|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนเม.ย. ติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ต่ำสุดในรอบ 87 เดือน หลังเจอปัญหาการเมืองวุ่น ม๊อบเสื้อแดงป่วน ค่าครองชีพสูง น้ำมันแพง คาดแนวโน้มชะลอตัวจนถึงไตรมาส 3 และเริ่มฟื้นตัวไตรมาส 4 ภายใต้เงื่อนไขการเมืองนิ่ง มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจได้ผล ส่วนกำลังซื้อบ้าน รถยนต์ ติดลบหนักสุดรอบ 50 เดือนและ 30 เดือนตามลำดับ
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจประชาชนทั่วประเทศ 2,242 ตัวอย่าง เกี่ยวกับความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไทยประจำเดือนเม.ย.2552 ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทุกรายการปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 และส่วนใหญ่ลดลงต่ำสุดในรอบ 7 ปี โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนเม.ย. เท่ากับ 72.1 ต่ำสุดในรอบ 87เดือน ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปัจจุบัน 61.8 ต่ำสุดในรอบ 82 เดือน นับจากเดือนมิ.ย.2545 และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคต 74.1 ต่ำสุดรอบ 20 เดือน ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ลดเหลือ 65.1 ต่ำสุดในรอบ 88 เดือน ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสในการหางานทำลดเหลือ 64.5 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตลดเหลือ 86.7
สาเหตุที่ทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นปรับตัวลดลงทุกรายการ เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การเมือง หลังจากมีการประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ในพื้นที่พัทยา และกรุงเทพฯ กรณีเกิดการประท้วง ซึ่งส่งผลกระทบเชิงลบทางจิตวิทยาต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค นักลงทุน และนักท่องเที่ยว ประกอบกับผู้บริโภคกังวลปัญหาค่าครองชีพ สินค้าราคาแพง และราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงภาวะการค้าต่างประเทศ การส่งออกที่หดตัวถึง 22.7%
ส่วนปัจจัยบวกมาจากมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายจากเช็คช่วยชาติ 2,000 บาท ซึ่งช่วยกระตุ้นจิตวิทยาในการบริโภค รวมถึงค่าเงินบาทที่แข็งค่า และการประกาศลดดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยลง 0.25% แต่ที่สำคัญสุดคือการที่รัฐบาลใช้กระบวนทางสภา คลี่คลายปัญหาการเมืองได้รวดเร็วช่วยคลายความกังวลแก่ผู้บริโภคได้มาก
“ดัชนีผู้บริโภคเดือนนี้ยังอยู่ในช่วงขาลง แต่ข่าวดีก็คือดัชนีผู้บริโภคติดลบน้อยกว่าที่คาด เนื่องจากปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองคลี่คลายอย่างรวดเร็ว ผ่านกระบวนการสภาและปราศจากการใช้ความรุนแรงที่เกินกว่าเหตุ ขณะเดียวกันดัชนีความเชื่อมั่นในอนาคตติดลบน้อยกว่าปัจจุบัน แสดงให้เห็นว่าประชาชนคาดหวังมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐจะใช้ได้ผลในไม่ช้า แต่ต้องอยู่ภายใต้สถานการณ์การเมืองที่ปกติ และไม่ก่อให้เกิดความวุ่นวายอีก”นายธนวรรธน์กล่าว
นายธนวรรธน์กล่าวว่า ทิศทางความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังอยู่ช่วงขาลงต่อไปถึงไตรมาส 3 และจะเริ่มฟื้นไตรมาส 4 ตามภาวะเศรษฐกิจโลก และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ออกมา แต่ตอนนี้ธุรกิจสินค้าคงทนจะต้องเผชิญปัญหายอดขายชะลอตัวอย่างมาก เพราะผลสำรวจดัชนีการซื้อบ้านต่ำสุดในรอบ 50 เดือน รวมถึงรถยนต์ก็ลดต่ำสุดในรอบ 30 เดือน เนื่องจากประชาชนยังขาดกำลังซื้อ
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้การเมืองยังเป็นปัญหาใหญ่ที่กระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค เพราะดัชนีการเมืองเดือนเม.ย. ปรับลดลงมากถึง 2.5 จุด โดยสิ่งที่ต้องจับตาต่อไป คือ การยุบสภา หากมีการยุบหลังปฏิรูปการเมือง และผ่านงบประมาณปี 2553 รวมถึงพ.ร.ก.กู้เงิน 400,000 ล้านบาท เสร็จสิ้นก่อน คงไม่กระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย เพราะข้าราชการประจำสามารถใช้เงินตามระบบได้ แต่หากมีการยุบสภาที่เกิดจากความขัดแย้งของพรรคร่วมรัฐบาล และเกิดขึ้นก่อนพิจารณางบปี 2553 กับ พ.ร.ก.กู้เงินเสร็จ จะกระทบต่อการขยายตัวเศรษฐกิจในประเทศ ให้ลบเกิน 5% แต่โอกาสเกิดยังมีน้อย โดยหอการค้ามองว่าการเมืองน่าจะคลี่คลายในไตรมาสสาม และจีดีพีน่าจะติดลบ 4.3% เท่านั้น
สำหรับสิ่งที่รัฐบาลต้องเร่งกระทำ นอกจากการเร่งสร้างสเถียรภาพทางการเมืองแล้ว คือ การเร่งเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐให้ได้ตามแผน โดยเฉพาะโครงการเมกะโปรเจ็กต์จะต้องเริ่มภายในไตรมาส 4 รวมถึงเร่งรัดให้องค์กรส่วนปกครองท้องถิ่น (อปท.) ต้องจ่ายเงินลงทุนลงท้องถิ่นให้เร็วสุด และเร่งกระตุ้นโครงการลงทุนของหน่วยรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ด้วย
|
|
|
|
|