ้น จึงเหลือเพียงความเชื่อมั่นของภาคเอกชนเท่านั้น”

แม้กระบวนการส่งผ่านนโยบายการเงินผ่อนคลายมีผลต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมน้อย แต่ช่วยส่งเสริมระบบธนาคารพาณิชย์ในแง่ของการปล่อยสินเชื่อได้ เนื่องจากให้ระบบมีสภาพคล่องเพียงพอกับความต้องการสินเชื่อของภาคเอกชนได้ และเมื่อความต้องการสินเชื่อเพิ่มขึ้นก็ไม่ได้ทำให้สภาพคล่องโดยรวมลดลงเร็ว ขณะเดียวกัน ธปท.เองกำกับดูแลให้ธนาคารพาณิชย์บริหารความเสี่ยงที่ดี ทำให้ธนาคารพาณิชย์มีความแข็งแกร่งและมั่นคงเห็นได้จากเงินกองทุนต่อสินเชื่อเสี่ยงสูงถึง 14.9% โดยเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 อยู่ที่ระดับ 11.8% ในไตรมาสนี้

นอกจากนี้ สินเชื่อจัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษ ซึ่งเกิดจากลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้เกิน 1 เดือน แต่ยังไม่เกิน3 เดือน เพิ่มขึ้นเป็น 4%ของสินเชื่อรวม หรือเพิ่มขึ้น 1.49 หมื่นล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมและการผลิตต่างๆ ซึ่งมีสัดส่วนที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับปล่อยสินเชื่อโดยรวมในระบบ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในและต่างประเทศหดตัว ทำให้ความสามารถชำระหนี้ของลูกหนี้ลดลงตาม จึงต้องจับตามการความสามารถในการชำระหนี้และคุณภาพสินทรัพย์ต่อไป

ส่วนสินเชื่อที่ปล่อยออกไปแล้วกลายเป็นหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) อยู่ที่ระดับ 5.5% แต่เมื่อหักเงินสำรองแล้วเอ็นพีแอลสุทธิอยู่ที่ระดับ 3.1% ซึ่งเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนวงเงิน 1.89 หมื่นล้านบาท โดยภาคธุรกิจในด้านก่อสร้างอยู่ที่ 13.0% จากไตรมาสก่อน 12.1% อสังหาริมทรัพย์ 11.6% จาก 11.0% ภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ 9% จาก 8.4% บริการ 7.8% จาก 7.1% ในไตรมาสก่อน พาณิชย์ 6.4% จากไตรมาสก่อน 5.7% สาธารณูปโภค 3.3% จาก 3.1% และธุรกิจการเงินทรงตัวอยู่ที่ 0.6% ทั้งไตรมาสนี้และไตรมาสก่อน

ขณะที่ภาคอุปโภคบริโภคด้านที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น 4% จากไตรมาสก่อน 3.6% บัตรเครดิต 3.1% จากไตรมาสก่อน 2.9% รถยนต์ 2.3% จากไตรมาสก่อน 2.1% และสินเชื่ออื่นๆ 4.9% ทรงตัวจากไตรมาสก่อน ขณะที่สินเชื่อส่วนบุคคลลดลง 3.5% จากไตรมาสก่อน 3.6%

น.ส.นวพรเปิดเผยว่า ธุรกิจขนาดกลางและย่อม (เอสเอ็มอี) ชะลอลงมากกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ทั้งการเข้าถึงสินเชื่อและมียอดเอ็นพีแอลเพิ่มสูงกว่าด้วย ซึ่งขณะนี้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อไม่ได้พิจารณาเฉพาะเรื่องเอ็นพีแอลอย่างเดียว แต่พยายามจะวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่ให้มากที่สุด

ไตรมาสแรกของปีนี้ สินเชื่อโดยรวมชะลอตัวกว่าไตรมาสก่อน โดยสินเชื่อขยายตัว 5.8% ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ เทียบกับสิ้นปี 51 ขยายตัวถึง 11.4% โดยสินเชื่อภาคธุรกิจชะลอตัวลงมากเหลือ 3.2% จากความต้องการสอนเชื่อเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนและเงินลงทุนจากภาคเอกชนชะลอ่ตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจที่หดตัว ขณะที่สินเชื่ออุปโภคบริโภคขยายตัวเพิ่มขึ้น 14.1% อย่างไรก็ตาม สินเชื่อโดยรวมยังขยายตัวดีกว่าภาพรวมเศรษฐกิจไทย

ขณะที่เงินฝากขยายตัวชะลอตัวเช่นกันเหลือ 4.2% จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ทำให้ลูกค้าหันไปลงทุนในตั๋วแลกเงิน (B/E) และหลักทรัพย์อื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า เมื่อรวมการระดมเงินฝากและB/E แล้ว อัตราการขยายตัวชะลอลงเหลือ 6.7% ดังนั้น การที่สินเชื่อชะลอตัวมากกว่าเงินฝากส่งผลให้สภาพคล่องของระบบธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น โดยสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากและB/E ลดลงอยู่ที่ระดับ 84.1%   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us