Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTVผู้จัดการรายสัปดาห์18 พฤษภาคม 2552
ค่าบาทแข็งซ้ำเติมรอยช้ำภาคส่งออก"ธาริษา"ย้ำคุมเกมไม่ให้ผันผวนมาก             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
ธาริษา วัฒนเกส
Currency Exchange Rates




"ธาริษา" ย้ำจุดยืน"แบงก์ชาติ"ชัดเจน ด้วยการคุมเกมค่าเงินบาทไม่ให้ผันผวนมากจนส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการภาคส่งออก ส่วนค่าเงินที่แข็งขึ้นในช่วงนี้เพราะมีปัจจัยหลายด้านหนุนตั้งแต่การเทขายดอลลาร์ทำกำไร ความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจโลกถึงตกลงจุดต่ำสุด แถมการเกินดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดยังเป็นตัวหนุน แต่จะเฝ้าระวังไม่ให้แข็งมากเกินคู่ค้า ซึ่งปัจจุบันการเคลื่อนไหวของค่าบาทยังเกาะกลุ่มภูมิภาคไม่ทะยานไปไกล

ธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) บอกว่า การที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นจนกระทบภาคส่งออกนั้น แบงก์ชาติได้เข้าไปดูแลเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดในช่วงที่ผ่านมา โดยบทบาทหน้าที่หลักคือดูแลค่าเงินบาทให้เกาะกลุ่มประเทศคู่ค้า และให้เป็นไปตามกลไกตลาด อีกกรณีคือไม่ให้ค่าเงินผันผวนมากเกินไปซึ่งกรณีนี้จะกระทบผู้ประกอบการที่ส่งออกมากกว่า

'หน้าที่ของแบงก์ชาติไม่ใช่ทำให้ค่าเงินบาทอ่อนเพื่อช่วยผู้ประกอบการส่งออก แต่คือการดูแลเงินบาทไม่ให้ผันผวนมาก และให้ค่าเงินแข็งขึ้นตามคู้ค้าหรือภูมิภาค ซึ่งคิดว่าข้อเท็จจริงแล้วผู้ประกอบการต้องการแบบนี้มากกว่า เพราะตราบที่ค่าเงินแข็งขึ้นตามภูมิภาค การส่งออกก็คงไม่ได้รับผลกระทบอะไรมากนัก เพราะประเทศคู่ค้าก็ค่าเงินแข็งเช่นเดียวกัน'

สำหรับแบงก์ชาติ ได้ส่งสัญญาณที่ค่อนข้างชัดเจนอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมาว่า การเข้าไปแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนไม่ใช่เครื่องมือหลักของธปท.ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยจุดยืนหลักของธปท.อยู่ที่การเข้าดูแลให้เงินบาทเคลื่อนไหวอย่างมีเสถียรภาพ พร้อมๆ กับดูแลอัตราแลกเปลี่ยนให้เป็นไปตามกลไกตลาด มากกว่าที่จะเข้าไปกำหนดระดับเป้าหมายของค่าเงินบาทเพื่อหนุนการส่งออก

ธาริษาบอกว่า สำหรับค่าเงินบาทนับว่าเกาะกลุ่มอยู่ตรงกลางของภูมิภาค ไม่แข็งหรืออ่อนเกินไป แม้จะมีผู้ประกอบการมองว่าอยากให้ค่าเงินบาทอยู่ที่ 37-40 บาท แต่การจะชี้ตัวเลขให้เป็นไปตามที่คาดหวังไว้คงเป็นไปไม่ได้ สำคัญคือการไม่ให้ค่าเงินผันผวนมากนัก เนื่องจากเวลาผู้ประกอบการโค้ดราคาลูกค้า จะมีการเผื่อไว้กรณีที่ค่าเงินอาจผันผวนได้ในอนาคต โดยจะโค้ดเผื่อไว้ประมาณ 5% ดังนั้นถ้าไม่ดูแลให้ดีการที่ค่าเงินผันผวนมากอาจทำให้ผู้ประกอบการขาดทุนได้ ตรงจุดนี้สำคัญมากกว่า

