Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายวัน15 พฤษภาคม 2552
เอ็กซิมแบงก์Q1กำไร75ล้าน เดินหน้าธุรกิจประกันส่งออก             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
Banking and Finance




เอ็กซิมแบงก์เผย 3 เดือน มีกำไร 75 ล้าน และมียอดอนุมัติสินเชื่อใหม่ 5.4 ล้าน พร้อมขยายงานประกันส่งออก เปิดบริการ"EXIM 4 SMEs"ประกันส่งออกให้ลูกค้าเอสเอ็มอีที่มีมูลค่าไม่เกิน 100 ล้าน ด้านเอสเอ็มอีแบงก์โชว์ 4 เดือนยอดปล่อยกู้พุ่ง 34.81%

นายอภิชัย บุญธีรวร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เปิดเผยผลการดำเนินงานไตรมาสแรกของปี 2552 ว่า EXIM BANK มีกำไรสุทธิ 75 ล้านบาท โดยมีการอนุมัติวงเงินใหม่สำหรับสินเชื่อและรับประกันการส่งออกเพื่อสนับสนุนแก่ผู้ส่งออกและนักธุรกิจไทยจำนวนทั้งสิ้น 5,434 ล้านบาท และ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2552 มียอดคงค้างเงินให้สินเชื่อจำนวน 48,028 ล้านบาท ภาระผูกพันประกันการส่งออกจำนวน 12,539 ล้านบาท นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2552 EXIM BANK ได้เปิดบริษัท ไทย เอ็กซิม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด สาขาแรกที่กรุงมอสโก รัสเซีย เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าและช่วยให้ผู้ส่งออกไทยมั่นใจที่จะเริ่มต้นหรือขยายการส่งออกไปยังตลาดใหม่เพิ่มมากขึ้น

พร้อมกันนี้ EXIM BANK ได้เปิดบริการใหม่ "เอ็กซิมฟอร์เอสเอ็มอี" (EXIM 4 SMEs) ซึ่งเป็นบริการประกันการส่งออกที่จะช่วยให้ผู้ส่งออก SMEs ที่มีมูลค่าการส่งออกไม่เกิน 100 ล้านบาทต่อปีมีความมั่นใจที่จะเริ่มต้นหรือขยายธุรกิจส่งออกไปยังตลาดการค้าเดิมหรือตลาดใหม่เพิ่มมากขึ้น แม้ว่าวิกฤตการเงินโลกจะส่งผลให้ความเสี่ยงจากการไม่ได้รับชำระเงินค่าสินค้าจากผู้ซื้อในต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้นก็ตาม โดย EXIM BANK จะช่วยกลั่นกรองข้อมูลผู้ซื้อและประเมินความสามารถในการชำระเงินของผู้ซื้อในต่างประเทศ รวมทั้งช่วยให้ผู้ส่งออกไทยสามารถเสนอเงื่อนไขการชำระเงินที่แข่งขันได้ ในกรณีที่ส่งสินค้าไปยังผู้ซื้อแล้วแต่ไม่ได้รับชำระเงินค่าสินค้า EXIM BANK จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้สูงสุดถึง 90% ของความเสียหายที่เกิดขึ้น

ขณะเดียวกัน EXIM BANK ขยายความร่วมมือกับ SME BANK และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ในการสนับสนุนด้านสินเชื่อและบริการให้แก่ผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ ซึ่งถือเป็นความร่วมมือระหว่างธนาคารเฉพาะกิจของรัฐเพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับเข้าถึงแหล่งเงินทุนและบริการอย่างครบวงจร

ทั้งนี้ ในไตรมาสแรกของปี 2552 EXIM BANK มีสินทรัพย์ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2552 จำนวน 57,546 ล้านบาท โดยเป็นส่วนของเงินให้สินเชื่อและดอกเบี้ยค้างรับ 48,432 ล้านบาท