มุมมองศูนย์วิจัยกสิกรไทยต่อค่าเงินบาทในระยะถัดไป คาดว่าการเคลื่อนไหวของเงินบาทอาจถูกผลักดันจากหลายๆ ปัจจัยในระยะถัดไป ทั้งนี้ แรงหนุนอย่างต่อเนื่องของเงินบาทอาจทำให้เงินบาทมีโอกาสแข็งค่าขึ้นทดสอบระดับ 34.50 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในระยะสั้น โดยปัจจัยกระทบต่อทิศทางของค่าเงินบาทที่จะต้องจับตาอย่างระมัดระวังประกอบด้วย

เงินบาทดีดตัวกลับมาแข็งค่าขึ้นนับจากต้นเดือนมีนาคม 2552 แต่ถูกเทขายเป็นระยะๆ จากปัญหาการเมืองในประเทศซึ่งกดดันความเชื่อมั่นของนักลงทุนและนำไปสู่การปรับลดอันดับเครดิตประเทศโดย ฟิทช์ เรทติ้งส์ ทั้งนี้ เงินบาททยอยแข็งค่าขึ้นตามแรงขายเงินดอลลาร์ฯ ของผู้ส่งออกซึ่งกลับมาเป็นปัจจัยหนุนของค่าเงินบาทอีกครั้ง หลังจากแนวโน้มเศรษฐกิจที่อ่อนแอได้ส่งผลต่อเนื่องทำให้ความต้องการเงินดอลลาร์ฯ จากฝั่งผู้นำเข้าเริ่มชะลอตัวลง เงินบาทยังได้รับแรงหนุนจากการปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นไทยโดยมีนักลงทุนต่างชาติเป็นผู้ซื้อสุทธิ (นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นไทยประมาณ 8.4 พันล้านบาทนับตั้งแต่ช่วงต้นเดือนมีนาคม-ต้นเดือนพฤษภาคม 2552 หลังจากที่มีสถานะเป็นผู้ขายสุทธิประมาณ 7.7 พันล้านบาท ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2552)

นอกจากนี้ การแข็งค่าของเงินบาทยังได้รับอานิสงส์จากแรงขายเงินดอลลาร์ฯ เพื่อทำกำไร หลังจากความต้องการเสี่ยงของนักลงทุนทยอยฟื้นตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมีนาคม 2552 ท่ามกลางความหวังว่า สภาวะที่เลวร้ายที่สุดของเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจผ่านพ้นไปแล้ว (หลังจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ประกาศออกมาในช่วงประมาณ 2 เดือนที่ผ่านมามีสัญญาณเชิงบวกและหลายเครื่องชี้ปรับตัวดีกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์) ขณะที่ นักลงทุนเริ่มมีความกังวลต่อปัญหาในภาคการเงินน้อยลงเมื่อเทียบกับระดับความกังวลที่เข้มข้นในช่วงต้นปี 2552 หลังจากผลประกอบการของสถาบันการเงินชั้นนำของสหรัฐฯ บางแห่งพลิกกลับมารายงานผลกำไรในช่วงไตรมาส 1/2552 และผลของการทดสอบภาวะวิกฤตของสถาบันการเงินชั้นนำ 19 แห่งออกมาค่อนข้างสอดคล้องกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์

ธาริษา ยังกล่าวถึงภาพรวมทางเศรษฐกิจโดยรวมว่าเริ่มเห็นแสงสว่างที่ปลายทางแล้ว เพราะความกลัวเรื่องความเสี่ยงเริ่มหายไปเห็นชัดจากการลงทุนในตลาดหุ้นเงินเริ่มไหลเข้ามา เพราะหลายประเทศทั้งในเอเชีย ยุโรป รวมถึงสหรัฐฯ ต่างก็อัดทั้งมาตรการทางการเงินและการคลังใส่เข้าไปเพื่อยื้อลมหายใจของเศรษฐกิจในประเทศนั้นๆไว้ ส่วนทางเอเชีย โดยมากจะใช้มาตรการทางการคลังเป็นตัวหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

ดังนั้นในทิศทางต่อจากนี้ถ้าการเมืองมีเสถียรภาพ เรียกความเชื่อมั่นของนักลงทุนกลับมาได้ และรัฐบาลนำร่องด้วยการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้ภาคเอกชนขับเคลื่อนตาม แสงสว่างปลายทางที่วาดหวังไว้ก็คงใกล้เข้ามาเต็มที ซึ้งทั้งหมดทั้งมวลก็หวังว่าคงไม่มีอะไรที่เซอร์ไพรส์เหมือนเดือนเมษายน 'สงกรานต์เลือด'   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us