และในปี 2552 EXIM BANK ได้รับการอนุมัติการเพิ่มทุนจากกระทรวงการคลังจำนวน 5,000 ล้านบาทในการรองรับ "บริการประกันการส่งออก (EXIMSurance)" เพื่อช่วยป้องกันความเสี่ยงให้แก่ผู้ส่งออกไทยจากการไม่ได้รับชำระเงินค่าสินค้าจากผู้ซื้อในต่างประเทศท่ามกลางภาวะวิกฤตการเงินโลก การดำเนินมาตรการดังกล่าวนี้ EXIM BANK ได้ร่วมกับกระทรวงการคลังและสถาบันการเงิน 10 แห่งลงนามในบันทึกความร่วมมือภายใต้บริการประกันการส่งออกผ่านสถาบันการเงิน ซึ่งจะช่วยให้ผู้ส่งออกไทยซึ่งเป็นลูกค้าของสถาบันการเงินนั้นๆ สามารถเข้าถึงบริการประกันการส่งออกของ EXIM BANK ได้สะดวกขึ้นโดยติดต่อผ่านสถาบันการเงินที่ตนเองมีธุรกรรมอยู่

SME BANKโชว์สินเชื่อโต34%

ด้านนายโสฬส สาครวิศว กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) เปิดเผยถึง ผลการอนุมัติสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการ SMEs ของธนาคารใน 4 เดือนแรกของปี 2552 (ม.ค. – เม.ย.2552) ว่า ขณะนี้ยอดการอนุมัติสินเชื่อมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดย 4 เดือนแรกของปี 2552 นี้มียอดอนุมัติสินเชื่อทั้งสิ้นกว่า 9,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 51 ถึง 34.81% หรือคิดเป็น 35% ของยอดสินเชื่อเป้าหมายรวมทั้งปี 26,000 ล้านบาท สามารถช่วยเหลือผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของธนาคารได้ถึง 2,142 ราย และสามารถช่วยรักษาการจ้างงานได้ถึง 16,802 คน

สำหรับยอดอนุมัติสินเชื่อแยกตามพื้นที่ตั้งลูกค้า ใน 4 เดือนแรกนี้ ภาคนครหลวง คิดเป็น 31% ภาคเหนือ 20% และภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ มีสัดส่วนเท่ากันคือ 16% การอนุมัติสินเชื่อของลูกค้าจะอยู่ในวงเงิน 15-40 ล้านบาท คิดเป็น 41% รองลงมา วงเงิน 3-15 ล้านบาท คิดเป็น 32 % และวงเงิน 40-75 ล้านบาท คิดเป็น 16 % ไม่เกิน 3 ล้านบาท คิดเป็น 9 % และมากกว่า 75 ล้านบาท คิดเป็น 2 % ทั้งนี้ กลุ่มลูกค้าที่อนุมัติสินเชื่อจากธนาคารสูงที่สุดเป็นกลุ่มธุรกิจด้านบริการ 21 % รองลงมาเป็นธุรกิจเกี่ยวกับอาหาร 19 % และภาคการผลิต 17 % ที่เหลือเป็นภาคธุรกิจอื่นๆ

นายโสฬส กล่าวว่า ยอดอนุมัติสินเชื่อของธนาคารที่เติบโตขึ้นนั้น มีสาเหตุหลักมาจากการปรับเปลี่ยนองค์กรขนานใหญ่ ตั้งแต่ต้นปี 2552 กลายเป็นเอสเอ็มอีแบงก์ยุคใหม่ที่ทำงานแบบเชิงรุกมากกว่าเดิมอีกทั้งจากสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ส่งผลให้ผู้ประกอบการ SMEs ต้องการเงินทุนเพื่อนำไปหมุนเวียนธุรกิจมากขึ้น ขณะที่ธนาคารพาณิชย์อื่น ๆ มีนโยบายชะลอการปล่อยสินเชื่อ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us